ASTVผู้จัดการายวัน-ดีเอสไอรับลูก “พาณิชย์” เร่งควานหาต่างชาติทำนาในไทย พุ่งเป้าหมาย 2 จังหวัดภาคกลางและภาคเหนือ เตรียมจัดชุดสอบสวนลงพื้นที่ หากพบมีมูลยกเป็นคดีพิเศษทันที คาด 2 สัปดาห์รู้ผล
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสเอ) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์กรณีการตรวจสอบต่างชาติเข้ามาทำนาในไทยว่า ได้รับข้อมูลเบื้องต้นมาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่ามีบริษัทที่ต่างชาติถือหุ้นอยู่ มีการถือครองที่ดินใน 2 จังหวัด ซึ่งอาจมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่จะเข้ามาทำนาในไทย โดยให้คนไทยถือหุ้นแทน(นอมินี) ซึ่งทางดีเอสไอจะจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่ไปตรวจสอบ คือ จังหวัดทางภาคกลาง 1 จังหวัด และภาคเหนือ 1 จังหวัด เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง โดยจะตรวจสอบสถานะทางบัญชีของบริษัท และพฤติกรรมการถือครองที่ดิน คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ จะได้ข้อสรุป ซึ่งหากการตรวจสอบแล้วมีมูลอาจยกขึ้นมาเป็นคดีพิเศษต่อไป
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ในส่วนของกรมฯ ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลบริษัทที่จดทะเบียนไว้กับกรมฯ ซึ่งมีทั้งหมด 5 แสนราย โดย 3 หมื่นราย มีต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในบริษัทสัดส่วน 49% ซึ่งกรมฯ ได้ตรวจสอบลงลึกต่อไปว่าใน 3 หมื่นรายนั้น มีบริษัทไหนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจที่ดิน พบว่ามีทั้งหมด 1,500 บริษัท และในจำนวนนี้ได้ตรวจสอบลึกลงไปอีกว่ามีบริษัทไหนที่มีการถือครองที่ดิน ทำให้ขณะนี้เหลือบริษัทที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นนอมินี 300 บริษัท
“กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ทำการตรวจสอบเชิงลึก โดยลงไปตรวจสอบในพื้นที่การถือครองที่ดินของ 300 บริษัท เพื่อหาข้อมูล ได้ตรวจไปแล้ว 200 กว่าบริษัท ยังไม่พบความผิดปกติ เหลืออีก 40-50 บริษัทที่กำลังตรวจสอบต่อ”นายคณิสสรกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากการตรวจสอบสถานะของบริษัทนิติบุคคลที่เข้ามาจดทะเบียนกับกรมฯ แล้ว ยังได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมฯ ลงตรวจสอบพื้นที่ใน 20 จังหวัดที่มีการทำนาเยอะ ซึ่งถือเป็นจังหวัดสุ่มเสี่ยง เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นครสวรรค์ เป็นต้น ซึ่งการทำงานจะมีการประสานกับดีเอสไอ เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า แม้จะยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีต่างชาติเข้ามาทำนาในไทย ซึ่งเป็นอาชีพสงวนของคนไทยจริงหรือไม่ แต่กระทรวงฯ ได้เฝ้าระวัง โดยมีการประสานงานระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดีเอสไอ เครือข่ายชาวนา และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ให้เข้ามาร่วมตรวจสอบว่ามีพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีคนไทยเป็นนอมินีให้ต่างชาติเข้ามาประกอบอาชีพสงวนของคนไทย จะมีความผิดเท่ากัน คือ ปรับ 1 แสนถึง 1 ล้านบาท และจำคุก 3 ปี ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างต่าง พ.ศ.2542
“กฎหมายคนต่างด้าวไม่ได้บกพร่อง แต่หากจะมีต่างชาติเข้ามาทำนาในไทย เข้ามาทำอาชีพสงวนของคนไทย ถือเป็นเรื่องของพฤติกรรม ที่คนไทยบางคนยอมไปถือหุ้นแทนให้ ซึ่งก็ต้องไปว่ากันตามกฎหมาย” นายอลงกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไทยไม่ได้กีดกันการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งต้องแยกให้ออก โดยนโยบายของรัฐบาลไทยสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ใช่เข้ามาลงทุนในอาชีพสงวน ซึ่งหากกลุ่มทุนจากตะวันออกกลางต้องการความมั่นคงทางด้านอาหารจริงๆ ไทยก็พร้อมช่วยเหลือ ทั้งการจัดสร้างไซโล การช่วยเหลือด้านอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารหรือหากต้องการข้าวจากประเทศไทย ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าได้ เพราะไทยพร้อมที่จะส่งออกข้าวให้อยู่แล้ว แต่ไม่ควรเข้ามาลงทุนทำนาในไทย
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสเอ) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์กรณีการตรวจสอบต่างชาติเข้ามาทำนาในไทยว่า ได้รับข้อมูลเบื้องต้นมาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่ามีบริษัทที่ต่างชาติถือหุ้นอยู่ มีการถือครองที่ดินใน 2 จังหวัด ซึ่งอาจมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่จะเข้ามาทำนาในไทย โดยให้คนไทยถือหุ้นแทน(นอมินี) ซึ่งทางดีเอสไอจะจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่ไปตรวจสอบ คือ จังหวัดทางภาคกลาง 1 จังหวัด และภาคเหนือ 1 จังหวัด เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง โดยจะตรวจสอบสถานะทางบัญชีของบริษัท และพฤติกรรมการถือครองที่ดิน คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ จะได้ข้อสรุป ซึ่งหากการตรวจสอบแล้วมีมูลอาจยกขึ้นมาเป็นคดีพิเศษต่อไป
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ในส่วนของกรมฯ ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลบริษัทที่จดทะเบียนไว้กับกรมฯ ซึ่งมีทั้งหมด 5 แสนราย โดย 3 หมื่นราย มีต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในบริษัทสัดส่วน 49% ซึ่งกรมฯ ได้ตรวจสอบลงลึกต่อไปว่าใน 3 หมื่นรายนั้น มีบริษัทไหนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจที่ดิน พบว่ามีทั้งหมด 1,500 บริษัท และในจำนวนนี้ได้ตรวจสอบลึกลงไปอีกว่ามีบริษัทไหนที่มีการถือครองที่ดิน ทำให้ขณะนี้เหลือบริษัทที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นนอมินี 300 บริษัท
“กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ทำการตรวจสอบเชิงลึก โดยลงไปตรวจสอบในพื้นที่การถือครองที่ดินของ 300 บริษัท เพื่อหาข้อมูล ได้ตรวจไปแล้ว 200 กว่าบริษัท ยังไม่พบความผิดปกติ เหลืออีก 40-50 บริษัทที่กำลังตรวจสอบต่อ”นายคณิสสรกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากการตรวจสอบสถานะของบริษัทนิติบุคคลที่เข้ามาจดทะเบียนกับกรมฯ แล้ว ยังได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมฯ ลงตรวจสอบพื้นที่ใน 20 จังหวัดที่มีการทำนาเยอะ ซึ่งถือเป็นจังหวัดสุ่มเสี่ยง เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นครสวรรค์ เป็นต้น ซึ่งการทำงานจะมีการประสานกับดีเอสไอ เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า แม้จะยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีต่างชาติเข้ามาทำนาในไทย ซึ่งเป็นอาชีพสงวนของคนไทยจริงหรือไม่ แต่กระทรวงฯ ได้เฝ้าระวัง โดยมีการประสานงานระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดีเอสไอ เครือข่ายชาวนา และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ให้เข้ามาร่วมตรวจสอบว่ามีพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีคนไทยเป็นนอมินีให้ต่างชาติเข้ามาประกอบอาชีพสงวนของคนไทย จะมีความผิดเท่ากัน คือ ปรับ 1 แสนถึง 1 ล้านบาท และจำคุก 3 ปี ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างต่าง พ.ศ.2542
“กฎหมายคนต่างด้าวไม่ได้บกพร่อง แต่หากจะมีต่างชาติเข้ามาทำนาในไทย เข้ามาทำอาชีพสงวนของคนไทย ถือเป็นเรื่องของพฤติกรรม ที่คนไทยบางคนยอมไปถือหุ้นแทนให้ ซึ่งก็ต้องไปว่ากันตามกฎหมาย” นายอลงกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไทยไม่ได้กีดกันการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งต้องแยกให้ออก โดยนโยบายของรัฐบาลไทยสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ใช่เข้ามาลงทุนในอาชีพสงวน ซึ่งหากกลุ่มทุนจากตะวันออกกลางต้องการความมั่นคงทางด้านอาหารจริงๆ ไทยก็พร้อมช่วยเหลือ ทั้งการจัดสร้างไซโล การช่วยเหลือด้านอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารหรือหากต้องการข้าวจากประเทศไทย ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าได้ เพราะไทยพร้อมที่จะส่งออกข้าวให้อยู่แล้ว แต่ไม่ควรเข้ามาลงทุนทำนาในไทย