ร.ศ. ตระกูล มีชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวระหว่างเสวนาในหัวข้อ วิพากษ์ 6 ข้อเสนอของ คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ประชาชนได้อะไร ว่า ข้อเสนอเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง6 ข้อ ที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1. มาตรา 237 เรื่องการยุบพรรคการเมือง 2. มาตรา 93-98 เรื่องที่มาส.ส. 3. มาตรา 111-121 เรื่องที่มาของ ส.ว. 4.มาตรา 190 เรื่อง การทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ 5. มาตรา 265 การดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของส.ส. 6. มาตรา 266 เรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนนั้น อยากตั้งข้อสังเกตุคือ
10. ในประเด็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองนั้น หากมองตื้นๆ ถือว่าเป็นการรักษาสถาบันการเมือง แต่หากมองลึกๆ คือการแก้กฎหมายช่วยตัวเองของนักการเมือง ทั้งที่มาตรา 237 ว่าด้วยเรื่องการยุบพรรคการเมือง ออกมาเพื่อแก้ปัญหาความล้มเหลวของระบบเลือกตั้งที่นักการเมืองไม่เคารพกติกาการเลือกตั้ง ทำให้ ส.ส.ร. 2550 ต้องใช้ยาแรง โดยข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอว่า ใครผิดก็ว่าตามผิดนั้น ส่วนตัวไม่เห็นด้วยเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความขององค์กร คณะกรรมการสมานฉันท์ฯควรระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วย
นอกจากนี้ต้องถามว่าการยุบพรรคการเมืองส่งผลต่อพรรคการเมืองจริงหรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่ากระทบแค่ชื่อเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนชื่อพรรค และส่งผลกระทบต่อตัวผู้นำที่ผูกขาดการเมืองเท่านั้น ถามว่าการที่เสนอให้แก้กฎหมายตรงนี้เพราะกลัวว่านักการเมืองจะโดนกระทบใช่หรือไม่ และที่อ้างว่าการยุบพรรคจะทำให้กระทบต่อสิทธิ ส่วนบุคคลของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคนั้น ต้องดูด้วยว่าเป็นคำอ้างที่แท้จริง หรือไม่ เพราะเวลานักการเมืองยุบรวมพรรคการเมืองได้ถามสมาชิกที่อ้างว่า มีเป็นล้านคนบ้างหรือไม่
ผมเห็นว่าการยุบพรรคการเมืองไม่มีผลทางกฎหมาย เพราะเป็นเพียงแค่ การเตือนว่า เฮ๊ย!คุณอย่าทำนะ เรื่องนี้แน่นอนว่าใครทำผิดต้องได้รับการลงโทษและต้องมีโทษที่รุนแรงและกรรมการบริหารพรรคต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วย เพราะเป็นความรับผิดชอบทางการเมืองร่วมกัน ในเมื่อเป็นกรรมการบริหารพรรคที่จะมีตำแหน่งทางการเมืองที่สูงขึ้น หรือแค่อยากมีตำแหน่งติดนามบัตรเอาไว้โชว์เท่านั้น หากมีการเสนอว่าไม่ต้องยุบพรรคแต่ต้องให้ผู้กระทำผิดและกรรมการบริหารพรรค โดนด้วย และหากนักการเมืองจะเลี่ยงบาลีโดยการหาหุ่นเชิดแบบศรีธนญชัยต้องมีการแก้กฎหมายต่อไป และผมอยากให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเน้นเรื่อง การสร้างสถาบันการเมืองให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการสร้างสาขาพรรค ไม่ใช่การบริหารพรรคการเมืองแบบรวมศูนย์ในส่วนกลางอย่างเดียวแบบนี้
2.วิธีการเลือกตั้งและระบบการเลือกตั้ง ที่ให้กลับมาใช้ตามรัฐธรรมนูญ 2540 เห็นได้ว่า ข้อเสนอนี้ก็เป็นข้อเสนอเพื่อนักการเมืองเอง การอ้างว่าเขตเล็กจะทำให้นักการเมืองหน้าใหม่นั้น เป็นคำพูดที่ล้าสมัยใช้ไม่ได้ เพราะเขตเลือกตั้งเล็ก ทำให้เกิดการผูกขาดมีการข่มขู่ชาวบ้าน ส่วนเรื่องระบบบัญชีรายชื่อส่วนตัวไม่เห็นด้วย ทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เพราะจำนวน 100 และ 80 ที่นั่งถือว่าน้อยเกินไป ไม่ได้ตอบโจทย์การเมืองไทยที่อยากให้พรรคการเมืองขนาดเล็กเกิดขึ้นในสภา ดังนั้น ควรมีการคิดระบบการเลือกตั้งใหม่ โดยส่วนตัวขอเสนอให้มีการใช้ระบบเลือกตั้งทั้งแบ่งเขตและสัดส่วนแบบ 250 : 250 แต่นักการเมืองคงไม่ยอมรับเพราะระบบดังกล่าวไม่สามารถจัดสรรตำแหน่งได้
3. การได้มาซึ่งส.ว. ที่เสนอให้มีการใช้ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ก็เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ เอาเข้าจริงๆ ต้องถามว่า ระบบ 2 สภายังจำเป็นอยู่หรือไม่ เพราะคุณสมบัติที่ระบุว่า ส.ว.ต้องเป็นกลางทางการเมืองถือว่าอุดมคติมาก เพราะหากให้ส.ว.มาจาก การเลือกตั้ง ก็ต้องพึ่งพาเครือข่ายการเมืองแบบไม่เป็นทางการ ดังนั้น การเลือกตั้งลักษณะแบบนี้ไม่มีหลักประกันว่า ส.ว.ปลอดจากการเมือง แน่นอน ต้องมาพิจารณาดูว่า อยากให้ส.ว.มีหน้าที่อะไร เพราะส.ว.คงเป็นกลางไม่ได้ ฉะนั้นขอเสนอว่า ให้ส.ว.มีการ สรรหาจากภาคประชาชน โดยที่ไม่ต้องมีการถอดถอนนักการเมืองแต่ให้มีกลั่นกรองกฎหมายเท่านั้น
สำหรับ4. การให้ส.ส.มีตำแหน่งทางการเมืองได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ เพราะหากเป็นแบบนี้ อยากถามว่าจะทำหน้าที่ ส.ส.หรือไม่ ถ้าไม่อยากก็ไม่ต้องรับเงินเดือน ส.ส. ส่วนการที่ส.ส.อยากเข้าไปแทรกแซงการทำงานของข้าราชการนั้น ต้องถามว่า อยากช่วยชาวบ้านหรืออยากเข้าไปแบ่งสรรทรัพยากรกันแน่
สถานการณ์การเมืองขณะนี้มันมั่วไปหมด และการปฏิรูปการเมือง คงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะความคิดของคนไทยยังไม่ตกผลึกปัญหาว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ทางออกของการเมืองไทย คือการปิดไฟเข้านอน แล้วฝันไปเรื่อยๆ เพราะคนไทยไม่เคยคิดถึงปัญหาที่แท้จริง และการแก้ปัญหาการเมืองไทยคงเกิดขึ้นไม่ได้หากเอาคนที่เป็นปัญหามาแก้ปัญหาเอง
ด้าน รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์จากสถาบันเดียวกัน กล่าวว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯเป็นเรื่อง เลื่อนลอย จอมปลอม ขัดแย้ง และ ไร้ทิศทาง และคิดว่าข้อเสนอทั้งหมดนอกจากจะไม่สมานฉันท์แล้วจะยังเพิ่มความแตกแยกให้สังคมมากขึ้นอีกด้วย เพราะข้อเสนอทั้งหมดมาจากเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 ทั้งที่ความแตกแยกของสังคมไทยมาจากการเห็นต่างกันระหว่างรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 นอกจากนี้ตัวคณะกรรมการฯ ยังเป็นนักการเมืองทั้งสิ้นไม่มีการยึดโยงกับประชาชน
อย่างไรก็ตามข้อเสนอที่ให้ยกเลิกการยุบพรรคถือว่าไม่เลวร้าย เพราะการยุบพรรคเป็นการทำลายสายสัมพันธ์กับประชาชนและพรรคการเมือง ทำให้พัฒนาการของพรรคการเมืองอ่อนแอซึ่งจะทำให้ อำนาจนิติบัญญัติอ่อนแอไปด้วย อย่างไรก็ตามการยุบเลิกพรรคการเมืองไม่ควรมีการสอดไส้การนิรโทษกรรม
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องสำคัญแม้ว่าจะไม่ใช่ยาวิเศษ แต่รัฐธรรมนูญ เป็นหลักนิติธรรม และกติกาการเมืองที่จะต้องเป็นธรรมและตรวจสอบได้ แต่ปัจจุบันไม่ใช่จึงทำให้เกิดความไม่สมานฉันท์ หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม ไม่เอื้อให้พรรคใดพรรคหนึ่ง ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการสร้างความสมานฉันท์ตามลำดับ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ใช้เวลาแต่คนไทยต้องฝันกันต่อไป
รศ.สิริพรรณ กล่าวว่าที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอให้ใช้ระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว เป็นข้อเสนอที่เลื่อนลอยมาก เพราะหากพิสูจน์ด้วยการวิจัยจะพบว่าระบบนี้ เป็นระบบเอื้อพรรคใหญ่ และผู้สมัครหน้าเก่า ไม่ทราบว่าข้อเสนอที่คณะกรรมการฯตั้งใจจะหลอกประชาชนหรือไม่ รวมถึงเรื่องระบบเรื่องตั้งแบบสัดส่วนทั่วประเทศที่เอื้อต่อพรรคใหญ่มากกว่าพรรคเล็ก และการแบ่งสัดส่วนตามกลุ่มจังหวัดเป็นเรื่องที่ดีแต่ไม่ควรแบ่งตามจำนวนประชากร เพราะถือว่า ไม่เคารพอาชีพ วัฒนธรรมของประชาชนในแต่ละพื้นที่ โจทย์การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยังอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่จอมปลอม เลื่อนลอย ขัดแย้ง และไร้ทิศทาง
ด้านผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์จากสถาบันเดียวกัน กล่าวว่า ข้อเสนอทั้งหมดเป็นการปฏิรูปการเมืองที่แคบมาก มองปัญหาแบบหมาไล่กัดหางตัวเองวนเวียนมองแต่เรื่องระบบการเลือกตั้ง โดยข้อจำกัด ที่คิดอยู่แต่ว่าทำอย่างไร ให้ได้คนดี อัปรีย์ชนหายไป โดยมีแต่การพูดถึงปัญหานักการเมืองแต่ไม่มีการพูดถึงปัญหาประชาชนเลย เพราะข้อเสนอดังกล่าวเป็นการประนีประนอมของชนชั้นนำ โดยเฉพาะนักการเมืองที่พยายามเสนอให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาเพื่อให้ เอาอำนาจกลับมา หลังจากที่อำนาจหายไปในรัฐธรรมนูญ 2550 จึงมีการเสนอ ให้มีการนิรโทษกรรม เป็นวิธีคิดของนักการเมืองที่คับแคบ เมื่อเป็นแบบนี้ประเด็นเรื่องความขัดแย้งทางสังคมคงไม่หมดไป เพราะไม่มีการพูดถึงการกระจายทรัพยากรให้ประชาชนคนชั้นล่าง อีกทั้งปัจจุบันยังมีการเพิ่มอำนาจให้ผู ้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและท้องที่อย่างมากมาย หากเป็นแบบนี้ประชาธิปไตยในท้องถิ่นคงไม่เกิด เพราะข้อเสนอดังกล่าวเป็นทางออกภายใต้ประชาธิปไตยแบบตัวแทนเท่านั้น ไม่มองเรื่องการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปสังคมแต่อย่างใด
ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า การตั้งโจทย์เรื่องสมานฉันท์ถือว่าเป็นการตั้งโจทย์ที่ใหญ่มาก และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ข้อเสนอทั้ง 6 ข้ออาจจะเรียกได้ว่าคณะกรรมการชุดนี้เป็นเพียงคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น จากรายงานดังกล่าวเหมือนกับการขี่ช้างจับตั๊กแตน หรือเพียงการตั้งโจทย์ให้ตรงกับคำตอบที่รอให้มีการแก้รัฐไขรัฐธรรมนูญเท่านั้นซึ่งคงไม่ได้รับ ความไว้ใจจากสังคม และสะท้อนว่าการปฏิรูปการเมืองแบบนี้มันไม่พอ และไม่ควรริเริ่มจากสภาเท่านั้น
ที่สำคัญยังไม่มีการนิยามเรื่องคำว่า สมานฉันท์ว่าคืออะไร เพราะการเขียนไว้แบบนี้เป็นภาพความงดงามของสังคมไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยว เขียนก็ได้ เป็นรายงานที่ประนีประนอมกันมาก แต่ถามว่ามีแกนหลักอะไรที่จะเป็นความสมานฉันท์ของสังคมไทย เรื่องแบบนี้มันต้องมีทฤษฎี เพราะอย่างน้อยน่าจะพูดถึงเรื่อง ความยุติธรรม ความสมานฉันท์ตรงนี้เป็นการบีบให้อีกฝ่ายเงียบหรือไม่ หากเป็นแบบนี้ เท่ากับหาแกนสังคมไม่ได้ใช่หรือไม่ สังคมไทยคงไม่มีความสมานฉันท์
10. ในประเด็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองนั้น หากมองตื้นๆ ถือว่าเป็นการรักษาสถาบันการเมือง แต่หากมองลึกๆ คือการแก้กฎหมายช่วยตัวเองของนักการเมือง ทั้งที่มาตรา 237 ว่าด้วยเรื่องการยุบพรรคการเมือง ออกมาเพื่อแก้ปัญหาความล้มเหลวของระบบเลือกตั้งที่นักการเมืองไม่เคารพกติกาการเลือกตั้ง ทำให้ ส.ส.ร. 2550 ต้องใช้ยาแรง โดยข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอว่า ใครผิดก็ว่าตามผิดนั้น ส่วนตัวไม่เห็นด้วยเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความขององค์กร คณะกรรมการสมานฉันท์ฯควรระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วย
นอกจากนี้ต้องถามว่าการยุบพรรคการเมืองส่งผลต่อพรรคการเมืองจริงหรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่ากระทบแค่ชื่อเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนชื่อพรรค และส่งผลกระทบต่อตัวผู้นำที่ผูกขาดการเมืองเท่านั้น ถามว่าการที่เสนอให้แก้กฎหมายตรงนี้เพราะกลัวว่านักการเมืองจะโดนกระทบใช่หรือไม่ และที่อ้างว่าการยุบพรรคจะทำให้กระทบต่อสิทธิ ส่วนบุคคลของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคนั้น ต้องดูด้วยว่าเป็นคำอ้างที่แท้จริง หรือไม่ เพราะเวลานักการเมืองยุบรวมพรรคการเมืองได้ถามสมาชิกที่อ้างว่า มีเป็นล้านคนบ้างหรือไม่
ผมเห็นว่าการยุบพรรคการเมืองไม่มีผลทางกฎหมาย เพราะเป็นเพียงแค่ การเตือนว่า เฮ๊ย!คุณอย่าทำนะ เรื่องนี้แน่นอนว่าใครทำผิดต้องได้รับการลงโทษและต้องมีโทษที่รุนแรงและกรรมการบริหารพรรคต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วย เพราะเป็นความรับผิดชอบทางการเมืองร่วมกัน ในเมื่อเป็นกรรมการบริหารพรรคที่จะมีตำแหน่งทางการเมืองที่สูงขึ้น หรือแค่อยากมีตำแหน่งติดนามบัตรเอาไว้โชว์เท่านั้น หากมีการเสนอว่าไม่ต้องยุบพรรคแต่ต้องให้ผู้กระทำผิดและกรรมการบริหารพรรค โดนด้วย และหากนักการเมืองจะเลี่ยงบาลีโดยการหาหุ่นเชิดแบบศรีธนญชัยต้องมีการแก้กฎหมายต่อไป และผมอยากให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเน้นเรื่อง การสร้างสถาบันการเมืองให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการสร้างสาขาพรรค ไม่ใช่การบริหารพรรคการเมืองแบบรวมศูนย์ในส่วนกลางอย่างเดียวแบบนี้
2.วิธีการเลือกตั้งและระบบการเลือกตั้ง ที่ให้กลับมาใช้ตามรัฐธรรมนูญ 2540 เห็นได้ว่า ข้อเสนอนี้ก็เป็นข้อเสนอเพื่อนักการเมืองเอง การอ้างว่าเขตเล็กจะทำให้นักการเมืองหน้าใหม่นั้น เป็นคำพูดที่ล้าสมัยใช้ไม่ได้ เพราะเขตเลือกตั้งเล็ก ทำให้เกิดการผูกขาดมีการข่มขู่ชาวบ้าน ส่วนเรื่องระบบบัญชีรายชื่อส่วนตัวไม่เห็นด้วย ทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เพราะจำนวน 100 และ 80 ที่นั่งถือว่าน้อยเกินไป ไม่ได้ตอบโจทย์การเมืองไทยที่อยากให้พรรคการเมืองขนาดเล็กเกิดขึ้นในสภา ดังนั้น ควรมีการคิดระบบการเลือกตั้งใหม่ โดยส่วนตัวขอเสนอให้มีการใช้ระบบเลือกตั้งทั้งแบ่งเขตและสัดส่วนแบบ 250 : 250 แต่นักการเมืองคงไม่ยอมรับเพราะระบบดังกล่าวไม่สามารถจัดสรรตำแหน่งได้
3. การได้มาซึ่งส.ว. ที่เสนอให้มีการใช้ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ก็เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ เอาเข้าจริงๆ ต้องถามว่า ระบบ 2 สภายังจำเป็นอยู่หรือไม่ เพราะคุณสมบัติที่ระบุว่า ส.ว.ต้องเป็นกลางทางการเมืองถือว่าอุดมคติมาก เพราะหากให้ส.ว.มาจาก การเลือกตั้ง ก็ต้องพึ่งพาเครือข่ายการเมืองแบบไม่เป็นทางการ ดังนั้น การเลือกตั้งลักษณะแบบนี้ไม่มีหลักประกันว่า ส.ว.ปลอดจากการเมือง แน่นอน ต้องมาพิจารณาดูว่า อยากให้ส.ว.มีหน้าที่อะไร เพราะส.ว.คงเป็นกลางไม่ได้ ฉะนั้นขอเสนอว่า ให้ส.ว.มีการ สรรหาจากภาคประชาชน โดยที่ไม่ต้องมีการถอดถอนนักการเมืองแต่ให้มีกลั่นกรองกฎหมายเท่านั้น
สำหรับ4. การให้ส.ส.มีตำแหน่งทางการเมืองได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ เพราะหากเป็นแบบนี้ อยากถามว่าจะทำหน้าที่ ส.ส.หรือไม่ ถ้าไม่อยากก็ไม่ต้องรับเงินเดือน ส.ส. ส่วนการที่ส.ส.อยากเข้าไปแทรกแซงการทำงานของข้าราชการนั้น ต้องถามว่า อยากช่วยชาวบ้านหรืออยากเข้าไปแบ่งสรรทรัพยากรกันแน่
สถานการณ์การเมืองขณะนี้มันมั่วไปหมด และการปฏิรูปการเมือง คงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะความคิดของคนไทยยังไม่ตกผลึกปัญหาว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ทางออกของการเมืองไทย คือการปิดไฟเข้านอน แล้วฝันไปเรื่อยๆ เพราะคนไทยไม่เคยคิดถึงปัญหาที่แท้จริง และการแก้ปัญหาการเมืองไทยคงเกิดขึ้นไม่ได้หากเอาคนที่เป็นปัญหามาแก้ปัญหาเอง
ด้าน รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์จากสถาบันเดียวกัน กล่าวว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯเป็นเรื่อง เลื่อนลอย จอมปลอม ขัดแย้ง และ ไร้ทิศทาง และคิดว่าข้อเสนอทั้งหมดนอกจากจะไม่สมานฉันท์แล้วจะยังเพิ่มความแตกแยกให้สังคมมากขึ้นอีกด้วย เพราะข้อเสนอทั้งหมดมาจากเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 ทั้งที่ความแตกแยกของสังคมไทยมาจากการเห็นต่างกันระหว่างรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 นอกจากนี้ตัวคณะกรรมการฯ ยังเป็นนักการเมืองทั้งสิ้นไม่มีการยึดโยงกับประชาชน
อย่างไรก็ตามข้อเสนอที่ให้ยกเลิกการยุบพรรคถือว่าไม่เลวร้าย เพราะการยุบพรรคเป็นการทำลายสายสัมพันธ์กับประชาชนและพรรคการเมือง ทำให้พัฒนาการของพรรคการเมืองอ่อนแอซึ่งจะทำให้ อำนาจนิติบัญญัติอ่อนแอไปด้วย อย่างไรก็ตามการยุบเลิกพรรคการเมืองไม่ควรมีการสอดไส้การนิรโทษกรรม
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องสำคัญแม้ว่าจะไม่ใช่ยาวิเศษ แต่รัฐธรรมนูญ เป็นหลักนิติธรรม และกติกาการเมืองที่จะต้องเป็นธรรมและตรวจสอบได้ แต่ปัจจุบันไม่ใช่จึงทำให้เกิดความไม่สมานฉันท์ หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม ไม่เอื้อให้พรรคใดพรรคหนึ่ง ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการสร้างความสมานฉันท์ตามลำดับ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ใช้เวลาแต่คนไทยต้องฝันกันต่อไป
รศ.สิริพรรณ กล่าวว่าที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอให้ใช้ระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว เป็นข้อเสนอที่เลื่อนลอยมาก เพราะหากพิสูจน์ด้วยการวิจัยจะพบว่าระบบนี้ เป็นระบบเอื้อพรรคใหญ่ และผู้สมัครหน้าเก่า ไม่ทราบว่าข้อเสนอที่คณะกรรมการฯตั้งใจจะหลอกประชาชนหรือไม่ รวมถึงเรื่องระบบเรื่องตั้งแบบสัดส่วนทั่วประเทศที่เอื้อต่อพรรคใหญ่มากกว่าพรรคเล็ก และการแบ่งสัดส่วนตามกลุ่มจังหวัดเป็นเรื่องที่ดีแต่ไม่ควรแบ่งตามจำนวนประชากร เพราะถือว่า ไม่เคารพอาชีพ วัฒนธรรมของประชาชนในแต่ละพื้นที่ โจทย์การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยังอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่จอมปลอม เลื่อนลอย ขัดแย้ง และไร้ทิศทาง
ด้านผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์จากสถาบันเดียวกัน กล่าวว่า ข้อเสนอทั้งหมดเป็นการปฏิรูปการเมืองที่แคบมาก มองปัญหาแบบหมาไล่กัดหางตัวเองวนเวียนมองแต่เรื่องระบบการเลือกตั้ง โดยข้อจำกัด ที่คิดอยู่แต่ว่าทำอย่างไร ให้ได้คนดี อัปรีย์ชนหายไป โดยมีแต่การพูดถึงปัญหานักการเมืองแต่ไม่มีการพูดถึงปัญหาประชาชนเลย เพราะข้อเสนอดังกล่าวเป็นการประนีประนอมของชนชั้นนำ โดยเฉพาะนักการเมืองที่พยายามเสนอให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาเพื่อให้ เอาอำนาจกลับมา หลังจากที่อำนาจหายไปในรัฐธรรมนูญ 2550 จึงมีการเสนอ ให้มีการนิรโทษกรรม เป็นวิธีคิดของนักการเมืองที่คับแคบ เมื่อเป็นแบบนี้ประเด็นเรื่องความขัดแย้งทางสังคมคงไม่หมดไป เพราะไม่มีการพูดถึงการกระจายทรัพยากรให้ประชาชนคนชั้นล่าง อีกทั้งปัจจุบันยังมีการเพิ่มอำนาจให้ผู ้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและท้องที่อย่างมากมาย หากเป็นแบบนี้ประชาธิปไตยในท้องถิ่นคงไม่เกิด เพราะข้อเสนอดังกล่าวเป็นทางออกภายใต้ประชาธิปไตยแบบตัวแทนเท่านั้น ไม่มองเรื่องการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปสังคมแต่อย่างใด
ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า การตั้งโจทย์เรื่องสมานฉันท์ถือว่าเป็นการตั้งโจทย์ที่ใหญ่มาก และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ข้อเสนอทั้ง 6 ข้ออาจจะเรียกได้ว่าคณะกรรมการชุดนี้เป็นเพียงคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น จากรายงานดังกล่าวเหมือนกับการขี่ช้างจับตั๊กแตน หรือเพียงการตั้งโจทย์ให้ตรงกับคำตอบที่รอให้มีการแก้รัฐไขรัฐธรรมนูญเท่านั้นซึ่งคงไม่ได้รับ ความไว้ใจจากสังคม และสะท้อนว่าการปฏิรูปการเมืองแบบนี้มันไม่พอ และไม่ควรริเริ่มจากสภาเท่านั้น
ที่สำคัญยังไม่มีการนิยามเรื่องคำว่า สมานฉันท์ว่าคืออะไร เพราะการเขียนไว้แบบนี้เป็นภาพความงดงามของสังคมไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยว เขียนก็ได้ เป็นรายงานที่ประนีประนอมกันมาก แต่ถามว่ามีแกนหลักอะไรที่จะเป็นความสมานฉันท์ของสังคมไทย เรื่องแบบนี้มันต้องมีทฤษฎี เพราะอย่างน้อยน่าจะพูดถึงเรื่อง ความยุติธรรม ความสมานฉันท์ตรงนี้เป็นการบีบให้อีกฝ่ายเงียบหรือไม่ หากเป็นแบบนี้ เท่ากับหาแกนสังคมไม่ได้ใช่หรือไม่ สังคมไทยคงไม่มีความสมานฉันท์