ASTVผู้จัดการรายวัน – คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ก.ล.ต.สั่งปรับโบรกเกอร์ 3 แห่ง " บล.นครหลวงไทย-โกลเบล็ก – บัวหลวง " เหตุระบบควบคุมภายในอ่อน -ไม่บันทึกเทปคำสั่งเทรดหุ้นของลูกค้า ด้าน บล.นครหลวงไทยถูกปรับมากสุด 4.57 แสนบาท
คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประชุมเปรียบเทียบปรับครั้งที่ 4/2552 ได้มีการเปรียบเทียบปรับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 3 แห่ง รวม 6.98 แสนบาท ประกอบด้วย บล.นครหลวงไทย รวม 457,800 บาท รวม 3 กรณี เนื่องจากระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2552 ไม่ได้ปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในที่มีขั้นตอนให้เจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการหลักทรัพย์ (Back Office) ต้องสอบทานความถูกต้องน่าเชื่อถือของคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกค้าก่อนดำเนินการ ฝาก ถอน โอนเงินและหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ตามระบบงานกำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบ 2 ลักษณะ คือ การตรวจสอบลายมือชื่อของลูกค้า และ การสอบยันรายการกับลูกค้า แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ด้านให้บริการหลักทรัพย์ (Front Office) ติดต่อและรับหลักฐานการฝาก ถอน โอนเงินและหลักทรัพย์ของลูกค้า และนำส่งให้ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ (Back Office) เพื่อดำเนินการตามที่ลูกค้าร้องขอ และเจ้าหน้าที่ด้าน Back Office ได้มีการตรวจสอบลายมือชื่อของลูกค้า แต่การสอบยันรายการกับลูกค้าได้ดำเนินการเฉพาะธุรกรรมบางลักษณะเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามระบบงานที่กำหนด
โดย บล.นครหลวงไทย ได้ดำเนินการให้ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ (Back Office) สอบยันรายการทุกลักษณะกับลูกค้าตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2552 เป็นต้นมา เว้นแต่จะเข้าลักษณะยกเว้นซึ่งบริษัทกำหนดให้มีการสอบทานด้วยวิธีการอื่นแทน จึงสั่งปรับ 222,000 บาท
กรณีที่ 2 เมื่อวันที่ 16 และ 25 กุมภาพันธ์ 2552 ไม่ได้จัดเก็บบันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าทางโทรศัพท์หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วนจำนวน 17 รายการ สั่งปรับ 117,000 บาท และกรณี 3 ระหว่างวันที่ 12 ถึง 13 พฤษภาคม ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือชี้ชวนที่กำหนดให้ผู้จองซื้อต้องลงลายมือชื่อในใบจองซื้อหุ้นและสำเนาบัตรประชาชน โดยข้อบกพร่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจองซื้อของลูกค้าจำนวน 83 ราย สั่งปรับ 118,800 บาท
อีกทั้งยังสั่งปรับ บล.โกลเบล็กจำนวน 177,000 บาท เนื่องจาก ระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2551 ไม่ได้กำกับดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (Marketing) ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการให้คำแนะนำแก่ลูกค้า การทำความรู้จักลูกค้า รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับอนุญาต (Trader) กล่าวคือ บล.โกลเบล็ก ดำเนินการสอบทาน โดยสุ่มฟังเทปการปฏิบัติงานของ Marketing เฉพาะรายที่ทำรายการผิดพลาดหรือรายการที่ลูกค้าชำระราคาล่าช้า โดยมีวัตถุประสงค์จำกัดเฉพาะเรื่องมีการให้คำแนะนำกับลูกค้าบ่อยเกินไปหรือไม่ หรือมีการให้ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ลูกค้าหรือไม่
นอกจากนี้ การสอบทานการปฏิบัติงานของ Marketing ที่สาขาชลบุรีก็กระทำด้วยการสัมภาษณ์ Marketing ถึงพฤติกรรมการลงทุนของลูกค้ารายใหญ่ โดยไม่ได้มีการสุ่มฟังเทปการให้คำแนะนำ การรับคำสั่งซื้อขาย
รวมทั้งไม่มีหลักฐานการตรวจสอบการปฏิบัติงานของ Trader ทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึงว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัท มีการปฏิบัติถูกต้องเป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทตรวจไม่พบว่า Trader ที่สาขาชลบุรีได้ทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าและเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของลูกค้า ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 บล.โกลเบล็ก ได้สอบทานการปฏิบัติหน้าที่ของ Marketing และ Trader ตามขอบเขตที่มีการปรับปรุงให้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบในเรื่องสำคัญและเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้แล้ว
พร้อมกับ สั่งปรับ บล.บัวหลวง มูลค่า 63,900 บาท เนื่องจาก ระหว่างวันที่ 14 ถึง 16 พฤษภาคม 2551 ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือชี้ชวนที่กำหนดให้ผู้จองซื้อต้องลงลายมือชื่อในใบจองซื้อหุ้นและสำเนาบัตรประชาชน โดยข้อบกพร่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจองซื้อของลูกค้าจำนวน 22 ราย
คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประชุมเปรียบเทียบปรับครั้งที่ 4/2552 ได้มีการเปรียบเทียบปรับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 3 แห่ง รวม 6.98 แสนบาท ประกอบด้วย บล.นครหลวงไทย รวม 457,800 บาท รวม 3 กรณี เนื่องจากระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2552 ไม่ได้ปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในที่มีขั้นตอนให้เจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการหลักทรัพย์ (Back Office) ต้องสอบทานความถูกต้องน่าเชื่อถือของคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกค้าก่อนดำเนินการ ฝาก ถอน โอนเงินและหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ตามระบบงานกำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบ 2 ลักษณะ คือ การตรวจสอบลายมือชื่อของลูกค้า และ การสอบยันรายการกับลูกค้า แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ด้านให้บริการหลักทรัพย์ (Front Office) ติดต่อและรับหลักฐานการฝาก ถอน โอนเงินและหลักทรัพย์ของลูกค้า และนำส่งให้ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ (Back Office) เพื่อดำเนินการตามที่ลูกค้าร้องขอ และเจ้าหน้าที่ด้าน Back Office ได้มีการตรวจสอบลายมือชื่อของลูกค้า แต่การสอบยันรายการกับลูกค้าได้ดำเนินการเฉพาะธุรกรรมบางลักษณะเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามระบบงานที่กำหนด
โดย บล.นครหลวงไทย ได้ดำเนินการให้ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ (Back Office) สอบยันรายการทุกลักษณะกับลูกค้าตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2552 เป็นต้นมา เว้นแต่จะเข้าลักษณะยกเว้นซึ่งบริษัทกำหนดให้มีการสอบทานด้วยวิธีการอื่นแทน จึงสั่งปรับ 222,000 บาท
กรณีที่ 2 เมื่อวันที่ 16 และ 25 กุมภาพันธ์ 2552 ไม่ได้จัดเก็บบันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าทางโทรศัพท์หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วนจำนวน 17 รายการ สั่งปรับ 117,000 บาท และกรณี 3 ระหว่างวันที่ 12 ถึง 13 พฤษภาคม ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือชี้ชวนที่กำหนดให้ผู้จองซื้อต้องลงลายมือชื่อในใบจองซื้อหุ้นและสำเนาบัตรประชาชน โดยข้อบกพร่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจองซื้อของลูกค้าจำนวน 83 ราย สั่งปรับ 118,800 บาท
อีกทั้งยังสั่งปรับ บล.โกลเบล็กจำนวน 177,000 บาท เนื่องจาก ระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2551 ไม่ได้กำกับดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (Marketing) ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือการให้คำแนะนำแก่ลูกค้า การทำความรู้จักลูกค้า รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับอนุญาต (Trader) กล่าวคือ บล.โกลเบล็ก ดำเนินการสอบทาน โดยสุ่มฟังเทปการปฏิบัติงานของ Marketing เฉพาะรายที่ทำรายการผิดพลาดหรือรายการที่ลูกค้าชำระราคาล่าช้า โดยมีวัตถุประสงค์จำกัดเฉพาะเรื่องมีการให้คำแนะนำกับลูกค้าบ่อยเกินไปหรือไม่ หรือมีการให้ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ลูกค้าหรือไม่
นอกจากนี้ การสอบทานการปฏิบัติงานของ Marketing ที่สาขาชลบุรีก็กระทำด้วยการสัมภาษณ์ Marketing ถึงพฤติกรรมการลงทุนของลูกค้ารายใหญ่ โดยไม่ได้มีการสุ่มฟังเทปการให้คำแนะนำ การรับคำสั่งซื้อขาย
รวมทั้งไม่มีหลักฐานการตรวจสอบการปฏิบัติงานของ Trader ทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึงว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัท มีการปฏิบัติถูกต้องเป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทตรวจไม่พบว่า Trader ที่สาขาชลบุรีได้ทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าและเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของลูกค้า ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 บล.โกลเบล็ก ได้สอบทานการปฏิบัติหน้าที่ของ Marketing และ Trader ตามขอบเขตที่มีการปรับปรุงให้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบในเรื่องสำคัญและเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้แล้ว
พร้อมกับ สั่งปรับ บล.บัวหลวง มูลค่า 63,900 บาท เนื่องจาก ระหว่างวันที่ 14 ถึง 16 พฤษภาคม 2551 ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือชี้ชวนที่กำหนดให้ผู้จองซื้อต้องลงลายมือชื่อในใบจองซื้อหุ้นและสำเนาบัตรประชาชน โดยข้อบกพร่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจองซื้อของลูกค้าจำนวน 22 ราย