ASTVผู้จัดการรายวัน – สรรพากรเข้มล้างคณะบุคคลเลี่ยงภาษี ดันยอดจัดเก็บรายได้ปีหน้าเข้าเป้า 1.097 ล้านล้านบาท ผงะบางรายมีชื่อในคณะบุคคลกว่า 400 คณะ อย่างไรก็ตามหลังห้ามจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านไป 4 เดือนล้างคณะบุคคลเถื่อนเลี่ยงภาษีแล้วกว่า 1 หมื่นราย
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพากรได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดกับการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เพื่อให้เม็ดเงินภาษีที่ควรเข้าสู่ระบบเป็นรายได้ของรัฐบาลไม่สูญหายไป โดยเฉพาะในปีงบ 2553 กรมสรรพากรมีภาระหน้าที่จะต้องจัดเก็บรายได้ถึง 1.097 ล้านล้านบาท จึงต้องเข้มงวดเพื่อป้องกันรายได้ที่จะสูญเสียไป ซึ่งพร้อมไปกันนี้จะเร่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบและหารายได้เข้ารัฐไม่ให้บกพร่องเนื่องจากในการขอบุคลากรเพิ่มจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติเพิ่มแต่อย่างใด
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรแจ้งว่า ปัญหาการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อเลี่ยงภาษีที่ผ่านมาเกิดจากกรมสรรพากรเปิดให้จดทะเบียนจัดตั้งได้ไม่จำกัดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อีกทั้งไม่มีการตรวจสอบว่าเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด และการเกิดขึ้นของกลุ่มนักวางแผนภาษีก็ส่งผลให้มีคณะบุคคลเกิดขึ้นสูงถึง 2 หมื่นคณะบุคคล
"ก่อนหน้านี้กรมไม่ได้ตรวจสอบว่าการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อจุดประสงค์ใด แต่เมื่อเปิดให้ดำเนินการจัดตั้งได้ผ่านอินเตอร์เน็ตและระยะหลังมีกลุ่มเนติบริกรที่เป็นนักกฎหมาย และใช้ช่องว่างทางกฎหมายอ้างว่าการวางแผนภาษีคือการบริหารเงินเพื่อออม ใช้วิธีเลี่ยงภาษีด้วยการเสนอแนะให้จัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมา ซึ่งบางคนมีชื่อจัดตั้งคณะบุคคลสูงถึง 400 คณะ จึงทำให้เกิดคณะบุคคลเพื่อเลี่ยงภาษีจำนวนมาก" แหล่งข่าวระบุ
เพื่อให้ปัญหานี้ลดน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นอีก กรมสรรพากรจึงมีระเบียบห้ามมิให้มีการจัดตั้งคณะบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตอีกต่อไป ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา โดยหากใครประสงค์จะจัดตั้งคณะบุคคลจะต้องเดินทางมายื่นคำร้องที่กรมโดยตรง พร้อมระบุเงื่อนไขว่าต้องการจัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพื่อเป็นการจัดตั้งโดยสุจริตและพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ต้องการโยกย้ายถ่ายเทเงิน(ไซฟ่อน)และเลี่ยงภาษี
จากการตรวจสอบการจัดตั้งคณะบุคคลของกรมสรรพากรในช่วงที่ผ่านมาสามารถยกเลิกการจัดตั้งคณะบุคคลผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเลี่ยงภาษีได้แล้วถึง 1 หมื่นคณะ ที่เหลืออีก 1 หมื่นคณะอยู่ระหว่างตรวจสอบของกรมสรรพากรโดยจะเร่งสะสางให้คณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเลี่ยงภาษีให้หมดไปอย่างเร็วที่สุด
สำหรับที่มาของคณะบุคคลจัดตั้งขึ้นมาภายหลังการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน โดยห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วมีกำไร บุคคลจะนำกำไรมาแบ่งเท่ากัน แล้วนำไปแยกยื่นภาษีเพื่อชำระภาษีบุคคลธรรมดาอัตราก้าวหน้า แต่ต่อมามีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่แบ่งกำไร ซึ่งพัฒนามาเป็นการจัดตั้งคณะบุคคล โดยกฎหมายระบุว่าเมื่อคณะบุคคลได้กำไร ไม่จำเป็นต้องแบ่งกำไรและเมื่อจะชำระภาษีก็นำกำไรไปหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ 30% ที่เหลือจึงจะคำนวณเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่บุคคลคนเดิมก็จะไปจัดตั้งคณะบุคคลเพิ่มขึ้นอีกแล้วนำกำไรส่วนที่เหลือไปหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเพิ่มอีก 30% และทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนไม่ต้องชำระภาษีแต่อย่างใด จึงเป็นที่มาให้เกิดการจัดตั้งคณะบุคคลจำนวนมากเพื่อเลี่ยงภาษี.
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพากรได้เพิ่มมาตรการเข้มงวดกับการจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เพื่อให้เม็ดเงินภาษีที่ควรเข้าสู่ระบบเป็นรายได้ของรัฐบาลไม่สูญหายไป โดยเฉพาะในปีงบ 2553 กรมสรรพากรมีภาระหน้าที่จะต้องจัดเก็บรายได้ถึง 1.097 ล้านล้านบาท จึงต้องเข้มงวดเพื่อป้องกันรายได้ที่จะสูญเสียไป ซึ่งพร้อมไปกันนี้จะเร่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบและหารายได้เข้ารัฐไม่ให้บกพร่องเนื่องจากในการขอบุคลากรเพิ่มจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติเพิ่มแต่อย่างใด
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรแจ้งว่า ปัญหาการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อเลี่ยงภาษีที่ผ่านมาเกิดจากกรมสรรพากรเปิดให้จดทะเบียนจัดตั้งได้ไม่จำกัดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อีกทั้งไม่มีการตรวจสอบว่าเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด และการเกิดขึ้นของกลุ่มนักวางแผนภาษีก็ส่งผลให้มีคณะบุคคลเกิดขึ้นสูงถึง 2 หมื่นคณะบุคคล
"ก่อนหน้านี้กรมไม่ได้ตรวจสอบว่าการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อจุดประสงค์ใด แต่เมื่อเปิดให้ดำเนินการจัดตั้งได้ผ่านอินเตอร์เน็ตและระยะหลังมีกลุ่มเนติบริกรที่เป็นนักกฎหมาย และใช้ช่องว่างทางกฎหมายอ้างว่าการวางแผนภาษีคือการบริหารเงินเพื่อออม ใช้วิธีเลี่ยงภาษีด้วยการเสนอแนะให้จัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมา ซึ่งบางคนมีชื่อจัดตั้งคณะบุคคลสูงถึง 400 คณะ จึงทำให้เกิดคณะบุคคลเพื่อเลี่ยงภาษีจำนวนมาก" แหล่งข่าวระบุ
เพื่อให้ปัญหานี้ลดน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นอีก กรมสรรพากรจึงมีระเบียบห้ามมิให้มีการจัดตั้งคณะบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตอีกต่อไป ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา โดยหากใครประสงค์จะจัดตั้งคณะบุคคลจะต้องเดินทางมายื่นคำร้องที่กรมโดยตรง พร้อมระบุเงื่อนไขว่าต้องการจัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพื่อเป็นการจัดตั้งโดยสุจริตและพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ต้องการโยกย้ายถ่ายเทเงิน(ไซฟ่อน)และเลี่ยงภาษี
จากการตรวจสอบการจัดตั้งคณะบุคคลของกรมสรรพากรในช่วงที่ผ่านมาสามารถยกเลิกการจัดตั้งคณะบุคคลผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเลี่ยงภาษีได้แล้วถึง 1 หมื่นคณะ ที่เหลืออีก 1 หมื่นคณะอยู่ระหว่างตรวจสอบของกรมสรรพากรโดยจะเร่งสะสางให้คณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเลี่ยงภาษีให้หมดไปอย่างเร็วที่สุด
สำหรับที่มาของคณะบุคคลจัดตั้งขึ้นมาภายหลังการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน โดยห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วมีกำไร บุคคลจะนำกำไรมาแบ่งเท่ากัน แล้วนำไปแยกยื่นภาษีเพื่อชำระภาษีบุคคลธรรมดาอัตราก้าวหน้า แต่ต่อมามีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่แบ่งกำไร ซึ่งพัฒนามาเป็นการจัดตั้งคณะบุคคล โดยกฎหมายระบุว่าเมื่อคณะบุคคลได้กำไร ไม่จำเป็นต้องแบ่งกำไรและเมื่อจะชำระภาษีก็นำกำไรไปหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ 30% ที่เหลือจึงจะคำนวณเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่บุคคลคนเดิมก็จะไปจัดตั้งคณะบุคคลเพิ่มขึ้นอีกแล้วนำกำไรส่วนที่เหลือไปหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเพิ่มอีก 30% และทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนไม่ต้องชำระภาษีแต่อย่างใด จึงเป็นที่มาให้เกิดการจัดตั้งคณะบุคคลจำนวนมากเพื่อเลี่ยงภาษี.