“แม้ผมจะทำงาน แต่ผมก็ไม่วายถูกใส่ร้าย ผมถูกจำคุก 2 ปี จากคดีขายที่ดินรัชดาฯ ถือเป็นคดีที่ตลกที่สุด เพราะการขายทรัพย์ไม่ผิด ผู้ขายไม่ผิด ผู้ซื้อไม่ผิด แต่สามีผู้ซื้อที่ยินยอมให้ทำนิติกรรมกลับผิด ทั้งๆ ที่ผมไม่เชื่อกระบวนการยุติธรรมในขณะนั้น เพราะสืบทอดจากการรัฐประหาร วิธีการได้มาก็ไม่ชอบตามหลักกฎหมายสากล จึงได้ถอนทนายออกจากคดี แต่ศาลก็ไม่ยินยอม และเดินหน้าตัดสินผมโดยมีมติลงโทษด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ความไม่เป็นธรรมเช่นนี้ เป็นสิ่งที่สะสมในใจของพี่น้อง พี่น้องรอความเป็นธรรมกลับคืนมา ผมเป็นแค่หมากตัวหนึ่ง ที่เขาใช้เดินและทำลายระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเท่านั้น”
คำพูดทำนองนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของทักษิณที่ถูกตั้งคำถามว่า เข้าข่าย “หมิ่นศาล”หรือไม่ เพราะทักษิณเคยกล่าวถ้อยคำที่หมิ่นเหม่ต่อศาลทำนองเดียวกันนี้มาแล้วหลายครั้ง และทุกครั้งก็ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ จากศาลเลย
มันชวนให้คิดว่า นับจากนี้ไปเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาคดีของศาลอย่างที่ทักษิณทำอยู่ได้แล้วใช่หรือไม่
ผมยอมรับว่า หลายครั้งผมเองก็เห็นว่า การพิพากษาคดีของศาลชวนให้ตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมและมาตรฐานที่แตกต่างกัน และเคยมีความเห็นเสมอมาว่า เราน่าจะให้มีระบบที่ตรวจสอบการพิจารณาคดีของศาลได้ มากกว่าจะเป็น “เรื่องภายใน” ขององค์กรศาลด้วยกันเอง เพราะแม้องค์กรตุลาการจะมีระบบที่เข้มแข็ง แต่ผู้พิพากษาก็คือบุคคลธรรมดาเหมือนกับเราๆโดยทั่วไป
เมื่อถูกทักษิณกล่าวหาเช่นนี้ ผมคิดว่า ศาลควรจะต้องอธิบายว่า กระบวนการยุติธรรมที่ทักษิณเคยโฟนอินเรียกว่า “กระบวนการยุติความเป็นธรรม” นั้น ได้พิจารณาคดีซึ่งนำมาสู่การพิพากษาจำคุกทักษิณ 2 ปีนั้นขัดกับหลักกฎหมายสากลจริงหรือไม่
การตัดสินจำคุกทักษิณ 2 ปี เพราะเป็นแค่หมากตัวหนึ่งเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างที่ทักษิณกล่าวหาจริงๆ หรือ
แต่ถ้าศาลบอกว่า ทักษิณ “ไม่หมิ่น” ผมจะได้ตั้งคำถามต่อไปว่า นี่คือบรรทัดฐานในการวิพากษ์วิจารณ์หลังคำตัดสินของศาลใช่หรือไม่ และพวกผมชาวบ้านชาวช่องโดยทั่วไปจะสามารถวิพากษ์วิจารณ์หลังคำพิพากษาของศาลในท่วงทำนองเดียวกันนี้ได้หรือไม่ เราจะพูดแบบเดียวกับที่ทักษิณพูดว่า ศาลไม่ยุติธรรม ศาลกลั่นแกล้ง ศาลมีอคติได้หรือไม่
ทำไมทักษิณจึงพูดได้ว่า “ผมถูกจำคุก 2 ปี จากคดีขายที่ดินรัชดาฯ ถือเป็นคดีที่ตลกที่สุด เพราะการขายทรัพย์ไม่ผิด ผู้ขายไม่ผิด ผู้ซื้อไม่ผิด แต่สามีผู้ซื้อที่ยินยอมให้ทำนิติกรรมกลับผิด”
เพราะถ้าวันไหนตาสีตาสาเกิดมีความรู้สึกว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการพิจารณาคดีของศาล เขาควรจะมีสิทธิร้องประณามและป่าวประกาศร้องขอความเป็นธรรมต่อสาธารณะอย่างที่ทักษิณทำได้หรือไม่
หรือพฤติกรรมนี้เป็น “มาตรฐาน” ที่ได้รับอนุญาตเฉพาะทักษิณคนเดียว
ผมเข้าใจครับว่า ประชาชนส่วนหนึ่งมีความรู้พอจะเข้าใจได้ว่า เหตุที่ทักษิณผิด ก็เพราะว่า ทักษิณในขณะนั้นมีฐานะเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีกฎหมายห้ามไว้ ถ้าทักษิณเป็นคนธรรมดาและเป็นสามีของนางพจมานก็ไม่มีความผิด แต่คำพูดของทักษิณเมื่อไม่ถูกนำมาอธิบายขยายความก็ง่ายที่จะทำให้คนส่วนหนึ่งเออออตามทักษิณ และเชื่อว่า กระบวนการยุติธรรมของเราไม่ยุติธรรมจริงตามที่ทักษิณกล่าวหา
หรืออย่างน้อยทำให้กองทัพประชาชนเสื้อแดงที่มีความรักและศรัทธาต่อทักษิณปักใจเชื่อว่า ศาลพิพากษาคดีเพราะมีอคติและต้องการกลั่นแกล้งทักษิณ และเชื่อว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นไม่ยุติธรรมจริงดังที่ทักษิณกล่าวหา
ซึ่งปัญหาสำคัญในบ้านเมืองที่เกิดเป็นความแตกแยกทุกวันนี้ก็เพราะมีคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่า กระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐานซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์ที่กล่าวหาศาลทำนองนี้ปรากฏได้ยินอยู่ทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ในฐานะสื่อมวลชน ผมยอมรับว่า ไม่เพียงแต่ศาลเท่านั้นที่ปล่อยให้ทักษิณดูหมิ่นว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยองค์คณะผู้พิพากษาระดับสูงของประเทศ มีความอยุติธรรมในการตัดสินคดีให้เขาถูกจำคุก แต่สื่อมวลชนก็มีความบกพร่องด้วย เพราะสื่อมีข้อมูลอยู่แล้วว่า การซื้อขายที่ดินรัชดาฯ นั้นมีความไม่ชอบมาพากลอย่างไร แต่ไม่ได้ทำหน้าที่บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อสังคม
สื่อส่วนใหญ่เพียงแต่นำคำพูดของทักษิณที่บอกว่าเขาถูกกลั่นแกล้งมาลง โดยไม่ได้อธิบายให้สังคมรู้ว่า ระหว่างทักษิณเป็นคนธรรมดาไปเซ็นหนังสือให้ภรรยาไปซื้อที่ดินของรัฐ กับทักษิณที่เป็นนายกรัฐมนตรีเซ็นหนังสือยินยอมให้ภรรยาไปซื้อที่ดินของรัฐนั้นมีนัยที่แตกต่างกันอย่างไร
พิรุธในการซื้อขายที่ดินผืนนี้นั้นมีมากมายที่จะหยิบยกขึ้นมาให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากล เช่น รอบแรกมีผู้สนใจ 8 ราย มีผู้ลงทะเบียนยื่นซองเสนอราคาและชำระเงินมัดจำ 10 ล้านบาทแล้ว 3 ราย แต่กลับไม่มีใครประมูลเลย ต่อมายกเลิกราคากลาง 870 ล้านบาท กลับมีการเพิ่มเงินวางประกันเป็น 100 ล้านบาท ทำให้ผู้ประมูลน้อยลง เพราะไม่มีเอกชนรายไหนกล้าพอที่จะวางเงินประกันมากถึง 100 ล้านบาท
หลังจากคุณหญิงพจมานประมูลได้ที่ดินไปแล้วก็ประกาศให้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันทำการแล้วที่ดินผืนนั้นก็ไปโอนในวันดังกล่าวพอดี ทำให้ประหยัดภาษีที่ดินไปนับสิบล้านบาท ต่อมายังมีการแก้กฎหมายให้สร้างอาคารสูงในบริเวณดังกล่าวได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า พฤติกรรมของสื่อมวลชน มาตรฐานของสื่อมวลชนนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเท่ากับการกระทำและมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม เพราะถ้าสังคมส่วนหนึ่งเชื่อว่า เขาอยู่ในระบบที่ไม่สามารถพึ่งพิงอำนาจตุลาการได้ ความสงบในบ้านเมืองก็ยากที่จะเกิดขึ้น เพราะประชาชนส่วนหนึ่งจะไม่เชื่อในระบบนิติรัฐ
ส่วนความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนนั้น ประชาชนสามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับกระบวนการยุติธรรมแล้ว ประชาชนไม่สามารถเลือกได้ และเราคงไม่สามารถปล่อยให้ประชาชนต้องเผชิญกับกระบวนการยุติธรรมไปตามชะตากรรมได้ เพราะความเป็นรัฐต้องสร้างระบบนิติรัฐและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมเท่านั้น
ด้านหนึ่งผมยังเชื่อว่า สังคมส่วนใหญ่มีความเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการ และเชื่อว่า ผู้พิพากษาส่วนใหญ่มีความเป็นธรรมมีเกียรติคุณเกียรติยศที่จะรักษาความยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินไปใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
แต่อีกไม่น้อยที่คนส่วนใหญ่มีคำถาม แต่ไม่กล้าถามและไม่กล้าปริปากพูด เพราะความกลัวว่าจะละเมิดอำนาจศาล หรือพูดง่ายๆ ว่า ถูกกฎหมายหมิ่นศาลปิดปากไว้
ก่อนหน้านั้นผมเคยตั้งคำถามว่า ทำไมศาลจึงรับฟ้องคดีที่ทักษิณมอบอำนาจให้ใครต่อใครไปฟ้องคนอื่น ทั้งๆ ที่ทักษิณหลบหนีคำพิพากษาไปแล้ว คือไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล เพิ่งจะเมื่อไม่กี่วันก่อนศาลจังหวัดปทุมธานีได้ยกฟ้องที่ทักษิณฟ้องคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรฯ คนอื่นๆ เพราะไม่เชื่อว่า หนังสือมอบอำนาจที่ทนายถือมานั้นเป็นของจริง
ผมจึงอยากเห็นศาลออกมาชี้แจงข้อกล่าวหาของทักษิณ เพื่อทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และเห็นว่า ความยุติธรรมนั้นมีเพียงมาตรฐานเดียว
คำพูดทำนองนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของทักษิณที่ถูกตั้งคำถามว่า เข้าข่าย “หมิ่นศาล”หรือไม่ เพราะทักษิณเคยกล่าวถ้อยคำที่หมิ่นเหม่ต่อศาลทำนองเดียวกันนี้มาแล้วหลายครั้ง และทุกครั้งก็ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ จากศาลเลย
มันชวนให้คิดว่า นับจากนี้ไปเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาคดีของศาลอย่างที่ทักษิณทำอยู่ได้แล้วใช่หรือไม่
ผมยอมรับว่า หลายครั้งผมเองก็เห็นว่า การพิพากษาคดีของศาลชวนให้ตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมและมาตรฐานที่แตกต่างกัน และเคยมีความเห็นเสมอมาว่า เราน่าจะให้มีระบบที่ตรวจสอบการพิจารณาคดีของศาลได้ มากกว่าจะเป็น “เรื่องภายใน” ขององค์กรศาลด้วยกันเอง เพราะแม้องค์กรตุลาการจะมีระบบที่เข้มแข็ง แต่ผู้พิพากษาก็คือบุคคลธรรมดาเหมือนกับเราๆโดยทั่วไป
เมื่อถูกทักษิณกล่าวหาเช่นนี้ ผมคิดว่า ศาลควรจะต้องอธิบายว่า กระบวนการยุติธรรมที่ทักษิณเคยโฟนอินเรียกว่า “กระบวนการยุติความเป็นธรรม” นั้น ได้พิจารณาคดีซึ่งนำมาสู่การพิพากษาจำคุกทักษิณ 2 ปีนั้นขัดกับหลักกฎหมายสากลจริงหรือไม่
การตัดสินจำคุกทักษิณ 2 ปี เพราะเป็นแค่หมากตัวหนึ่งเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างที่ทักษิณกล่าวหาจริงๆ หรือ
แต่ถ้าศาลบอกว่า ทักษิณ “ไม่หมิ่น” ผมจะได้ตั้งคำถามต่อไปว่า นี่คือบรรทัดฐานในการวิพากษ์วิจารณ์หลังคำตัดสินของศาลใช่หรือไม่ และพวกผมชาวบ้านชาวช่องโดยทั่วไปจะสามารถวิพากษ์วิจารณ์หลังคำพิพากษาของศาลในท่วงทำนองเดียวกันนี้ได้หรือไม่ เราจะพูดแบบเดียวกับที่ทักษิณพูดว่า ศาลไม่ยุติธรรม ศาลกลั่นแกล้ง ศาลมีอคติได้หรือไม่
ทำไมทักษิณจึงพูดได้ว่า “ผมถูกจำคุก 2 ปี จากคดีขายที่ดินรัชดาฯ ถือเป็นคดีที่ตลกที่สุด เพราะการขายทรัพย์ไม่ผิด ผู้ขายไม่ผิด ผู้ซื้อไม่ผิด แต่สามีผู้ซื้อที่ยินยอมให้ทำนิติกรรมกลับผิด”
เพราะถ้าวันไหนตาสีตาสาเกิดมีความรู้สึกว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการพิจารณาคดีของศาล เขาควรจะมีสิทธิร้องประณามและป่าวประกาศร้องขอความเป็นธรรมต่อสาธารณะอย่างที่ทักษิณทำได้หรือไม่
หรือพฤติกรรมนี้เป็น “มาตรฐาน” ที่ได้รับอนุญาตเฉพาะทักษิณคนเดียว
ผมเข้าใจครับว่า ประชาชนส่วนหนึ่งมีความรู้พอจะเข้าใจได้ว่า เหตุที่ทักษิณผิด ก็เพราะว่า ทักษิณในขณะนั้นมีฐานะเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีกฎหมายห้ามไว้ ถ้าทักษิณเป็นคนธรรมดาและเป็นสามีของนางพจมานก็ไม่มีความผิด แต่คำพูดของทักษิณเมื่อไม่ถูกนำมาอธิบายขยายความก็ง่ายที่จะทำให้คนส่วนหนึ่งเออออตามทักษิณ และเชื่อว่า กระบวนการยุติธรรมของเราไม่ยุติธรรมจริงตามที่ทักษิณกล่าวหา
หรืออย่างน้อยทำให้กองทัพประชาชนเสื้อแดงที่มีความรักและศรัทธาต่อทักษิณปักใจเชื่อว่า ศาลพิพากษาคดีเพราะมีอคติและต้องการกลั่นแกล้งทักษิณ และเชื่อว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นไม่ยุติธรรมจริงดังที่ทักษิณกล่าวหา
ซึ่งปัญหาสำคัญในบ้านเมืองที่เกิดเป็นความแตกแยกทุกวันนี้ก็เพราะมีคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่า กระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐานซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์ที่กล่าวหาศาลทำนองนี้ปรากฏได้ยินอยู่ทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ในฐานะสื่อมวลชน ผมยอมรับว่า ไม่เพียงแต่ศาลเท่านั้นที่ปล่อยให้ทักษิณดูหมิ่นว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยองค์คณะผู้พิพากษาระดับสูงของประเทศ มีความอยุติธรรมในการตัดสินคดีให้เขาถูกจำคุก แต่สื่อมวลชนก็มีความบกพร่องด้วย เพราะสื่อมีข้อมูลอยู่แล้วว่า การซื้อขายที่ดินรัชดาฯ นั้นมีความไม่ชอบมาพากลอย่างไร แต่ไม่ได้ทำหน้าที่บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อสังคม
สื่อส่วนใหญ่เพียงแต่นำคำพูดของทักษิณที่บอกว่าเขาถูกกลั่นแกล้งมาลง โดยไม่ได้อธิบายให้สังคมรู้ว่า ระหว่างทักษิณเป็นคนธรรมดาไปเซ็นหนังสือให้ภรรยาไปซื้อที่ดินของรัฐ กับทักษิณที่เป็นนายกรัฐมนตรีเซ็นหนังสือยินยอมให้ภรรยาไปซื้อที่ดินของรัฐนั้นมีนัยที่แตกต่างกันอย่างไร
พิรุธในการซื้อขายที่ดินผืนนี้นั้นมีมากมายที่จะหยิบยกขึ้นมาให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากล เช่น รอบแรกมีผู้สนใจ 8 ราย มีผู้ลงทะเบียนยื่นซองเสนอราคาและชำระเงินมัดจำ 10 ล้านบาทแล้ว 3 ราย แต่กลับไม่มีใครประมูลเลย ต่อมายกเลิกราคากลาง 870 ล้านบาท กลับมีการเพิ่มเงินวางประกันเป็น 100 ล้านบาท ทำให้ผู้ประมูลน้อยลง เพราะไม่มีเอกชนรายไหนกล้าพอที่จะวางเงินประกันมากถึง 100 ล้านบาท
หลังจากคุณหญิงพจมานประมูลได้ที่ดินไปแล้วก็ประกาศให้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันทำการแล้วที่ดินผืนนั้นก็ไปโอนในวันดังกล่าวพอดี ทำให้ประหยัดภาษีที่ดินไปนับสิบล้านบาท ต่อมายังมีการแก้กฎหมายให้สร้างอาคารสูงในบริเวณดังกล่าวได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า พฤติกรรมของสื่อมวลชน มาตรฐานของสื่อมวลชนนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเท่ากับการกระทำและมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม เพราะถ้าสังคมส่วนหนึ่งเชื่อว่า เขาอยู่ในระบบที่ไม่สามารถพึ่งพิงอำนาจตุลาการได้ ความสงบในบ้านเมืองก็ยากที่จะเกิดขึ้น เพราะประชาชนส่วนหนึ่งจะไม่เชื่อในระบบนิติรัฐ
ส่วนความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนนั้น ประชาชนสามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับกระบวนการยุติธรรมแล้ว ประชาชนไม่สามารถเลือกได้ และเราคงไม่สามารถปล่อยให้ประชาชนต้องเผชิญกับกระบวนการยุติธรรมไปตามชะตากรรมได้ เพราะความเป็นรัฐต้องสร้างระบบนิติรัฐและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมเท่านั้น
ด้านหนึ่งผมยังเชื่อว่า สังคมส่วนใหญ่มีความเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการ และเชื่อว่า ผู้พิพากษาส่วนใหญ่มีความเป็นธรรมมีเกียรติคุณเกียรติยศที่จะรักษาความยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินไปใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
แต่อีกไม่น้อยที่คนส่วนใหญ่มีคำถาม แต่ไม่กล้าถามและไม่กล้าปริปากพูด เพราะความกลัวว่าจะละเมิดอำนาจศาล หรือพูดง่ายๆ ว่า ถูกกฎหมายหมิ่นศาลปิดปากไว้
ก่อนหน้านั้นผมเคยตั้งคำถามว่า ทำไมศาลจึงรับฟ้องคดีที่ทักษิณมอบอำนาจให้ใครต่อใครไปฟ้องคนอื่น ทั้งๆ ที่ทักษิณหลบหนีคำพิพากษาไปแล้ว คือไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล เพิ่งจะเมื่อไม่กี่วันก่อนศาลจังหวัดปทุมธานีได้ยกฟ้องที่ทักษิณฟ้องคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรฯ คนอื่นๆ เพราะไม่เชื่อว่า หนังสือมอบอำนาจที่ทนายถือมานั้นเป็นของจริง
ผมจึงอยากเห็นศาลออกมาชี้แจงข้อกล่าวหาของทักษิณ เพื่อทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และเห็นว่า ความยุติธรรมนั้นมีเพียงมาตรฐานเดียว