พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) กำลังจะกลายเป็นพรรคผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่น ภายหลังได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันอาทิตย์(30ส.ค.) เรื่องนี้ทำให้นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญในประเทศจีนจำนวนหนึ่งพากันคาดหมายว่า ทั้งสองชาติจะเคลื่อนเข้าใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากดีพีเจมักแสดงท่าทีเป็นมิตรกับจีนมากกว่าแอลดีพีเสมอมา
อย่างไรก็ดี จุดยืนของพรรคเมื่อตอนที่ยังเป็นฝ่ายค้านย่อมเป็นเรื่องหนึ่ง สิ่งที่พวกเขากระทำเมื่อได้เป็นรัฐบาลแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
พวกผู้นำจีนตลอดจนสามัญชนชาวจีนจำนวนมากมาย ต่างลงความเห็นกันมานานแล้วว่า อุปสรรคใหญ่ที่ขัดขวางไม่ให้สายสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้ ก็คือ ทัศนะของรัฐบาลญี่ปุ่นนั่นเอง ว่าจะมองข้อเท็จจริงในเรื่องที่ญี่ปุ่นรุกรานจีนและประเทศเอเชียอื่นๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองกันอย่างไร
จากมุมมองของจีนแล้ว รัฐบาลชุดต่างๆ ญี่ปุ่นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาซึ่งล้วนมีพรรคแอลดีพีเป็นแกนนำแทบจะต่อเนื่องโดยตลอด ไม่เคยเลยที่จะแสดงความจริงใจในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น โทชิโอะ ทาโมงามิ ผู้เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศในยุครัฐบาลแอลดีพี ได้พูดเอาไว้ว่า สงครามที่ญี่ปุ่นทำในเอเชียตะวันออกในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่แล้ว เป็น "การรณรงค์ต่อสู้เพื่อปลดแอกทางเชื้อชาติจากการปกครองของพวกผิวขาว จึงมีประเทศต่างๆ จำนวนมากมองเห็นเป็นแง่บวก"
ความคิดเห็นเช่นนี้ย่อมไม่มีคุณค่าที่จะถือเป็นจริงเป็นจัง กระนั้นก็ตาม ทัศนะต่อประวัติศาสตร์ทำนองนี้เอง คือมุมมองที่นิยมชมชอบกันนักในหมู่ฝ่ายขวาและพวกอนุรักษนิยมของญี่ปุ่น ผู้ชอบแต่งแต้มใส่สีใส่ไข่ทำให้การที่ญี่ปุ่นรุกรานพวกประเทศเพื่อนบ้านทางเอเชียในศตวรรษที่ 20 กลายเป็นเรื่องสวยสดงดงาม
นิกโกโล แมคเคียเวลลี นักปรัชญาการเมืองชื่อดังชาวอิตาลีในยุคกลาง ได้เขียนในผลงานชิ้นเอกซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายของเขา คือเรื่อง "เจ้า" (The Prince) เอาไว้ว่า ตราบเท่าที่จุดประสงค์เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เราก็สามารถทำอะไรได้ทั้งสิ้นเพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "จุดมุ่งหมาย" ทำให้ "วิธีการ"บังเกิดความถูกต้องชอบธรรม คำสอนของแมคเคียเวลลีได้กลายเป็นกฎที่ทำให้พวกผู้ปกครองทั้งหลายไม่รู้สึกว่าทำความผิดอะไรเลยในช่วงเวลาก่อนที่จะเข้าสู่ยุคใหม่ ทว่าทฤษฎีอันล้าสมัยทฤษฎีนี้ก็ไปไม่รอดเสียแล้วในโลกยุคสมัยใหม่
ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐทั้งหลายย่อมไม่สามารถปล่อยให้ปัจเจกบุคคลใดๆ หรือกลุ่มใดๆ ใช้วิธีการอันเลวทรามต่ำช้าเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ไม่ว่าจุดมุ่งหมายดังกล่าวจะดูสูงส่งหรือดูยิ่งใหญ่เพียงใด การมีเจตนารมณ์ที่ดีแต่กลับทำให้เกิดผลลัพธ์อันเลวร้ายนั้น ใครๆ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะอ้างเอาเจตนารมณ์ที่ดีดังกล่าวเป็นข้อแก้ตัวอันชอบด้วยกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่สิ่งที่เขาหรือเธอกระทำลงไป แล้วจะได้ไม่ต้องรับโทษจากการกระทำนั้นๆ การพูดเช่นนี้เป็นทั้งหลักสามัญสำนึกซึ่งคนทั้งหลายยึดถือกัน และก็ทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย กล่าวคือ ไม่มีประเทศใดเลยที่ควรใช้ความรุนแรงอย่างผิดกฎหมายมาเล่นงานอีกประเทศหนึ่ง โดยอ้างว่ากระทำลงไปเนื่องจากตนเองมี "เจตนารมณ์ที่ดี"
เมื่อพิจารณาถึงเรื่องนี้แล้ว ก็เป็นที่น่าประหลาดใจยิ่งที่ยังมีชาวญี่ปุ่นบางคนยอมรับนับถือทฤษฎีว่าด้วย "จุดมุ่งหมายทำให้วิธีการบังเกิดความถูกต้องชอบธรรม" กันอยู่อีก และใช้ทฤษฎีนี้มาสร้างความชอบธรรมให้แก่การที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน, เกาหลี, และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ถ้าหากจีนในเวลานี้เข้ายึดครองเกาะโอกินาวาด้วย "เจตนารมณ์ที่ดี" บ้าง ญี่ปุ่นจะยอมรับหรือไม่?
หากพิจารณาจากมุมมองของจีนบ้าง ทาโมงามิและผู้สนับสนุนตลอดจนสานุศิษย์ทั้งหลายควรต้องเข้าใจว่า ก่อนอื่นใดเลย ไม่ว่ารัฐบาลจีนหรือประชาชนจีนล้วนแต่ไม่เคยเชื้อเชิญหรือขอร้องให้กองทหารญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองดินแดนมาตุภูมิของพวกเขาในช่วงตั้งแต่ปี 1931 จนถึงปี 1945
ทาโมงามิใช้คำว่า "การปลดแอกทางเชื้อชาติจากการปกครองของพวกผิวขาว" แต่สงครามที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นมาและยืดเยื้ออยู่นาน 8 ปี โดยที่มีชาวจีนตายไปราว 20 ล้านคนนั้น จะเรียกว่าเป็น 'การปลดแอก' ไปได้อย่างไร? ความเป็นจริงก็คือก่อนที่ชาวจีนจะสามารถ "ได้รับการปลดแอก" จากการปกครองของพวกผิวขาวนั้น พวกเขากลับต้องถูกปกครองโดยคนญี่ปุ่นจวบจนกระทั่งถึงปี 1945
ย่อมเป็นการดีกว่าสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดรวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ที่จะมองไปข้างหน้า และไม่เข้าไปพัวพันยุ่งเกี่ยวกับเขาวงกตทางประวัติศาสตร์อันสลับซับซ้อน ในเวลาเดียวกัน แต่ละประเทศก็ย่อมไม่สามารถตัดขาดความเกี่ยวพันระหว่างปัจจุบันกับอดีตของตนออกไปอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง และญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้น ทว่าญี่ปุ่นจะทำได้ดีกว่านี้ ถ้าหากเผชิญหน้ากับประเด็นปัญหาต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ด้วยความกล้าหาญมากกว่านี้, ด้วยความตรงไปตรงมาและด้วยความจริงใจมากกว่านี้ เหมือนดังที่เยอรมนีกำลังกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
จากการที่ ยูกิโอะ ฮาโตยามะ กำลังจะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนต่อไป เขาและพรรคดีพีเจของเขา จึงมีโอกาสที่จะกระทำสิ่งนี้ ภายหลังจากช่วงเวลาหลายๆ ปีแห่งการปกครองของแอลดีพีได้ล้มเหลวไม่ยอมแก้ไขประเด็นปัญหานี้
อย่างไรก็ดี จุดยืนของพรรคเมื่อตอนที่ยังเป็นฝ่ายค้านย่อมเป็นเรื่องหนึ่ง สิ่งที่พวกเขากระทำเมื่อได้เป็นรัฐบาลแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
พวกผู้นำจีนตลอดจนสามัญชนชาวจีนจำนวนมากมาย ต่างลงความเห็นกันมานานแล้วว่า อุปสรรคใหญ่ที่ขัดขวางไม่ให้สายสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้ ก็คือ ทัศนะของรัฐบาลญี่ปุ่นนั่นเอง ว่าจะมองข้อเท็จจริงในเรื่องที่ญี่ปุ่นรุกรานจีนและประเทศเอเชียอื่นๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองกันอย่างไร
จากมุมมองของจีนแล้ว รัฐบาลชุดต่างๆ ญี่ปุ่นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาซึ่งล้วนมีพรรคแอลดีพีเป็นแกนนำแทบจะต่อเนื่องโดยตลอด ไม่เคยเลยที่จะแสดงความจริงใจในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น โทชิโอะ ทาโมงามิ ผู้เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศในยุครัฐบาลแอลดีพี ได้พูดเอาไว้ว่า สงครามที่ญี่ปุ่นทำในเอเชียตะวันออกในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่แล้ว เป็น "การรณรงค์ต่อสู้เพื่อปลดแอกทางเชื้อชาติจากการปกครองของพวกผิวขาว จึงมีประเทศต่างๆ จำนวนมากมองเห็นเป็นแง่บวก"
ความคิดเห็นเช่นนี้ย่อมไม่มีคุณค่าที่จะถือเป็นจริงเป็นจัง กระนั้นก็ตาม ทัศนะต่อประวัติศาสตร์ทำนองนี้เอง คือมุมมองที่นิยมชมชอบกันนักในหมู่ฝ่ายขวาและพวกอนุรักษนิยมของญี่ปุ่น ผู้ชอบแต่งแต้มใส่สีใส่ไข่ทำให้การที่ญี่ปุ่นรุกรานพวกประเทศเพื่อนบ้านทางเอเชียในศตวรรษที่ 20 กลายเป็นเรื่องสวยสดงดงาม
นิกโกโล แมคเคียเวลลี นักปรัชญาการเมืองชื่อดังชาวอิตาลีในยุคกลาง ได้เขียนในผลงานชิ้นเอกซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายของเขา คือเรื่อง "เจ้า" (The Prince) เอาไว้ว่า ตราบเท่าที่จุดประสงค์เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เราก็สามารถทำอะไรได้ทั้งสิ้นเพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "จุดมุ่งหมาย" ทำให้ "วิธีการ"บังเกิดความถูกต้องชอบธรรม คำสอนของแมคเคียเวลลีได้กลายเป็นกฎที่ทำให้พวกผู้ปกครองทั้งหลายไม่รู้สึกว่าทำความผิดอะไรเลยในช่วงเวลาก่อนที่จะเข้าสู่ยุคใหม่ ทว่าทฤษฎีอันล้าสมัยทฤษฎีนี้ก็ไปไม่รอดเสียแล้วในโลกยุคสมัยใหม่
ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐทั้งหลายย่อมไม่สามารถปล่อยให้ปัจเจกบุคคลใดๆ หรือกลุ่มใดๆ ใช้วิธีการอันเลวทรามต่ำช้าเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ไม่ว่าจุดมุ่งหมายดังกล่าวจะดูสูงส่งหรือดูยิ่งใหญ่เพียงใด การมีเจตนารมณ์ที่ดีแต่กลับทำให้เกิดผลลัพธ์อันเลวร้ายนั้น ใครๆ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะอ้างเอาเจตนารมณ์ที่ดีดังกล่าวเป็นข้อแก้ตัวอันชอบด้วยกฎหมาย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่สิ่งที่เขาหรือเธอกระทำลงไป แล้วจะได้ไม่ต้องรับโทษจากการกระทำนั้นๆ การพูดเช่นนี้เป็นทั้งหลักสามัญสำนึกซึ่งคนทั้งหลายยึดถือกัน และก็ทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย กล่าวคือ ไม่มีประเทศใดเลยที่ควรใช้ความรุนแรงอย่างผิดกฎหมายมาเล่นงานอีกประเทศหนึ่ง โดยอ้างว่ากระทำลงไปเนื่องจากตนเองมี "เจตนารมณ์ที่ดี"
เมื่อพิจารณาถึงเรื่องนี้แล้ว ก็เป็นที่น่าประหลาดใจยิ่งที่ยังมีชาวญี่ปุ่นบางคนยอมรับนับถือทฤษฎีว่าด้วย "จุดมุ่งหมายทำให้วิธีการบังเกิดความถูกต้องชอบธรรม" กันอยู่อีก และใช้ทฤษฎีนี้มาสร้างความชอบธรรมให้แก่การที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน, เกาหลี, และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ถ้าหากจีนในเวลานี้เข้ายึดครองเกาะโอกินาวาด้วย "เจตนารมณ์ที่ดี" บ้าง ญี่ปุ่นจะยอมรับหรือไม่?
หากพิจารณาจากมุมมองของจีนบ้าง ทาโมงามิและผู้สนับสนุนตลอดจนสานุศิษย์ทั้งหลายควรต้องเข้าใจว่า ก่อนอื่นใดเลย ไม่ว่ารัฐบาลจีนหรือประชาชนจีนล้วนแต่ไม่เคยเชื้อเชิญหรือขอร้องให้กองทหารญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองดินแดนมาตุภูมิของพวกเขาในช่วงตั้งแต่ปี 1931 จนถึงปี 1945
ทาโมงามิใช้คำว่า "การปลดแอกทางเชื้อชาติจากการปกครองของพวกผิวขาว" แต่สงครามที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นมาและยืดเยื้ออยู่นาน 8 ปี โดยที่มีชาวจีนตายไปราว 20 ล้านคนนั้น จะเรียกว่าเป็น 'การปลดแอก' ไปได้อย่างไร? ความเป็นจริงก็คือก่อนที่ชาวจีนจะสามารถ "ได้รับการปลดแอก" จากการปกครองของพวกผิวขาวนั้น พวกเขากลับต้องถูกปกครองโดยคนญี่ปุ่นจวบจนกระทั่งถึงปี 1945
ย่อมเป็นการดีกว่าสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกทั้งหมดรวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ที่จะมองไปข้างหน้า และไม่เข้าไปพัวพันยุ่งเกี่ยวกับเขาวงกตทางประวัติศาสตร์อันสลับซับซ้อน ในเวลาเดียวกัน แต่ละประเทศก็ย่อมไม่สามารถตัดขาดความเกี่ยวพันระหว่างปัจจุบันกับอดีตของตนออกไปอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง และญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้น ทว่าญี่ปุ่นจะทำได้ดีกว่านี้ ถ้าหากเผชิญหน้ากับประเด็นปัญหาต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ด้วยความกล้าหาญมากกว่านี้, ด้วยความตรงไปตรงมาและด้วยความจริงใจมากกว่านี้ เหมือนดังที่เยอรมนีกำลังกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
จากการที่ ยูกิโอะ ฮาโตยามะ กำลังจะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนต่อไป เขาและพรรคดีพีเจของเขา จึงมีโอกาสที่จะกระทำสิ่งนี้ ภายหลังจากช่วงเวลาหลายๆ ปีแห่งการปกครองของแอลดีพีได้ล้มเหลวไม่ยอมแก้ไขประเด็นปัญหานี้