เอเอฟพี – “โอบามา”ป้อง”ไกธ์เนอร์” ย้ำไม่ยอมให้ขุนคลังคู่บัลลังก์ลาออก พร้อมปกป้องงบประมาณและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังสำนักงบประมาณรัฐสภาเผยรายงานที่คาดว่ายอดขาดดุลปีนี้จะพุ่งโด่งถึง 1.845 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้
ในรายการ ’60 มินิตส์’ ที่บันทึกเทปล่วงหน้ารอการเผยแพร่ออกอากาศทางเครือข่ายสถานีซีบีเอสในวันอาทิตย์วานนี้ (22) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่าตนและรัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ยังไม่เคยคุยกันเรื่องการลาออกของฝ่ายหลัง และถึงไกธ์เนอร์มาขอลาออกจริง ตนก็จะไม่ยอมรับใบลาออกเด็ดขาด
ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักจากแนวทางรับมือวิกฤตเศรษฐกิจและเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองเกี่ยวกับโบนัสก้อนโตที่อเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ที่ขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐ แจกจ่ายให้ผู้บริหารระดับสูงรวมทั้งสิ้น 165 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้รวมถึงผู้บริหารบางคนจากแผนกที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้ยักษ์ใหญ่ด้านประกันภัยกลายเป็นยักษ์ล้ม
อันที่จริง สื่ออเมริกันรายงานเมื่อวันเสาร์(21)ว่า อัยการใหญ่มลรัฐคอนเนตทิคัต ริชาร์ด บลูเมนธอล ระบุว่าจากเอกสารต่างๆ ที่ได้รับจากเอไอจีในวันศุกร์(20) เขาคำนวณได้ว่าเอไอจีจ่ายโบนัสไป 218 ล้านดอลลาร์ด้วยซ้ำ ไม่ใช่แค่ 165 ล้านดอลลาร์ตามที่บริษัทกล่าวอ้าง กล่าวคือ เอไอจีจ่ายในเดือนมีนาคมนี้ 165 ล้านดอลลาร์จริงๆ ทว่ามีที่จ่ายตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมาอีกเกือบๆ 55 ล้านดอลลาร์
นอกจากเรื่องไกธ์เนอร์แล้ว ประธานาธิบดีสหรัฐฯยังกล่าวปกป้องแผนงบประมาณมูลค่า 3.55 ล้านล้านดอลลาร์และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 787,000 ล้านดอลลาร์ แต่ยอมรับว่าประชาชนไม่พอใจกับปัญหาเศรษฐกิจที่ยังเรื้อรังอยู่
“คงต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าที่ต้องการเพื่อให้แน่ใจว่าเราดำเนินการแผนการนี้ถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นระหว่างนี้เราจึงยังต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์กันต่อไป
“ทำไมนานจัง คุณเข้ารับตำแหน่งมา 40 วันแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้วิกฤตการเงินที่หนักหนาที่สุดในรอบกว่า 70 ปีได้” โอบามาเหน็บ
ก่อนหน้านี้ ในระหว่างการแถลงทางวิทยุประจำสัปดาห์ โอบามาบอกว่ายังยึดมั่นกับการลดยอดขาดดุลงบประมาณลงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี และว่าคณะรัฐบาลของเขากำลังพยายามศึกษางบประมาณอย่างละเอียดเพื่อหาทางลดยอดขาดดุลให้ได้ 2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในทศวรรษหน้า
การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวของโอบามามีขึ้น ขณะที่คองเกรสเตรียมเปิดอภิปรายในสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับร่างงบประมาณที่โอบามาเผยออกมาเดือนที่แล้ว
งบประมาณดังกล่าวเริ่มส่อเค้าต้องเผชิญปัญหาหนักหน่วงยิ่งขึ้นอีก เมื่อสำนักงบประมาณรัฐสภา (ซีบีโอ) ออกรายงานในวันศุกร์(20) โดยคาดการณ์ว่าภายใต้ข้อเสนอของโอบามา ยอดขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะพุ่งถึง 1.845 ล้านล้านดอลลาร์ สูงกว่าของปีที่แล้วสี่เท่า หรือคิดเป็น 13.1% ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของประเทศ
ซีบีโอแจงว่านับจากการประเมินยอดขาดดุลเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ การออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการอื่นๆ ในการฟื้นเศรษฐกิจและปัจจัยอีกมากมาย ทำให้ตัวเลขคาดการณ์ยอดขาดดุลสำหรับปีนี้และปีหน้าพุ่งขึ้นกว่า 400,000 ล้านดอลลาร์
ทางด้านพรรครีพับลิกันฝ่ายค้าน ได้ฉวยโอกาสทันควันออกมาโจมตีนโยบายเศรษฐกิจของโอบามา มิตช์ แมกคอนเนลล์ ผู้นำรีพับลิกันในสภาสูงบอกว่า การประเมินของซีบีโอนั้น “แย่ยิ่งกว่าการคาดการณ์แง่ลบที่สุดสำหรับงบประมาณฉบับนี้อีก เรียกได้ว่าถ้าเคยมีข้อเคลือบแคลงว่างบประมาณของคณะบริหารชุดนี้มีการใช้จ่าย เก็บภาษี และกู้ยืมมากเกินไป วันนี้ข้อเคลือบแคลงนั้นคงหายไปหมดแล้ว”
กระนั้น โอบามาออกมาตอบโต้ทันควันเช่นกัน โดยแย้งว่าข้อเสนอเศรษฐกิจของตนเป็นการมุ่งเสนอทางออกระยะยาวสำหรับปัญหาเชิงโครงสร้างของสหรัฐฯ และเป็นหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมในการสร้างการเติบโตด้วยการมุ่งแก้ไขปัญหาใหญ่ที่ลากเศรษฐกิจตกต่ำมายาวนานเกินไป นั่นคือต้นทุนแพงลิบด้านสุขอนามัย การพึ่งพิงน้ำมันต่างชาติ การขาดดุลทางการศึกษาและการคลัง
ประมุขทำเนียบขาวยังกระตุ้นให้สมาชิกรัฐสภาอย่าพยายามหลีกเลี่ยงระดับความรุนแรงของปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ รวมถึงเร่งผ่านงบประมาณที่จะทำให้สหรัฐฯ คืนกลับสู่เส้นทางความมั่งคั่ง
ในรายการ ’60 มินิตส์’ ที่บันทึกเทปล่วงหน้ารอการเผยแพร่ออกอากาศทางเครือข่ายสถานีซีบีเอสในวันอาทิตย์วานนี้ (22) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่าตนและรัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ยังไม่เคยคุยกันเรื่องการลาออกของฝ่ายหลัง และถึงไกธ์เนอร์มาขอลาออกจริง ตนก็จะไม่ยอมรับใบลาออกเด็ดขาด
ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักจากแนวทางรับมือวิกฤตเศรษฐกิจและเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองเกี่ยวกับโบนัสก้อนโตที่อเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ที่ขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐ แจกจ่ายให้ผู้บริหารระดับสูงรวมทั้งสิ้น 165 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้รวมถึงผู้บริหารบางคนจากแผนกที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้ยักษ์ใหญ่ด้านประกันภัยกลายเป็นยักษ์ล้ม
อันที่จริง สื่ออเมริกันรายงานเมื่อวันเสาร์(21)ว่า อัยการใหญ่มลรัฐคอนเนตทิคัต ริชาร์ด บลูเมนธอล ระบุว่าจากเอกสารต่างๆ ที่ได้รับจากเอไอจีในวันศุกร์(20) เขาคำนวณได้ว่าเอไอจีจ่ายโบนัสไป 218 ล้านดอลลาร์ด้วยซ้ำ ไม่ใช่แค่ 165 ล้านดอลลาร์ตามที่บริษัทกล่าวอ้าง กล่าวคือ เอไอจีจ่ายในเดือนมีนาคมนี้ 165 ล้านดอลลาร์จริงๆ ทว่ามีที่จ่ายตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมาอีกเกือบๆ 55 ล้านดอลลาร์
นอกจากเรื่องไกธ์เนอร์แล้ว ประธานาธิบดีสหรัฐฯยังกล่าวปกป้องแผนงบประมาณมูลค่า 3.55 ล้านล้านดอลลาร์และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 787,000 ล้านดอลลาร์ แต่ยอมรับว่าประชาชนไม่พอใจกับปัญหาเศรษฐกิจที่ยังเรื้อรังอยู่
“คงต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าที่ต้องการเพื่อให้แน่ใจว่าเราดำเนินการแผนการนี้ถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นระหว่างนี้เราจึงยังต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์กันต่อไป
“ทำไมนานจัง คุณเข้ารับตำแหน่งมา 40 วันแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้วิกฤตการเงินที่หนักหนาที่สุดในรอบกว่า 70 ปีได้” โอบามาเหน็บ
ก่อนหน้านี้ ในระหว่างการแถลงทางวิทยุประจำสัปดาห์ โอบามาบอกว่ายังยึดมั่นกับการลดยอดขาดดุลงบประมาณลงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี และว่าคณะรัฐบาลของเขากำลังพยายามศึกษางบประมาณอย่างละเอียดเพื่อหาทางลดยอดขาดดุลให้ได้ 2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในทศวรรษหน้า
การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวของโอบามามีขึ้น ขณะที่คองเกรสเตรียมเปิดอภิปรายในสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับร่างงบประมาณที่โอบามาเผยออกมาเดือนที่แล้ว
งบประมาณดังกล่าวเริ่มส่อเค้าต้องเผชิญปัญหาหนักหน่วงยิ่งขึ้นอีก เมื่อสำนักงบประมาณรัฐสภา (ซีบีโอ) ออกรายงานในวันศุกร์(20) โดยคาดการณ์ว่าภายใต้ข้อเสนอของโอบามา ยอดขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะพุ่งถึง 1.845 ล้านล้านดอลลาร์ สูงกว่าของปีที่แล้วสี่เท่า หรือคิดเป็น 13.1% ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของประเทศ
ซีบีโอแจงว่านับจากการประเมินยอดขาดดุลเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ การออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการอื่นๆ ในการฟื้นเศรษฐกิจและปัจจัยอีกมากมาย ทำให้ตัวเลขคาดการณ์ยอดขาดดุลสำหรับปีนี้และปีหน้าพุ่งขึ้นกว่า 400,000 ล้านดอลลาร์
ทางด้านพรรครีพับลิกันฝ่ายค้าน ได้ฉวยโอกาสทันควันออกมาโจมตีนโยบายเศรษฐกิจของโอบามา มิตช์ แมกคอนเนลล์ ผู้นำรีพับลิกันในสภาสูงบอกว่า การประเมินของซีบีโอนั้น “แย่ยิ่งกว่าการคาดการณ์แง่ลบที่สุดสำหรับงบประมาณฉบับนี้อีก เรียกได้ว่าถ้าเคยมีข้อเคลือบแคลงว่างบประมาณของคณะบริหารชุดนี้มีการใช้จ่าย เก็บภาษี และกู้ยืมมากเกินไป วันนี้ข้อเคลือบแคลงนั้นคงหายไปหมดแล้ว”
กระนั้น โอบามาออกมาตอบโต้ทันควันเช่นกัน โดยแย้งว่าข้อเสนอเศรษฐกิจของตนเป็นการมุ่งเสนอทางออกระยะยาวสำหรับปัญหาเชิงโครงสร้างของสหรัฐฯ และเป็นหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมในการสร้างการเติบโตด้วยการมุ่งแก้ไขปัญหาใหญ่ที่ลากเศรษฐกิจตกต่ำมายาวนานเกินไป นั่นคือต้นทุนแพงลิบด้านสุขอนามัย การพึ่งพิงน้ำมันต่างชาติ การขาดดุลทางการศึกษาและการคลัง
ประมุขทำเนียบขาวยังกระตุ้นให้สมาชิกรัฐสภาอย่าพยายามหลีกเลี่ยงระดับความรุนแรงของปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ รวมถึงเร่งผ่านงบประมาณที่จะทำให้สหรัฐฯ คืนกลับสู่เส้นทางความมั่งคั่ง