อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐฯ ขี่เครื่องบินมาช่วยชีวิต 2 นักข่าวทีวีอเมริกันที่ถูกคุมขังในเกาหลีเหนือ ด้วยความชำนิชำนาญและความมั่นใจตามแบบฮีโรในภาพยนตร์ จากการมาเยือนที่ใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง เขาได้พูดคุยกับคิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ, ประสบความสำเร็จในการทำให้มีการอภัยโทษและการปล่อยตัวนักข่าวทั้งสอง, นำพวกเธอขึ้นเครื่องบินของเขา, แล้วก็บินออกมามุ่งหน้าสู่นครลอสแองเจลิส มันช่างเป็นเหตุการณ์ที่จัดเรียงลำดับได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจเหมาะสมแก่การสร้างภาพยนตร์ฮอลลีวูดโดยแท้
กระนั้นมันก็ยังคงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เขากระทำอะไรสำเร็จไปบ้าง นั่นคือ เขาได้บอกกล่าว, หรือส่งสัญญาณ, หรือแสดงท่าที อะไรต่อคิมจองอิล? สิ่งที่เขาเสนอออกมาเพื่อการยื่นหมูยื่นแมวกันคราวนี้คืออะไร? หรือถามกันให้ชัดๆ กว่านี้อีกก็คือ เกาหลีเหนือน่าจะได้รับอะไรเป็นการแลกเปลี่ยนบ้างจากการปล่อยตัว ลอรา หลิง และ ลีอึนนา
ทำเนียบขาวพูดถึงการเดินทางไปเกาหลีเหนือของคลินตันคราวนี้ว่า เป็นการดำเนินการแบบ "ส่วนตัว" เครื่องบินลำที่พาตัวเขาไปเปียงยาง ก็ไม่ได้ติดเครื่องหมายอะไร สอดคล้องกับลักษณะ "ไม่เป็นทางการ" ของการเยือนคราวนี้ อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าเรื่องราวหน้าฉากที่ประโคมกันออกมาคราวนี้ มันดูเป็นแฟนตาซีมากเกินไป
แท้ที่จริงแล้ว คลินตันคืออาคันตุกะระดับความเป็นมาโด่งดังสูงส่ง ซึ่งเกาหลีเหนือวาดหวังที่จะชักจูงโน้มน้าวให้วอชิงตันส่งบุคคลระดับนี้แหละมาติดต่อ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการส่งตัว 2 นักข่าวหญิงคืนให้
แล้วทำไมจะต้องเสแสร้างแกล้งทำอะไรกันอีก หลังจากที่ฮิลลารี ภรรยาของเขา ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ได้ช่วยปูพื้นเอาไว้ให้แล้ว ด้วยการพูดว่า บางที หลิง และ ลี อาจจะทำผิดและหลงทางข้ามแม่น้ำทูเมน จากเขตจีนเข้าไปยังเขตเกาหลีเหนือ เมื่อตอนที่ทหารโสมแดงจับตัวพวกเธอไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม การที่ฮิลลารีพูดเช่นนี้ไม่ใช่เท่ากับกล่าวแสดงการขอโทษสำหรับเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นคราวนี้ไปแล้วหรือ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นเธอยืนยันว่านักข่าวทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดอะไรทั้งสิ้น
ชัดเจนเหลือเกินว่าบิลคือทูตของฮิลลารี นอกจากนั้นเขายังได้รับการอวยชัยให้พรจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยที่เกาหลีเหนือถึงขั้นพูดว่า โอบามาได้ส่ง "ข้อความทางวาจา" ผ่านทางบิล คลินตัน โดยแสดง "ความขอบคุณอย่างจริงใจ" และ "แสดงทัศนะเกี่ยวกับหนทางต่างๆ ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ" ทำเนียบขาวอาจจะปฏิเสธว่าไม่ได้มีการการส่งข้อความดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในเกมที่เรื่องหน้าตาคือสิ่งสำคัญมากๆ เช่นนี้ ท่าทีใดๆ จากโอบามา ซึ่งอาจมีเพียงแค่ "คำขอบคุณ" ก็อาจจะถูกตีความว่าเป็น "การส่งข้อความ" แล้ว
กระนั้นก็ตาม นอกเหนือจากการแสดงท่าทีแล้ว คลินตันยังไปเสนออะไรที่จริงจังเป็นเรื่องเป็นราวอีกบ้าง คำตอบน่าจะออกมาว่าต้องมีอะไรมากมายทีเดียว แม้ข้อเสนอเหล่านี้อาจจะอยู่ในลักษณะเพียงการให้ความมั่นใจและการแสดงท่าทีเป็นนัย
นิโคลัส อีเบอร์สตัดต์ นักวิชาการอาวุโสแห่งสถาบันอเมริกันเอนเตอร์ไพรซ์อินสติติว (American Enterprise Institute) กล่าวให้ความเห็นว่า "เกาหลีเหนือไม่เคยให้อะไรฟรีๆ" แล้วพวกเขาคาดหมายว่าจะได้อะไรจากการปล่อยตัวประกันทั้งสอง? นักวิชาการผู้นี้ให้คำตอบว่า เกาหลีเหนือนั้นต้องการที่จะได้รับการยอมรับฐานะ "การเป็นชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์อย่างถาวร" ต้องการที่จะได้รับ "การยอมรับในทางพฤตินัยว่าตนเป็น 1 ใน 9 มหาอำนาจนิวเคลียร์ของโลก" ขณะเดียวกัน ก็ต้องการทำให้ "ความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ อ่อนกำลังลง"
ในฐานะที่เป็นทูตแบบไม่เป็นทางการ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคลินตันย่อมสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปยุ่งกับประเด็นปัญหาอันอ่อนไหวเหล่านี้ แต่เขาก็อาจจะถ่ายทอดความรู้สึกอันอบอุ่น, ไมตรีจิต, และความเป็นเพื่อนมิตร จากวอชิงตันไปให้แก่เปียงยาง ซึ่งสามารถที่จะแปรมาเป็นความช่วยเหลือก้อนมหึมา ถ้าหากเกาหลีเหนือยินยอมนั่งโต๊ะเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของตนอย่างจริงจัง หรือถ้าหากไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว เมื่อมองจากทัศนะของเปียงยาง การสนทนาระหว่างคลินตันกับคิม ซึ่งสำนักข่าวกลางเกาหลีบรรยายว่า เป็นการพูดจากัน "อย่างละเอียดถี่ถ้วน" ก็ยังมีแง่บวกตรงที่แป็นการเปิดทางให้แก่การสนทนา 2 ฝ่าย ซึ่งจะเข้าแทนที่การหารือ 6 ฝ่ายที่โสมแดงประกาศไว้ว่าจะไม่ยอมกลับคืนสู่การเจรจาเช่นนั้นอีกแล้ว
ในที่สุดแล้ว ภารกิจคราวนี้ของคลินตันจะให้ผลในทางบวกหรือลบ และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน อาจจะอยู่ตรงที่ว่า เกาหลีเหนือหมายความว่าอย่างไรเมื่อเผยแพร่รายงานข่าวที่กล่าวว่า คลินตันกับคิมได้มี "การหารือกันอย่างตรงไปตรงมาและเจาะลึก ในเรื่องประเด็นปัญหาต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และสหรัฐฯ ด้วยบรรยากาศที่จริงใจ และสามารถบรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกันในเรื่องเกี่ยวกับการหาทางแก้ไขประเด็นปัญหาที่ได้เจรจากันแล้วนี้"
ต้องเป็นคลินตันทั้งสอง ทั้งบิลและฮิลลารี ที่จะต้องมาอธิบายว่า สิ่ง"ที่ได้เจรจากันแล้วแล้ว" คืออะไร และ มีการ"บรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกัน" จริงหรือไม่ ถ้าเป็นเป็นจริง สิ่งที่เห็นสอดคล้องต้องกันนี้มีอะไรบ้าง
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง Dear Leader stars in Bill and Hillary show โดย Donald Kirk นักหนังสือพิมพ์ซึ่งรายงานข่าวเรื่องเกาหลี และการประจันหน้ากันระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี)
กระนั้นมันก็ยังคงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เขากระทำอะไรสำเร็จไปบ้าง นั่นคือ เขาได้บอกกล่าว, หรือส่งสัญญาณ, หรือแสดงท่าที อะไรต่อคิมจองอิล? สิ่งที่เขาเสนอออกมาเพื่อการยื่นหมูยื่นแมวกันคราวนี้คืออะไร? หรือถามกันให้ชัดๆ กว่านี้อีกก็คือ เกาหลีเหนือน่าจะได้รับอะไรเป็นการแลกเปลี่ยนบ้างจากการปล่อยตัว ลอรา หลิง และ ลีอึนนา
ทำเนียบขาวพูดถึงการเดินทางไปเกาหลีเหนือของคลินตันคราวนี้ว่า เป็นการดำเนินการแบบ "ส่วนตัว" เครื่องบินลำที่พาตัวเขาไปเปียงยาง ก็ไม่ได้ติดเครื่องหมายอะไร สอดคล้องกับลักษณะ "ไม่เป็นทางการ" ของการเยือนคราวนี้ อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าเรื่องราวหน้าฉากที่ประโคมกันออกมาคราวนี้ มันดูเป็นแฟนตาซีมากเกินไป
แท้ที่จริงแล้ว คลินตันคืออาคันตุกะระดับความเป็นมาโด่งดังสูงส่ง ซึ่งเกาหลีเหนือวาดหวังที่จะชักจูงโน้มน้าวให้วอชิงตันส่งบุคคลระดับนี้แหละมาติดต่อ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการส่งตัว 2 นักข่าวหญิงคืนให้
แล้วทำไมจะต้องเสแสร้างแกล้งทำอะไรกันอีก หลังจากที่ฮิลลารี ภรรยาของเขา ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ได้ช่วยปูพื้นเอาไว้ให้แล้ว ด้วยการพูดว่า บางที หลิง และ ลี อาจจะทำผิดและหลงทางข้ามแม่น้ำทูเมน จากเขตจีนเข้าไปยังเขตเกาหลีเหนือ เมื่อตอนที่ทหารโสมแดงจับตัวพวกเธอไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม การที่ฮิลลารีพูดเช่นนี้ไม่ใช่เท่ากับกล่าวแสดงการขอโทษสำหรับเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นคราวนี้ไปแล้วหรือ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นเธอยืนยันว่านักข่าวทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดอะไรทั้งสิ้น
ชัดเจนเหลือเกินว่าบิลคือทูตของฮิลลารี นอกจากนั้นเขายังได้รับการอวยชัยให้พรจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยที่เกาหลีเหนือถึงขั้นพูดว่า โอบามาได้ส่ง "ข้อความทางวาจา" ผ่านทางบิล คลินตัน โดยแสดง "ความขอบคุณอย่างจริงใจ" และ "แสดงทัศนะเกี่ยวกับหนทางต่างๆ ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ" ทำเนียบขาวอาจจะปฏิเสธว่าไม่ได้มีการการส่งข้อความดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในเกมที่เรื่องหน้าตาคือสิ่งสำคัญมากๆ เช่นนี้ ท่าทีใดๆ จากโอบามา ซึ่งอาจมีเพียงแค่ "คำขอบคุณ" ก็อาจจะถูกตีความว่าเป็น "การส่งข้อความ" แล้ว
กระนั้นก็ตาม นอกเหนือจากการแสดงท่าทีแล้ว คลินตันยังไปเสนออะไรที่จริงจังเป็นเรื่องเป็นราวอีกบ้าง คำตอบน่าจะออกมาว่าต้องมีอะไรมากมายทีเดียว แม้ข้อเสนอเหล่านี้อาจจะอยู่ในลักษณะเพียงการให้ความมั่นใจและการแสดงท่าทีเป็นนัย
นิโคลัส อีเบอร์สตัดต์ นักวิชาการอาวุโสแห่งสถาบันอเมริกันเอนเตอร์ไพรซ์อินสติติว (American Enterprise Institute) กล่าวให้ความเห็นว่า "เกาหลีเหนือไม่เคยให้อะไรฟรีๆ" แล้วพวกเขาคาดหมายว่าจะได้อะไรจากการปล่อยตัวประกันทั้งสอง? นักวิชาการผู้นี้ให้คำตอบว่า เกาหลีเหนือนั้นต้องการที่จะได้รับการยอมรับฐานะ "การเป็นชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์อย่างถาวร" ต้องการที่จะได้รับ "การยอมรับในทางพฤตินัยว่าตนเป็น 1 ใน 9 มหาอำนาจนิวเคลียร์ของโลก" ขณะเดียวกัน ก็ต้องการทำให้ "ความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ อ่อนกำลังลง"
ในฐานะที่เป็นทูตแบบไม่เป็นทางการ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคลินตันย่อมสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปยุ่งกับประเด็นปัญหาอันอ่อนไหวเหล่านี้ แต่เขาก็อาจจะถ่ายทอดความรู้สึกอันอบอุ่น, ไมตรีจิต, และความเป็นเพื่อนมิตร จากวอชิงตันไปให้แก่เปียงยาง ซึ่งสามารถที่จะแปรมาเป็นความช่วยเหลือก้อนมหึมา ถ้าหากเกาหลีเหนือยินยอมนั่งโต๊ะเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของตนอย่างจริงจัง หรือถ้าหากไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว เมื่อมองจากทัศนะของเปียงยาง การสนทนาระหว่างคลินตันกับคิม ซึ่งสำนักข่าวกลางเกาหลีบรรยายว่า เป็นการพูดจากัน "อย่างละเอียดถี่ถ้วน" ก็ยังมีแง่บวกตรงที่แป็นการเปิดทางให้แก่การสนทนา 2 ฝ่าย ซึ่งจะเข้าแทนที่การหารือ 6 ฝ่ายที่โสมแดงประกาศไว้ว่าจะไม่ยอมกลับคืนสู่การเจรจาเช่นนั้นอีกแล้ว
ในที่สุดแล้ว ภารกิจคราวนี้ของคลินตันจะให้ผลในทางบวกหรือลบ และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน อาจจะอยู่ตรงที่ว่า เกาหลีเหนือหมายความว่าอย่างไรเมื่อเผยแพร่รายงานข่าวที่กล่าวว่า คลินตันกับคิมได้มี "การหารือกันอย่างตรงไปตรงมาและเจาะลึก ในเรื่องประเด็นปัญหาต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และสหรัฐฯ ด้วยบรรยากาศที่จริงใจ และสามารถบรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกันในเรื่องเกี่ยวกับการหาทางแก้ไขประเด็นปัญหาที่ได้เจรจากันแล้วนี้"
ต้องเป็นคลินตันทั้งสอง ทั้งบิลและฮิลลารี ที่จะต้องมาอธิบายว่า สิ่ง"ที่ได้เจรจากันแล้วแล้ว" คืออะไร และ มีการ"บรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกัน" จริงหรือไม่ ถ้าเป็นเป็นจริง สิ่งที่เห็นสอดคล้องต้องกันนี้มีอะไรบ้าง
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง Dear Leader stars in Bill and Hillary show โดย Donald Kirk นักหนังสือพิมพ์ซึ่งรายงานข่าวเรื่องเกาหลี และการประจันหน้ากันระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี)