ASTVผู้จัดการรายวัน-พลังงานนัดเครือข่ายแท็กซี่เขตกทม.หารือวันนี้ (27ส.ค.) หวังเดินหน้าโครงการปรับเปลี่ยนแอลพีจีเป็นเอ็นจีวีฟรีในรถแท็กซี่ 3 หมื่นคันวงเงิน 1,200 ล้านบาท ยันไม่มีล็อคสเปกอู่ติดตั้ง เหตุต้องผ่านประมูลและต้องได้มาตรฐาน ธพ.เป็นงงกลุ่มแท็กซี่กล่าวหาล็อคสเปกเหลือ 3 รายทั้งที่ยังไม่ได้ร่างทีโออาร์
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการหารือกับกลุ่มเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร นำโดยนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานสหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด ที่ได้ยื่นข้อร้องเรียนต่อกระทรวงฯ ถึงความชัดเจนการติดตั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือเอ็นจีวีกับกลุ่มแท็กซี่ วานนี้ (26 ส.ค.) ว่า จะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการดำเนินโครงการติดตั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือเอ็นจีวีกับกลุ่มแท็กซี่เพื่อเปลี่ยนการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในแท็กซี่ 3 หมื่นคันมาเป็นเอ็นจีวีฟรีตามนโยบายรัฐบาล โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวงเงิน 1,200 ล้านบาท ในวันนี้ (27 ส.ค.) โดยจะพิจารณารายละเอียดร่วมกับกลุ่มแท็กซี่อีกครั้งหนึ่ง และยืนยันว่ากระบวนการดำเนินงานจะโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง
“การปรับเปลี่ยนการใช้ก๊าซแอลพีจีมาเป็นเอ็นจีวี 3 หมื่นคัน รัฐบาลจะติดตั้งให้ฟรี แต่ทางกลุ่มรถแท็กซี่ต้องการความชัดเจนจากกระทรวงพลังงานถึงการดำเนินงาน โดยเฉพาะการติดตั้งกับอู่ยังเป็นอู่เดิมที่เคยทำก่อนหน้านี้ที่ได้มาตรฐาน 20 รายหรือไม่ เนื่องจากกังวลกับกระแสข่าวที่ออกมาว่าจะมีการคัดเลือกติดตั้งเหลือเพียง 3 รายจาก 20 ราย ซึ่งเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากโครงการกำหนดติดตั้งให้ครบภายใน 4 เดือน ขณะที่จำนวนรถมีสูงถึง 3 หมื่นคัน”นายณอคุณกล่าว
นายพีรพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า การดำเนินการเพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแท็กซี่ในขณะนี้ยังไม่ได้ร่างทีโออาร์แต่อย่างใด โดยคณะทำงานซึ่งมีนายณอคุณ เป็นประธานยังไม่ได้เรียกประชุม จึงรู้สึกแปลกใจว่า ทำไมมีข่าวเรื่องล็อกสเปก โดยปัจจุบันมีผู้ที่ได้ใบอนุญาตปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ 20 ราย จะเปิดทีโออาร์ให้เข้ามาแข่งขัน ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่ใช่รายเดียวที่จะชนะประมูล เพราะคาดว่าคงจะดำเนินการไม่ทันกำหนด
สำหรับแนวทางการเปลี่ยนเครื่องยนต์นั้น จะต้องดูถึงมาตรฐานของอุปกรณ์ ราคา รวมถึงเมื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแล้วอุปกรณ์แอลพีจีทั้งหมดจะต้องนำไปทำลายเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ไม่ส่งเสริมให้นำแอลพีจีมาใช้ในรถยนต์อีก ซึ่งกระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาว่าการประมูลจะแยกออกเป็นการติดตั้งเครื่องยนต์และการทำลายอุปกรณ์แอลพีจีหรือให้ผู้ชนะประมูลติดตั้งทำลายอุปกรณ์แอลพีจีไปด้วย
"คาดว่าการร่างทีโออาร์และประกาศจนได้ผู้ชนะประมูลที่จะใช้ระบบอีอ๊อกชั่นต้องใช้เวลา 1 เดือนครึ่ง ซึ่งการที่รถแท็กซี่ออกมาขอมีส่วนร่วม นับเป็นเรื่องดีที่จะได้เข้ามาเป็นกรรมการด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องยืนยันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ คือ ต้องทำลายอุปกรณ์แอลพีจีทั้งหมด ภาครัฐจึงต้องจัดประมูลเพื่อป้องกันการเอาไปใช้ใหม่หรือขายต่อ"นายพีรพลกล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชยค่าก๊าซเอ็นจีวีให้กับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) วงเงิน 360 ล้านบาทต่อเดือนเป็นเวลา 1 ปี เพราะเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ และขอให้มีการตรวจสอบกรณีการล๊อกสเป็กให้ 3 บริษัทเข้ามาติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีในรถแท็กซี่ 3 หมื่นคัน
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการหารือกับกลุ่มเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร นำโดยนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานสหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด ที่ได้ยื่นข้อร้องเรียนต่อกระทรวงฯ ถึงความชัดเจนการติดตั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือเอ็นจีวีกับกลุ่มแท็กซี่ วานนี้ (26 ส.ค.) ว่า จะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการดำเนินโครงการติดตั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์หรือเอ็นจีวีกับกลุ่มแท็กซี่เพื่อเปลี่ยนการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในแท็กซี่ 3 หมื่นคันมาเป็นเอ็นจีวีฟรีตามนโยบายรัฐบาล โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวงเงิน 1,200 ล้านบาท ในวันนี้ (27 ส.ค.) โดยจะพิจารณารายละเอียดร่วมกับกลุ่มแท็กซี่อีกครั้งหนึ่ง และยืนยันว่ากระบวนการดำเนินงานจะโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง
“การปรับเปลี่ยนการใช้ก๊าซแอลพีจีมาเป็นเอ็นจีวี 3 หมื่นคัน รัฐบาลจะติดตั้งให้ฟรี แต่ทางกลุ่มรถแท็กซี่ต้องการความชัดเจนจากกระทรวงพลังงานถึงการดำเนินงาน โดยเฉพาะการติดตั้งกับอู่ยังเป็นอู่เดิมที่เคยทำก่อนหน้านี้ที่ได้มาตรฐาน 20 รายหรือไม่ เนื่องจากกังวลกับกระแสข่าวที่ออกมาว่าจะมีการคัดเลือกติดตั้งเหลือเพียง 3 รายจาก 20 ราย ซึ่งเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากโครงการกำหนดติดตั้งให้ครบภายใน 4 เดือน ขณะที่จำนวนรถมีสูงถึง 3 หมื่นคัน”นายณอคุณกล่าว
นายพีรพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า การดำเนินการเพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแท็กซี่ในขณะนี้ยังไม่ได้ร่างทีโออาร์แต่อย่างใด โดยคณะทำงานซึ่งมีนายณอคุณ เป็นประธานยังไม่ได้เรียกประชุม จึงรู้สึกแปลกใจว่า ทำไมมีข่าวเรื่องล็อกสเปก โดยปัจจุบันมีผู้ที่ได้ใบอนุญาตปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ 20 ราย จะเปิดทีโออาร์ให้เข้ามาแข่งขัน ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่ใช่รายเดียวที่จะชนะประมูล เพราะคาดว่าคงจะดำเนินการไม่ทันกำหนด
สำหรับแนวทางการเปลี่ยนเครื่องยนต์นั้น จะต้องดูถึงมาตรฐานของอุปกรณ์ ราคา รวมถึงเมื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแล้วอุปกรณ์แอลพีจีทั้งหมดจะต้องนำไปทำลายเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ไม่ส่งเสริมให้นำแอลพีจีมาใช้ในรถยนต์อีก ซึ่งกระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาว่าการประมูลจะแยกออกเป็นการติดตั้งเครื่องยนต์และการทำลายอุปกรณ์แอลพีจีหรือให้ผู้ชนะประมูลติดตั้งทำลายอุปกรณ์แอลพีจีไปด้วย
"คาดว่าการร่างทีโออาร์และประกาศจนได้ผู้ชนะประมูลที่จะใช้ระบบอีอ๊อกชั่นต้องใช้เวลา 1 เดือนครึ่ง ซึ่งการที่รถแท็กซี่ออกมาขอมีส่วนร่วม นับเป็นเรื่องดีที่จะได้เข้ามาเป็นกรรมการด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องยืนยันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ คือ ต้องทำลายอุปกรณ์แอลพีจีทั้งหมด ภาครัฐจึงต้องจัดประมูลเพื่อป้องกันการเอาไปใช้ใหม่หรือขายต่อ"นายพีรพลกล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชยค่าก๊าซเอ็นจีวีให้กับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) วงเงิน 360 ล้านบาทต่อเดือนเป็นเวลา 1 ปี เพราะเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ และขอให้มีการตรวจสอบกรณีการล๊อกสเป็กให้ 3 บริษัทเข้ามาติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีในรถแท็กซี่ 3 หมื่นคัน