ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อใดที่มีการกล่าวถึง “วงการตำรวจ-วงการสีกากี” ทุกครั้ง ก็จะมีเสียงอื้ออึงดังกระหึ่มไปทั่ว ซึ่งมักเป็น “เชิงลบ” มากกว่า “เชิงบวก” หรือกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำเลยว่า “เรื่องดีๆ ไม่เคยมีในวงการตำรวจ!”
อย่างไรก็ตาม “ตำรวจดี!” น่าจะพอมีอยู่บ้าง แต่มักเป็นตำรวจแก่ๆ ที่จมปลักอยู่กับตำแหน่งเล็กๆ ไม่มีบทบาทกับการบังคับบัญชา ตลอดจนกำหนดนโยบายใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องด้วยเป็นตำรวจที่ยึดมั่นอยู่ในอุดมการณ์ กับกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับ
ข่าวคราวในวงการตำรวจจะใหญ่โตมโหระทึกทุกครั้งเมื่อถึงฤดูโยกย้าย โดยเฉพาะตำแหน่ง “อธิบดีตำรวจ” ในอดีต และ “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ : ผบ.ตร” ที่ถึงฤดูโยกย้ายทีไร จะมีการเคลื่อนไหวเสมือน “แผ่นดินไหว” ยังไงยังงั้น!
ทั้งนี้ ถ้าในอดีต การปรับสลับโยกย้ายกับการเลือกผู้จะมาดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” คงจะไม่วุ่นวายมากเท่าครั้งนี้ เพียง “นายกรัฐมนตรี” เลือกใครและ “ทุบโต๊ะ!” เท่านั้น จะไม่มีใครกล้าเอะอะโวยวายแต่ประการใด ศัพท์ภาษาสื่อสารมวลชนเรียกว่า “ตามนั้น!”
เพียงแต่ว่า คราวนี้เป็น “ปรากฏการณ์พิเศษ” ที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ก้าวขึ้นสู่ “อำนาจการเมือง” ได้ในครั้งนี้ ต้องอาศัย “บันไดพิเศษ” ไม่น้อยกว่า 3 บันได กล่าวคือ “กองทัพ-พันธมิตรฯ-พรรคร่วมรัฐบาล” ที่จะต้องเป็น “เสาค้ำยัน!” ให้คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ เท่านั้นยังไม่พอ ยังต้องอยู่ให้ได้อีกอย่างน้อยก็ต้องไม่ต่ำกว่า 2 ปี
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ก้าวขึ้นสู่ “อำนาจการเมือง” ในครั้งนี้ เป็นไปอย่างทุลักทุเลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความวุ่นวายทางการเมือง” ของ “บรรดากีฬาสี” ที่ทำเอาประเทศไทยทรุดลงไปอย่างมาก ในกรณีของความเชื่อมั่น ศรัทธา ภาพลักษณ์ จนสภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปประมาณ 2 ปีกว่าๆ จนในที่สุด “รัฐบาลประชาธิปัตย์” จึงขึ้นมาผงาดได้
ทั้งนี้ ถ้าไม่มีสถาบันสำคัญๆ ของชาติบ้านเมือง “สนับสนุน-ค้ำจุน” รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นฝ่ายค้านนับสิบปีทีเดียว เพราะฉะนั้นการได้มาซึ่งอำนาจการเมืองครั้งนี้ จึงถือว่า “บุญคุณล้นเหลือ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกองทัพ
“การงัดข้อ” กันทางการเมืองและการบริหารในครั้งนี้ จึงส่งสัญญาณชัดเจนถึง “เสถียรภาพของรัฐบาล” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทายาทเจ้าสำนักปทุมวัน” ที่ต้องมีบทบาทสำคัญกับการจัดโครงสร้างอำนาจของตำรวจในอนาคต นอกเหนือจากนั้น “การเจรจาต่อรอง” กับตำแหน่ง ผบ.ตร. ในครั้งนี้ จึงเป็นการ “ชักเย่อ” ของ “ขั้วอำนาจ” ดูเหมือนว่า “สามฝ่าย” กล่าวคือ “ฝ่ายขั้วอำนาจเดิมของตำรวจ – ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล – ฝ่ายนายกรัฐมนตรี” แต่ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว เพียงแค่ “สองฝ่าย” เท่านั้น คือ “ฝ่ายนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฝ่ายขั้วอำนาจใหม่ทางการเมืองและการบริหาร” ที่ผนึกกำลังกันระหว่าง “ฝ่ายภูมิใจไทย ฝ่ายทหาร และฝ่ายขั้วอำนาจตำรวจ!”
ปรากฏการณ์ของ “เกมแห่งอำนาจ (Power Play)” ในการแต่งตั้งตำแหน่งผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ ตลอดจน “การบังคับบัญชา” ของ “ผู้บริหารสูงสุด” อย่างตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็น “ตำแหน่งซีอีโอ (CEO)” ที่มีอำนาจตัดสินใจบังคับบัญชาได้มากที่สุด ตลอดจนการเป็นตำแหน่ง “ประธานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)” ที่โดยทั้งในเชิง “นิติศาสตร์” และ “เชิงบริหาร” แล้วตามธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ “นายกรัฐมนตรี” สามารถ “ทุบโต๊ะ” ได้ในทุกกรณี และขอย้ำว่า “ถูกกฎหมาย!”
เพียงแต่ว่า ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญนี้ต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ เนื่องด้วย “อำนาจนายกรัฐมนตรี” ไม่เคยถูก “ท้าทาย” เหมือนครั้งนี้มาก่อนเลย จึงเป็นที่ฮือฮาหวือหวา วิพากษ์วิจารณ์กันลั่นสนั่นเมือง!
ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดในเชิงลบ คือ “สภาวะผู้นำ” ของนายกรัฐมนตรี ที่ดูเสมือนว่า “ถูกลิดรอน-ดาวน์เกรด (Downgrade)” จนแทบไม่มีอำนาจเหลือในการบริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอาจเลยเถิดถึง “บริหารประเทศชาติ”
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “วุฒิภาวะ” ของนายกรัฐมนตรีถูกวิพากษ์วิจารณ์เลยเถิดไปจนถึง “ความเป็นเด็ก” ที่ยังอาจติดอยู่กับ “กระบวนการตัดสินใจ” ที่ “เชื่อมั่นตนเอง-ฟังคนรอบข้าง” จนถึงขั้น “เอาแต่ใจตนเอง!” หรือพูดง่ายๆ ก็หมายความว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้ “มีแต่เสียกับเสีย!” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม “เพื่อความเป็นธรรม” แก่ “นายกรัฐมนตรี” กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นบุคคลที่ยึดมั่นใน “หลักการ” และ “ความถูกต้อง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบคุณธรรม” หรือมักถูกเรียกขานว่า “จอมหลักการ” นอกเหนือจากนั้น คุณอภิสิทธิ์ ไม่โปรดปราน “เกมการเมือง” มากมายนัก หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า “เถรตรง-ตงฉิน!” ถ้าจะให้ “ล็อบบี้” ก่อนการตัดสินใจ “น่าเชื่อว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่ถนัด!” และ “ไม่ทำ!”
ดังนั้น ถามว่า “วิธี-วิถี” ที่คุณอภิสิทธิ์ “ยึดถือ-ยึดมั่น” และ “ปฏิบัติ” นั้น ต้องบอกตามตรงว่า “ถูกต้อง-ตามหลักการ” เพียงแต่อาจจะไม่เข้ากับ “วัฒนธรรมการเมือง-วัฒนธรรมการบริหารแบบไทยไทย!” จึงถูกมองว่า “เป็นเด็ก!” ซึ่งว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “กระบวนการตัดสินใจ” ทั้งหมดนั้น คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียรพยายาม “ยึดมั่นตามหลักการและระบบคุณธรรม”
สังคมไทยเป็นสังคมที่เปี่ยมล้นไปด้วย “วิชามาร” ที่ผู้คนโดยทั่วไปดำเนินชีวิตเช่นนั้น โดยไม่ตระหนักถึง “ความถูกต้อง” ซ้ำร้ายมากไปกว่านั้น “คนไทยส่วนใหญ่” ไม่ว่ายุคใดสมัยใด ยังอาจแยกแยะไม่ออกเลยว่า “ผิด ชอบ ชั่ว ดี” แบ่งเส้นกันอย่างไร จนเลยเถิดไปถึง “หิริโอตตัปปะ : เกรงกลัวและละอายต่อบาป!”
เมื่อพูดถึง “วิชามาร” แล้ว “นักการเมืองไทย” ส่วนใหญ่ “ถนัดที่สุด!” และน่าจะเลยเถิดไปจนถึง “ตำรวจ” ที่อยู่ในขอบข่ายวงจรเช่นเดียวกัน เพราะว่า “กลุ่มบุคคล” เหล่านี้จะนึกถึงและยึดถือเป็นสรณะอย่างเดียว คือ “ผลประโยชน์ส่วนตน” โดยไม่คำนึงถึง “ผลประโยชน์ส่วนรวม” หรือแม้แต่ “ผลประโยชน์องค์กร!”
พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “การทุจริตคดโกง” ที่เกิดขึ้นตลอดเวลานั้น เป็นทั้งกรณี “ฉ้อราษฏร์-บังหลวง” ซึ่งน่าจะตรงประเด็นมากที่สุด ที่ทั้ง “นักการเมือง-ตำรวจ” มักจ้องแต่จะกอบโกย เสาะแสวงหาผลประโยชน์เข้าพกเข้าห่อให้กับตนเอง ครอบครัว สมัครพรรคพวกมากกว่าคิดถึงองค์กรและชาติบ้านเมือง
กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ “วงการสีกากี” ก็เช่นเดียวกัน ที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียรพยายามยึดมั่นใน “หลักคุณธรรม” และอาจคิดเลยเถิดไปจนถึง “การปรับปรุง” สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ยึดมั่นในหลักความถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ลบล้างกระบวนการทุจริต” หรือ “มาเฟียตำรวจ!”
ถามว่า “เจตนารมณ์” ของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นถูกต้องและดีหรือไม่ ก็ต้องตอบอย่างตรงไปตรงว่า “ใช่!” เพียงแต่ว่า “ปัญหามาเฟียตำรวจ” ฝังรากลึกมาอย่างยาวนาน จนยากที่จะพลิกฝ่ามือกับปัญหาดังกล่าว และอาจจะใหญ่โตเกินไปที่คุณอภิสิทธิ์ คิดจะเป็น “อัศวิน” ในการปราบปรามวงการมาเฟียของตำรวจ
ทุกยุคทุกสมัยของฤดูการโยกย้าย ผู้คนทั้งที่เป็นตำรวจและไม่ได้เป็นตำรวจ ต่างรู้เช่นเห็นชาติ ว่าปัญหาประเด็นหลักๆ ที่เป็น “วงจรอุบาทว์” ของวงการสีกากีคือ “วิ่งเต้น-ซื้อขายตำแหน่ง-รีดไถ” เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งหลักๆ และสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่ง ตั้งแต่หลักล้านบาทไปจนถึงหลัก 10 ล้าน ถามว่า การที่ตำรวจคนหนึ่งจะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายเพียงนั้น จากเพียงเงินเดือนอย่างเดียว หาทั้งชาติก็หาไม่ได้ แน่นอน “ปัญหารีดไถ” เพื่อส่งส่วยจึงเกิดขึ้น
“ประชาชน” คือ “ผู้รับเคราะห์กรรม” สุดท้าย และไม่สำคัญเท่ากับว่า “ธุรกิจผิดกฎหมาย” จึงสามารถเปิดบริการกันได้อย่างโจ๋งครึ่ม ไม่ว่า “บ่อน-แหล่งมั่วสุม-ยาเสพติด-ธุรกิจบันเทิง-โสเภณี” จึงเป็นสถานที่ทำมาหากินร่วมกันของตำรวจกับนายทุนนักธุรกิจ
น่าเห็นใจตำรวจดีๆ ที่ไม่สามารถไต่เต้าด้วย “คุณงามความดี-ผลงาน” สู่ภารกิจและบทบาทสำคัญของ “บำบัดทุกข์บำรุงสุข” และ “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” เนื่องด้วย “ต้องวิ่งเต้น-ซื้อขายตำแหน่ง” ตบท้ายด้วย “การส่งส่วยหน่วยเหนือ” เพื่อรักษาพื้นที่อาณาจักรทำมาหากิน และไต่เต้าสู่ตำแหน่งหลัก!
“ตำรวจที่ได้ดิบได้ดีทุกคน ต่างอาศัยเส้นทางทางการเมืองและทุจริตคดโกงทุกคน จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาปกติ ธรรมเนียมของสังคมไทยไปแล้ว!”
คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงแต่อยากพลิกโฉมวงการตำรวจให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ดูเสมือนเพลี่ยงพล้ำกับ “วังวนน้ำเน่า-วงจรอุบาทว์” ของ “มนุษย์สีกากี!”
อย่างไรก็ตาม “ตำรวจดี!” น่าจะพอมีอยู่บ้าง แต่มักเป็นตำรวจแก่ๆ ที่จมปลักอยู่กับตำแหน่งเล็กๆ ไม่มีบทบาทกับการบังคับบัญชา ตลอดจนกำหนดนโยบายใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องด้วยเป็นตำรวจที่ยึดมั่นอยู่ในอุดมการณ์ กับกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับ
ข่าวคราวในวงการตำรวจจะใหญ่โตมโหระทึกทุกครั้งเมื่อถึงฤดูโยกย้าย โดยเฉพาะตำแหน่ง “อธิบดีตำรวจ” ในอดีต และ “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ : ผบ.ตร” ที่ถึงฤดูโยกย้ายทีไร จะมีการเคลื่อนไหวเสมือน “แผ่นดินไหว” ยังไงยังงั้น!
ทั้งนี้ ถ้าในอดีต การปรับสลับโยกย้ายกับการเลือกผู้จะมาดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” คงจะไม่วุ่นวายมากเท่าครั้งนี้ เพียง “นายกรัฐมนตรี” เลือกใครและ “ทุบโต๊ะ!” เท่านั้น จะไม่มีใครกล้าเอะอะโวยวายแต่ประการใด ศัพท์ภาษาสื่อสารมวลชนเรียกว่า “ตามนั้น!”
เพียงแต่ว่า คราวนี้เป็น “ปรากฏการณ์พิเศษ” ที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ก้าวขึ้นสู่ “อำนาจการเมือง” ได้ในครั้งนี้ ต้องอาศัย “บันไดพิเศษ” ไม่น้อยกว่า 3 บันได กล่าวคือ “กองทัพ-พันธมิตรฯ-พรรคร่วมรัฐบาล” ที่จะต้องเป็น “เสาค้ำยัน!” ให้คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ เท่านั้นยังไม่พอ ยังต้องอยู่ให้ได้อีกอย่างน้อยก็ต้องไม่ต่ำกว่า 2 ปี
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ก้าวขึ้นสู่ “อำนาจการเมือง” ในครั้งนี้ เป็นไปอย่างทุลักทุเลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความวุ่นวายทางการเมือง” ของ “บรรดากีฬาสี” ที่ทำเอาประเทศไทยทรุดลงไปอย่างมาก ในกรณีของความเชื่อมั่น ศรัทธา ภาพลักษณ์ จนสภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปประมาณ 2 ปีกว่าๆ จนในที่สุด “รัฐบาลประชาธิปัตย์” จึงขึ้นมาผงาดได้
ทั้งนี้ ถ้าไม่มีสถาบันสำคัญๆ ของชาติบ้านเมือง “สนับสนุน-ค้ำจุน” รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นฝ่ายค้านนับสิบปีทีเดียว เพราะฉะนั้นการได้มาซึ่งอำนาจการเมืองครั้งนี้ จึงถือว่า “บุญคุณล้นเหลือ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกองทัพ
“การงัดข้อ” กันทางการเมืองและการบริหารในครั้งนี้ จึงส่งสัญญาณชัดเจนถึง “เสถียรภาพของรัฐบาล” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทายาทเจ้าสำนักปทุมวัน” ที่ต้องมีบทบาทสำคัญกับการจัดโครงสร้างอำนาจของตำรวจในอนาคต นอกเหนือจากนั้น “การเจรจาต่อรอง” กับตำแหน่ง ผบ.ตร. ในครั้งนี้ จึงเป็นการ “ชักเย่อ” ของ “ขั้วอำนาจ” ดูเหมือนว่า “สามฝ่าย” กล่าวคือ “ฝ่ายขั้วอำนาจเดิมของตำรวจ – ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล – ฝ่ายนายกรัฐมนตรี” แต่ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว เพียงแค่ “สองฝ่าย” เท่านั้น คือ “ฝ่ายนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฝ่ายขั้วอำนาจใหม่ทางการเมืองและการบริหาร” ที่ผนึกกำลังกันระหว่าง “ฝ่ายภูมิใจไทย ฝ่ายทหาร และฝ่ายขั้วอำนาจตำรวจ!”
ปรากฏการณ์ของ “เกมแห่งอำนาจ (Power Play)” ในการแต่งตั้งตำแหน่งผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ ตลอดจน “การบังคับบัญชา” ของ “ผู้บริหารสูงสุด” อย่างตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็น “ตำแหน่งซีอีโอ (CEO)” ที่มีอำนาจตัดสินใจบังคับบัญชาได้มากที่สุด ตลอดจนการเป็นตำแหน่ง “ประธานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)” ที่โดยทั้งในเชิง “นิติศาสตร์” และ “เชิงบริหาร” แล้วตามธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ “นายกรัฐมนตรี” สามารถ “ทุบโต๊ะ” ได้ในทุกกรณี และขอย้ำว่า “ถูกกฎหมาย!”
เพียงแต่ว่า ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญนี้ต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ เนื่องด้วย “อำนาจนายกรัฐมนตรี” ไม่เคยถูก “ท้าทาย” เหมือนครั้งนี้มาก่อนเลย จึงเป็นที่ฮือฮาหวือหวา วิพากษ์วิจารณ์กันลั่นสนั่นเมือง!
ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดในเชิงลบ คือ “สภาวะผู้นำ” ของนายกรัฐมนตรี ที่ดูเสมือนว่า “ถูกลิดรอน-ดาวน์เกรด (Downgrade)” จนแทบไม่มีอำนาจเหลือในการบริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอาจเลยเถิดถึง “บริหารประเทศชาติ”
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “วุฒิภาวะ” ของนายกรัฐมนตรีถูกวิพากษ์วิจารณ์เลยเถิดไปจนถึง “ความเป็นเด็ก” ที่ยังอาจติดอยู่กับ “กระบวนการตัดสินใจ” ที่ “เชื่อมั่นตนเอง-ฟังคนรอบข้าง” จนถึงขั้น “เอาแต่ใจตนเอง!” หรือพูดง่ายๆ ก็หมายความว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้ “มีแต่เสียกับเสีย!” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม “เพื่อความเป็นธรรม” แก่ “นายกรัฐมนตรี” กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นบุคคลที่ยึดมั่นใน “หลักการ” และ “ความถูกต้อง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบคุณธรรม” หรือมักถูกเรียกขานว่า “จอมหลักการ” นอกเหนือจากนั้น คุณอภิสิทธิ์ ไม่โปรดปราน “เกมการเมือง” มากมายนัก หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า “เถรตรง-ตงฉิน!” ถ้าจะให้ “ล็อบบี้” ก่อนการตัดสินใจ “น่าเชื่อว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่ถนัด!” และ “ไม่ทำ!”
ดังนั้น ถามว่า “วิธี-วิถี” ที่คุณอภิสิทธิ์ “ยึดถือ-ยึดมั่น” และ “ปฏิบัติ” นั้น ต้องบอกตามตรงว่า “ถูกต้อง-ตามหลักการ” เพียงแต่อาจจะไม่เข้ากับ “วัฒนธรรมการเมือง-วัฒนธรรมการบริหารแบบไทยไทย!” จึงถูกมองว่า “เป็นเด็ก!” ซึ่งว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว “กระบวนการตัดสินใจ” ทั้งหมดนั้น คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียรพยายาม “ยึดมั่นตามหลักการและระบบคุณธรรม”
สังคมไทยเป็นสังคมที่เปี่ยมล้นไปด้วย “วิชามาร” ที่ผู้คนโดยทั่วไปดำเนินชีวิตเช่นนั้น โดยไม่ตระหนักถึง “ความถูกต้อง” ซ้ำร้ายมากไปกว่านั้น “คนไทยส่วนใหญ่” ไม่ว่ายุคใดสมัยใด ยังอาจแยกแยะไม่ออกเลยว่า “ผิด ชอบ ชั่ว ดี” แบ่งเส้นกันอย่างไร จนเลยเถิดไปถึง “หิริโอตตัปปะ : เกรงกลัวและละอายต่อบาป!”
เมื่อพูดถึง “วิชามาร” แล้ว “นักการเมืองไทย” ส่วนใหญ่ “ถนัดที่สุด!” และน่าจะเลยเถิดไปจนถึง “ตำรวจ” ที่อยู่ในขอบข่ายวงจรเช่นเดียวกัน เพราะว่า “กลุ่มบุคคล” เหล่านี้จะนึกถึงและยึดถือเป็นสรณะอย่างเดียว คือ “ผลประโยชน์ส่วนตน” โดยไม่คำนึงถึง “ผลประโยชน์ส่วนรวม” หรือแม้แต่ “ผลประโยชน์องค์กร!”
พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “การทุจริตคดโกง” ที่เกิดขึ้นตลอดเวลานั้น เป็นทั้งกรณี “ฉ้อราษฏร์-บังหลวง” ซึ่งน่าจะตรงประเด็นมากที่สุด ที่ทั้ง “นักการเมือง-ตำรวจ” มักจ้องแต่จะกอบโกย เสาะแสวงหาผลประโยชน์เข้าพกเข้าห่อให้กับตนเอง ครอบครัว สมัครพรรคพวกมากกว่าคิดถึงองค์กรและชาติบ้านเมือง
กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ “วงการสีกากี” ก็เช่นเดียวกัน ที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียรพยายามยึดมั่นใน “หลักคุณธรรม” และอาจคิดเลยเถิดไปจนถึง “การปรับปรุง” สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ยึดมั่นในหลักความถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ลบล้างกระบวนการทุจริต” หรือ “มาเฟียตำรวจ!”
ถามว่า “เจตนารมณ์” ของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นถูกต้องและดีหรือไม่ ก็ต้องตอบอย่างตรงไปตรงว่า “ใช่!” เพียงแต่ว่า “ปัญหามาเฟียตำรวจ” ฝังรากลึกมาอย่างยาวนาน จนยากที่จะพลิกฝ่ามือกับปัญหาดังกล่าว และอาจจะใหญ่โตเกินไปที่คุณอภิสิทธิ์ คิดจะเป็น “อัศวิน” ในการปราบปรามวงการมาเฟียของตำรวจ
ทุกยุคทุกสมัยของฤดูการโยกย้าย ผู้คนทั้งที่เป็นตำรวจและไม่ได้เป็นตำรวจ ต่างรู้เช่นเห็นชาติ ว่าปัญหาประเด็นหลักๆ ที่เป็น “วงจรอุบาทว์” ของวงการสีกากีคือ “วิ่งเต้น-ซื้อขายตำแหน่ง-รีดไถ” เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งหลักๆ และสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่ง ตั้งแต่หลักล้านบาทไปจนถึงหลัก 10 ล้าน ถามว่า การที่ตำรวจคนหนึ่งจะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายเพียงนั้น จากเพียงเงินเดือนอย่างเดียว หาทั้งชาติก็หาไม่ได้ แน่นอน “ปัญหารีดไถ” เพื่อส่งส่วยจึงเกิดขึ้น
“ประชาชน” คือ “ผู้รับเคราะห์กรรม” สุดท้าย และไม่สำคัญเท่ากับว่า “ธุรกิจผิดกฎหมาย” จึงสามารถเปิดบริการกันได้อย่างโจ๋งครึ่ม ไม่ว่า “บ่อน-แหล่งมั่วสุม-ยาเสพติด-ธุรกิจบันเทิง-โสเภณี” จึงเป็นสถานที่ทำมาหากินร่วมกันของตำรวจกับนายทุนนักธุรกิจ
น่าเห็นใจตำรวจดีๆ ที่ไม่สามารถไต่เต้าด้วย “คุณงามความดี-ผลงาน” สู่ภารกิจและบทบาทสำคัญของ “บำบัดทุกข์บำรุงสุข” และ “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” เนื่องด้วย “ต้องวิ่งเต้น-ซื้อขายตำแหน่ง” ตบท้ายด้วย “การส่งส่วยหน่วยเหนือ” เพื่อรักษาพื้นที่อาณาจักรทำมาหากิน และไต่เต้าสู่ตำแหน่งหลัก!
“ตำรวจที่ได้ดิบได้ดีทุกคน ต่างอาศัยเส้นทางทางการเมืองและทุจริตคดโกงทุกคน จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาปกติ ธรรมเนียมของสังคมไทยไปแล้ว!”
คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงแต่อยากพลิกโฉมวงการตำรวจให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ดูเสมือนเพลี่ยงพล้ำกับ “วังวนน้ำเน่า-วงจรอุบาทว์” ของ “มนุษย์สีกากี!”