ASTVผู้จัดการรายวัน- ก.พลังงานหวังแผนพลังงานทดแทนรับมือน้ำมันแพงในอนาคตได้ เร่งการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นหวังใช้เอทานอลให้ได้ตามแผน 9 ล้านลิตรในปี 2565 อ้อนกระทรวงพาณิชย์ลดราคาแป้งมันสำปะหลังลงต่ำกว่า 8 บาทต่อก.ก.กดราคาเอทานอลให้ต่ำ
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง “ อี 85 เชื้อเพลิงไทย เพื่อคนไทย” วานนี้(6 ส.ค.) ว่า กระทรวงพลังงานได้กำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีไว้ชัดเจนแล้วเพื่อที่จะรับมือกับภาวะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มอาจจะกลับมาอีกครั้งเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมุ่งที่จะขยายการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์มากขึ้นโดยเฉพาะอี 85 ที่จะมีการนำเข้ารถยนต์อี 85 ปีนี้ 2,000คันและจะเพิ่มเป็น 1 ล้านคันปี2565 เพื่อที่จะใช้เอทานอลที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรให้ได้วันละ 9 ล้านลิตรภายในปี 2565 และจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนในอาเซียน
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้เสนอต่อรัฐบาลที่จะขอซื้อแป้งมันสำปะหลังที่อยู่ในสต็อกของรัฐบาลมาใช้ในการผลิตเอทานอลจำนวน 2.8 แสนตัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาโมลาส(กากน้ำตาล)ขาดแคลนและมีราคาแพง อย่างไรก็ตามราคารับจำนำของรัฐบาลจะต้องไม่ต่ำกว่า 8
บาทต่อกิโลกรัมซึ่งยอมรับว่าอาจจะส่งผลให้ราคาเอทานอลสูงได้ดังนั้นเรื่องนี้เห็นว่าผู้ผลิตควรจะเจรจากับกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องดังกล่าว
“ กระทรวงพาณิชย์ต้องเจรจากับผู้ขายเอง แต่ยอมรับว่าหากราคาแป้งมันอยู่ในระดับสูงมากก็จะกระทบต่อต้นทุนราคาเอทานอลแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะหากนำมาผลิตเอทานอลในประเทศจะช่วยเพิ่มมูลค่าได้”นายพรชัยกล่าว
นายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท เพโทรกรีน ในกลุ่มบริษัทมิตรผล กล่าวว่า ราคาแป้งมันวันนี้ไม่น่าจะเกิน 7 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนราคาเอทานอลอยู่ที่ระดับ 14-15 บาทต่อลิตร บวกค่าดำเนินการแล้วราคาขายเอทานอลก็น่าจะอยู่ระดับ 21-22 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นราคาที่รับได้ทุกฝ่ายทั้งผู้ผลิตเอทานอลและผู้ค้าน้ำมัน แต่หากราคาสูงกว่านี้ก็จะต้องพิจารณา เพราะหากเก็บแป้งมันไว้นานก็จะทำให้คุณสมบัติที่จะนำมาใช้ปรุงอาหารลดลง
“ราคาเอทานอลที่ผลิตจากโมลาสยอมรับว่าขยับมาอยู่ที่ 24-25 บาทต่อลิตรเพราะโมลาสมาอยู่ที่ 120-140 เหรียญต่อตันแพงเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี”นายประวิทย์กล่าว
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า ราคาส่งออกเอทานอลขณะนี้ก็ไม่ได้สูงกว่าราคาขายภายในประเทศมากนักหากนำมาใช้ในประเทศเองก็น่าจะดีกว่า ประกอบกับปริมาณความต้องการในอาเซียนยังมีมาก จึงน่าจะมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนในอาเซียน
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง “ อี 85 เชื้อเพลิงไทย เพื่อคนไทย” วานนี้(6 ส.ค.) ว่า กระทรวงพลังงานได้กำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีไว้ชัดเจนแล้วเพื่อที่จะรับมือกับภาวะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มอาจจะกลับมาอีกครั้งเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมุ่งที่จะขยายการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์มากขึ้นโดยเฉพาะอี 85 ที่จะมีการนำเข้ารถยนต์อี 85 ปีนี้ 2,000คันและจะเพิ่มเป็น 1 ล้านคันปี2565 เพื่อที่จะใช้เอทานอลที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรให้ได้วันละ 9 ล้านลิตรภายในปี 2565 และจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนในอาเซียน
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้เสนอต่อรัฐบาลที่จะขอซื้อแป้งมันสำปะหลังที่อยู่ในสต็อกของรัฐบาลมาใช้ในการผลิตเอทานอลจำนวน 2.8 แสนตัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาโมลาส(กากน้ำตาล)ขาดแคลนและมีราคาแพง อย่างไรก็ตามราคารับจำนำของรัฐบาลจะต้องไม่ต่ำกว่า 8
บาทต่อกิโลกรัมซึ่งยอมรับว่าอาจจะส่งผลให้ราคาเอทานอลสูงได้ดังนั้นเรื่องนี้เห็นว่าผู้ผลิตควรจะเจรจากับกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องดังกล่าว
“ กระทรวงพาณิชย์ต้องเจรจากับผู้ขายเอง แต่ยอมรับว่าหากราคาแป้งมันอยู่ในระดับสูงมากก็จะกระทบต่อต้นทุนราคาเอทานอลแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะหากนำมาผลิตเอทานอลในประเทศจะช่วยเพิ่มมูลค่าได้”นายพรชัยกล่าว
นายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท เพโทรกรีน ในกลุ่มบริษัทมิตรผล กล่าวว่า ราคาแป้งมันวันนี้ไม่น่าจะเกิน 7 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนราคาเอทานอลอยู่ที่ระดับ 14-15 บาทต่อลิตร บวกค่าดำเนินการแล้วราคาขายเอทานอลก็น่าจะอยู่ระดับ 21-22 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นราคาที่รับได้ทุกฝ่ายทั้งผู้ผลิตเอทานอลและผู้ค้าน้ำมัน แต่หากราคาสูงกว่านี้ก็จะต้องพิจารณา เพราะหากเก็บแป้งมันไว้นานก็จะทำให้คุณสมบัติที่จะนำมาใช้ปรุงอาหารลดลง
“ราคาเอทานอลที่ผลิตจากโมลาสยอมรับว่าขยับมาอยู่ที่ 24-25 บาทต่อลิตรเพราะโมลาสมาอยู่ที่ 120-140 เหรียญต่อตันแพงเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี”นายประวิทย์กล่าว
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า ราคาส่งออกเอทานอลขณะนี้ก็ไม่ได้สูงกว่าราคาขายภายในประเทศมากนักหากนำมาใช้ในประเทศเองก็น่าจะดีกว่า ประกอบกับปริมาณความต้องการในอาเซียนยังมีมาก จึงน่าจะมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนในอาเซียน