ASTVผู้จัดการรายวัน -นักวิชาการประวัติศาสตร์ซัด “มาร์ค” ท่าทีเปลี๊ยนไป๋ เหมือนมีวาระซ่อนเร้น หมกเม็ดทำร่างข้อตกลงพื้นที่พิพาทไทย-เขมร ชี้ต้องมีการปักปันเขตแดนแน่นอนก่อนเจรจา และเปิดประชาพิจารณ์ไม่ใช่งุบงิบทำ หวั่นไทยเสียดินแดนอำนาจอธิปไตย ด้านรัฐสภาเห็นชอบกรอบเจรจาต่างประเทศรวดเดียว 6 ฉบับ หลังประชุมลับ 1 ช.ม. ด้านกลุ่ม 40 ส.ว. เสียงแตก"รสนา" ยืนหยัดค้าน อ้าง"ประวิตร–สุเทพ" ตอบไม่เคลียร์ถนนขึ้นเขาเขาพระวิหารในเขตไทย
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(กวช.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวถึงการที่รัฐบาลจัดทำร่างข้อตกลงพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรระหว่างไทย-กัมพูชาว่า ตามหลักการแล้ว ตนไม่ทราบว่ารัฐบาลไปเจรจาอะไรกับกัมพูชาเพื่อที่จะมีการทำร่างข้อตกลงขึ้น แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ไทยกับกัมพูชา ยังไม่มีการปักปันเขตแดนโดยไล่ตามสันปันน้ำที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อยังไม่ได้ปักปันเขตแดนรัฐบาลก็ไม่ควรที่จะดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น เพราะหากยังไม่มีการปักปันเขตแดนรวมทั้งจะใช้แผนที่ของฝรั่งเศสอ้างอิง อาจจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียพื้นที่ทับซ้อน หรือสูญเสียไมล์ทะเลก็เป็นได้
ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลควรคำนึงถึงมากที่สุด คือ สันปันน้ำ เราต้องพูดในเรื่องของเขตแดนดินแดนของเราทั้งหมด ก่อนที่จะมีการทำข้อตกลงระหว่างกัน
รศ.ศรีศักร กล่าวต่อไปว่า การที่รัฐบาลจะทำข้อตกลงอะไรแบบนี้ทั้งที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ถูกต้องกับทางกัมพูชาเหมือนเป็นการยอมรับยอมรับแผนที่ของฝรั่งเศส ทั้งที่รัฐบาลไม่ควรมีการเจรจาใดทั้งสิ้นก่อนที่จะมีการปันเขตแดน เมื่อแรกเริ่มรัฐบาลทำถูกแล้วที่ไปถกกับยูเนสโกเรื่องปราสาทพระวิหาร ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเขตแดนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พร้อมทั้งรัฐบาลควรต้องเปิดประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างข้อตกลงดังกล่าวให้ประชาชนและทุกภาคส่วนรับทราบด้วยไม่ใช่มางุบงิบ หมกเม็ดทำกันแบบนี้
“เมื่อแรกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พูดว่า ได้ส่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปเจรจากับยูเนสโก บอกว่า เราทะเลาะกับยูเนสโก ไม่ได้ทะเลาะกับกัมพูชา แล้วทีนี้เราไปยอมยูเนสโกทำไมเกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงพื้นที่พิพาท หรือจะเป็นพวกปากว่าตาขยิบ สิ่งที่พวกเราค้านไม่ได้ค้านเรื่องทวงคืนปราสาทพระวิหาร แต่เราค้านในเรื่องของเขตแดนว่า เราจะเสียดินแดนเสียอำนาจอธิปไตย เมื่อมองสันปันน้ำจะเห็นว่า พื้นที่อยู่ในเขตประเทศไทยทั้งหมด ทำให้ทหารยอมรับแค่ตัวปราสาท แต่พื้นที่ทับซ้อนไม่มี ตอนนี้ท่าทีของนายอภิสิทธิ์เปลี่ยนไปมากตรงข้ามเมื่อครั้งเป็นฝ่ายค้าน ตรงนี้น่ากลัว เหมือนมีวาระซ้อนเร้น” นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าว
**สภาเห็นชอบกรอบเจรจาตปท. 6 ฉบับรวด
เมื่อเวลา 9.00 น.วานนี้ (2 ก.ย.) ได้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่าง กรอบการเจรจาระหว่างประเทศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยหลังจากเปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือแล้ว นายชัยได้สั่งให้มีการประชุมลับ เพื่อพิจารณากรอบการเจรจาทั้ง 6 ฉบับ โดยให้มีการอภิปรายรวม แต่ลงมติเป็นรายฉบับ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมฝ่ายค้านได้กล่าวตำหนิที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศว่าไม่ยอมเดินทางเข้าร่วมประชุม เพื่อชี้แจงกรอบการเจรจาในครั้งนี้ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลได้มอบหมายให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชี้แจงความจำเป็นของการเสนอกรอบการเจรจาต่างๆ แทน ซึ่งหลังจากที่ประชุมใช้เวลาอภิปรายเกือบหนึ่งชั่วโมง ในที่สุดเสียงส่วนใหญ่ได้มีมติให้ปิดการอภิปราย และมีมติให้ความเห็นชอบ
1.ร่างกรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 306 ต่อ 6 งดออกเสียง 37 ไม่ลงคะแนน14
2.ให้ความเห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย-ลาว ครั้งที่ 17 ด้วยคะแนนเสียง 307 ต่อ 0 งดออกเสียง 43ไม่ลงคะแนน 10
3. ให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 0 งดออกเสียง 39 ไม่ลงคะแนน 11
4.ให้ความเห็นชอบกรอบการประชุมเพื่อรักษาความมั่นคงความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ใ นกรอบของคณะกรรมการระดับสูงไทย-อินโดนีเซียและกลไกอื่นๆภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 308 ต่อ 1 งดออกเสียง 42 ไม่ลงคะแนน 12
5.ให้ความเห็นชอบกรอบการประชุมเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 314 ต่อ1 งดออกเสียง 46 ไม่ลงคะแนน 12
6.ให้ความเห็นชอบกรอบการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาวและกลไกที่เกี่ยวข้องด้วยคะแนนเสียง 320 ต่อ 4 งดออกเสียง 43 ไม่ลงคะแนน 10นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้เห็นชอบที่คณะรัฐมนตรีขอถอนเรื่องเงินกู้จากธนาคารโลกออกจากระเบียบวาระการประชุมด้วย โดยนายชัย ชิดชอบ ได้สั่งปิดการประชุมทันทีเมื่อเวลา 11.10 น.เพื่อให้ส.ส.ได้เตรียมพร้อมสำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในเวลา 13.30 น.ของวันเดียวกันนี้(2ก.ย.)
**”รสนา”ฉะ “ป้อม-เทือก” ไม่เคลียร์
ด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่คัดค้าน เรื่องร่างกรอบการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณี กัมพูชา ภายหลังการประชุมร่วมกันของรัฐสภา กลุ่ม 40 ส.ว.ได้หารือในเรื่องนี้ โดยภายหลังประชุม น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ซึ่งเป็น 1 ใน 6 สมาชิกรัฐสภา ที่โหวตไม่เห็นด้วยกับร่างกรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้
น.ส.รสนา กล่าวถึงสาเหตุที่ไม่เห็นด้วย เพราะการชี้แจงรายละเอียดในพื้นที่ทับซ้อน ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะการกรณีปล่อยให้กัมพูชาทำถนนขึ้นเขาพระวิหาร ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ชี้แจงว่าคนไทยได้รับประโยชน์ ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ก็ช่วยชี้แจงก็ยังไม่เคลียร์ เพราะตนยังไม่เห็นว่าคนไทยได้ประโยชน์อย่างไร
อย่างไรก็ตาม รัฐสภาให้ความเห็นชอบดังกล่าว ยังถือว่าไทยยังไม่เสียดินแดน เพราะเป็นการขออนุญาตในเรื่องการเก็บวัตถุระเบิด และการถอนทหารออกจากพื้นที่ แตกต่างจากบันทึกการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องเจรจาเรื่องเขตแดนไทย ที่กำลังจะเข้าขอความเห็นชอบในเร็วๆนี้ ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภา จะนัดประชุมเมื่อใด ซึ่งนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะต้องมาตอบ เพราะเป็นการตกลงเรื่องการแบ่งเขตแดนว่าจะใช้รูปแบบใด ระหว่างการใช้สันปันน้ำ หรือแผนที่ อัตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งตนจะเสนอให้ตั้งคณะกรรมมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาให้รอบคอบ
ด้านนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. ผู้เห็นชอบในร่างดังกล่าวนี้ กล่าวว่า สาเหตุที่โหวตให้ผ่าน เพราะเป็นเรื่องความสงบเรียบร้อยทางด้านความมั่นคง แต่หากการพิจารณาครั้งหน้าในเรื่องบันทึกการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องตกลงเรื่องเขตแดน ตนไม่เห็นด้วยแน่นอน
**”ไพบูลย์ – สมชาย" หนีโหวต
อ้างติดประชุมมาไม่ทัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. ที่มีความเห็นคัดค้านกับเรื่องนี้ นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.สรรหา นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ไม่ได้เข้าห้องประชุมเพื่อโหวตในร่างดังกล่าว โดยอ้างว่าติดประชุม วิ่งไปโหวตไม่ทัน พร้อมทั้งยืนยันว่า หากการประชุมครั้งหน้าคือเรื่อง บันทึกการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรีเสนอ จะแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(กวช.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวถึงการที่รัฐบาลจัดทำร่างข้อตกลงพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรระหว่างไทย-กัมพูชาว่า ตามหลักการแล้ว ตนไม่ทราบว่ารัฐบาลไปเจรจาอะไรกับกัมพูชาเพื่อที่จะมีการทำร่างข้อตกลงขึ้น แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ไทยกับกัมพูชา ยังไม่มีการปักปันเขตแดนโดยไล่ตามสันปันน้ำที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อยังไม่ได้ปักปันเขตแดนรัฐบาลก็ไม่ควรที่จะดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น เพราะหากยังไม่มีการปักปันเขตแดนรวมทั้งจะใช้แผนที่ของฝรั่งเศสอ้างอิง อาจจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียพื้นที่ทับซ้อน หรือสูญเสียไมล์ทะเลก็เป็นได้
ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลควรคำนึงถึงมากที่สุด คือ สันปันน้ำ เราต้องพูดในเรื่องของเขตแดนดินแดนของเราทั้งหมด ก่อนที่จะมีการทำข้อตกลงระหว่างกัน
รศ.ศรีศักร กล่าวต่อไปว่า การที่รัฐบาลจะทำข้อตกลงอะไรแบบนี้ทั้งที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ถูกต้องกับทางกัมพูชาเหมือนเป็นการยอมรับยอมรับแผนที่ของฝรั่งเศส ทั้งที่รัฐบาลไม่ควรมีการเจรจาใดทั้งสิ้นก่อนที่จะมีการปันเขตแดน เมื่อแรกเริ่มรัฐบาลทำถูกแล้วที่ไปถกกับยูเนสโกเรื่องปราสาทพระวิหาร ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเขตแดนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พร้อมทั้งรัฐบาลควรต้องเปิดประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างข้อตกลงดังกล่าวให้ประชาชนและทุกภาคส่วนรับทราบด้วยไม่ใช่มางุบงิบ หมกเม็ดทำกันแบบนี้
“เมื่อแรกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พูดว่า ได้ส่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปเจรจากับยูเนสโก บอกว่า เราทะเลาะกับยูเนสโก ไม่ได้ทะเลาะกับกัมพูชา แล้วทีนี้เราไปยอมยูเนสโกทำไมเกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงพื้นที่พิพาท หรือจะเป็นพวกปากว่าตาขยิบ สิ่งที่พวกเราค้านไม่ได้ค้านเรื่องทวงคืนปราสาทพระวิหาร แต่เราค้านในเรื่องของเขตแดนว่า เราจะเสียดินแดนเสียอำนาจอธิปไตย เมื่อมองสันปันน้ำจะเห็นว่า พื้นที่อยู่ในเขตประเทศไทยทั้งหมด ทำให้ทหารยอมรับแค่ตัวปราสาท แต่พื้นที่ทับซ้อนไม่มี ตอนนี้ท่าทีของนายอภิสิทธิ์เปลี่ยนไปมากตรงข้ามเมื่อครั้งเป็นฝ่ายค้าน ตรงนี้น่ากลัว เหมือนมีวาระซ้อนเร้น” นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าว
**สภาเห็นชอบกรอบเจรจาตปท. 6 ฉบับรวด
เมื่อเวลา 9.00 น.วานนี้ (2 ก.ย.) ได้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่าง กรอบการเจรจาระหว่างประเทศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยหลังจากเปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือแล้ว นายชัยได้สั่งให้มีการประชุมลับ เพื่อพิจารณากรอบการเจรจาทั้ง 6 ฉบับ โดยให้มีการอภิปรายรวม แต่ลงมติเป็นรายฉบับ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมฝ่ายค้านได้กล่าวตำหนิที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศว่าไม่ยอมเดินทางเข้าร่วมประชุม เพื่อชี้แจงกรอบการเจรจาในครั้งนี้ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลได้มอบหมายให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชี้แจงความจำเป็นของการเสนอกรอบการเจรจาต่างๆ แทน ซึ่งหลังจากที่ประชุมใช้เวลาอภิปรายเกือบหนึ่งชั่วโมง ในที่สุดเสียงส่วนใหญ่ได้มีมติให้ปิดการอภิปราย และมีมติให้ความเห็นชอบ
1.ร่างกรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 306 ต่อ 6 งดออกเสียง 37 ไม่ลงคะแนน14
2.ให้ความเห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย-ลาว ครั้งที่ 17 ด้วยคะแนนเสียง 307 ต่อ 0 งดออกเสียง 43ไม่ลงคะแนน 10
3. ให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 0 งดออกเสียง 39 ไม่ลงคะแนน 11
4.ให้ความเห็นชอบกรอบการประชุมเพื่อรักษาความมั่นคงความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ใ นกรอบของคณะกรรมการระดับสูงไทย-อินโดนีเซียและกลไกอื่นๆภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 308 ต่อ 1 งดออกเสียง 42 ไม่ลงคะแนน 12
5.ให้ความเห็นชอบกรอบการประชุมเพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ด้วยคะแนนเสียง 314 ต่อ1 งดออกเสียง 46 ไม่ลงคะแนน 12
6.ให้ความเห็นชอบกรอบการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาวและกลไกที่เกี่ยวข้องด้วยคะแนนเสียง 320 ต่อ 4 งดออกเสียง 43 ไม่ลงคะแนน 10นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้เห็นชอบที่คณะรัฐมนตรีขอถอนเรื่องเงินกู้จากธนาคารโลกออกจากระเบียบวาระการประชุมด้วย โดยนายชัย ชิดชอบ ได้สั่งปิดการประชุมทันทีเมื่อเวลา 11.10 น.เพื่อให้ส.ส.ได้เตรียมพร้อมสำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในเวลา 13.30 น.ของวันเดียวกันนี้(2ก.ย.)
**”รสนา”ฉะ “ป้อม-เทือก” ไม่เคลียร์
ด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่คัดค้าน เรื่องร่างกรอบการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณี กัมพูชา ภายหลังการประชุมร่วมกันของรัฐสภา กลุ่ม 40 ส.ว.ได้หารือในเรื่องนี้ โดยภายหลังประชุม น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ซึ่งเป็น 1 ใน 6 สมาชิกรัฐสภา ที่โหวตไม่เห็นด้วยกับร่างกรอบการเจรจาเพื่อรักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้
น.ส.รสนา กล่าวถึงสาเหตุที่ไม่เห็นด้วย เพราะการชี้แจงรายละเอียดในพื้นที่ทับซ้อน ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะการกรณีปล่อยให้กัมพูชาทำถนนขึ้นเขาพระวิหาร ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ชี้แจงว่าคนไทยได้รับประโยชน์ ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ก็ช่วยชี้แจงก็ยังไม่เคลียร์ เพราะตนยังไม่เห็นว่าคนไทยได้ประโยชน์อย่างไร
อย่างไรก็ตาม รัฐสภาให้ความเห็นชอบดังกล่าว ยังถือว่าไทยยังไม่เสียดินแดน เพราะเป็นการขออนุญาตในเรื่องการเก็บวัตถุระเบิด และการถอนทหารออกจากพื้นที่ แตกต่างจากบันทึกการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องเจรจาเรื่องเขตแดนไทย ที่กำลังจะเข้าขอความเห็นชอบในเร็วๆนี้ ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภา จะนัดประชุมเมื่อใด ซึ่งนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะต้องมาตอบ เพราะเป็นการตกลงเรื่องการแบ่งเขตแดนว่าจะใช้รูปแบบใด ระหว่างการใช้สันปันน้ำ หรือแผนที่ อัตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งตนจะเสนอให้ตั้งคณะกรรมมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาให้รอบคอบ
ด้านนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. ผู้เห็นชอบในร่างดังกล่าวนี้ กล่าวว่า สาเหตุที่โหวตให้ผ่าน เพราะเป็นเรื่องความสงบเรียบร้อยทางด้านความมั่นคง แต่หากการพิจารณาครั้งหน้าในเรื่องบันทึกการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องตกลงเรื่องเขตแดน ตนไม่เห็นด้วยแน่นอน
**”ไพบูลย์ – สมชาย" หนีโหวต
อ้างติดประชุมมาไม่ทัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. ที่มีความเห็นคัดค้านกับเรื่องนี้ นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.สรรหา นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ไม่ได้เข้าห้องประชุมเพื่อโหวตในร่างดังกล่าว โดยอ้างว่าติดประชุม วิ่งไปโหวตไม่ทัน พร้อมทั้งยืนยันว่า หากการประชุมครั้งหน้าคือเรื่อง บันทึกการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรีเสนอ จะแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน