ASTVผู้จัดการรายวัน - บสย.เดินหน้าค้ำประกันสินเชื่อช่วยเอสเอ็มอี 3 หมื่นล้าน ทำงานเชิงรุกเดินเข้าหาลูกค้าโดยตรง ประสานแบงก์พาณิชย์ให้รางวัลจูงใจสาขาที่ทำยอดอนุมัติเงินกู้สูงสุด พร้อมยอมเว้นค่าธรรมเนียมปีแรกสูญรายได้กว่า 525 ล้านบาทเล็งขอคลังจ่ายชดเชย
นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) กล่าวส่าหลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในปีแรกและขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อของแต่ละละรูปแบบจากเดิมไม่เกิน 20 ล้านบาทเป็นไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ขณะนี้บสย.มีความพร้อมจะดำเนินงานได้ทันทีในวงเงินค้ำประกันสินเชื่อฟาสต์แทร็กตามนโยบายรัฐบาล 3 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีนี้
โดยบสย.จะปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น ทั้งการเจรจากับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยในการร่วมพิจารณาสินเชื่อให้ลูกค้าเอสเอ็มอีเร็วขึ้น เช่น สาขาของธนาคารใดมีการอนุมติสินเชื่อได้มากที่สุดก็ควรมีรางวัลให้ โดยอาจให้ไปดูงานที่เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแม่แบบของระบบค้ำประกันสินเชื่อ
รวมทั้ง บสย.จะเดินเข้าหาลูกค้าเอสเอ็มอีโดยตรง เช่นกลุ่มผู้ประกบการที่ลงทุนด้านโลจิสติกส์ หรือท่องเที่ยว นอกจากเหนือจากการประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบในทุกจังหวัด เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้จักบสย.อย่างกว้างขวาง จึงเชื่อว่าสิ้นปีนี้น่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้ขณะนี้จะอนุมัติวงเงินค้ำประกันไปได้เพียง 3.4 พันล้านบาทก็ตาม แต่หลังจากนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการจะให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากบสย.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันปีแรกให้ในอัตรา 1.75% ให้กับลูกค้าทุกรายไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้
สำหรับการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวทำให้บสย.มีรายได้หายไปประมาณ 525 ล้านบาท ซึ่งจะหารือกับกระทรวงการคลังต่อไปในการขอรับเงินชดเชยแม้ว่าในเบื้องต้นจะยังไม่มีการกันเงินในส่วนนี้ไว้ให้ก็ตามหลังจากที่อนุมัติจ่ายชดเชยในโครงการเดิมที่ทำร่วมกับเอสเอ็มเอ็มอีแบงก์ 2 พันล้านบาท
“ภาระการค้ำประกันจะมีระยะเวลา 5 ปี แต่หลังจากนั้นบสย.ก็ยังทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้ต่อเนื่องตามความต้องการของลูกค้า โดยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันอีก 4 ปีที่เหลือประมาณ 6% นั้นถือเป็นรายได้ที่บสย.พออยู่ได้แต่คงไม่ถึงกับมีกำไร
นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) กล่าวส่าหลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในปีแรกและขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อของแต่ละละรูปแบบจากเดิมไม่เกิน 20 ล้านบาทเป็นไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ขณะนี้บสย.มีความพร้อมจะดำเนินงานได้ทันทีในวงเงินค้ำประกันสินเชื่อฟาสต์แทร็กตามนโยบายรัฐบาล 3 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีนี้
โดยบสย.จะปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น ทั้งการเจรจากับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยในการร่วมพิจารณาสินเชื่อให้ลูกค้าเอสเอ็มอีเร็วขึ้น เช่น สาขาของธนาคารใดมีการอนุมติสินเชื่อได้มากที่สุดก็ควรมีรางวัลให้ โดยอาจให้ไปดูงานที่เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแม่แบบของระบบค้ำประกันสินเชื่อ
รวมทั้ง บสย.จะเดินเข้าหาลูกค้าเอสเอ็มอีโดยตรง เช่นกลุ่มผู้ประกบการที่ลงทุนด้านโลจิสติกส์ หรือท่องเที่ยว นอกจากเหนือจากการประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบในทุกจังหวัด เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้จักบสย.อย่างกว้างขวาง จึงเชื่อว่าสิ้นปีนี้น่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้ขณะนี้จะอนุมัติวงเงินค้ำประกันไปได้เพียง 3.4 พันล้านบาทก็ตาม แต่หลังจากนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการจะให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากบสย.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันปีแรกให้ในอัตรา 1.75% ให้กับลูกค้าทุกรายไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้
สำหรับการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวทำให้บสย.มีรายได้หายไปประมาณ 525 ล้านบาท ซึ่งจะหารือกับกระทรวงการคลังต่อไปในการขอรับเงินชดเชยแม้ว่าในเบื้องต้นจะยังไม่มีการกันเงินในส่วนนี้ไว้ให้ก็ตามหลังจากที่อนุมัติจ่ายชดเชยในโครงการเดิมที่ทำร่วมกับเอสเอ็มเอ็มอีแบงก์ 2 พันล้านบาท
“ภาระการค้ำประกันจะมีระยะเวลา 5 ปี แต่หลังจากนั้นบสย.ก็ยังทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้ต่อเนื่องตามความต้องการของลูกค้า โดยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันอีก 4 ปีที่เหลือประมาณ 6% นั้นถือเป็นรายได้ที่บสย.พออยู่ได้แต่คงไม่ถึงกับมีกำไร