xs
xsm
sm
md
lg

Thinking School

เผยแพร่:   โดย: ชัยอนันต์ สมุทวณิช

การเรียนที่ทำให้เด็กเพลิดเพลินคือ การเรียนผ่านการเล่น และด้วยการลงมือทำ หลายโรงเรียนในต่างประเทศมีวิชาการออกแบบ และเทคโนโลยีการออกแบบทำให้เด็กต้องใช้จินตนาการ และถ่ายทอดออกมาเป็นแบบและลงมือทำ บางโรงเรียนก็มีวิชาการทำครัวด้วย เด็กๆ สนุกสนานมากเพราะได้ลงมือทำปรุงรสและชิมกันเอง เมื่อผมยังเด็กอายุสัก 8-9 ขวบ ผมก็ชอบทำข้าวผัดแล้วกินเองรู้สึกอร่อยมาก

คุณอนันต์ อนันตกูล คุยกับผมว่าเด็กสมัยนี้ถูกกักกันอยู่ในโรงเรียนนานเกินไป แม้จะเลิกเรียนบ่ายสามโมงครึ่ง แต่ก็ยังต้องอยู่ที่โรงเรียนรอพ่อแม่ บางคนก็ต้องไปเรียนพิเศษต่อ

ความคิดในการปฏิรูปการศึกษานั้น มีอยู่สองแนวทางคือ เน้นการพัฒนาการสอนของครู และเน้นเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง จะว่าไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมของครูผู้สอนนั่นเอง

การสอนของครูนั้น ไม่ควรมีเป้าหมายอยู่เฉพาะการให้นักเรียนรู้สาระวิชาการเพื่อไปสอบแข่งกันเข้ามหาวิทยาลัย แต่ควรเป็นการให้เด็กได้มีเทคนิค และทักษะที่ช่วยให้เขาได้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิต ไม่ว่าเขาจะประกอบอาชีพอะไร

การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน และทำอย่างจริงจังต่อเนื่อง จากการสังเกตของนักวิจัยพบว่า ผลสำเร็จของการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการคือ

ประการแรก ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีความตั้งใจ มีส่วนร่วมให้ความสนับสนุนทรัพยากรอย่างพอเพียง ถ้าจะให้ดีต้องจัดตั้ง “กลุ่มพลัง” ไว้คอยผลักดันการเปลี่ยนแปลง

เราจะเริ่มสร้าง Thinking School ได้อย่างไร ขั้นแรกก็คือสร้างความตระหนักในความสำคัญของทักษะการคิด และสอนทักษะการคิดให้ทั้งโรงเรียน โดยครูผู้สอนจะไม่ใช่ผู้สอนเฉพาะสาระวิชา แต่ต้องสอนเทคนิคและวิธีการคิดที่มีมากมายหลายวิธีด้วย

การจะทำ Thinking School นั้น ต้องเป็นโครงการระยะยาวประมาณ 5 ปี โดยผู้บริหารจะต้องให้ความสนับสนุนอย่างจริงจัง ทีมผู้อบรมจะต้องอธิบายให้ครูทั้งโรงเรียนเข้าใจว่า

- ทำไมการคิดจึงมีความสำคัญ

- ครูจะได้รับประโยชน์อย่างไร

- หลักสูตรทั่วไปต่างจากหลักสูตรการคิดอย่างไร

- มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร

- จะพัฒนาสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่ทำให้นักเรียนรู้จักคิดได้อย่างไร

- จะสร้างสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เกิดการใช้ความคิดได้อย่างไร

- วิธีการคิดง่ายๆ เช่น PMI (Plus, Minus, Interesting) และ 6 Hats ของ Edward de Bono

เวลานี้มี อบจ.ที่เชียงรายและอุดรธานี ที่ให้ทีมงานที่ประกอบด้วยครูนิวซีแลนด์ และทีมฝึกอบรมอีก 3 คนช่วยทำ Thinking School ให้โรงเรียนภายในสังกัด อบจ.หลังจาก สพฐ.ได้เคยสนับสนุนโครงการนำร่องไปแล้ว และต้องมีอุปกรณ์การศึกษา ให้เวลากับครูในการฝึกอบรมคอยติดตามดูแลความก้าวหน้าอยู่เสมอๆ

ประการที่สอง จะต้องมีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค และความยากลำบากในการปรับปรุงการเรียนการสอน

ประการที่สาม จะต้องส่งเสริมให้ครูทั้งโรงเรียนมีส่วนร่วม

ประการที่สี่ จะต้องมีระบบข้อมูลข่าวสาร และเอกสารที่สนับสนุนการวางแผน การประเมินผล และกระบวนการรายงานผล

ประการที่ห้า จะต้องมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน มีการคัดสรรครูที่ดี มีการฝึกอบรม

ขณะนี้ในประเทศนิวซีแลนด์ที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ได้มีการพัฒนาการศึกษาไปอีกระดับหนึ่ง นั่นคือ การสร้าง “Thinking School” การผลักดันให้มี Thinking School นั้น มาจากกลุ่มครูซึ่งสอน “ทักษะการคิด” ในโรงเรียนซึ่งทำเป็นวิชาเลือก

สำหรับนักเรียนแล้ว จะเรียนรู้เทคนิคที่เกี่ยวกับการคิดอย่างมีคุณภาพ สำหรับครูก็จะใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้น มีการกระตุ้นให้นักเรียนได้ขบคิดปัญหาทั้งใกล้และไกลตัว

การจะเกิด Thinking School ได้นั้น ผู้บริหารและครูจะต้องมีความเข้าใจร่วมกัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีการตั้งทีมขึ้นมาผลักดันเรื่องนี้โดยเฉพาะ การประเมินผลแล้ว ผลปรากฏว่าสิ่งแรกที่ต้องทำอย่างรีบด่วนคือ การจัดการชั้นเรียนให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น ทำงานในห้อง และมีการถกเถียงปัญหากัน ควรมีการตกแต่งห้องเรียนให้น่าสนใจแทนที่จะเป็นห้องโล่งๆ

ครูที่เชียงรายมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นว่า Thinking School เป็นอย่างไร เห็นความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของห้องเรียน ครูครึ่งต่อครึ่งรู้สึกว่ามีความเข้าใจทักษะการคิดมากขึ้น

เวลานี้มีแต่โรงเรียนในสังกัด อบจ.อุดรฯ และอบจ.เชียงรายเท่านั้นที่ทำเรื่องนี้ โรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ ที่ตื่นตัวและมีการฝึกอบรมเรื่องนี้ได้แก่ โรงเรียนอำนวยศิลป์

หากโรงเรียนในประเทศไทยส่งเสริมให้มีการสอนทักษะการคิดอย่างทั่วถึงแล้ว การศึกษาของเราคงก้าวไปไกลกว่านี้

ในสิงคโปร์มีการสอนทักษะการคิดอย่างจริงจัง จนการแข่งขันการแก้ปัญหาในอนาคตที่ทำเป็นประจำทุกปีนั้น ปีนี้โรงเรียน St. Andrew Girls School และโรงเรียน Raffle Girls School ได้รับรางวัลที่หนึ่ง

แล้วไทยเราล่ะจะทำอย่างไร
กำลังโหลดความคิดเห็น