เอเอฟพี/เอเยนซีส์ – ถ้าหากประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ จะต้องสูญเสียอะไรสักอย่างจากกรณีอื้อฉาวเรื่องแรกของคณะรัฐบาลของเขา ซึ่งก็คือเรื่องการจ่ายโบนัสของบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) แล้ว สิ่งนั้นคงไม่ใช่คะแนนนิยมในตัวโอบามาอย่างแน่นอน เพราะจนถึงขณะนี้ผลโพลระบุว่าเขาก็ยังมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์สูง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่โอบามาสูญเสียไปอย่างชัดเจน ก็คือ บารมีในเรื่องความเปิดเผยจริงใจที่เขาสร้างสมไว้ในช่วงหาเสียงกับอเมริกันชน
เพียงชั่วเวลาสองเดือนหลังจากที่โอบามาเข้ามาเป็นผู้นำทำเนียบขาว เขาก็ต้องเผชิญกับความไม่พอใจของสาธารณชนที่กระตุ้นให้เขารับผิดชอบต่อการดำเนินงานของรัฐบาล แทนที่จะโยนความผิดว่าเป็นมรดกตกทอดจากรัฐบาลชุดก่อนอีกต่อไป
และแม้ว่าคนในรัฐบาลของโอบามาเอง จะไม่มีใครไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาการจ่ายโบนัสตอบแทนของเอไอจี แต่เมื่อบริษัทประกันยักษ์ใหญ่แห่งนี้ นำเงินช่วยเหลือเพื่อกอบกู้กิจการที่ได้จากรัฐบาล ไปจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหารกิจการถึง 165 ล้านดอลลาร์ เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวก็สั่นคลอนรัฐบาลของโอบามาอย่างหนัก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาจึงออกมายืนยันว่าจะไม่ปล่อยให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก “ผมขอรับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะผมเป็นประธานาธิบดี” โอบามาบอก
แต่ที่ร้ายกว่านั้นก็คือสื่อสหรัฐฯ รายงานในวันเสาร์ (21) ว่าที่จริงแล้วเอไอจีได้จ่ายเงินโบนัสให้กับผู้บริหารไปถึง 218 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นจำนวนสูงกว่าตัวเลขที่เปิดเผยออกมาถึงกว่า 50 ล้านดอลลาร์
แลร์รี ซาบาโต ศาสตราจารย์ด้านการเมืองประจำมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เป็น “จุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดยุคแห่งความไร้เดียงสา” ของคณะรัฐบาลโอบามา
ซาบาโตบอกอีกว่า “แน่นอนที่กรณีเอไอจีนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของประธานาธิบดีโอบามา โดยที่แน่ๆ รัฐมนตรีคลังของเขามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เรื่องนี้ไม่มีทางโยนไปให้รัฐบาลบุชอีกแล้ว”
แม้แต่ก่อนเกิดเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว เดวิด โบรเดอร์ นักวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ ก็บอกว่าคงไม่เร็วเกินไปที่จะบอกว่า “เวลาฮันนีมูนของโอบามาหมดลงแล้ว”
“พวกนักวิพากษ์วิจารณ์ของโอบามาทั้งในวอชิงตันและทั่วโลกต่างพบที่ทางซึ่งพวกเขาสามารถเปล่งเสียงแสดงความไม่พอใจออกมาแล้ว และพวกเขาก็เฝ้าดูการทำงานของรัฐบาลด้วยความสงสัยข้องใจชนิดที่ควรถือเป็นเรื่องปกติ ก็ต่อเมื่อภายหลังจากที่ผู้บริหารสูงสุดจัดสรรงานต่างๆ เข้าที่เข้าทางแล้วเท่านั้น” โบรเดอร์ระบุเมื่อวันที่ 15 มีนาคม
ตัวโอบามาเองก็เปิดช่องโหวให้แก่พวกที่ระแวงสงสัยเขาด้วย หลังจากที่เขาได้เสนอร่างงบประมาณต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นแผนการที่จะต้องมีการขาดดุลงบประมาณมหาศาล และต้องขึ้นภาษีกับผู้ที่มีรายได้สูง
แพท บูคานัน อดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดีรีพับลิกันหลายต่อหลายคน รวมทั้งเคยสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนของฝ่ายขวาจัด เชื่อว่าโอบามากำลังทำผิดพลาดแบบเดียวกับที่อดีตประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสันทำผิดพลาดเมื่อปี 1965
บูคานันระบุว่าจอห์นสันล้มเหลวก็เพราะ “เขาเดินเครื่องให้ทำงานหนักเกินไป” และอ่านความคาดหวังของประชาชนต่อการทำงานสืบต่อจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ผิดไป
“ประวัติศาสตร์ไม่เคยเดินซ้ำรอยเป๊ะ แต่บารัค โอบามากำลังทำผิดแบบเดียวกับที่จอห์นสันทำเมื่อปี 1965” บูคานันให้ความเห็น
“เขาสั่งการเพิ่มกำลังทหาร 17,000 คนเข้าไปในอัฟกานิสถาน ในขณะที่สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิมและพันธมิตรนาโตจะถอนตัวออกมา รวมทั้งเขาก็ไม่ได้เตรียมยุทธศาสตร์เผื่อการถอนตัวออกมาด้วย เขาอ่านการที่คนปฏิเสธจอร์จ บุชว่า เป็นการให้อำนาจรัฐบาลในการยึดเอาความมั่งคั่งและอำนาจที่ล้นเกิน เหมือนที่เคยมีการใช้นโยบายสร้างสังคมอันยิ่งใหญ่ (หรือ Great Society ในยุคของประธานาธิบดีจอห์นสัน)”
อย่างไรก็ตาม ซาโบโตและสตีเฟน กรีน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาเชื่อว่าโอบามามาถูกทางแล้วในความเป็นประธานาธิบดีของเขา แต่กรีนเสริมว่ากรณีอื้อฉาวเอไอจีนั้น “บั่นทอนทุนทางการเมืองของเขา มันส่งผลลบต่อรัฐบาล ทำให้ประชาชนไว้ใจรัฐบาลน้อยลง ความน่าเชื่อถือก็ลดน้อยลง เพราะฉะนั้นเขาจะต้องทำงานหนักขึ้นอีก”
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่โอบามาสูญเสียไปอย่างชัดเจน ก็คือ บารมีในเรื่องความเปิดเผยจริงใจที่เขาสร้างสมไว้ในช่วงหาเสียงกับอเมริกันชน
เพียงชั่วเวลาสองเดือนหลังจากที่โอบามาเข้ามาเป็นผู้นำทำเนียบขาว เขาก็ต้องเผชิญกับความไม่พอใจของสาธารณชนที่กระตุ้นให้เขารับผิดชอบต่อการดำเนินงานของรัฐบาล แทนที่จะโยนความผิดว่าเป็นมรดกตกทอดจากรัฐบาลชุดก่อนอีกต่อไป
และแม้ว่าคนในรัฐบาลของโอบามาเอง จะไม่มีใครไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาการจ่ายโบนัสตอบแทนของเอไอจี แต่เมื่อบริษัทประกันยักษ์ใหญ่แห่งนี้ นำเงินช่วยเหลือเพื่อกอบกู้กิจการที่ได้จากรัฐบาล ไปจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหารกิจการถึง 165 ล้านดอลลาร์ เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวก็สั่นคลอนรัฐบาลของโอบามาอย่างหนัก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาจึงออกมายืนยันว่าจะไม่ปล่อยให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก “ผมขอรับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะผมเป็นประธานาธิบดี” โอบามาบอก
แต่ที่ร้ายกว่านั้นก็คือสื่อสหรัฐฯ รายงานในวันเสาร์ (21) ว่าที่จริงแล้วเอไอจีได้จ่ายเงินโบนัสให้กับผู้บริหารไปถึง 218 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นจำนวนสูงกว่าตัวเลขที่เปิดเผยออกมาถึงกว่า 50 ล้านดอลลาร์
แลร์รี ซาบาโต ศาสตราจารย์ด้านการเมืองประจำมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เป็น “จุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดยุคแห่งความไร้เดียงสา” ของคณะรัฐบาลโอบามา
ซาบาโตบอกอีกว่า “แน่นอนที่กรณีเอไอจีนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของประธานาธิบดีโอบามา โดยที่แน่ๆ รัฐมนตรีคลังของเขามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เรื่องนี้ไม่มีทางโยนไปให้รัฐบาลบุชอีกแล้ว”
แม้แต่ก่อนเกิดเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว เดวิด โบรเดอร์ นักวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ ก็บอกว่าคงไม่เร็วเกินไปที่จะบอกว่า “เวลาฮันนีมูนของโอบามาหมดลงแล้ว”
“พวกนักวิพากษ์วิจารณ์ของโอบามาทั้งในวอชิงตันและทั่วโลกต่างพบที่ทางซึ่งพวกเขาสามารถเปล่งเสียงแสดงความไม่พอใจออกมาแล้ว และพวกเขาก็เฝ้าดูการทำงานของรัฐบาลด้วยความสงสัยข้องใจชนิดที่ควรถือเป็นเรื่องปกติ ก็ต่อเมื่อภายหลังจากที่ผู้บริหารสูงสุดจัดสรรงานต่างๆ เข้าที่เข้าทางแล้วเท่านั้น” โบรเดอร์ระบุเมื่อวันที่ 15 มีนาคม
ตัวโอบามาเองก็เปิดช่องโหวให้แก่พวกที่ระแวงสงสัยเขาด้วย หลังจากที่เขาได้เสนอร่างงบประมาณต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นแผนการที่จะต้องมีการขาดดุลงบประมาณมหาศาล และต้องขึ้นภาษีกับผู้ที่มีรายได้สูง
แพท บูคานัน อดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดีรีพับลิกันหลายต่อหลายคน รวมทั้งเคยสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนของฝ่ายขวาจัด เชื่อว่าโอบามากำลังทำผิดพลาดแบบเดียวกับที่อดีตประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสันทำผิดพลาดเมื่อปี 1965
บูคานันระบุว่าจอห์นสันล้มเหลวก็เพราะ “เขาเดินเครื่องให้ทำงานหนักเกินไป” และอ่านความคาดหวังของประชาชนต่อการทำงานสืบต่อจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ผิดไป
“ประวัติศาสตร์ไม่เคยเดินซ้ำรอยเป๊ะ แต่บารัค โอบามากำลังทำผิดแบบเดียวกับที่จอห์นสันทำเมื่อปี 1965” บูคานันให้ความเห็น
“เขาสั่งการเพิ่มกำลังทหาร 17,000 คนเข้าไปในอัฟกานิสถาน ในขณะที่สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิมและพันธมิตรนาโตจะถอนตัวออกมา รวมทั้งเขาก็ไม่ได้เตรียมยุทธศาสตร์เผื่อการถอนตัวออกมาด้วย เขาอ่านการที่คนปฏิเสธจอร์จ บุชว่า เป็นการให้อำนาจรัฐบาลในการยึดเอาความมั่งคั่งและอำนาจที่ล้นเกิน เหมือนที่เคยมีการใช้นโยบายสร้างสังคมอันยิ่งใหญ่ (หรือ Great Society ในยุคของประธานาธิบดีจอห์นสัน)”
อย่างไรก็ตาม ซาโบโตและสตีเฟน กรีน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาเชื่อว่าโอบามามาถูกทางแล้วในความเป็นประธานาธิบดีของเขา แต่กรีนเสริมว่ากรณีอื้อฉาวเอไอจีนั้น “บั่นทอนทุนทางการเมืองของเขา มันส่งผลลบต่อรัฐบาล ทำให้ประชาชนไว้ใจรัฐบาลน้อยลง ความน่าเชื่อถือก็ลดน้อยลง เพราะฉะนั้นเขาจะต้องทำงานหนักขึ้นอีก”