รอยเตอร์ – ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ เสนอชื่อแต่งตั้งเบน เบอร์นันกีให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นสมัยที่สองในวันอังคาร (25) เพื่อให้เขารับหน้าที่คุมหางเสือ คอยประคับประคองเศรษฐกิจอเมริกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกให้พ้นจากภาวะถดถอยครั้งร้ายแรงที่สุดต่อไป รวมทั้งเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นใจในหมู่นักลงทุนทั้งในประเทศและทั่วโลก
โอบามาซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพักร้อนกับครอบครัวที่เกาะมาร์ธาส์ วินยาร์ด ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้ปลีกตัวออกมาประกาศการเสนอชื่อแต่งตั้งดังกล่าว โดยมีเบอร์นันกียืนอยู่ข้างๆ
“เบนเข้าไปดูแลระบบการเงินที่กำลังจวนเจียนจะล่มสลายด้วยความสุขุมและฉลาดรอบคอบ ด้วยการลงมือกระทำการอย่างห้าวหาญ และการใช้วิธีคิดแบบนอกกรอบ ซึ่งช่วยเตะเบรกหยุดยั้งเศรษฐกิจของประเทศเราที่กำลังดำดิ่งลงเหว” โอบามาแถลง
ข่าวเรื่องการแต่งตั้งเบอร์นันกีให้คุมเฟดอีก 4 ปี ได้รับการเผยแพร่จากสื่อต่างๆ ตั้งแต่ช่วงกลางวันทางเอเชียเมื่อวานนี้ โดยที่แทบไม่มีผลกระทบสำคัญต่อตลาดการเงินในทวีปนี้ตลอดจนทางยุโรปด้วย ทั้งนี้พวกนักลงทุนดูจะให้ความสนใจมากกว่าในเรื่องที่ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวแล้วจริงหรือไม่
“ผมไม่คิดว่าเรื่องนี้จะมีผลกระทบใหญ่โตอะไร แต่มันก็ควรถือเป็นข่าวด้านบวกสำหรับพวกตลาดอย่างตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ในแง่ที่ว่าองค์ประกอบที่ยังไม่มีความแน่นอนประการหนึ่ง กำลังมีความแน่นอนและกาทิ้งออกไปได้แล้ว” เป็นความเห็นของ ทาคาฮิเดะ นากาซากิ หัวหน้านักยุทธศาสตร์ตลาดเงินตราต่างประเทศ แห่ง ไดวะ ซีเคียวริตีส์ เอสเอ็มบีซี ในกรุงโตเกียว
การประกาศข่าวนี้ยังน่าที่จะหันเหความสนใจจากข่าวอื่นๆ ที่ตลาดถือเป็นข่าวร้าย เป็นต้นว่า ในวันเดียวกันนี้ ทำเนียบขาวกำลังเตรียมที่จะแถลงผลการศึกษาทบทวนการขาดดุลงบประมาณ ที่จะออกมาว่า ตัวเลขคาดการณ์การขาดดุลงบประมาณในระยะ 10 ปีจะเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นราวๆ 9 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกัน สำนักงานงบประมาณรัฐสภาก็จะแถลงการทบทวนเรื่องนี้ของตนเองเช่นกัน ซึ่งน่าจะออกมาไม่ดีเหมือนกัน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสหรัฐฯประสบวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบกว่า 60 ปี เบอร์นันกีได้ผลักดันทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในสหรัฐฯลดวูบลงมาจนอยู่ระดับใกล้ 0% รวมทั้งทุ่มอัดฉีดเงินหลายแสนล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดการเงิน เพื่อสกัดกั้นวิกฤตสินเชื่อ และพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอย
การเสนอชื่อแต่งตั้งเบอร์นันกีให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีก 4 ปีเช่นนี้ หมายความว่าโอบามาให้ความไว้วางใจอดีตศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันผู้นี้ ว่าจะเยียวยาเศรษฐกิจให้กลับคืนดี ในช่วงเวลาที่ปัญหายังคงรุมเร้าหนักหน่วง โดยทั้งเรื่องการว่างงาน การฟ้องร้องยึดบ้าน และการล้มละลายของธนาคาร ต่างก็ยังคงกำลังเพิ่มสูงขึ้น
การเสนอชื่อแต่งตั้งเบอร์นันกีเข้ารับตำแหน่งประธานเฟดต่ออีกสมัยเช่นนี้ ยังจะต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา และแม้ว่าพรรคเดโมแครตจะคุมเสียงในวุฒิสภาได้ แต่ที่ผ่านมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งสองพรรคว่า เบอร์นันกีใช้มาตรการอุดหนุนกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป จนอาจทำให้ยากลำบากในการที่จะลดเลิกมาตรการเหล่านี้เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับเงยหน้าขึ้นมาได้ และจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อในอนาคต
“แม้ว่าผมจะมีความเห็นแตกต่างจากธนาคารกลางอย่างร้ายแรงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ผมคิดว่าการแต่งตั้งเบอร์นันกีกลับมาเป็นประธานเฟดอีกครั้งอาจจะเป็นทางเลือกที่ถูกต้องก็เป็นได้” คริสโตเฟอร์ ดอดด์ ประธานคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา กล่าวในคำแถลง
แต่ดอดด์เป็นวุฒิสมาชิกสังกัดพรรคเดโมแครตจากรัฐคอนเนตทิคัต ก็บอกว่า ในการพิจารณาอนุมัติให้เบอร์นันกีอยู่ต่อสมัยที่สองนี้ เขาจะจัดให้มีการซักถาม “อย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบด้าน”
อย่างไรก็ตาม สำหรับพวกนักลงทุนแล้ว ต่างให้คะแนนสูงแก่ผลงานในสมัยแรกของเบอร์นันกี ทั้งนี้ วาระแรกแห่งการดำรงตำแหน่งของเขาจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2010
พวกนักวิเคราะห์มองว่า การที่โอบามาประกาศจะต่ออายุเบอร์นันกีกันตั้งแต่ตอนนี้ น่าจะเป็นเพราะต้องการทำให้เกิดเสถียรภาพ
“ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับเขาหรือไม่ก็ตามที แต่มาตรการต่างๆ ตลอดจนขนาดอันใหญ่โตในการเข้าแทรกแซงตลาด (ของเฟดในยุคของเบอร์นันกี) เวลานี้ก็ได้ถูกจดเอาไว้ในบันทึกรายงานประจำปีแห่งการวางนโยบายของเฟด ว่าเป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดการตอบรับอย่างน่าตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยปรากฏขึ้นมา” เดวิด โคท็อก ประธานของ คัมเบอร์แลนด์ แอดไวเซอร์ส ในเมืองวินแลนด์ มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ให้ความเห็น
ก่อนหน้านี้ ผู้ที่คาดว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งประธานเฟด หากไม่เลือกเบอร์นันกี ก็คือ ลอเรนซ์ ซัมเมอร์ส์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจระดับท็อปประจำทำเนียบขาว ผู้เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีคลังในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตันด้วย แต่เห็นกันว่าถ้าซัมเมอร์ส์ดำรงตำแหน่งประธานเฟด ก็อาจถูกครหาได้ว่าเป็นคนจากพรรคการเมือง และอาจทำให้ความเป็นอิสระของธนาคารกลางลดลง
เบอร์นันกีซึ่งปัจจุบันอายุ 55 ปี ได้รับแต่งตั้งให้นั่งตำแหน่งนี้ ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่มาจากพรรครีพับลิกัน โดยเขาเป็นประธานเฟดต่อจาก อลัน กรีนสแปน ผู้ลงจากตำแหน่งไปเมื่อเดือนมกราคม 2006
ระหว่างที่เป็นอาจารย์ เบอร์นันกีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และเมื่อมานั่งเป็นประธานเฟด เขาก็ได้ชื่อว่าได้เขียนหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานของธนาคารกลางกันใหม่ ด้วยการริเริ่มสร้างสรรค์มาตรการปล่อยกู้แบบที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาตลาดสินเชื่อตึงตัวหนัก ถึงแม้เวลานี้ เฟดก็กำลังเผชิญปัญหาในอีกด้านหนึ่ง นั่นคือ จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สามารถลดเลิกมาตรการเหล่านี้ได้ โดยที่ไม่กระทบกระเทือนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแออยู่
ขณะที่ได้รับคำชมเชยเป็นส่วนใหญ่ในเรื่องการลงมือปฏิบัติการอย่างเด็ดขาด แต่เบอร์นันกีก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเชื่องช้าเกินไปในการลดอัตราดอกเบี้ยขณะที่เศรษฐกิจเริ่มเลวร้ายในปี 2007 และบกพร่องล้มเหลวที่มองไม่เห็นฟองสบู่ในภาคที่อยู่อาศัย และไม่ได้ผลักดันให้เข้มงวดกฎเกณฑ์ด้านการปล่อยกู้ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตลอดช่วงเวลาราว 10 ปีที่เขานั่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารของเฟด
โอบามาซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพักร้อนกับครอบครัวที่เกาะมาร์ธาส์ วินยาร์ด ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้ปลีกตัวออกมาประกาศการเสนอชื่อแต่งตั้งดังกล่าว โดยมีเบอร์นันกียืนอยู่ข้างๆ
“เบนเข้าไปดูแลระบบการเงินที่กำลังจวนเจียนจะล่มสลายด้วยความสุขุมและฉลาดรอบคอบ ด้วยการลงมือกระทำการอย่างห้าวหาญ และการใช้วิธีคิดแบบนอกกรอบ ซึ่งช่วยเตะเบรกหยุดยั้งเศรษฐกิจของประเทศเราที่กำลังดำดิ่งลงเหว” โอบามาแถลง
ข่าวเรื่องการแต่งตั้งเบอร์นันกีให้คุมเฟดอีก 4 ปี ได้รับการเผยแพร่จากสื่อต่างๆ ตั้งแต่ช่วงกลางวันทางเอเชียเมื่อวานนี้ โดยที่แทบไม่มีผลกระทบสำคัญต่อตลาดการเงินในทวีปนี้ตลอดจนทางยุโรปด้วย ทั้งนี้พวกนักลงทุนดูจะให้ความสนใจมากกว่าในเรื่องที่ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวแล้วจริงหรือไม่
“ผมไม่คิดว่าเรื่องนี้จะมีผลกระทบใหญ่โตอะไร แต่มันก็ควรถือเป็นข่าวด้านบวกสำหรับพวกตลาดอย่างตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ในแง่ที่ว่าองค์ประกอบที่ยังไม่มีความแน่นอนประการหนึ่ง กำลังมีความแน่นอนและกาทิ้งออกไปได้แล้ว” เป็นความเห็นของ ทาคาฮิเดะ นากาซากิ หัวหน้านักยุทธศาสตร์ตลาดเงินตราต่างประเทศ แห่ง ไดวะ ซีเคียวริตีส์ เอสเอ็มบีซี ในกรุงโตเกียว
การประกาศข่าวนี้ยังน่าที่จะหันเหความสนใจจากข่าวอื่นๆ ที่ตลาดถือเป็นข่าวร้าย เป็นต้นว่า ในวันเดียวกันนี้ ทำเนียบขาวกำลังเตรียมที่จะแถลงผลการศึกษาทบทวนการขาดดุลงบประมาณ ที่จะออกมาว่า ตัวเลขคาดการณ์การขาดดุลงบประมาณในระยะ 10 ปีจะเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นราวๆ 9 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกัน สำนักงานงบประมาณรัฐสภาก็จะแถลงการทบทวนเรื่องนี้ของตนเองเช่นกัน ซึ่งน่าจะออกมาไม่ดีเหมือนกัน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสหรัฐฯประสบวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบกว่า 60 ปี เบอร์นันกีได้ผลักดันทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในสหรัฐฯลดวูบลงมาจนอยู่ระดับใกล้ 0% รวมทั้งทุ่มอัดฉีดเงินหลายแสนล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดการเงิน เพื่อสกัดกั้นวิกฤตสินเชื่อ และพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะถดถอย
การเสนอชื่อแต่งตั้งเบอร์นันกีให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีก 4 ปีเช่นนี้ หมายความว่าโอบามาให้ความไว้วางใจอดีตศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันผู้นี้ ว่าจะเยียวยาเศรษฐกิจให้กลับคืนดี ในช่วงเวลาที่ปัญหายังคงรุมเร้าหนักหน่วง โดยทั้งเรื่องการว่างงาน การฟ้องร้องยึดบ้าน และการล้มละลายของธนาคาร ต่างก็ยังคงกำลังเพิ่มสูงขึ้น
การเสนอชื่อแต่งตั้งเบอร์นันกีเข้ารับตำแหน่งประธานเฟดต่ออีกสมัยเช่นนี้ ยังจะต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา และแม้ว่าพรรคเดโมแครตจะคุมเสียงในวุฒิสภาได้ แต่ที่ผ่านมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งสองพรรคว่า เบอร์นันกีใช้มาตรการอุดหนุนกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป จนอาจทำให้ยากลำบากในการที่จะลดเลิกมาตรการเหล่านี้เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับเงยหน้าขึ้นมาได้ และจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อในอนาคต
“แม้ว่าผมจะมีความเห็นแตกต่างจากธนาคารกลางอย่างร้ายแรงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ผมคิดว่าการแต่งตั้งเบอร์นันกีกลับมาเป็นประธานเฟดอีกครั้งอาจจะเป็นทางเลือกที่ถูกต้องก็เป็นได้” คริสโตเฟอร์ ดอดด์ ประธานคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา กล่าวในคำแถลง
แต่ดอดด์เป็นวุฒิสมาชิกสังกัดพรรคเดโมแครตจากรัฐคอนเนตทิคัต ก็บอกว่า ในการพิจารณาอนุมัติให้เบอร์นันกีอยู่ต่อสมัยที่สองนี้ เขาจะจัดให้มีการซักถาม “อย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบด้าน”
อย่างไรก็ตาม สำหรับพวกนักลงทุนแล้ว ต่างให้คะแนนสูงแก่ผลงานในสมัยแรกของเบอร์นันกี ทั้งนี้ วาระแรกแห่งการดำรงตำแหน่งของเขาจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2010
พวกนักวิเคราะห์มองว่า การที่โอบามาประกาศจะต่ออายุเบอร์นันกีกันตั้งแต่ตอนนี้ น่าจะเป็นเพราะต้องการทำให้เกิดเสถียรภาพ
“ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับเขาหรือไม่ก็ตามที แต่มาตรการต่างๆ ตลอดจนขนาดอันใหญ่โตในการเข้าแทรกแซงตลาด (ของเฟดในยุคของเบอร์นันกี) เวลานี้ก็ได้ถูกจดเอาไว้ในบันทึกรายงานประจำปีแห่งการวางนโยบายของเฟด ว่าเป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดการตอบรับอย่างน่าตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยปรากฏขึ้นมา” เดวิด โคท็อก ประธานของ คัมเบอร์แลนด์ แอดไวเซอร์ส ในเมืองวินแลนด์ มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ให้ความเห็น
ก่อนหน้านี้ ผู้ที่คาดว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งประธานเฟด หากไม่เลือกเบอร์นันกี ก็คือ ลอเรนซ์ ซัมเมอร์ส์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจระดับท็อปประจำทำเนียบขาว ผู้เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีคลังในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตันด้วย แต่เห็นกันว่าถ้าซัมเมอร์ส์ดำรงตำแหน่งประธานเฟด ก็อาจถูกครหาได้ว่าเป็นคนจากพรรคการเมือง และอาจทำให้ความเป็นอิสระของธนาคารกลางลดลง
เบอร์นันกีซึ่งปัจจุบันอายุ 55 ปี ได้รับแต่งตั้งให้นั่งตำแหน่งนี้ ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่มาจากพรรครีพับลิกัน โดยเขาเป็นประธานเฟดต่อจาก อลัน กรีนสแปน ผู้ลงจากตำแหน่งไปเมื่อเดือนมกราคม 2006
ระหว่างที่เป็นอาจารย์ เบอร์นันกีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และเมื่อมานั่งเป็นประธานเฟด เขาก็ได้ชื่อว่าได้เขียนหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานของธนาคารกลางกันใหม่ ด้วยการริเริ่มสร้างสรรค์มาตรการปล่อยกู้แบบที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาตลาดสินเชื่อตึงตัวหนัก ถึงแม้เวลานี้ เฟดก็กำลังเผชิญปัญหาในอีกด้านหนึ่ง นั่นคือ จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สามารถลดเลิกมาตรการเหล่านี้ได้ โดยที่ไม่กระทบกระเทือนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแออยู่
ขณะที่ได้รับคำชมเชยเป็นส่วนใหญ่ในเรื่องการลงมือปฏิบัติการอย่างเด็ดขาด แต่เบอร์นันกีก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเชื่องช้าเกินไปในการลดอัตราดอกเบี้ยขณะที่เศรษฐกิจเริ่มเลวร้ายในปี 2007 และบกพร่องล้มเหลวที่มองไม่เห็นฟองสบู่ในภาคที่อยู่อาศัย และไม่ได้ผลักดันให้เข้มงวดกฎเกณฑ์ด้านการปล่อยกู้ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตลอดช่วงเวลาราว 10 ปีที่เขานั่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารของเฟด