ASTV-ผู้จัดการรายวัน - บอนด์แบงก์ชาติพ่นพิษ นายแบงก์คาดดอกเบี้ยเงินฝากอาจขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้า ประสานเสียง กนง.คงดอกเบี้ยที่ 1.25% ช่วยประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 ส.ค.2552 นี้คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี) ระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ตามเดิม เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้
“ตัวเลขหลายตัวแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว เช่น ตัวเลขการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขหลายตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะยังไม่รู้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้จะเป็นการฟื้นตัวอย่างแท้จริงหรือไม่” นายธวัชชัย กล่าว
ด้านนายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) กล่าวว่า ในการประชุมกนง.ครั้งนี้ ธนาคารคาดการณ์ว่ากนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% และตลอดไตรมาส 3 นี้ เนื่องจากเป็นนโยบายของทางการที่ต้องการจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เพื่อช่วยภาคธุรกิจในการดำเนินกิจการหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนในขณะเดียวกันก็จะเป็นการช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานไปได้พอสมควร
“อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้อย่างมาก ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบและช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆจากการดำเนินงานของธุรกิจไปได้จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว” นายตรรก กล่าว
ส่วนไตรมาส 4 ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรนั้นต้องรอดูสภาพเศรษฐกิจก่อนว่ามีการฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากน้อยแค่ไหนแต่เชื่อว่าน่าจะมีการทรงตัวอัตราดอกเบี้ยไประยะหนึ่งแล้วมีการปรับขึ้น เพราะหากดูแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศแล้ว มีบางประเทศที่เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น จึงเป็นปัจจัยทำให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็มองว่าอาจจะมีบางธนาคารมีการปรับสูงขึ้นซึ่งจะเป็นฝั่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะกลางประเภท 12 เดือน เพื่อต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้และใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน แต่ระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวก็คงจะปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
ในขณะที่นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) ประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.ที่สอดคล้องกับตลาดว่า เป็นช่วงเวลาปกติที่ทางการจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพราะทาง ธปท.ก็ออกมาพูดชัดเจนแล้วว่าขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น ส่วนเรื่องอัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงเชื่อว่ายังไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
“ทางการจะคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับปัจจุบันไปจนกระทั่งต้นปี 2553 แล้วถึงจะมีการปรับขึ้น เพราะเมื่อพิจารณาแล้วยังไม่มีปัจจัยอะไรที่จะกดดันให้มีการปรับขึ้นอีกทั้งเมื่อดูประเทศสหรัฐฯแล้วก็คงอีกนานเช่นกันกว่าที่เขาจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย” นายบันลือศักดิ์กล่าว.
นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 ส.ค.2552 นี้คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี) ระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ตามเดิม เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้
“ตัวเลขหลายตัวแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว เช่น ตัวเลขการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขหลายตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะยังไม่รู้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้จะเป็นการฟื้นตัวอย่างแท้จริงหรือไม่” นายธวัชชัย กล่าว
ด้านนายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) กล่าวว่า ในการประชุมกนง.ครั้งนี้ ธนาคารคาดการณ์ว่ากนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% และตลอดไตรมาส 3 นี้ เนื่องจากเป็นนโยบายของทางการที่ต้องการจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เพื่อช่วยภาคธุรกิจในการดำเนินกิจการหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนในขณะเดียวกันก็จะเป็นการช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานไปได้พอสมควร
“อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้อย่างมาก ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบและช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆจากการดำเนินงานของธุรกิจไปได้จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว” นายตรรก กล่าว
ส่วนไตรมาส 4 ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรนั้นต้องรอดูสภาพเศรษฐกิจก่อนว่ามีการฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากน้อยแค่ไหนแต่เชื่อว่าน่าจะมีการทรงตัวอัตราดอกเบี้ยไประยะหนึ่งแล้วมีการปรับขึ้น เพราะหากดูแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศแล้ว มีบางประเทศที่เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น จึงเป็นปัจจัยทำให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็มองว่าอาจจะมีบางธนาคารมีการปรับสูงขึ้นซึ่งจะเป็นฝั่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะกลางประเภท 12 เดือน เพื่อต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้และใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน แต่ระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวก็คงจะปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
ในขณะที่นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) ประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.ที่สอดคล้องกับตลาดว่า เป็นช่วงเวลาปกติที่ทางการจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพราะทาง ธปท.ก็ออกมาพูดชัดเจนแล้วว่าขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น ส่วนเรื่องอัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงเชื่อว่ายังไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
“ทางการจะคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับปัจจุบันไปจนกระทั่งต้นปี 2553 แล้วถึงจะมีการปรับขึ้น เพราะเมื่อพิจารณาแล้วยังไม่มีปัจจัยอะไรที่จะกดดันให้มีการปรับขึ้นอีกทั้งเมื่อดูประเทศสหรัฐฯแล้วก็คงอีกนานเช่นกันกว่าที่เขาจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย” นายบันลือศักดิ์กล่าว.