ASTV ผู้จัดการรายวัน – “ปกรณ์” ประธานตลาดหุ้นไทย เผยนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าลงทุนในตลาดหุ้น หลังเกิดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้มียอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีสูงกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท พร้อมเตือนกลุ่มเสื้อแดงป่วนฉุดความน่าสนใจตลาดหุ้น แม้มั่นใจผลประกอบการบจ.ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องถึงไตรมาส 4/52 ขณะที่โบรกเกอร์ ชี้ดัชนีตลาดหุ้นอาจปรับฐานหลังดีดแรงเกินปัจจัยพื้นฐาน ด้านเงินกองทุนตลาดหลักทรัพย์ฯ รอคณะกรรมการปฏิรูปองค์กรตลาดหลักทรัพย์ฯพิจารณา
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10 ส.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มในทิศทางเดียวกันตลาดหุ้นภูมิภาค โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ มีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากยิ่งขึ้น
โดยดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญที่ระดับ 650 จุด และปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 650.88 จุด แต่ไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ จากแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอีกครั้ง แตะระดับต่ำสุดที่ 643.01 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 643.75 จุด ลดลงจากวันก่อน 0.45 จุด คิดเป็น 0.07% มูลค่าการซื้อขายรวม 16,810.49 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 724.14 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 174.46 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 549.67 ล้านบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 สูงกว่า 35,282.01 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจเข้ามาลงทุนมากขึ้นจากสัญญาณเศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนแล้ว บวกกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของไทยที่คาดว่าไตรมาส 4/52 น่าจะมีอัตราการเติบโตเป็นบวกได้ จึงส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16,000-17,000 ล้านบาทต่อวัน จากต้นปีอยู่ระดับ 8,000 ล้านบาทต่อวัน
ด้านปัจจัยลบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย คือ ปัญหาทางการเมือง ที่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ขณะที่ตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ที่ไม่มีปัญหาการเมือง
สำหรับทิศทางราคาน้ำมันนั้น คาดว่าราคาน้ำมันโลกน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าร 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ราคาน้ำมันแพงอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ดังนั้นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนจะต้องเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเพื่อให้บจ.สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
“ผลประกอบการบจ. ไตรมาส 2/52 ที่ทยอยประกาศออกมา มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นดีกว่าไตรมาส 1/52 ดังนั้นจึงคาดว่ากำไรบจ.น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องถึงไตรมาส 4/52 จากภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยที่ฟื้นตัว” นายปกรณ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายที่จะนำเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้ากระทรวงการคลังนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังเป็นประเด็นที่เร็วเกินไปจะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากแปลงสภาพของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและเสนอให้สภาพิจารณา และหากสภาเห็นชอบนั้นจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปองค์กรตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฯลฯ ในการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์เพื่อทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับตลาดหุ้นอื่นๆ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด (KS) กล่าวถึง แนวโน้มตลาดหุ้นไทยภายหลังที่บริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/52 ว่า ผลการดำเนินงานที่ออกมาน่าจะดีกว่าช่วงไตรมาสที่ผ่านมาที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังประสบปัญหา ซึ่งจะเห็นได้จากผู้ประกอบการบางส่วนได้ปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น
“ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคึก มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างหนาแน่น จากการคาดการณ์ผลประกอบการบจ.ที่ออกมาดี แต่ประเด็นหลักๆ ที่มีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะมาจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ได้ผ่านจุดต่ำสุด และเริ่มปรับตัวดีขึ้น”
ส่วนของปัจจัยอื่นที่น่าจับตาและมีผลต่อการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจและตลาดทุนไทย คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จากกระแสการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แนวโน้มมีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของตลาดหุ้น ประกอบกับปัจจัยทางการเมืองในประเทศที่จะคลี่คลายออกมาในทิศทางใด
ด้านนายเตชธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. เอเซียพลัส จำกัด (ASP) กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามผลการดำเนินงานของบจ.ที่ทยอยประกาศผลกำไรไตรมาส 2/52 ส่งผลให้นักลงทุนกล้าเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและมีการปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อนอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงเกินกว่าผลการดำเนินงาน อาจจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐาน แม้ไตรมาส 3-4 สินค้าอุปโภคบริโภคจะมีกำไรจากสต๊อกสินค้า แต่ราคาคงไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่าน โดยเฉพาะราคาน้ำมันปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 75-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10 ส.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มในทิศทางเดียวกันตลาดหุ้นภูมิภาค โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ มีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากยิ่งขึ้น
โดยดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญที่ระดับ 650 จุด และปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 650.88 จุด แต่ไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ จากแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอีกครั้ง แตะระดับต่ำสุดที่ 643.01 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 643.75 จุด ลดลงจากวันก่อน 0.45 จุด คิดเป็น 0.07% มูลค่าการซื้อขายรวม 16,810.49 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 724.14 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 174.46 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 549.67 ล้านบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 สูงกว่า 35,282.01 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจเข้ามาลงทุนมากขึ้นจากสัญญาณเศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนแล้ว บวกกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของไทยที่คาดว่าไตรมาส 4/52 น่าจะมีอัตราการเติบโตเป็นบวกได้ จึงส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16,000-17,000 ล้านบาทต่อวัน จากต้นปีอยู่ระดับ 8,000 ล้านบาทต่อวัน
ด้านปัจจัยลบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย คือ ปัญหาทางการเมือง ที่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ขณะที่ตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ที่ไม่มีปัญหาการเมือง
สำหรับทิศทางราคาน้ำมันนั้น คาดว่าราคาน้ำมันโลกน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าร 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ราคาน้ำมันแพงอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ดังนั้นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนจะต้องเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเพื่อให้บจ.สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
“ผลประกอบการบจ. ไตรมาส 2/52 ที่ทยอยประกาศออกมา มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นดีกว่าไตรมาส 1/52 ดังนั้นจึงคาดว่ากำไรบจ.น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องถึงไตรมาส 4/52 จากภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยที่ฟื้นตัว” นายปกรณ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายที่จะนำเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้ากระทรวงการคลังนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังเป็นประเด็นที่เร็วเกินไปจะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากแปลงสภาพของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและเสนอให้สภาพิจารณา และหากสภาเห็นชอบนั้นจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปองค์กรตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฯลฯ ในการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์เพื่อทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับตลาดหุ้นอื่นๆ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด (KS) กล่าวถึง แนวโน้มตลาดหุ้นไทยภายหลังที่บริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/52 ว่า ผลการดำเนินงานที่ออกมาน่าจะดีกว่าช่วงไตรมาสที่ผ่านมาที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังประสบปัญหา ซึ่งจะเห็นได้จากผู้ประกอบการบางส่วนได้ปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น
“ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคึก มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างหนาแน่น จากการคาดการณ์ผลประกอบการบจ.ที่ออกมาดี แต่ประเด็นหลักๆ ที่มีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะมาจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ได้ผ่านจุดต่ำสุด และเริ่มปรับตัวดีขึ้น”
ส่วนของปัจจัยอื่นที่น่าจับตาและมีผลต่อการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจและตลาดทุนไทย คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จากกระแสการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แนวโน้มมีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของตลาดหุ้น ประกอบกับปัจจัยทางการเมืองในประเทศที่จะคลี่คลายออกมาในทิศทางใด
ด้านนายเตชธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. เอเซียพลัส จำกัด (ASP) กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามผลการดำเนินงานของบจ.ที่ทยอยประกาศผลกำไรไตรมาส 2/52 ส่งผลให้นักลงทุนกล้าเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและมีการปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อนอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงเกินกว่าผลการดำเนินงาน อาจจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐาน แม้ไตรมาส 3-4 สินค้าอุปโภคบริโภคจะมีกำไรจากสต๊อกสินค้า แต่ราคาคงไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่าน โดยเฉพาะราคาน้ำมันปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 75-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล