ASTVผู้จัดการรายวัน- เอทานอลจากโมลาสจ่อขึ้นไม่ต่ำกว่า 25 บาทต่อลิตร ขณะที่ผู้ผลิตบี 100 จ่อขยับอีก 4-5 บาทต่อลิตรหลังปาล์มขยับสูง 3 สมาคมปาล์มเล็งถกรับมือแผนเปิดเสรีน้ำมันปาล์ม หวั่นเกษตรกร2แสนรายเจ๊งหมด
นายสมชาย โล่ห์วิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาโมลาส(กากน้ำตาล)ที่เป็นวัตถุดิบประเภทหนึ่งในการผลิตเอทานอลได้ขยับขึ้นสูงมาแตะที่ 160 เหรียญต่อตัน(5,000บาทต่อตัน)จากที่ผ่านมาอยู่ระดับเพียง80-90 เหรียญต่อตันดังนั้นผู้ผลิตจึงอยู่ระหว่างเจรจากับค่ายน้ำมันที่จะขอปรับราคาขายเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ที่คาดว่าราคาน่าจะเป็นระดับไม่ต่ำกว่า 25 บาทต่อลิตร
“ น่าเป็นห่วงที่หลายโรงงานอาจหาโมลาสไม่ได้เต็มที่ก็อาจจะเดินเครื่องได้ไม่มากและหากเจรจาขึ้นราคาได้ไม่สะท้อนต้นทุนก็อาจจะต้องหยุดผลิตชั่วคราวโดยคงจะต้องลุ้นให้โรงงานที่ผลิตจากมันสำปะหลังผลิตเพิ่มเข้ามาใหม่ในกลางปีนี้เป็นไปตามแผน”นายสมชายกล่าว
ทั้งนี้กรณีที่กระทรวงพลังงานใช้สูตรคำนวณโดยยึดหลักราคาโมลาสที่ 3,000 บาทต่อตันเป็นการอิงราคาประมูลขององค์การสุราที่จะประมูลในช่วงต้นปีซึ่งเป็นช่วงราคาต่ำขณะที่เอกชนนั้นจะต้องรอดูท่าทีบ.น้ำมันว่ายอมรับราคาขายที่สูงได้หรือไม่ทำให้ไม่สามารถสต็อกโมลาสไว้ได้มากเมื่อกลับมาซื้อก็จะเป็นช่วงที่แพงยกเว้นโรงงานเอทานอลที่เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลเท่านั้นที่จะบริหารได้ดีกว่า
นางวิวรรณ บุณยประทีปรัตน์ เลขาธิการสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย กล่าวยอมรับว่าขณะนี้ผู้ผลิตปาล์มบริสุทธิ์(บี 100) มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเฉพาะราคาปาล์มก็ปรับขึ้นสูงมาอยุ่ในระดับ 27-28 บาทต่อกิโลกรัมแล้วขณะที่ราคาจำหน่ายบี 100 กลับอยู่ที่เพียง 27 บาทต่อลิตรไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงแม้ว่ารัฐจะมีการปรับสูตรใหม่แล้วก็ตามซึ่งในที่สุดผู้ผลิตคงจะตัดสินใจปรับขึ้นราคาบี 100 อีก 4-5 บาทต่อลิตร
อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวทางผู้ผลิตยังเห็นว่าเป็นประเด็นรองเพราะประเด็นหลักอยู่ที่จะต้องเร่งพิจารณาข้อตกลงการเปิดตลาดสินค้าเกษตร ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ซึ่งในปี 2553 น้ำมันปาล์มของไทยจะต้องเปิดตลาดภาษี 0% ก่อนเนื่องจากหากเปิดเสรีตามข้อตกลงจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งระบบที่มีอยู่ราว 2 แสนคนพื้นที่เพาะปลูก 3.7 ล้านไร่ทันที
ทั้งนี้สัปดาห์หน้า 3 สมาคมที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม โรงงานสะกัด และชาวสวนจะหารือถึงแนวทางที่ดีที่สุดในการเสนอรัฐบาลให้มีการเปิดเสรีแบบมีเงื่อนไขแต่รายละเอียดจะต้องสรุปอีกครั้งหนึ่งโดยยอมรับว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูกของไทยเป็นรายย่อยและพื้นที่ไม่มากหากเทียบกับมาเลเซีย ซึ่งหากปาล์มมีปัญหาเศรษฐกิจภาคใต้จะลำบากเพราะยางพารา นั้นจีนและเวียดนามมีการปลูกจำนวนมากคาดว่าภายใน 2-3 ปีผลผลิตจะออกมาและเกิดภาวะล้นตลาด
นายสมชาย โล่ห์วิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาโมลาส(กากน้ำตาล)ที่เป็นวัตถุดิบประเภทหนึ่งในการผลิตเอทานอลได้ขยับขึ้นสูงมาแตะที่ 160 เหรียญต่อตัน(5,000บาทต่อตัน)จากที่ผ่านมาอยู่ระดับเพียง80-90 เหรียญต่อตันดังนั้นผู้ผลิตจึงอยู่ระหว่างเจรจากับค่ายน้ำมันที่จะขอปรับราคาขายเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ที่คาดว่าราคาน่าจะเป็นระดับไม่ต่ำกว่า 25 บาทต่อลิตร
“ น่าเป็นห่วงที่หลายโรงงานอาจหาโมลาสไม่ได้เต็มที่ก็อาจจะเดินเครื่องได้ไม่มากและหากเจรจาขึ้นราคาได้ไม่สะท้อนต้นทุนก็อาจจะต้องหยุดผลิตชั่วคราวโดยคงจะต้องลุ้นให้โรงงานที่ผลิตจากมันสำปะหลังผลิตเพิ่มเข้ามาใหม่ในกลางปีนี้เป็นไปตามแผน”นายสมชายกล่าว
ทั้งนี้กรณีที่กระทรวงพลังงานใช้สูตรคำนวณโดยยึดหลักราคาโมลาสที่ 3,000 บาทต่อตันเป็นการอิงราคาประมูลขององค์การสุราที่จะประมูลในช่วงต้นปีซึ่งเป็นช่วงราคาต่ำขณะที่เอกชนนั้นจะต้องรอดูท่าทีบ.น้ำมันว่ายอมรับราคาขายที่สูงได้หรือไม่ทำให้ไม่สามารถสต็อกโมลาสไว้ได้มากเมื่อกลับมาซื้อก็จะเป็นช่วงที่แพงยกเว้นโรงงานเอทานอลที่เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลเท่านั้นที่จะบริหารได้ดีกว่า
นางวิวรรณ บุณยประทีปรัตน์ เลขาธิการสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย กล่าวยอมรับว่าขณะนี้ผู้ผลิตปาล์มบริสุทธิ์(บี 100) มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเฉพาะราคาปาล์มก็ปรับขึ้นสูงมาอยุ่ในระดับ 27-28 บาทต่อกิโลกรัมแล้วขณะที่ราคาจำหน่ายบี 100 กลับอยู่ที่เพียง 27 บาทต่อลิตรไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงแม้ว่ารัฐจะมีการปรับสูตรใหม่แล้วก็ตามซึ่งในที่สุดผู้ผลิตคงจะตัดสินใจปรับขึ้นราคาบี 100 อีก 4-5 บาทต่อลิตร
อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวทางผู้ผลิตยังเห็นว่าเป็นประเด็นรองเพราะประเด็นหลักอยู่ที่จะต้องเร่งพิจารณาข้อตกลงการเปิดตลาดสินค้าเกษตร ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ซึ่งในปี 2553 น้ำมันปาล์มของไทยจะต้องเปิดตลาดภาษี 0% ก่อนเนื่องจากหากเปิดเสรีตามข้อตกลงจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งระบบที่มีอยู่ราว 2 แสนคนพื้นที่เพาะปลูก 3.7 ล้านไร่ทันที
ทั้งนี้สัปดาห์หน้า 3 สมาคมที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม โรงงานสะกัด และชาวสวนจะหารือถึงแนวทางที่ดีที่สุดในการเสนอรัฐบาลให้มีการเปิดเสรีแบบมีเงื่อนไขแต่รายละเอียดจะต้องสรุปอีกครั้งหนึ่งโดยยอมรับว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูกของไทยเป็นรายย่อยและพื้นที่ไม่มากหากเทียบกับมาเลเซีย ซึ่งหากปาล์มมีปัญหาเศรษฐกิจภาคใต้จะลำบากเพราะยางพารา นั้นจีนและเวียดนามมีการปลูกจำนวนมากคาดว่าภายใน 2-3 ปีผลผลิตจะออกมาและเกิดภาวะล้นตลาด