ASTVผู้จัดการรายวัน -ครม.รับทราบกระทรวงพลังงานตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ปัญหาการจ่ายก๊าซธรรมชาติ-น้ำท่วมเมืองกาญฯ คาดใช้เวลา 1 สัปดาห์ต้องรายงานผล รับปากใช้งบ กฟผ.ชดเชยค่าเสียหายทั้งหมด เชื่อผลการสอบถึงขั้นข่าวลือพม่าปิดก๊าซตอบโต้ไทย จุ้นกระแสซูจี พร้อมปัดข่าวเขื่อนร้าว ขณะที่ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทยเจอปัญหาหยุดจ่ายก๊าซฯ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเข้าระบบอีกแล้ว กฟผ.เตรียมปรับแผนผลิตไฟฟ้าใช้น้ำมันเตาผลิตแทนชั่วคราว ยันกู้คืนได้แล้วไม่มีผลกระทบ ด้านจ.กาญจนบุรีจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฉุกเฉิน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากการปล่อยน้ำเต็มอัดตราเพื่อผลิตไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประเทศของ 2 เขื่อนยักษ์ คาดเสียหายกว่า 60 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า หลังจากวงการพลังงาน เชื่อว่า เหตุการณ์ที่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถจัดส่งก๊าซพร้อมกันในหลายจุด โดยเฉพาะในส่วนของแหล่งก๊าชที่อยู่ในประเทศพม่า น่าจะเกิดขึ้นหลังจากการพิจารณาคดีของอองซาน ซูจีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา และไทยก็มีบทบาทพอสมควรในการประณามพฤติกรรมของรัฐบาลทหารพม่าอย่างรุนแรงในเวลาต่อมา จึงเป็นธรรมดาที่มีหลายฝ่ายพุ่งเป้าและคิดถึงความเป็นไปได้ไปที่ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นที่มาของปัญหาแหล่งก๊าซในพม่า ซึ่งในอดีตที่เคยมีปัญหาเกิดขึ้นในลักษณะนี้มาแล้ว เพียงแต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถกล่าวถึงเหตุผลตรงนี้ได้เนื่องจากเกรงกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และพม่าอาจจะเคืองไทยที่จุ้นจ้านเรื่องของซูจีจึงปิดก๊าซทำให้เกิดปัญหาการผลิตไฟฟ้าในไทย ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยมีลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น เป็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อธุรกิจพลังงานของไทย
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. แจ้งว่า ที่ประชุมรับทราบเพียงรายงานของ กระทรวงพลังงานเกี่ยวกับเรื่องปัญหาการจ่ายก๊าซธรรมชาติ และไม่มีการหารือปัญหาเรื่องนางอองซานซูจี โดยเฉพาะข่าวลือพม่าตอบโต้ไทยด้วยการปิดก๊าซ
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า วันเดียวกันนี้ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ได้รายงานการบริหารจัดการความมั่นคงของระบบไฟฟ้าประเทศไทยเนื่องจากปัญหาการจ่ายก๊าซธรรมชาติ เป็นวาระเพื่อทราบจรต่อคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะปัญหาจากการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช และแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ในระหว่างวันที่ 13-18 สิงหาคม 52 โดยระบุว่า มีผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
ทั้งนี้ตามรายงานระบุว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติประมาณร้อยละ 70 โดยในปัจจุบันพบว่า มีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่หยุดซ่อมและเกิดเหตุขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถจ่ายก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้าในเดือนสิงหาคม 2552 ทั้งนี้พบว่า แหล่งก๊าซร่วมไทย-มาเลเซีย แปลง เอ18 เมื่อหยุการผลิตเมื่อวันที่ 9-19 ส.ค.52 ทำให้ปริมาณหายไป 440 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พบว่าไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซเนื่องจาก ปตท.สามารถเรียกก๊าซจากแหล่งอื่นมาทดแทน แต่จะมีผลทำให้ กฟผ.ต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่ด้ายน้ำมันเตาทดแทนโรงไฟฟ้าจะนะ ขณะที่พบว่า แหล่งก๊าซบงกช พบท่อ ขณะ 8 นิ้วบนแท่นรั่วซึมในวันที่ 13 ส.ค.52 จึงต้อลดการจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลือ 100 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และได้หยุดจ่ายก๊าซทั้งหมดในเวลา 16.00 น.ในวันเดียวกัน
“ต่อมาแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ของพม่าได้หยุดการผลิตฉุกเฉินเนื่องจากปัญหาเทคนิค ในวันที่ 15 ส.ค.ในเวลา 08.45 น.-10.24 น.แต่ยังคงจ่ายก๊าซธรรมชาติบางส่วนให้ ปตท.จากปริมาณสำรองในท่อส่งก๊าซธรรมชาติของแหล่งยาดานา และ ปตท.แจ้งขอให้ กฟผ.ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงตามสัดส่วน เพื่อรักษาความดันก๊าซธรรมชาติ”
โดยเฉพาะในแหล่งก๊าซยาดานา กฟผ.รายงานว่า ภายใต้เหตุฉุกเฉินและกะทันหัน กฟผ. จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์เพิ่มเติม หลังจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงอื่นและโรงไฟฟ้าพลังน้ำอื่นมีการผลิตเต็มที่แล้ว และมีความเสี่ยงที่โรงไฟฟ้าจะเกิดขัดข้องและอาจเกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง แม้จะเกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณ ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งห่างจากเขื่อนท่าทุ่งนา ประมาณ 60 กม.บนลำน้ำแควใหญ่ ระดับน้ำสูงกว่าระดับปกติ 2.7 เมตร ในเบื้องต้นมีความเดือดร้อนใน 8 ตำบล ความเสียหายเกิดกับรีสอร์ท 3 แห่งแพและพื้นที่เกษตรบางแห่ง ซึ่งขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด และกฟผ.ได้เร่งเข้าไปประเมินความเสียหายและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่กระทรวงพลังงาน ชี้แจงว่า จะให้ความช่วยเหลือและรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
นอกจากนั้นครม.ยังรับทราบให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด และพิจารณาปรับปรุงข้อจำกัดในการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ขณะที่ยืนยันว่า เขื่อนศรีนครินทร์มีความมั่นคงและตรวจสอบเป็นประจำ และยังมีสถาบันทางวิชาการภายนอกมาตรวจสอบความมั่นคงด้วย
**ก.พลังงาน ตั้งกรรมการสอบ
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีเขื่อนศรีนครินทร์ปล่อยน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนที่ จ.กาญจนบุรี เพื่อเร่งผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งก่อนหน้านี่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า มีสาเหตุจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างฉุกเฉินทั้ง 3 แหล่ง ทั้งแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ที่มีการปิดซ่อมแซมตามปกติประจำปี รวมทั้งขาดแคลนแหล่งแก๊สจากแหล่งบงกช และแหล่งยานาดา จากประเทศพม่า จนเป็นเหตุให้ต้องมีการผลิตกระแสไฟฟ้าชดเชย หรือใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน ทั้งการใช้น้ำมันเตา และการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนต่างๆ รวมทั้งเขื่อนศรีนครินทร์ จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมที่ จ.กาญจนบุรี ในพื้นที่ 8 ตำบล
“เรื่องนี้กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ ผมในฐานะเจ้ากระทรวง ก็ได้สั่งการให้มีการตั้งให้นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยเร็วว่าเรื่องนี้เกิดจากอะไร กระบวนการตัดสินใจในการเดินเครื่องไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์นั้นมีความเหมาสมหรือไม่เพียงไร แล้วก็ขอให้มีการตรวจสอบสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมท้ายเขื่อนโดยเร็ว และยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดทั้งสิ้น โดยใช้งบประมาณของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งอย่างน้อยภายใน 1 สัปดาห์ จะต้องรายงานมาให้ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และให้หามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก” นพ.วรรณรัตน์กล่าว
ส่วนที่มีการปล่อยข่าวว่า การปล่อยน้ำออกจากเขื่อนศรีนครินทร์ครั้งนี้ เนื่องจากเขื่อนร้าวจากการเกิดแผ่นดินไหวนั้น ขอเรียนยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เป็นเพียงเรื่องของการปล่อยน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมเนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าปกติขัดข้องเท่านั้น
**ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์หยุดจ่ายก๊าซฯ
นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ว่า เมื่อเวลา 11.30 น. ของวันที่ 18 ส.ค. ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย ซึ่งจ่ายก๊าซฯเข้าระบบของ กฟผ. ปริมาณ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เกิดปัญหาและซัตดาว์นลงจึงได้หยุดการจ่ายก๊าซฯทั้งหมด ทำให้ กฟผ.ต้องปรับแผนการเดินเครื่องในระบบผลิตไฟฟ้า โดยในวันที่ 19 ส.ค.จะใช้น้ำมันเตาเพื่อเสริมกำลังผลิตไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้าบางปะกง โรงไฟฟ้าพระนครใต้ และโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งหากแหล่งก๊าซฯดังกล่าว สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาประมาณ 18.00-19.00 น. ของวันนี้ ตามที่ ปตท.ได้คาดการณ์ไว้ ก็จะทำให้ กฟผ.สามารถปรับแผนการเดินเครื่องเข้าสู่ภาวะปกติได้ในวันที่ 20 ส.ค.นี้
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ก๊าซฯจากแหล่งอาทิตย์ที่มีปัญหาได้มีการแก้ไขและสามารถจ่ายก๊าซฯเข้าระบบเรียบร้อยแล้วภายใน 1 ชั่วโมงหลังเกิดปัญหา ซึ่งถอว่าเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะเข้าระบบได้ในวันที่ 19 ส.ค. ในขณะที่แหล่งก๊าซในอ่าวไทยอื่นๆทั้งแหล่งบงกชและเจดีเอได้เข้าระบบเรียบร้อยแล้ว ส่วนต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการเดินเครื่องน้ำมันเตาแทนก๊าซฯเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น ทางกระทรวงพลังงานก็คงจะเข้าไปดูแล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย รวมไปถึงผู้บริโภคด้วย
นายอนนท์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)หรือ ปตท.สผ.เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานว่าตอนนี้ก๊าซฯจากแหล่งอาทิตย์เริ่มทยอยจ่ายก๊าซฯเข้าสู่ระบบได้ตามปกติแล้ว ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นก็มาจากระบบสัญญาณควบคุมการจ่ายก๊าซฯอัตโนมัติ ที่พอพบว่ามีการส่งสัญญาณจ่ายก๊าซฯผิดพลาดก็จะมีการตัดสัญญาณอัตโนมัติ แต่พอตรวจสอบสาเหตุแล้วว่าไม่มีปัญหาอะไรก็สามารถเดินเครื่องจ่ายก๊าซฯได้ตามปกติ
**กาญจน์ฯ ตั้งศูนย์ ฉก.ช่วยเหลือน้ำท่วม
วานนี้ (18 ส.ค.) นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ประสานนายไชโย ฤทธิรงค์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเร่งสรุปสถานการณ์ความเสียหายจากน้ำท่วมกรณีเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนเพื่อเพิ่มพลังการผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประเทศ
นายเริงศักดิ์ เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนายไชโย ฤทธิรงค์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้อำนวยการเขื่อนทั้ง 3 แห่ง ผู้อำนวยการระดับอำเภอ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฉุกเฉินขึ้นที่ทำการเขื่อนท่าทุ่งนา ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อทำการตรวจสอบและติดตามสถานการณ์ความเสียหายจากภัยน้ำท่วมของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำแควใหญ่ พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ออกไปชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในเขตพื้นที่ประสบภัย
ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นขณะนี้ได้สั่งการไปยังสำนักงาน ปภ.ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางออกไปสำรวจจุดที่ได้รับความเสียหายเพื่อหาทางช่วยเหลือและจ่ายเงินเป็นค่าชดเชยให้กับประชนที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วนแล้ว โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
ด้านนายไชโย ฤทธิรงค์ หัวหน้า ปภ.กาญจนบุรี กล่าวว่า ทาง ปภ.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเขื่อนศรีนครินทร์ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวน 8 จุดด้วยกันเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม
"เบื้องต้น ทาง ปภ.กาญจนบุรี ได้รับการประสานจากประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้แล้วกว่า 100 ราย ซึ่งผู้เสียหายส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และร้านค้าต่างๆ ที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายทั้งหมด โดยเบื้องต้นคาดว่าจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท แต่ขณะเดียวกันยังมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่ยังไม่มาแจ้งความจำนงเพื่อขอความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก"
**นักธุรกิจรีสอร์ทครวญเสียหายยับ
นายยุทธการ มากพันธุ์ รักษาการ ผจก.คำแสดรีสอร์ท เปิดเผยว่า การแจ้งเตือนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นการแจ้งเตือนที่กระชั้นชิดเป็นอย่างมาก ทำให้ทางรีสอร์ทไม่สามารถขนย้ายข้าวของทัน และการแจ้งเตือนบอกว่า กระแสน้ำจะสูงขึ้นประมาณ 2 เมตรเท่านั้น แต่พอเอาเข้าจริงจริงกลับมีกระแสน้ำสูงถึง 4-5 เมตร ทำให้การเก็บสิ่งของเครื่องใช้ภายในรีสอร์ทไม่ทัน
"ผลกระทบที่ตามมาหลังจากมีข่าวแพร่สะพัดออกไปทำให้นักท่องเที่ยวที่จองห้องพักเอาไว้ต่างก็โทร.มายกเลิกกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวเหล่านั้นเข้าใจกันว่าเขื่อนเมืองกาญจน์แตก จึงไม่มีใครกล้าเดินทางมาท่องเที่ยวที่เมืองกาญจน์"
นางสุรัตน์ งามนิตยาหงส์ เจ้าของเพชรไพลินรีสอร์ท ตั้งอยู่ริมน้ำแควใหญ่ ต.ลาดหญ้า อ.เมืองกาญ๗นบุรี เปิดเผยว่า รีสอร์ทของตนก่อสร้างเสร็จได้ไม่นาน ลงทุนเป็นเงินจำนวนมาก แต่ต้องมาถูกกระแสน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ตนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ขอให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นประสบการณ์ในการแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยตามริมแม่น้ำให้เร็วกว่านี้ ไม่เช่นนั้นประชาชนที่อยู่อาศัยตามริมแม่น้ำคงจะอยู่กันไม่ได้แน่นอน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า หลังจากวงการพลังงาน เชื่อว่า เหตุการณ์ที่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถจัดส่งก๊าซพร้อมกันในหลายจุด โดยเฉพาะในส่วนของแหล่งก๊าชที่อยู่ในประเทศพม่า น่าจะเกิดขึ้นหลังจากการพิจารณาคดีของอองซาน ซูจีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา และไทยก็มีบทบาทพอสมควรในการประณามพฤติกรรมของรัฐบาลทหารพม่าอย่างรุนแรงในเวลาต่อมา จึงเป็นธรรมดาที่มีหลายฝ่ายพุ่งเป้าและคิดถึงความเป็นไปได้ไปที่ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นที่มาของปัญหาแหล่งก๊าซในพม่า ซึ่งในอดีตที่เคยมีปัญหาเกิดขึ้นในลักษณะนี้มาแล้ว เพียงแต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถกล่าวถึงเหตุผลตรงนี้ได้เนื่องจากเกรงกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และพม่าอาจจะเคืองไทยที่จุ้นจ้านเรื่องของซูจีจึงปิดก๊าซทำให้เกิดปัญหาการผลิตไฟฟ้าในไทย ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยมีลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น เป็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อธุรกิจพลังงานของไทย
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. แจ้งว่า ที่ประชุมรับทราบเพียงรายงานของ กระทรวงพลังงานเกี่ยวกับเรื่องปัญหาการจ่ายก๊าซธรรมชาติ และไม่มีการหารือปัญหาเรื่องนางอองซานซูจี โดยเฉพาะข่าวลือพม่าตอบโต้ไทยด้วยการปิดก๊าซ
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า วันเดียวกันนี้ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ได้รายงานการบริหารจัดการความมั่นคงของระบบไฟฟ้าประเทศไทยเนื่องจากปัญหาการจ่ายก๊าซธรรมชาติ เป็นวาระเพื่อทราบจรต่อคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะปัญหาจากการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช และแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ในระหว่างวันที่ 13-18 สิงหาคม 52 โดยระบุว่า มีผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
ทั้งนี้ตามรายงานระบุว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติประมาณร้อยละ 70 โดยในปัจจุบันพบว่า มีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่หยุดซ่อมและเกิดเหตุขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถจ่ายก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้าในเดือนสิงหาคม 2552 ทั้งนี้พบว่า แหล่งก๊าซร่วมไทย-มาเลเซีย แปลง เอ18 เมื่อหยุการผลิตเมื่อวันที่ 9-19 ส.ค.52 ทำให้ปริมาณหายไป 440 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พบว่าไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซเนื่องจาก ปตท.สามารถเรียกก๊าซจากแหล่งอื่นมาทดแทน แต่จะมีผลทำให้ กฟผ.ต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่ด้ายน้ำมันเตาทดแทนโรงไฟฟ้าจะนะ ขณะที่พบว่า แหล่งก๊าซบงกช พบท่อ ขณะ 8 นิ้วบนแท่นรั่วซึมในวันที่ 13 ส.ค.52 จึงต้อลดการจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลือ 100 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และได้หยุดจ่ายก๊าซทั้งหมดในเวลา 16.00 น.ในวันเดียวกัน
“ต่อมาแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ของพม่าได้หยุดการผลิตฉุกเฉินเนื่องจากปัญหาเทคนิค ในวันที่ 15 ส.ค.ในเวลา 08.45 น.-10.24 น.แต่ยังคงจ่ายก๊าซธรรมชาติบางส่วนให้ ปตท.จากปริมาณสำรองในท่อส่งก๊าซธรรมชาติของแหล่งยาดานา และ ปตท.แจ้งขอให้ กฟผ.ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงตามสัดส่วน เพื่อรักษาความดันก๊าซธรรมชาติ”
โดยเฉพาะในแหล่งก๊าซยาดานา กฟผ.รายงานว่า ภายใต้เหตุฉุกเฉินและกะทันหัน กฟผ. จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์เพิ่มเติม หลังจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงอื่นและโรงไฟฟ้าพลังน้ำอื่นมีการผลิตเต็มที่แล้ว และมีความเสี่ยงที่โรงไฟฟ้าจะเกิดขัดข้องและอาจเกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง แม้จะเกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณ ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งห่างจากเขื่อนท่าทุ่งนา ประมาณ 60 กม.บนลำน้ำแควใหญ่ ระดับน้ำสูงกว่าระดับปกติ 2.7 เมตร ในเบื้องต้นมีความเดือดร้อนใน 8 ตำบล ความเสียหายเกิดกับรีสอร์ท 3 แห่งแพและพื้นที่เกษตรบางแห่ง ซึ่งขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัด และกฟผ.ได้เร่งเข้าไปประเมินความเสียหายและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่กระทรวงพลังงาน ชี้แจงว่า จะให้ความช่วยเหลือและรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
นอกจากนั้นครม.ยังรับทราบให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด และพิจารณาปรับปรุงข้อจำกัดในการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ขณะที่ยืนยันว่า เขื่อนศรีนครินทร์มีความมั่นคงและตรวจสอบเป็นประจำ และยังมีสถาบันทางวิชาการภายนอกมาตรวจสอบความมั่นคงด้วย
**ก.พลังงาน ตั้งกรรมการสอบ
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีเขื่อนศรีนครินทร์ปล่อยน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนที่ จ.กาญจนบุรี เพื่อเร่งผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งก่อนหน้านี่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า มีสาเหตุจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างฉุกเฉินทั้ง 3 แหล่ง ทั้งแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ที่มีการปิดซ่อมแซมตามปกติประจำปี รวมทั้งขาดแคลนแหล่งแก๊สจากแหล่งบงกช และแหล่งยานาดา จากประเทศพม่า จนเป็นเหตุให้ต้องมีการผลิตกระแสไฟฟ้าชดเชย หรือใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน ทั้งการใช้น้ำมันเตา และการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนต่างๆ รวมทั้งเขื่อนศรีนครินทร์ จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมที่ จ.กาญจนบุรี ในพื้นที่ 8 ตำบล
“เรื่องนี้กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ ผมในฐานะเจ้ากระทรวง ก็ได้สั่งการให้มีการตั้งให้นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยเร็วว่าเรื่องนี้เกิดจากอะไร กระบวนการตัดสินใจในการเดินเครื่องไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์นั้นมีความเหมาสมหรือไม่เพียงไร แล้วก็ขอให้มีการตรวจสอบสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมท้ายเขื่อนโดยเร็ว และยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดทั้งสิ้น โดยใช้งบประมาณของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งอย่างน้อยภายใน 1 สัปดาห์ จะต้องรายงานมาให้ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และให้หามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก” นพ.วรรณรัตน์กล่าว
ส่วนที่มีการปล่อยข่าวว่า การปล่อยน้ำออกจากเขื่อนศรีนครินทร์ครั้งนี้ เนื่องจากเขื่อนร้าวจากการเกิดแผ่นดินไหวนั้น ขอเรียนยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เป็นเพียงเรื่องของการปล่อยน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมเนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าปกติขัดข้องเท่านั้น
**ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์หยุดจ่ายก๊าซฯ
นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ว่า เมื่อเวลา 11.30 น. ของวันที่ 18 ส.ค. ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย ซึ่งจ่ายก๊าซฯเข้าระบบของ กฟผ. ปริมาณ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เกิดปัญหาและซัตดาว์นลงจึงได้หยุดการจ่ายก๊าซฯทั้งหมด ทำให้ กฟผ.ต้องปรับแผนการเดินเครื่องในระบบผลิตไฟฟ้า โดยในวันที่ 19 ส.ค.จะใช้น้ำมันเตาเพื่อเสริมกำลังผลิตไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้าบางปะกง โรงไฟฟ้าพระนครใต้ และโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งหากแหล่งก๊าซฯดังกล่าว สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาประมาณ 18.00-19.00 น. ของวันนี้ ตามที่ ปตท.ได้คาดการณ์ไว้ ก็จะทำให้ กฟผ.สามารถปรับแผนการเดินเครื่องเข้าสู่ภาวะปกติได้ในวันที่ 20 ส.ค.นี้
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ก๊าซฯจากแหล่งอาทิตย์ที่มีปัญหาได้มีการแก้ไขและสามารถจ่ายก๊าซฯเข้าระบบเรียบร้อยแล้วภายใน 1 ชั่วโมงหลังเกิดปัญหา ซึ่งถอว่าเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะเข้าระบบได้ในวันที่ 19 ส.ค. ในขณะที่แหล่งก๊าซในอ่าวไทยอื่นๆทั้งแหล่งบงกชและเจดีเอได้เข้าระบบเรียบร้อยแล้ว ส่วนต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการเดินเครื่องน้ำมันเตาแทนก๊าซฯเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น ทางกระทรวงพลังงานก็คงจะเข้าไปดูแล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย รวมไปถึงผู้บริโภคด้วย
นายอนนท์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)หรือ ปตท.สผ.เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานว่าตอนนี้ก๊าซฯจากแหล่งอาทิตย์เริ่มทยอยจ่ายก๊าซฯเข้าสู่ระบบได้ตามปกติแล้ว ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นก็มาจากระบบสัญญาณควบคุมการจ่ายก๊าซฯอัตโนมัติ ที่พอพบว่ามีการส่งสัญญาณจ่ายก๊าซฯผิดพลาดก็จะมีการตัดสัญญาณอัตโนมัติ แต่พอตรวจสอบสาเหตุแล้วว่าไม่มีปัญหาอะไรก็สามารถเดินเครื่องจ่ายก๊าซฯได้ตามปกติ
**กาญจน์ฯ ตั้งศูนย์ ฉก.ช่วยเหลือน้ำท่วม
วานนี้ (18 ส.ค.) นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ประสานนายไชโย ฤทธิรงค์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเร่งสรุปสถานการณ์ความเสียหายจากน้ำท่วมกรณีเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนเพื่อเพิ่มพลังการผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประเทศ
นายเริงศักดิ์ เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนายไชโย ฤทธิรงค์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้อำนวยการเขื่อนทั้ง 3 แห่ง ผู้อำนวยการระดับอำเภอ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฉุกเฉินขึ้นที่ทำการเขื่อนท่าทุ่งนา ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อทำการตรวจสอบและติดตามสถานการณ์ความเสียหายจากภัยน้ำท่วมของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำแควใหญ่ พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ออกไปชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในเขตพื้นที่ประสบภัย
ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นขณะนี้ได้สั่งการไปยังสำนักงาน ปภ.ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางออกไปสำรวจจุดที่ได้รับความเสียหายเพื่อหาทางช่วยเหลือและจ่ายเงินเป็นค่าชดเชยให้กับประชนที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วนแล้ว โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
ด้านนายไชโย ฤทธิรงค์ หัวหน้า ปภ.กาญจนบุรี กล่าวว่า ทาง ปภ.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเขื่อนศรีนครินทร์ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวน 8 จุดด้วยกันเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม
"เบื้องต้น ทาง ปภ.กาญจนบุรี ได้รับการประสานจากประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้แล้วกว่า 100 ราย ซึ่งผู้เสียหายส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และร้านค้าต่างๆ ที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายทั้งหมด โดยเบื้องต้นคาดว่าจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท แต่ขณะเดียวกันยังมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่ยังไม่มาแจ้งความจำนงเพื่อขอความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก"
**นักธุรกิจรีสอร์ทครวญเสียหายยับ
นายยุทธการ มากพันธุ์ รักษาการ ผจก.คำแสดรีสอร์ท เปิดเผยว่า การแจ้งเตือนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นการแจ้งเตือนที่กระชั้นชิดเป็นอย่างมาก ทำให้ทางรีสอร์ทไม่สามารถขนย้ายข้าวของทัน และการแจ้งเตือนบอกว่า กระแสน้ำจะสูงขึ้นประมาณ 2 เมตรเท่านั้น แต่พอเอาเข้าจริงจริงกลับมีกระแสน้ำสูงถึง 4-5 เมตร ทำให้การเก็บสิ่งของเครื่องใช้ภายในรีสอร์ทไม่ทัน
"ผลกระทบที่ตามมาหลังจากมีข่าวแพร่สะพัดออกไปทำให้นักท่องเที่ยวที่จองห้องพักเอาไว้ต่างก็โทร.มายกเลิกกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวเหล่านั้นเข้าใจกันว่าเขื่อนเมืองกาญจน์แตก จึงไม่มีใครกล้าเดินทางมาท่องเที่ยวที่เมืองกาญจน์"
นางสุรัตน์ งามนิตยาหงส์ เจ้าของเพชรไพลินรีสอร์ท ตั้งอยู่ริมน้ำแควใหญ่ ต.ลาดหญ้า อ.เมืองกาญ๗นบุรี เปิดเผยว่า รีสอร์ทของตนก่อสร้างเสร็จได้ไม่นาน ลงทุนเป็นเงินจำนวนมาก แต่ต้องมาถูกกระแสน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ตนอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ขอให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นประสบการณ์ในการแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยตามริมแม่น้ำให้เร็วกว่านี้ ไม่เช่นนั้นประชาชนที่อยู่อาศัยตามริมแม่น้ำคงจะอยู่กันไม่ได้แน่นอน