เมื่อเวลา12.00 น.วานนี้ (24 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายังห้องประชุมกรรมการบริหารพรรค ชั้น 3 อาคาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เพื่อต้อนรับ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูงรุ่นที่ 1 (พตส.1) ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เข้าพบเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และซักถามประเด็นทางการเมือง ซึ่ง พตส.รุ่นที่ 1 มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นประธานรุ่น และมีบรรดานักการเมืองจากพรรคการเมืองต่างๆ เข้าร่วมเป็นนักศึกษา อาทิ นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย นายชูชาติ ประธานธัมต์ (กุศล หมีเทศ) หัวหน้าการเมืองสีขาวในนามพญาธรรม
ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ กล่าวระหว่างตอบข้อซักถามตอนหนึ่งว่า ไม่กังวลเรื่องพรรคประชาธิปัตย์จะถูกยุบเพราะคดีเงินบริจาค และตนจะหมดเวลาหรือไม่ เรื่องการยุบพรรคเป็นเรื่องที่ กกต. อัยการ ศาลรัฐธรรนูญพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง พรรคพร้อมต่อสู้คดี ตนไม่ได้กังวลอะไร เมื่อถึงจุดหนึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็เปลี่ยนไป ตนก็เป็นส.ส. เป็นผู้นำฝ่ายค้าน หรือพรรคอยากเปลี่ยนหัวหน้าพรรค ก็ไปเป็นส.ส.แต่จะไม่ไปไหน จะอยู่กับประชาธิปัตย์จนกว่าจะเลิกการเป็นนักการเมืองในสภา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยหากต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแก้ไขรัฐธรรมนูญให้พรรคเล็กดำเนินงานทางการเมืองได้ และกระบวนการที่จะช่วยให้ระบบพรรคการเมืองมีเสถียรภาพมากที่สุดอยู่ที่การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ถ้าประชาชนต้องการให้มี 20 พรรค ก็ต้องหาวิธีการทำงานไป หากต้องการให้มี 2 พรรค ก็เป็นระบบ 2 พรรค และตนก็เห็นด้วยว่า บทบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมันลึก ละเอียดเกินไปไม่จำเป็นต้องมี แต่ว่าเป็นหมวดที่เป็นอุดมการณ์ของชาติ ไม่ว่าใครเป็นพรรคการเมืองมาเป็นรัฐบาลต้องถือตามแนวทางนี้ เพราะเป็นเจตนารมณ์ที่ประกาศในกฎหมายสูงสุด แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหากับพรรคการเมืองเท่าไร ส่วนกระบวนการสมัชชาให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น ตนมองว่าขณะนี้การเมืองภาคประชาชนไม่ได้ช้ากว่าพรรคการเมือง
**มาร์ครับไม่ชอบกม.พรรคการเมือง
ส่วนคำถามที่ว่า จะแก้รัฐธรรมนูญตาม มาตรา 291 จะเริ่มเมื่อใดนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาหลายสมัย พยายามรวมให้นักการเมืองรวมกันในพรรคขนาดใหญ่ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเสนอกฎหมายได้ รวมทั้งระบบเลือกตั้งโดยธรรมชาติ ก็ทำให้จำนวนพรรคการเมืองโดนบีบให้เหลือน้อยลง ถือว่ายังพอไปได้ เพราะต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาทางธรรมชาติด้วย รวมทั้งแรงจูงใจที่ใส่ไว้ในกฎหมาย สิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยมาตลอด เช่น เมื่อมีกฎหมาย และกกต.ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองก็มีรายละเอียดที่เยอะขึ้น เราพยายามคุมนักการเมืองเหมือนคุมระบบราชการ แต่การทำงานไม่เหมือนกัน และจะโทษใครไม่ได้ ต้องโทษนักการเมือง และพรรคการเมืองที่ไม่ดี พยายามทำมาหากินกับพรรคการเมือง ทำให้ต้องมีกฎหมายควบคุมมากขึ้น ยอมรับว่าตนไม่ชอบกฎหมายพรรคการเมืองที่เป็นอยู่ในตอนนี้ เพราะมองนักการเมืองว่าเป็นหน่วยงานราชการ แต่นักการเมืองต้องตอบให้ได้ว่า จะทำอย่างไร จะทำอะไรที่เหลวไหล เช่น นำสมาชิกพรรคมาขอเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ทำให้ประชาชนต้องกลายเป็นสมาชิกพรรค 5 พรรค ฉะนั้นตนคิดว่าอยากให้พรรคเล็กดำเนินการทำพรรคให้ได้ ซึ่งการทำให้พรรคการเมืองมีเสถียรภาพนั้น ต้องมาจากประชาชนจริงๆ ประชาชนอยากให้เหลือแค่ 2 พรรค หรือเลือก 20 พรรค ก็ต้องยอมรับ
"ใจผมอยากเดินหน้าไปถึงขั้นประชาพิจารณ์ หรือประชามติว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่ถกเถียงกันหรือไม่ หากทำเช่นนั้นได้ และทุกคนยอมรับ ตนคิดว่าทุกคนยินดีร่วมกับกระบวนการนี้ หากแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว บางฝ่ายบอกว่าอยากเลือกตั้งใหม่ เพราะเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้นั้น ตนไม่ขัดข้องเพราะไม่ได้ยึดติดอยู่แล้วว่าจะเอาอย่างไร"
**มีกม.ปรองดอง-นิรโทษก็ไม่จบ
ส่วนคำถามที่ว่า รัฐบาลจะสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถามว่ามันจะปรองดองจริงหรือไม่ และจุดยืนคืออะไร ถ้าผู้ที่เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมายื่นเรื่องให้ตนดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรฯ ตกลงแล้วจะให้ตนดำเนินคดี หรือนิรโทษกรรมกันแน่ สิ่งที่ต้องถามอีกคือ เป็นข้อเรียกร้องจริงๆ ของกลุ่มพันธมิตรฯ และคนเสื้อแดงจริงหรือไม่ ที่บอกว่าหากร่างกฎหมายผ่านสภาแล้วทุกอย่างจะเรียบร้อยนั้น หากเป็นแบบนั้นจริง ตนไม่เชื่อว่ามีคนคัดค้าน แต่ ถามจริงๆว่า มีใครเชื่อว่าจะเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่ กล้าเอาคอเป็นประกันหรือไม่ว่า หากร่างกฎหมายสองฉบับนี้ผ่านแล้ว ทุกกลุ่มจะหยุดเคลื่อนไหวทางการเมือง
"ให้ผมฟันธงว่า หากผ่านร่างกฎหมายสองฉบับนี้แล้ว ทั้งสองกลุ่มจะหยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น ฟันธงได้เลยว่าไม่มีทาง ดีไม่ดีอาจจะเป็นการสร้างความขัดแย้งขึ้นมาใหม่ด้วยซ้ำ เพราะไม่มีใครรู้ว่า หากออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ทุกคนแล้ว มันจะสร้างบรรทัดฐานให้เกิดการชุมนุมใหม่แล้วขอนิรโทษกรรมได้อีกหรือไม่ และมันเป็นกฎหมายที่สร้างวงจรไม่จบไม่สิ้นของคนที่มีความคิดเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้นมา แม้กระทั่งเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ที่ผ่านกระบวนการบังคับใช้แล้วนั้น ถามว่าหากแก้ไขเสร็จแล้ว ทุกฝ่ายจะหยุดชุมนุม และหยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองจริงหรือไม่ หากหยุดจริง คิดว่าทุกฝ่ายยินดีทำอยู่แล้ว แต่เรารู้อยู่แก่ใจว่าบางกลุ่มไม่หยุด"
**เตือนเสื้อแดงหยุดดิสเครดิตชาติ
ส่วนการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในช่วงวันที่ 30 ส.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันนัดชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า หากประเมินว่าวันที่ 30 ส.ค. จะมีปัญหาก็เป็นความชอบธรรมของรัฐบาลที่จะประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และตนอยากถามกลับไปว่า วันนี้ที่เคลื่อนไหวกันอยู่และบางฝ่ายบอกว่าต้องการให้วุ่นวายนั้น เพื่ออะไร เพื่อใคร การทำงานในตอนนี้เราต้องการความเชื่อมั่นกลับคืนสู่ประเทศ เวลาที่เกิดเหตุวุ่นวายอาจคิดเพียงว่า เป็นการดิสเครดิตรัฐบาล ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ เพราะมันเป็นการดิสเครดิตประเทศ ไม่ใช่ว่าดิสเครดิตรัฐบาลแล้ววันรุ่งขึ้น ตนเดินทางไปต่างประเทศ แล้วทางนั้นจะเชื่อถือประเทศไทย เพราะต้องไปนั่งชี้แจงกันอีกเท่าใด เป็นสิ่งที่อยากให้เข้าใจคนที่เป็นรัฐบาลนั้นไม่อยากมีปัญหากับประชาชน ไม่ว่าจะกลุ่มไหน ชอบ-ไม่ชอบรัฐบาล แต่การรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษากฎหมายนั้นสำคัญที่สุดในการที่จะให้ประเทศเดินต่อไปได้
ส่วนการแต่งตั้ง ผบ.ตร.นั้น ตนยืนยันว่าทำตามกฎหมายทุกอย่าง และมีมรรยาท ในวันที่มีการประชุมพิจารณาคัดเลือก (20 ส.ค.)นั้น ตนตั้งที่จะไม่ยกมือ วันนั้นเสียง 5:4 หากตนยกมือก็ชนะไปแล้ว เพราะเสียงจะ 5:5 แล้วตนจะชี้ขาด แต่ตนถือว่าให้เกียรติกัน และกระบวนการยังไม่ยุติ ยังไม่จบลง ตนก็เดินหน้าทำตามกระบวนการกฎหมายต่อไป คิดว่าทุกอย่างคงจะเรียบร้อยในไม่ช้านี้
ส่วนคำถามสุดท้ายของนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยว่า ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลนั้น จะหาจุดเริ่มต้นสร้างความปรองดองและสมานฉันท์อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเป็นคนเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ขึ้นในสภา เพราะผู้ชุมนุมคลางแคลงใจว่ารัฐบาลทำอะไรในช่วงเดือน เม.ย. นั่นคือก้าวเริ่มต้นเปิดทาง แต่มันเป็นเรื่องของสภา หากตนทำเรื่องนี้เองอีกฝ่ายจะไม่เชื่อ เรื่องนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความขัดแย้งในช่วงที่ตนไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะมีการปะทะจนมีการเสียชีวิต ถามว่าเคยมีการสะสางโดยให้ผู้แทนประชาชนมีส่วนร่วมหรือไม่ ตนย้ำเสมอว่า เดือนเม.ย.นั้นตนรักษากฎหมาย ไม่ได้คิดเรื่องเอาชนะคะคาน แบ่งแยกเป็นฝ่ายรัฐ-ฝ่ายผู้ชุมนุม
"หากถามว่า จะกลับมารักกันไหม ผมตอบไม่ได้ เพราะไม่สามารถบังคับให้ใครรักกับใครได้ บางคนที่ทำตัวไม่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม ก็ไม่ควรไปรัก และควรให้รู้ว่า ควรทำประโยชน์ให้ส่วนรวมและมันอาจเกิดความสงสาร และเห็นใจขึ้นได้ หากบอกว่ารักแล้วต้องตามใจนั้น คงไม่ได้ เพราะประโยชน์ของประเทศและประชาชนต้องมาก่อน หากทำตามแนวทางนี้ และแม้บางฝ่ายจ้องไม่ให้เป็นไปตามแนวทางนี้นั้น ผมชื่อว่าสังคมไทยจะกลับสู่ภาวะปกติได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**"เหลิม"ยันต้องพึ่งบารมี"แม้ว"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาเวลา 14.00 น. นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง ได้เดินทางไปที่พรรคเพื่อไทย โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ได้บรรยายเรื่องการเมืองและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย โดยระบุว่า ยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย เป็นพันธุกรรม และดีเอ็นเอ มาจากพรรคไทยรักไทยเดิมโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้คิดวางนโยบายเอาไว้
ครั้งหนึ่งก่อนหาเสียงเลือกตั้ง ตนเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ดูไบ ท่านบอกว่า อยากให้พูดถึงนโยบายการล้างหนี้ให้ประชาชน และสร้างรายได้เอาความสุขของประชาชนกลับคืนมา ตนก็เห็นด้วย อย่างไรก็ดีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจรัฐบาลปัจจุบัน เราไม่เห็นด้วย การแก้ปัญหาได้ ต้องหารายได้เข้าประเทศ ซึ่งแนวทางของเราคือตั้ง ศูนย์กลางรักษาพยาบาล ดึงเงินทุนจากชาวต่างชาติ เข้ามาเป็นต้น
ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า ตนจะเสนอพรรคให้สัมมนาที่ จ.อุดรธานี และได้เขียนแผนการณ์ไว้ 5 แนวทาง ทั้งการแก้ปัญหาการเมือง สังคม เศรษฐกิจ พลังงานและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการเมืองวันนี้ความไม่เข้าใจกันถือเป็นเรื่องปกติ
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวถึง นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ซึ่งเป็นนักศึกษา พตส. และเดินทางมาด้วยว่า สมัยที่อยู่พรรคความหวังใหม่ ก็คุ้นเคยกันดีกับนายปานเทพ ส่วนนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ก็เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ พ.ศ.2517 เคยทานข้าวร่วมกันไม่ต่ำกว่า 2,000 มื้อ แต่วันนี้มีความเห็นการเมืองต่างกันก็ไม่เป็นอะไร เอาไว้ไปสู้กันในสนามเลือกตั้ง
"ที่ผ่านมาเห็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ไปร่วมกิจกรรมกับพรรคมาตุภูมิ ก็รู้สึกดีใจแทน สมมุติว่าหากเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคท่านได้ 20 ที่นั่ง เพื่อไทยได้10 ที่นั่ง ถือเป็นการลิดรอนพรรคประชาธิปัตย์ แต่สมมุติเลือกตั้งครั้งหน้าประชาธิปัตย์ได้ที่1 เพื่อไทยได้ที่ 2 เราก็เป็นฝ่ายค้านต่อ แต่ยังมั่นใจรอบหน้าจะได้มากกว่าครั้งนี้ ส่วนภาคอีสาน19 จังหวัด 137 ที่นั่ง เราพร้อม มีปัญหาอยู่ที่บุรีรัมย์จังหวัดเดียว เพราะทุกพื้นที่เราพร้อมลงไปปราศรัย ยึดแนวทางล้างหนี้ประเทศ เอาความสุขประชาชนคืนมา จะไม่โจมตีผู้สมัคร พรรคคู่แข่ง เขาบอกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ดี ของปี 2540 ดี แต่ตนเห็นว่ามันดีทั้งนั้น แต่ปี 50 มันยุ่งยากกว่านิดหน่อย ถึงอย่างไรเลือกตั้งที่ สกลนคร ศรีสะเกษ เราชนะก็เพราะรัฐธรรมนูญ 50 ขณะนี้เขียนแผนรณรงค์หาเสียง 7 แผน 4 ปรับ 3 หลัก 6 เร่ง เตรียมเสนอต่อพรรคก่อน ไม่รู้ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็เริ่มเลย
จากนั้นเป็นช่วงซักถามโดย นายปานเทพ ถามว่า วันนี้มีทั้งคนที่สนับสนุน และไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ แต่การหาเสียงของพรรคเพื่อไทย เหตุใดยังชูภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำไมพรรคเพื่อไทย ไม่พัฒนาไปสู่สถาบันการเมือง โดยไม่อิงกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม ตอบว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีปฐมบทที่มาแตกต่างกัน พรรคประชาธิปัตย์ นายควง อภัยวงศ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสียชีวิตนานแล้วแต่ก็มีอาคารอภัยวงศ์ ในภาคใต้นายชวน หลีกภัย พ้นจากหัวหน้าพรรคไปแล้ว แต่ใครไปหาเสียง ไม่เอ่ยชื่อนายชวน ไม่บอกว่าเป็นลูกศิษย์ รับรองแพ้ทุกคน แต่หากบอกว่าไม่เป็นลูกศิษย์นายสุเทพ ยังมีโอกาสชนะ การเคารพคนที่เราเคารพทางการเมืองถือเป็นสิ่งสำคัญ
การพูดถึงพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นวิธีในการหาเสียง แต่การจะเปลี่ยนต้องค่อยเป็นค่อยไป เลือกตั้งรอบหน้าชนะเกินครึ่งไม่ต้องเอ่ยชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้ แต่เวลานี้ไม่ได้ คงไม่มีใครฟัง ดังนั้นคำถามที่นายปานเทพ ถามนั้นยอมรับว่า ที่ผ่านมามีคนถามเยอะ แต่ต้องบอกว่า ปัจจุบันถ้าไม่ขาย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จบ
**ไม่เกิน เม.ย.53 มีเลือกตั้งใหม่
นายปานเทพ ถามถึงจุดยืนของพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นอย่างงไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า พ.ร.บ.ปรองดอง ที่พรรคภูมิใจไทยเสนอ เชื่อว่าหากมีการโหวตจะแพ้แน่นอน และพรรคเพื่อไทยก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งตนมองว่าเป็นการเหวี่ยงแห ไม่มีความชัดเจน ถ้าให้โหวตพรรคเพื่อไทยก็ไม่เห็นด้วย
สำหรับเรื่องการถวายฎีกา เรื่องนี้ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก เป็นพระบรมราชวินิจฉัย แล้วแต่พระองค์ท่าน แต่จะสมัครสมานสามัคคีหรือไม่ สามารถบอกได้ว่า ก่อนเลือกตั้ง จะออกแคมเปญ ว่าหากพี่น้องไม่อยากเห็นใครผิดหรือถูก ให้เลือกพรรคเพื่อไทย ให้นิรโทษกรรมทุกภาคส่วน ไม่มีสีเสื้อ แต่ถ้าเราได้ไม่ถึงครึ่ง ก็ไม่ทำ
อย่างไรก็ตามให้จำคำพูดตนว่าไม่เกินเดือน มี.ค.-เม.ย. 53 จะมีเลือกตั้งแน่นอน ซึ่งร.ต.อ.เฉลิม ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า สาเหตุที่มั่นใจว่าไม่เกินเดือน มี.ค.-เม.ย.53 จะมีการเลือกตั้งเนื่องจาก 1. รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ 2. ไม่สามารถแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดใต้ได้ 3.พรรคร่วมรัฐบาลอยู่ในฐานะไม่เกรงใจ เห็นได้จากการเลือกผบ.ตร.คนใหม่ ที่รมว.มหาดไทย ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา นายกฯไม่เห็นด้วย แค่นี้ภาวะผู้นำก็หมดแล้ว
ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ กล่าวระหว่างตอบข้อซักถามตอนหนึ่งว่า ไม่กังวลเรื่องพรรคประชาธิปัตย์จะถูกยุบเพราะคดีเงินบริจาค และตนจะหมดเวลาหรือไม่ เรื่องการยุบพรรคเป็นเรื่องที่ กกต. อัยการ ศาลรัฐธรรนูญพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง พรรคพร้อมต่อสู้คดี ตนไม่ได้กังวลอะไร เมื่อถึงจุดหนึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็เปลี่ยนไป ตนก็เป็นส.ส. เป็นผู้นำฝ่ายค้าน หรือพรรคอยากเปลี่ยนหัวหน้าพรรค ก็ไปเป็นส.ส.แต่จะไม่ไปไหน จะอยู่กับประชาธิปัตย์จนกว่าจะเลิกการเป็นนักการเมืองในสภา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยหากต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแก้ไขรัฐธรรมนูญให้พรรคเล็กดำเนินงานทางการเมืองได้ และกระบวนการที่จะช่วยให้ระบบพรรคการเมืองมีเสถียรภาพมากที่สุดอยู่ที่การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ถ้าประชาชนต้องการให้มี 20 พรรค ก็ต้องหาวิธีการทำงานไป หากต้องการให้มี 2 พรรค ก็เป็นระบบ 2 พรรค และตนก็เห็นด้วยว่า บทบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมันลึก ละเอียดเกินไปไม่จำเป็นต้องมี แต่ว่าเป็นหมวดที่เป็นอุดมการณ์ของชาติ ไม่ว่าใครเป็นพรรคการเมืองมาเป็นรัฐบาลต้องถือตามแนวทางนี้ เพราะเป็นเจตนารมณ์ที่ประกาศในกฎหมายสูงสุด แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหากับพรรคการเมืองเท่าไร ส่วนกระบวนการสมัชชาให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น ตนมองว่าขณะนี้การเมืองภาคประชาชนไม่ได้ช้ากว่าพรรคการเมือง
**มาร์ครับไม่ชอบกม.พรรคการเมือง
ส่วนคำถามที่ว่า จะแก้รัฐธรรมนูญตาม มาตรา 291 จะเริ่มเมื่อใดนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาหลายสมัย พยายามรวมให้นักการเมืองรวมกันในพรรคขนาดใหญ่ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเสนอกฎหมายได้ รวมทั้งระบบเลือกตั้งโดยธรรมชาติ ก็ทำให้จำนวนพรรคการเมืองโดนบีบให้เหลือน้อยลง ถือว่ายังพอไปได้ เพราะต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาทางธรรมชาติด้วย รวมทั้งแรงจูงใจที่ใส่ไว้ในกฎหมาย สิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยมาตลอด เช่น เมื่อมีกฎหมาย และกกต.ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองก็มีรายละเอียดที่เยอะขึ้น เราพยายามคุมนักการเมืองเหมือนคุมระบบราชการ แต่การทำงานไม่เหมือนกัน และจะโทษใครไม่ได้ ต้องโทษนักการเมือง และพรรคการเมืองที่ไม่ดี พยายามทำมาหากินกับพรรคการเมือง ทำให้ต้องมีกฎหมายควบคุมมากขึ้น ยอมรับว่าตนไม่ชอบกฎหมายพรรคการเมืองที่เป็นอยู่ในตอนนี้ เพราะมองนักการเมืองว่าเป็นหน่วยงานราชการ แต่นักการเมืองต้องตอบให้ได้ว่า จะทำอย่างไร จะทำอะไรที่เหลวไหล เช่น นำสมาชิกพรรคมาขอเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ทำให้ประชาชนต้องกลายเป็นสมาชิกพรรค 5 พรรค ฉะนั้นตนคิดว่าอยากให้พรรคเล็กดำเนินการทำพรรคให้ได้ ซึ่งการทำให้พรรคการเมืองมีเสถียรภาพนั้น ต้องมาจากประชาชนจริงๆ ประชาชนอยากให้เหลือแค่ 2 พรรค หรือเลือก 20 พรรค ก็ต้องยอมรับ
"ใจผมอยากเดินหน้าไปถึงขั้นประชาพิจารณ์ หรือประชามติว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่ถกเถียงกันหรือไม่ หากทำเช่นนั้นได้ และทุกคนยอมรับ ตนคิดว่าทุกคนยินดีร่วมกับกระบวนการนี้ หากแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว บางฝ่ายบอกว่าอยากเลือกตั้งใหม่ เพราะเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้นั้น ตนไม่ขัดข้องเพราะไม่ได้ยึดติดอยู่แล้วว่าจะเอาอย่างไร"
**มีกม.ปรองดอง-นิรโทษก็ไม่จบ
ส่วนคำถามที่ว่า รัฐบาลจะสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถามว่ามันจะปรองดองจริงหรือไม่ และจุดยืนคืออะไร ถ้าผู้ที่เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมายื่นเรื่องให้ตนดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรฯ ตกลงแล้วจะให้ตนดำเนินคดี หรือนิรโทษกรรมกันแน่ สิ่งที่ต้องถามอีกคือ เป็นข้อเรียกร้องจริงๆ ของกลุ่มพันธมิตรฯ และคนเสื้อแดงจริงหรือไม่ ที่บอกว่าหากร่างกฎหมายผ่านสภาแล้วทุกอย่างจะเรียบร้อยนั้น หากเป็นแบบนั้นจริง ตนไม่เชื่อว่ามีคนคัดค้าน แต่ ถามจริงๆว่า มีใครเชื่อว่าจะเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่ กล้าเอาคอเป็นประกันหรือไม่ว่า หากร่างกฎหมายสองฉบับนี้ผ่านแล้ว ทุกกลุ่มจะหยุดเคลื่อนไหวทางการเมือง
"ให้ผมฟันธงว่า หากผ่านร่างกฎหมายสองฉบับนี้แล้ว ทั้งสองกลุ่มจะหยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น ฟันธงได้เลยว่าไม่มีทาง ดีไม่ดีอาจจะเป็นการสร้างความขัดแย้งขึ้นมาใหม่ด้วยซ้ำ เพราะไม่มีใครรู้ว่า หากออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ทุกคนแล้ว มันจะสร้างบรรทัดฐานให้เกิดการชุมนุมใหม่แล้วขอนิรโทษกรรมได้อีกหรือไม่ และมันเป็นกฎหมายที่สร้างวงจรไม่จบไม่สิ้นของคนที่มีความคิดเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้นมา แม้กระทั่งเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ที่ผ่านกระบวนการบังคับใช้แล้วนั้น ถามว่าหากแก้ไขเสร็จแล้ว ทุกฝ่ายจะหยุดชุมนุม และหยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองจริงหรือไม่ หากหยุดจริง คิดว่าทุกฝ่ายยินดีทำอยู่แล้ว แต่เรารู้อยู่แก่ใจว่าบางกลุ่มไม่หยุด"
**เตือนเสื้อแดงหยุดดิสเครดิตชาติ
ส่วนการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในช่วงวันที่ 30 ส.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันนัดชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า หากประเมินว่าวันที่ 30 ส.ค. จะมีปัญหาก็เป็นความชอบธรรมของรัฐบาลที่จะประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และตนอยากถามกลับไปว่า วันนี้ที่เคลื่อนไหวกันอยู่และบางฝ่ายบอกว่าต้องการให้วุ่นวายนั้น เพื่ออะไร เพื่อใคร การทำงานในตอนนี้เราต้องการความเชื่อมั่นกลับคืนสู่ประเทศ เวลาที่เกิดเหตุวุ่นวายอาจคิดเพียงว่า เป็นการดิสเครดิตรัฐบาล ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ เพราะมันเป็นการดิสเครดิตประเทศ ไม่ใช่ว่าดิสเครดิตรัฐบาลแล้ววันรุ่งขึ้น ตนเดินทางไปต่างประเทศ แล้วทางนั้นจะเชื่อถือประเทศไทย เพราะต้องไปนั่งชี้แจงกันอีกเท่าใด เป็นสิ่งที่อยากให้เข้าใจคนที่เป็นรัฐบาลนั้นไม่อยากมีปัญหากับประชาชน ไม่ว่าจะกลุ่มไหน ชอบ-ไม่ชอบรัฐบาล แต่การรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษากฎหมายนั้นสำคัญที่สุดในการที่จะให้ประเทศเดินต่อไปได้
ส่วนการแต่งตั้ง ผบ.ตร.นั้น ตนยืนยันว่าทำตามกฎหมายทุกอย่าง และมีมรรยาท ในวันที่มีการประชุมพิจารณาคัดเลือก (20 ส.ค.)นั้น ตนตั้งที่จะไม่ยกมือ วันนั้นเสียง 5:4 หากตนยกมือก็ชนะไปแล้ว เพราะเสียงจะ 5:5 แล้วตนจะชี้ขาด แต่ตนถือว่าให้เกียรติกัน และกระบวนการยังไม่ยุติ ยังไม่จบลง ตนก็เดินหน้าทำตามกระบวนการกฎหมายต่อไป คิดว่าทุกอย่างคงจะเรียบร้อยในไม่ช้านี้
ส่วนคำถามสุดท้ายของนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยว่า ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลนั้น จะหาจุดเริ่มต้นสร้างความปรองดองและสมานฉันท์อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเป็นคนเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ขึ้นในสภา เพราะผู้ชุมนุมคลางแคลงใจว่ารัฐบาลทำอะไรในช่วงเดือน เม.ย. นั่นคือก้าวเริ่มต้นเปิดทาง แต่มันเป็นเรื่องของสภา หากตนทำเรื่องนี้เองอีกฝ่ายจะไม่เชื่อ เรื่องนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความขัดแย้งในช่วงที่ตนไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะมีการปะทะจนมีการเสียชีวิต ถามว่าเคยมีการสะสางโดยให้ผู้แทนประชาชนมีส่วนร่วมหรือไม่ ตนย้ำเสมอว่า เดือนเม.ย.นั้นตนรักษากฎหมาย ไม่ได้คิดเรื่องเอาชนะคะคาน แบ่งแยกเป็นฝ่ายรัฐ-ฝ่ายผู้ชุมนุม
"หากถามว่า จะกลับมารักกันไหม ผมตอบไม่ได้ เพราะไม่สามารถบังคับให้ใครรักกับใครได้ บางคนที่ทำตัวไม่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม ก็ไม่ควรไปรัก และควรให้รู้ว่า ควรทำประโยชน์ให้ส่วนรวมและมันอาจเกิดความสงสาร และเห็นใจขึ้นได้ หากบอกว่ารักแล้วต้องตามใจนั้น คงไม่ได้ เพราะประโยชน์ของประเทศและประชาชนต้องมาก่อน หากทำตามแนวทางนี้ และแม้บางฝ่ายจ้องไม่ให้เป็นไปตามแนวทางนี้นั้น ผมชื่อว่าสังคมไทยจะกลับสู่ภาวะปกติได้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**"เหลิม"ยันต้องพึ่งบารมี"แม้ว"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาเวลา 14.00 น. นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง ได้เดินทางไปที่พรรคเพื่อไทย โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ได้บรรยายเรื่องการเมืองและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย โดยระบุว่า ยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย เป็นพันธุกรรม และดีเอ็นเอ มาจากพรรคไทยรักไทยเดิมโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้คิดวางนโยบายเอาไว้
ครั้งหนึ่งก่อนหาเสียงเลือกตั้ง ตนเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ดูไบ ท่านบอกว่า อยากให้พูดถึงนโยบายการล้างหนี้ให้ประชาชน และสร้างรายได้เอาความสุขของประชาชนกลับคืนมา ตนก็เห็นด้วย อย่างไรก็ดีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจรัฐบาลปัจจุบัน เราไม่เห็นด้วย การแก้ปัญหาได้ ต้องหารายได้เข้าประเทศ ซึ่งแนวทางของเราคือตั้ง ศูนย์กลางรักษาพยาบาล ดึงเงินทุนจากชาวต่างชาติ เข้ามาเป็นต้น
ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า ตนจะเสนอพรรคให้สัมมนาที่ จ.อุดรธานี และได้เขียนแผนการณ์ไว้ 5 แนวทาง ทั้งการแก้ปัญหาการเมือง สังคม เศรษฐกิจ พลังงานและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการเมืองวันนี้ความไม่เข้าใจกันถือเป็นเรื่องปกติ
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวถึง นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ซึ่งเป็นนักศึกษา พตส. และเดินทางมาด้วยว่า สมัยที่อยู่พรรคความหวังใหม่ ก็คุ้นเคยกันดีกับนายปานเทพ ส่วนนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ก็เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ พ.ศ.2517 เคยทานข้าวร่วมกันไม่ต่ำกว่า 2,000 มื้อ แต่วันนี้มีความเห็นการเมืองต่างกันก็ไม่เป็นอะไร เอาไว้ไปสู้กันในสนามเลือกตั้ง
"ที่ผ่านมาเห็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ไปร่วมกิจกรรมกับพรรคมาตุภูมิ ก็รู้สึกดีใจแทน สมมุติว่าหากเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคท่านได้ 20 ที่นั่ง เพื่อไทยได้10 ที่นั่ง ถือเป็นการลิดรอนพรรคประชาธิปัตย์ แต่สมมุติเลือกตั้งครั้งหน้าประชาธิปัตย์ได้ที่1 เพื่อไทยได้ที่ 2 เราก็เป็นฝ่ายค้านต่อ แต่ยังมั่นใจรอบหน้าจะได้มากกว่าครั้งนี้ ส่วนภาคอีสาน19 จังหวัด 137 ที่นั่ง เราพร้อม มีปัญหาอยู่ที่บุรีรัมย์จังหวัดเดียว เพราะทุกพื้นที่เราพร้อมลงไปปราศรัย ยึดแนวทางล้างหนี้ประเทศ เอาความสุขประชาชนคืนมา จะไม่โจมตีผู้สมัคร พรรคคู่แข่ง เขาบอกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ดี ของปี 2540 ดี แต่ตนเห็นว่ามันดีทั้งนั้น แต่ปี 50 มันยุ่งยากกว่านิดหน่อย ถึงอย่างไรเลือกตั้งที่ สกลนคร ศรีสะเกษ เราชนะก็เพราะรัฐธรรมนูญ 50 ขณะนี้เขียนแผนรณรงค์หาเสียง 7 แผน 4 ปรับ 3 หลัก 6 เร่ง เตรียมเสนอต่อพรรคก่อน ไม่รู้ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็เริ่มเลย
จากนั้นเป็นช่วงซักถามโดย นายปานเทพ ถามว่า วันนี้มีทั้งคนที่สนับสนุน และไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ แต่การหาเสียงของพรรคเพื่อไทย เหตุใดยังชูภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำไมพรรคเพื่อไทย ไม่พัฒนาไปสู่สถาบันการเมือง โดยไม่อิงกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม ตอบว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีปฐมบทที่มาแตกต่างกัน พรรคประชาธิปัตย์ นายควง อภัยวงศ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสียชีวิตนานแล้วแต่ก็มีอาคารอภัยวงศ์ ในภาคใต้นายชวน หลีกภัย พ้นจากหัวหน้าพรรคไปแล้ว แต่ใครไปหาเสียง ไม่เอ่ยชื่อนายชวน ไม่บอกว่าเป็นลูกศิษย์ รับรองแพ้ทุกคน แต่หากบอกว่าไม่เป็นลูกศิษย์นายสุเทพ ยังมีโอกาสชนะ การเคารพคนที่เราเคารพทางการเมืองถือเป็นสิ่งสำคัญ
การพูดถึงพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นวิธีในการหาเสียง แต่การจะเปลี่ยนต้องค่อยเป็นค่อยไป เลือกตั้งรอบหน้าชนะเกินครึ่งไม่ต้องเอ่ยชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้ แต่เวลานี้ไม่ได้ คงไม่มีใครฟัง ดังนั้นคำถามที่นายปานเทพ ถามนั้นยอมรับว่า ที่ผ่านมามีคนถามเยอะ แต่ต้องบอกว่า ปัจจุบันถ้าไม่ขาย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จบ
**ไม่เกิน เม.ย.53 มีเลือกตั้งใหม่
นายปานเทพ ถามถึงจุดยืนของพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นอย่างงไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า พ.ร.บ.ปรองดอง ที่พรรคภูมิใจไทยเสนอ เชื่อว่าหากมีการโหวตจะแพ้แน่นอน และพรรคเพื่อไทยก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งตนมองว่าเป็นการเหวี่ยงแห ไม่มีความชัดเจน ถ้าให้โหวตพรรคเพื่อไทยก็ไม่เห็นด้วย
สำหรับเรื่องการถวายฎีกา เรื่องนี้ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก เป็นพระบรมราชวินิจฉัย แล้วแต่พระองค์ท่าน แต่จะสมัครสมานสามัคคีหรือไม่ สามารถบอกได้ว่า ก่อนเลือกตั้ง จะออกแคมเปญ ว่าหากพี่น้องไม่อยากเห็นใครผิดหรือถูก ให้เลือกพรรคเพื่อไทย ให้นิรโทษกรรมทุกภาคส่วน ไม่มีสีเสื้อ แต่ถ้าเราได้ไม่ถึงครึ่ง ก็ไม่ทำ
อย่างไรก็ตามให้จำคำพูดตนว่าไม่เกินเดือน มี.ค.-เม.ย. 53 จะมีเลือกตั้งแน่นอน ซึ่งร.ต.อ.เฉลิม ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า สาเหตุที่มั่นใจว่าไม่เกินเดือน มี.ค.-เม.ย.53 จะมีการเลือกตั้งเนื่องจาก 1. รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ 2. ไม่สามารถแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดใต้ได้ 3.พรรคร่วมรัฐบาลอยู่ในฐานะไม่เกรงใจ เห็นได้จากการเลือกผบ.ตร.คนใหม่ ที่รมว.มหาดไทย ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา นายกฯไม่เห็นด้วย แค่นี้ภาวะผู้นำก็หมดแล้ว