ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.คาดกำไรครึ่งปีหลังใกล้เคียง 6 เดือนแรกที่ 2.7 หมื่นล้านบาท แม้ว่าราคาน้ำมันจะขึ้นทำให้รายได้โต แต่ค่าการกลั่นหดตัวลง ส่วนโครงการโรงแยกก๊าซฯ หน่วย 7 คาดมีข้อสรุปครึ่งปีแรก 2553 หลังนโยบายรัฐตรึงLPG-NGVออกไปอีก 1ปี ทำให้โครงการไม่คุ้มการลงทุน ด้านบิ๊กปตท.เคมิคอล ยิ้มออกแนวโน้มรายได้ครึ่งปีหลังแจ่มใส หลังจากสเปรดผลิตภัณฑ์ทุกชนิดปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาด เหตุมีโรงงานทยอยปิดตัวมาก ทำให้เกิดการตึงตัวของเอทิลีน ดึงราคาเม็ดHDPEไม่ร่วง แม้ว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่จากจีนและตะวันออกกลางเข้ามาก็ตาม หวั่นปีหน้าเจอศึกหนักโรงใหม่เกิดเพียบกดดันมาร์จินหด
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เปิดเผยว่า ผลประกอบการในครึ่งปีจะมีรายได้สูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรกที่มีรายได้รวม 6.9 แสนล้านบาท เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันจะอยู่ในเกณฑ์ที่สูงระดับ 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลสูงกว่า 6เดือนแรกของปีนี้ที่มีราคาเฉลี่ย 52 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่กำไรสุทธิน่าจะใกล้เคียงครึ่งปีแรกที่ 2.7 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าครึ่งแรกของปี 2552 รวมทั้งมีการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจจะกลับขึ้นมาดีอีกครั้ง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมธุรกิจของปตท. แต่ค่าการกลั่นในครึ่งปีหลังมองว่าจะอยู่ที่ 2-4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่อยู่ 3.2 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามา รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากธุรกิจปิโตรเคมีที่จะมีกำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางและจีนเข้ามาทำให้มาร์จินลดลงในช่วงไตรมาส 4 อย่างไรตาม มาร์จินธุรกิจปิโตรเคมีในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.นี้ยังดีอยู่
ส่วนความคืบหน้าการควบรวมกิจการบริษัทในเครือ 4 บริษัท คือ บมจ.ไทยออยล์ บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น บมจ.ไออาร์พีซี และบมจ.ปตท.เคมิคอล ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา คาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 4 นี้ เนื่องจากมีปัจจัยพิจารณาค่อนข้างมาก ทำให้ต้องรอบคอบเป็นพิเศษโดยยืนยันว่าการควบรวมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
นายประเสริฐ ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐตรึงราคาขายก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)และก๊าซNGVต่อไปอีก 1ปีว่า ขณะนี้ต้นทุนราคาก๊าซNGVอยู่สูงกว่าราคาที่ถูกตรึงไว้ 8.50 บาท/กก. ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระส่วนนี้ไว้ทั้งด้านต้นทุนและการขยายสถานีบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้NGV แม้ว่ารัฐบาลจะอุดหนุนช่วยเหลือเดือนละ 300 ล้านบาทแต่ก็ไม่เพียงพอโดยมองว่าราคาNGVที่เหมาะสมอยู่ที่ 12 บาท/กก.
ส่วนการตรึงแอลพีจีต่อไปนั้น ทำให้ปตท.ต้องกลับมาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 7 เพราะหากตัดสินใจลงทุนคงไม่คุ้มการลงทุน อีกทั้งต้องดูปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยว่ามีเพียงพอที่จะป้อนโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 7 หรือไม่ คาดว่าจะมีความชัดเจนในครึ่งแรกของปี 2553
โดยยืนยันว่าหากรัฐยังมีอุ้มราคาแอลพีจีไว้จะทำให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์หันมาใช้แอลพีจีมากขึ้นในช่วงที่น้ำมันแพง ทำให้ไทยต้องนำเข้าแอลพีจีในราคาสูงจากต่างประเทศเข้ามา โดยให้กองทุนน้ำมันเข้ามาชดเชยส่วนต่างราคาที่สูงคืนให้กับปตท. แม้ว่าโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ขนาดกำลังผลิต 8 ล้านตัน จะผลิตได้ในช่วงไตรมาส 1/2553 แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้อยู่ดี
ปัจจุบันกองทุนฯยังมีหนี้แอลพีจีที่ยังค้างจ่ายปตท.อยู่ประมาณ 6443 ล้านบาท โดยเป็นหนี้เมื่อปี 2551 จำนวน 5501 ล้านบาท และทีเหลือเป็นหนี้ในปีนี้ ซึ่งกองทุนฯได้มีการทยอยจ่ายให้กับปตท.ทุกเดือน ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเข้ามาเพิ่ม ส่วนภาระหนี้สินจากเงินกู้ระยะยะยาวนั้นในช่วง 2ปีนี้ ปตท.มีภาระต้องจ่ายคืนหนี้เพียง 800 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งค่อนข้างต่ำ ทำให้บริษัทฯมีโอกาสที่จะขยายธุรกิจหรือลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต
นายประเสริฐ กล่าวถึงกรณีที่ระบบส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA และแหล่งบงกชในอ่าวไทย รวมถึงแหล่งยาดานาในประเทศพม่า เกิดปัญหาขัดข้องไม่สามารถส่งก๊าซให้กับโรงไฟฟ้าของกฟผ.ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของปตท. เพราะปตท.สผ.สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และกลับมาป้อนก๊าซฯได้ตามปกติแล้ว
น.ส.พันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข รองกรรมการผุ้จัดการใหญ่ สายวางแผนกลยุทธ์และกิจการต่างประเทศ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) กล่าวว่า บริษัทฯคาดว่ารายได้ในครึ่งปีหลังจะสูงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ดีกว่า 6 เดือนแรกที่มีรายได้รวม 3.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากราคาขายผลิตภัณฑ์ทุกผลิตภัณฑ์ ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ(สเปรด)ก็ปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่เคยประมาณการณ์ไว้ด้วย
ทั้งนี้ บริษัทมีการปรับเป้าหมายราคาเฉลี่ยปี 2552 ของสเปรดทิลีนจากเดิม247 เหรียญสหรัฐ/ตันเป็น 296 เหรียญ/ตัน , สเปรดเม็ดพลาสติกHDPE จากเดิม 282 เหรียญสหรัฐ/ตัน เป็น 306 เหรียญ/ตัน , MEG จากเดิม 59 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพิ่มเป็น 79 เหรียญ/ตัน ส่วนโอเลโอเคมีคอลจากเดิม 198 เหรียญสหรัฐ/ตันเป็น 201 เหรียญสหรัฐ/ตัน สาเหตุที่สเปรดเอทิลีนและHDPE ยังดีอยู่มาก เนื่องจากมีโรงงานผลิตเอทิลีนปิดตัวไปในช่วง2-3 ปีนี้ถึง 5 ล้านตันส่วนใหญ่เป็นโรงงานในสหรัฐฯและยุโรป ขณะที่โรงงานใหม่เกิดขึ้นเพียง 4 ล้านตัน ทำให้เกิดการขาดแคลนเอทิลีน ส่วนHDPEพบว่าจีนมีการนำเข้าสูงขึ้นจากเดือนละ 1.5-2 แสนตันเป็น 3 แสนตันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจีน ทำให้บริษัทคลายความกังวลเกี่ยวกับปริมาณกำลังการผลิตใหม่ที่จะเข้ามาในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าจะมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามามากโดยเฉพาะHDPE และMEG ซึ่งจะเป็นตัวกดตลาดให้สเปรดลดลง แต่เนื่องจากผู้ประกอบการและลูกค้ามีการเก็บสต็อกค่อนข้างต่ำ หากแนวโน้มราคาน้ำมันสูงขึ้นเชื่อว่าลูกค้าจะหันมาเก็บสต็อกมากขึ้น แเละเชื่อว่าจะมีโรงงานที่ต้นทุนการผลิตสูงทยอยปิดตัวเพิ่มขึ้น
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการเอทิลีนแครกเกอร์ 1 ล้านตันและโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกLLDPE ขนาด 4 แสนตันจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งจะเสร็จก่อนที่โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 แล้วเสร็จในต้นไตรมาส 1/2552 ส่วนโครงการผลิตHDPE อีก 3 แสนตัน และโครงการผลิตเม็ดพลาสติกLDPE จะเสร็จในไตรมาส 2/2553 จะทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทลดลงเนื่องจากหันมาใช้ก๊าซฯมากขึ้นเป็น 90%ของการใช้วัตถุดิบ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เปิดเผยว่า ผลประกอบการในครึ่งปีจะมีรายได้สูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรกที่มีรายได้รวม 6.9 แสนล้านบาท เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันจะอยู่ในเกณฑ์ที่สูงระดับ 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลสูงกว่า 6เดือนแรกของปีนี้ที่มีราคาเฉลี่ย 52 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่กำไรสุทธิน่าจะใกล้เคียงครึ่งปีแรกที่ 2.7 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าครึ่งแรกของปี 2552 รวมทั้งมีการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจจะกลับขึ้นมาดีอีกครั้ง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมธุรกิจของปตท. แต่ค่าการกลั่นในครึ่งปีหลังมองว่าจะอยู่ที่ 2-4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่อยู่ 3.2 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามา รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากธุรกิจปิโตรเคมีที่จะมีกำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางและจีนเข้ามาทำให้มาร์จินลดลงในช่วงไตรมาส 4 อย่างไรตาม มาร์จินธุรกิจปิโตรเคมีในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.นี้ยังดีอยู่
ส่วนความคืบหน้าการควบรวมกิจการบริษัทในเครือ 4 บริษัท คือ บมจ.ไทยออยล์ บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น บมจ.ไออาร์พีซี และบมจ.ปตท.เคมิคอล ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา คาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 4 นี้ เนื่องจากมีปัจจัยพิจารณาค่อนข้างมาก ทำให้ต้องรอบคอบเป็นพิเศษโดยยืนยันว่าการควบรวมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
นายประเสริฐ ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐตรึงราคาขายก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)และก๊าซNGVต่อไปอีก 1ปีว่า ขณะนี้ต้นทุนราคาก๊าซNGVอยู่สูงกว่าราคาที่ถูกตรึงไว้ 8.50 บาท/กก. ทำให้ปตท.ต้องแบกรับภาระส่วนนี้ไว้ทั้งด้านต้นทุนและการขยายสถานีบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้NGV แม้ว่ารัฐบาลจะอุดหนุนช่วยเหลือเดือนละ 300 ล้านบาทแต่ก็ไม่เพียงพอโดยมองว่าราคาNGVที่เหมาะสมอยู่ที่ 12 บาท/กก.
ส่วนการตรึงแอลพีจีต่อไปนั้น ทำให้ปตท.ต้องกลับมาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 7 เพราะหากตัดสินใจลงทุนคงไม่คุ้มการลงทุน อีกทั้งต้องดูปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทยว่ามีเพียงพอที่จะป้อนโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 7 หรือไม่ คาดว่าจะมีความชัดเจนในครึ่งแรกของปี 2553
โดยยืนยันว่าหากรัฐยังมีอุ้มราคาแอลพีจีไว้จะทำให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์หันมาใช้แอลพีจีมากขึ้นในช่วงที่น้ำมันแพง ทำให้ไทยต้องนำเข้าแอลพีจีในราคาสูงจากต่างประเทศเข้ามา โดยให้กองทุนน้ำมันเข้ามาชดเชยส่วนต่างราคาที่สูงคืนให้กับปตท. แม้ว่าโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ขนาดกำลังผลิต 8 ล้านตัน จะผลิตได้ในช่วงไตรมาส 1/2553 แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้อยู่ดี
ปัจจุบันกองทุนฯยังมีหนี้แอลพีจีที่ยังค้างจ่ายปตท.อยู่ประมาณ 6443 ล้านบาท โดยเป็นหนี้เมื่อปี 2551 จำนวน 5501 ล้านบาท และทีเหลือเป็นหนี้ในปีนี้ ซึ่งกองทุนฯได้มีการทยอยจ่ายให้กับปตท.ทุกเดือน ซึ่งจะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเข้ามาเพิ่ม ส่วนภาระหนี้สินจากเงินกู้ระยะยะยาวนั้นในช่วง 2ปีนี้ ปตท.มีภาระต้องจ่ายคืนหนี้เพียง 800 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งค่อนข้างต่ำ ทำให้บริษัทฯมีโอกาสที่จะขยายธุรกิจหรือลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต
นายประเสริฐ กล่าวถึงกรณีที่ระบบส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA และแหล่งบงกชในอ่าวไทย รวมถึงแหล่งยาดานาในประเทศพม่า เกิดปัญหาขัดข้องไม่สามารถส่งก๊าซให้กับโรงไฟฟ้าของกฟผ.ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของปตท. เพราะปตท.สผ.สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และกลับมาป้อนก๊าซฯได้ตามปกติแล้ว
น.ส.พันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข รองกรรมการผุ้จัดการใหญ่ สายวางแผนกลยุทธ์และกิจการต่างประเทศ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) กล่าวว่า บริษัทฯคาดว่ารายได้ในครึ่งปีหลังจะสูงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ดีกว่า 6 เดือนแรกที่มีรายได้รวม 3.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากราคาขายผลิตภัณฑ์ทุกผลิตภัณฑ์ ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ(สเปรด)ก็ปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่เคยประมาณการณ์ไว้ด้วย
ทั้งนี้ บริษัทมีการปรับเป้าหมายราคาเฉลี่ยปี 2552 ของสเปรดทิลีนจากเดิม247 เหรียญสหรัฐ/ตันเป็น 296 เหรียญ/ตัน , สเปรดเม็ดพลาสติกHDPE จากเดิม 282 เหรียญสหรัฐ/ตัน เป็น 306 เหรียญ/ตัน , MEG จากเดิม 59 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพิ่มเป็น 79 เหรียญ/ตัน ส่วนโอเลโอเคมีคอลจากเดิม 198 เหรียญสหรัฐ/ตันเป็น 201 เหรียญสหรัฐ/ตัน สาเหตุที่สเปรดเอทิลีนและHDPE ยังดีอยู่มาก เนื่องจากมีโรงงานผลิตเอทิลีนปิดตัวไปในช่วง2-3 ปีนี้ถึง 5 ล้านตันส่วนใหญ่เป็นโรงงานในสหรัฐฯและยุโรป ขณะที่โรงงานใหม่เกิดขึ้นเพียง 4 ล้านตัน ทำให้เกิดการขาดแคลนเอทิลีน ส่วนHDPEพบว่าจีนมีการนำเข้าสูงขึ้นจากเดือนละ 1.5-2 แสนตันเป็น 3 แสนตันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจีน ทำให้บริษัทคลายความกังวลเกี่ยวกับปริมาณกำลังการผลิตใหม่ที่จะเข้ามาในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าจะมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามามากโดยเฉพาะHDPE และMEG ซึ่งจะเป็นตัวกดตลาดให้สเปรดลดลง แต่เนื่องจากผู้ประกอบการและลูกค้ามีการเก็บสต็อกค่อนข้างต่ำ หากแนวโน้มราคาน้ำมันสูงขึ้นเชื่อว่าลูกค้าจะหันมาเก็บสต็อกมากขึ้น แเละเชื่อว่าจะมีโรงงานที่ต้นทุนการผลิตสูงทยอยปิดตัวเพิ่มขึ้น
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการเอทิลีนแครกเกอร์ 1 ล้านตันและโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกLLDPE ขนาด 4 แสนตันจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งจะเสร็จก่อนที่โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 แล้วเสร็จในต้นไตรมาส 1/2552 ส่วนโครงการผลิตHDPE อีก 3 แสนตัน และโครงการผลิตเม็ดพลาสติกLDPE จะเสร็จในไตรมาส 2/2553 จะทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทลดลงเนื่องจากหันมาใช้ก๊าซฯมากขึ้นเป็น 90%ของการใช้วัตถุดิบ