xs
xsm
sm
md
lg

“ถวายฎีกา” พระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินกับประชาชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เหตุของการเดินหลงทางของผู้ปกครองไทย บนเส้นทางการเมืองมิจฉาทิฐิ ผู้ปกครอง “เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นระบอบชั่วเป็นระบอบประชาธิปไตย” ผู้ปกครองยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ ด้วยความเห็นผิด คิดผิด ทำผิด สืบทอดเรื่อยมายาวนานถึง 77 ปี แล้ว ผลของระบอบเผด็จการโดยรัฐธรรมนูญที่ปราศจากหลักการปกครองโดยธรรม ทำให้ประเทศไทยเราเสื่อมถอยลงๆ ในทุกด้าน จนเกิดความขัดแย้งของชนในชาติอย่างรุนแรง อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ทางเดียวที่แก้ไขเหตุวิกฤตชาติ สู่ “การเมืองใหม่” คือ พระมหากษัตริย์ ทรงสืบทอด สืบเนื่องพระราชภารกิจ พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5, 6, 7 คือ ทรงสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม หรือสถาปนาระบอบการเมืองโดยธรรมอันยิ่งใหญ่ อันเป็นศูนย์กลาง เป็นแก่นแท้ของปวงชนในชาติ เหนือบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น เหตุวิกฤตผิดพลาด ความชั่วร้ายต่างๆ ทางการเมืองก็จะหายไป

ในส่วนของประชาชนผู้เป็นปัญญาชน ผู้เป็นกำลังสำคัญของชาติในทุกด้าน จะต้องช่วยกันผลักดัน อธิบาย มีความมุ่งมาดปรารถนาการปกครองโดยธรรม “ทรงพระเจริญ ทรงสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมๆๆ” เสียงแห่งธรรมให้ดังก้องทั่วทั้งแผ่นดิน ให้เหนือ เสียงมารเชิดชูบุคคลผู้กระทำผิด ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะต้องร่วมกันรับความหายนะร่วมกันต่อไป

1. หลักธรรมาธิปไตย พระพุทธเจ้า ตรัสให้หลักเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองให้เป็นธรรม หรือวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิอันประเสริฐ (จักรวรรดิวัตร 12) หรือหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ โดยให้ถือธรรมาธิปไตย และให้ภิกษุนำไปสอนสืบต่อไม่ให้ขาดสาย (ที.ปา. 11/35) ความย่อดังนี้ (1) จงอาศัยธรรมเท่านั้น (2) สักการธรรม (3) ทำความเคารพธรรม (4) นับถือธรรม (5) บูชาธรรม (6) ยำเกรงธรรม (7) มีธรรมเป็นธงชัย (8) มีธรรมเป็นยอด (9) มีธรรมเป็นใหญ่...

2. หลักพระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ (The King as the head of State) ประเทศไทยทุกยุคทุกสมัยแต่โบราณกาลมา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ไม่ว่าสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมือง และทางสังคมของประเทศไทยจะเป็นไปในทางทิศใด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐคู่กับปวงชนชาติไทยเสมอไป และได้พัฒนาขึ้นเป็นอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสร้างสรรค์สู่หลักการปกครองโดยธรรม เป็นธรรมาธิปไตย 9 อันยิ่งใหญ่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชสมภารเจ้า พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงปฏิบัติธรรม “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พิสูจน์ได้ดังนี้

1) พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นเอกภาพหรือศูนย์รวมของชาติ ทรงแผ่พระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ เป็นปัจจัยให้พสกนิกรซาบซึ้ง จงรักภักดีขึ้นตรงต่อพระเจ้าอยู่หัว

2) พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันแห่งธรรม ทรงธรรม เป็นธรรมาธิปไตย จึงมีลักษณะแผ่ความเป็นธรรม แผ่พระบรมเดชานุภาพ แผ่ความถูกต้อง แผ่ความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศ

3) พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจปฐมภูมิ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อมคลาย หรือสูญหายไปไหน หรือไม่มีใครจะแย่งชิงไปได้ ย่อมมีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ หรืออำนาจอื่นใดในประเทศ และอำนาจนั้นๆ จะต้องขึ้นตรงต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เสมอไป ดุจดาวเคราะห์ต้องขึ้นต่อดวงอาทิตย์เสมอไป หรือชาวพุทธต้องขึ้นตรงต่อพระรัตนตรัยเสมอไป นี่คือปัญญา หลักการอันยิ่งใหญ่

4. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People) หลักการปกครองแบบสมัยใหม่ และรัฐสมัยใหม่ที่เรียกว่ารัฐชาติ (Nation state) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาความเป็นรัฐชาติไทยขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ (พ.ศ. 2434) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ความมั่นคงให้เกิดเอกภาพขึ้นแก่ประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองของประเทศหรือรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่

1) อำนาจอธิปไตยด้านชาติ คืออำนาจในการปกครองประเทศของตนอย่างอิสระ ไม่ถูกครอบงำจากต่างประเทศ เป็นอำนาจที่สัมพันธ์อย่างอิสระระหว่างรัฐหรือประเทศต่างๆ

2) อำนาจอธิปไตยของปวงชน อำนาจอธิปไตยด้านชาติจะเข้มแข็งหรือไม่เพียงไรขึ้นอยู่กับอำนาจอธิปไตยของปวงชน อำนาจอธิปไตยของปวงชนเข้มแข็ง อำนาจอธิปไตยด้านชาติก็จะเข้มแข็งด้วยอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้ประเทศชาติเข้มแข็งไม่ถูกแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจได้โดยง่าย และนานาประเทศต้องเกรงขาม ในความเป็นเอกภาพของประชาชนในชาติ

3) ความสัมพันธ์ระหว่างประมุขแห่งรัฐกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน ย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกันเป็นหนึ่งเดียวกัน คือเป็นลักษณะทั่วไป (Comprehensiveness) คือครอบคลุมองค์รวมทั้งประเทศ และมีความเด็ดขาด (Absoluteness) มีความถาวร (Permanence) แบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) และมีลักษณะทั่วไป (General power) คือครอบคลุมอำนาจอื่นที่ต่ำกว่าอำนาจอธิปไตยทั้งหมด เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ

ประมุขแห่งรัฐ ย่อมมีความชอบธรรมในการ ใช้อำนาจอธิปไตย เพื่อแก้ไขเหตุวิกฤตสำคัญๆ ของชาติ ซึ่งองค์กรอำนาจอื่นไม่สามารถแก้ไขได้ ทั้งนี้โดยองค์ประมุขแห่งรัฐทรงใช้อำนาจในลักษณะเป็นธรรมสูงสุด หรือธรรมาธิปไตย โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งชาติเป็นสิ่งสูงสุด เอกภาพของอำนาจอธิปไตยของปวงชนตามลักษณะพิเศษของประเทศไทย ได้รวมศูนย์อยู่ที่พระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ (แห่งราชอาณาจักร) นั่นเอง

4. หลักเสรีภาพของบุคคล (Freedom of person) หมายถึงเสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคล คือเสรีภาพทางความคิดโดยธรรม เสรีภาพทางการเมืองโดยธรรม และเสรีภาพส่วนบุคคลเอกชน เป็นเสรีภาพที่บุคคล นิติบุคคลและรัฐ ไม่ควรละเมิดเสรีภาพโดยธรรมของประชาชน

5. หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง (1) ความเสมอภาคทางการเมือง คือ ความเสมอภาคในการแสดงพฤติกรรม ต่อสังคมในการอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ อันเป็นกิจกรรมกุศลสาธารณะ (2) ความเสมอภาคทางกฎหมาย (3) ความเสมอภาคทางโอกาส เป็นต้น

6. หลักภราดรภาพ (Fraternity) มวลมนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งผองเป็นพี่น้องกัน เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ถ้อยที ถ้อยอาศัย บนรากฐานของความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และการให้โอกาส ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะทางอาชีพ วุฒิการศึกษา ศาสนา ความเชื่อต่างๆ

7. หลักเอกภาพหรือรู้รักสามัคคีธรรม (Unity of law) การถือหลักเอกภาพของความหลากหลาย (Unity of diversity) ความเป็นเอกภาพคือความสามัคคีธรรมและความสันติสุขของคนในชาติ บนความแตกต่างทางวุฒิการศึกษา อาชีพ ศาสนา ลัทธิฯ ลัทธิการเมือง ความเชื่อ ค่านิยม จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้นั้น ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีหลักการปกครองโดยธรรม ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ธรรมาธิปไตย 9 เท่านั้น

8. หลักดุลยภาพ (Balance law) ดุลยภาพเป็นอีกมิติหนึ่งของกฎธรรมชาติ บนความสัมพันธ์ทั้งองค์รวมหรือทั้งระบบในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด การตั้งอยู่ ทรงอยู่ ดำรงอยู่อย่างดุลยภาพได้นั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพมีลักษณะแผ่กระจาย กับด้านความแตกต่างหลากหลาย มีลักษณะรวมศูนย์ จึงมีลักษณะ พระธรรมจักร พระพุทธเจ้าสอนให้เห็นความถูกต้อง หรือสัมมาทิฐิ (Right view) เกิดขึ้นได้จากการตั้งปณิธานปรารถนาอย่างแรงกล้า แน่วแน่ อุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษยชาติ จะเป็นพลังผลักดันให้เกิดความเพียรในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา (Insight Meditation) กระทั่งรู้แจ้งสภาวธรรมตามเป็นจริง อันพิสูจน์ได้ซึ่งดำรงอยู่แล้วในมนุษยชาติทุกคน

9. หลักนิติธรรม (Rule of law) หลักกฎหมายหรือหลักนิติธรรมอันเป็นหลัก เป็นกฎเกณฑ์แห่งความยุติธรรม ในอดีตยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์นับแต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงถือหลักทศพิธราชธรรมมาประยุกต์ใช้ปกครองบ้านเมืองสืบต่อกันเรื่อยมาโดยพระมหากษัตริย์

“การเมืองใหม่” จะต้องมีหลักการ รูปแบบและวิธีการปกครองบ้านเมือง จำเป็นอย่างยิ่งยวดในความเป็นธรรมของปวงชนในทุกมิติ และหลักนิติธรรมนี้กำหนดขึ้นจากหลักคำสอนพระพุทธเจ้าและกฎธรรมชาติ โดยได้คล้องกับลักษณะพิเศษของประเทศไทย คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือ หลักธรรมาธิปไตย 9 ดังกล่าวนี้

หมายเหตุ ทั้งหลักนิติธรรมและหลักการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็นหลักการปกครองโดยธรรมที่มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงตามกฎธรรมชาติ สามารถนำไปใช้ทั้งบุคคลและองค์กรนั้นๆ จะเกิดความมั่นคงเจริญก้าวหน้าแบบยั่งยืน

ปัญญาชนโดยธรรมของชาติ จะต้องออกมาเป็นกองหน้า ให้เกิดความถูกต้องขึ้นในแผ่นดินของเรา “ทรงพระเจริญ สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมๆๆ” (p_ariya_@hotmail.com)
กำลังโหลดความคิดเห็น