ผู้ผลิตเอทานอลวอนรัฐเร่งปรับสูตรคำนวณราคาเอทานอลใหม่ให้สะท้อนต้นทุนการผลิตแทนอิงตลาดโลกหวั่นไตรมาส 3-4 มีปัญหาขาดแคลนโดยเฉพาะโรงที่ใช้โมลาสเป็นวัตถุดิบไม่กล้าซื้อเหตุราคาพุ่ง 100 เหรียญต่อตัน หลังสัญญาณปิดหีบอ้อยปริมาณโมลาสลดตามปริมาณน้ำตาลที่จะผลิตได้เพียง 70 ล้านตันต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตเอทานอลกำลังรอการพิจารณาปรับสูตรการคำนวณราคาเอทานอลเพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงในงวดใหม่ซึ่งทางผู้ผลิตต้องการให้รัฐอิงราคาต้นทุนการผลิตที่แท้จริง (Cost Plus) แทนอิงราคาตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่จะผลิตเอทานอลทั้งมันสำปะหลังและโมลาส (กากน้ำตาล) มีราคาที่สูงขึ้นมาก ทำให้การผลิตไม่คุ้มกับต้นทุนซึ่งหากประกาศราคามาแล้วต่ำกว่าต้นทุนการผลิตจริงในไตรมาส 3-4 ของปีนี้อาจมีปัญหาขาดแคลนได้
ทั้งนี้ เนื่องจากราคามันสำปะหลังนั้นรัฐบาลประกันราคาไว้ 1.90 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) แต่ราคาซื้อขายจริงอยู่ระดับ 1.20-1.30 บาทต่อกก.ซึ่งถือว่าหากนำมาผลิตเอทานอลก็จะคุ้มทุนกว่าการใช้โมลาสเป็นวัตถุดิบเพราะขณะนี้มีปัญหาว่าโมลาสราคาแพงล่าสุดขยับไปอยู่ที่ 100-110 เหรียญต่อตันหรือคิดเป็นประมาณ 4 บาทต่อ กก.ขณะที่การผลิตเอทานอลคุ้มทุนโมลาสควรอยู่ที่ 65-70 เหรียญต่อตันหรือประมาณ 2.50 บาทต่อ กก.หากเกินกว่านี้โรงงานคงไม่ผลิตให้ขาดทุน
“ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ราคาเอทานอลประกาศไว้ที่ 17.18 บาทต่อลิตร แต่วัตถุดิบในช่วงนี้แพงและไม่มีใครกล้าซื้อไว้สต๊อกโดยเฉพาะโมลาสเพราะแพงมาก หากประเมินแล้วการประกาศราคาเอทานอลอยู่ระดับ ประมาณ 20 บาทต่อลิตรก็พอจะคุ้มทุนอยู่บ้างก็จะต้องมาดูทั้งต้นทุนโมลาสและมันสำปะหลังด้วย” นายสิริวุทธิ์ กล่าว
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้เอทานอลวันละ 1.2-1.3 ล้านลิตรขณะที่การผลิตของโรงงาน 11 แห่งมีทั้งสิ้นเกือบ 2 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้มีส่วนเกินเหลือ 6-7 แสนลิตรต่อวันโดยส่วนนี้มีการเก็บสต็อกไว้และส่งออกโดยใช้วิธีบริหารจัดการเมื่อสต็อกเต็มก็จะลดการผลิตลงหรือหยุดชั่วคราวโดยโรงงานดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการผลิตจากกากน้ำตาล อย่างไรก็ตามในปีนี้มีโรงงานเอทานอลที่พร้อมจะเกิดใหม่อีก 3 แห่งซึ่งใช้มันสำปะหลังผลิตหาก 3 แห่งนี้เข้ามาเพิ่มได้เร็วก็อาจจะไม่ทำให้เอทานอลขาดแคลน
แหล่งข่าวจากวงการน้ำตาล กล่าวว่า โมลาสในประเทศไม่ได้ขาดแคลน แต่ยอมรับว่า มีราคาสูงขึ้นเพราะปริมาณไม่ได้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดไว้เนื่องจากใกล้ปิดหีบอ้อยแล้วปรากฏว่าปริมาณน้ำตาลที่เดิมมองไว้ว่าจะหีบได้ 72-73 ล้านตันคาดว่าจะเหลือประมาณ 70 ล้านตันทำให้ปริมาณโมลาสลดลงจึงทำให้ยังไม่มีการปล่อยโมลาสออกขายเพราะรอทำราคาที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาเอทานอลไทยจะอิงราคาบราซิลบวกด้วยค่าขนส่งหากยึดราคานี้ราคาเอทานอลจะอยู่ที่เพียง 17 บาทต่อลิตรเท่านั้น เพราะราคาเอทานอลตลาดโลกปรับลดลงตามน้ำมันเช่นเดียวที่ค่าขนส่งเอทานอลก็ลดลงตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ขณะนี้สนพ.และกระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาสูตรโครงสร้างราคาเอทานอลอยู่ยังไม่ได้ข้อสรุปโดยโครงสร้างราคามีหลายรูปแบบทั้งอิงราคาต้นทุนที่แท้จริง และการอ้างอิงราคาในประเทศควบคู่กับต่างประเทศ แต่ยังไม่เป็นที่ยุติคาดว่าจะมีการหารืออีกครั้งก็จะได้ข้อสรุป
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตเอทานอลกำลังรอการพิจารณาปรับสูตรการคำนวณราคาเอทานอลเพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงในงวดใหม่ซึ่งทางผู้ผลิตต้องการให้รัฐอิงราคาต้นทุนการผลิตที่แท้จริง (Cost Plus) แทนอิงราคาตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่จะผลิตเอทานอลทั้งมันสำปะหลังและโมลาส (กากน้ำตาล) มีราคาที่สูงขึ้นมาก ทำให้การผลิตไม่คุ้มกับต้นทุนซึ่งหากประกาศราคามาแล้วต่ำกว่าต้นทุนการผลิตจริงในไตรมาส 3-4 ของปีนี้อาจมีปัญหาขาดแคลนได้
ทั้งนี้ เนื่องจากราคามันสำปะหลังนั้นรัฐบาลประกันราคาไว้ 1.90 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) แต่ราคาซื้อขายจริงอยู่ระดับ 1.20-1.30 บาทต่อกก.ซึ่งถือว่าหากนำมาผลิตเอทานอลก็จะคุ้มทุนกว่าการใช้โมลาสเป็นวัตถุดิบเพราะขณะนี้มีปัญหาว่าโมลาสราคาแพงล่าสุดขยับไปอยู่ที่ 100-110 เหรียญต่อตันหรือคิดเป็นประมาณ 4 บาทต่อ กก.ขณะที่การผลิตเอทานอลคุ้มทุนโมลาสควรอยู่ที่ 65-70 เหรียญต่อตันหรือประมาณ 2.50 บาทต่อ กก.หากเกินกว่านี้โรงงานคงไม่ผลิตให้ขาดทุน
“ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ราคาเอทานอลประกาศไว้ที่ 17.18 บาทต่อลิตร แต่วัตถุดิบในช่วงนี้แพงและไม่มีใครกล้าซื้อไว้สต๊อกโดยเฉพาะโมลาสเพราะแพงมาก หากประเมินแล้วการประกาศราคาเอทานอลอยู่ระดับ ประมาณ 20 บาทต่อลิตรก็พอจะคุ้มทุนอยู่บ้างก็จะต้องมาดูทั้งต้นทุนโมลาสและมันสำปะหลังด้วย” นายสิริวุทธิ์ กล่าว
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้เอทานอลวันละ 1.2-1.3 ล้านลิตรขณะที่การผลิตของโรงงาน 11 แห่งมีทั้งสิ้นเกือบ 2 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้มีส่วนเกินเหลือ 6-7 แสนลิตรต่อวันโดยส่วนนี้มีการเก็บสต็อกไว้และส่งออกโดยใช้วิธีบริหารจัดการเมื่อสต็อกเต็มก็จะลดการผลิตลงหรือหยุดชั่วคราวโดยโรงงานดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการผลิตจากกากน้ำตาล อย่างไรก็ตามในปีนี้มีโรงงานเอทานอลที่พร้อมจะเกิดใหม่อีก 3 แห่งซึ่งใช้มันสำปะหลังผลิตหาก 3 แห่งนี้เข้ามาเพิ่มได้เร็วก็อาจจะไม่ทำให้เอทานอลขาดแคลน
แหล่งข่าวจากวงการน้ำตาล กล่าวว่า โมลาสในประเทศไม่ได้ขาดแคลน แต่ยอมรับว่า มีราคาสูงขึ้นเพราะปริมาณไม่ได้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดไว้เนื่องจากใกล้ปิดหีบอ้อยแล้วปรากฏว่าปริมาณน้ำตาลที่เดิมมองไว้ว่าจะหีบได้ 72-73 ล้านตันคาดว่าจะเหลือประมาณ 70 ล้านตันทำให้ปริมาณโมลาสลดลงจึงทำให้ยังไม่มีการปล่อยโมลาสออกขายเพราะรอทำราคาที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาเอทานอลไทยจะอิงราคาบราซิลบวกด้วยค่าขนส่งหากยึดราคานี้ราคาเอทานอลจะอยู่ที่เพียง 17 บาทต่อลิตรเท่านั้น เพราะราคาเอทานอลตลาดโลกปรับลดลงตามน้ำมันเช่นเดียวที่ค่าขนส่งเอทานอลก็ลดลงตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ขณะนี้สนพ.และกระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาสูตรโครงสร้างราคาเอทานอลอยู่ยังไม่ได้ข้อสรุปโดยโครงสร้างราคามีหลายรูปแบบทั้งอิงราคาต้นทุนที่แท้จริง และการอ้างอิงราคาในประเทศควบคู่กับต่างประเทศ แต่ยังไม่เป็นที่ยุติคาดว่าจะมีการหารืออีกครั้งก็จะได้ข้อสรุป