(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Dear Leader stars in Bill and Hillary show
By Donald Kirk
05/08/2009
อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ของสหรัฐฯ แสดงบทเล็กๆ ของตัวเองไปแล้ว ด้วยการนำ 2 นักข่าวทีวีอเมริกัน ลอรา หลิง และ ยูนา ลี กลับบ้าน หลังจากพวกเธอถูกจับกุมคุมขังมา 5 เดือน ในข้อหาข้ามพรมแดนเข้าไปในเกาหลีเหนืออย่างผิดกฎหมาย เวลานี้จึงขึ้นอยู่กับทางกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนำโดย ฮิลลารี ภรรยาของเขา ที่จะเล่นบทของตัวเองบ้าง โดยเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า คิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือต้องการรางวัลตอบแทน สำหรับการรับบทบาทเป็น “นักมนุษยธรรมและผู้รักสันติภาพ” ของเขา
วอชิงตัน – อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐฯ ขี่เครื่องบินมาช่วยชีวิต 2 นักข่าวทีวีอเมริกันที่ถูกคุมขังในเกาหลีเหนือ ด้วยความชำนิชำนาญและความมั่นใจตามแบบฮีโรในภาพยนตร์ จากการมาเยือนที่ใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง เขาได้พูดคุยกับคิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ, ประสบความสำเร็จในการทำให้มีการอภัยโทษและการปล่อยตัวนักข่าวทั้งสอง, นำพวกเธอขึ้นเครื่องบินของเขา, แล้วก็บินออกมามุ่งหน้าสู่นครลอสแองเจลิส มันช่างเป็นเหตุการณ์ที่จัดเรียงลำดับได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจเหมาะสมแก่การสร้างภาพยนตร์ฮอลลีวูดโดยแท้
คลินตันอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องถูกต้องสมเหตุสมผลมาก หากเขาจะแขวนป้ายเขียนข้อความว่า “ภารกิจสำเร็จเรียบร้อยแล้ว” (Mission Accomplished) เอาไว้ที่หน้าสำนักงานของเขา กระนั้นมันก็ยังคงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เขากระทำอะไรสำเร็จไปบ้าง นั่นคือ เขาได้บอกกล่าว, หรือส่งสัญญาณ, หรือแสดงท่าที อะไรต่อคิมจองอิล? สิ่งที่เขาเสนอออกมาเพื่อการยื่นหมูยื่นแมวกันคราวนี้คืออะไร? หรือถามกันให้ชัดๆ กว่านี้อีกก็คือ เกาหลีเหนือน่าจะได้รับอะไรเป็นการแลกเปลี่ยนบ้าง จากการปล่อยตัว ลอรา หลิง และ ยูนา ลี ซึ่งสำนักข่าวกลางเกาหลี (Korean Central News Agency หรือ KCNA) ของเปียงยาง เรียกว่าเป็นการแสดงท่าทีอย่าง “นักมนุษยธรรมและผู้รักสันติภาพ”
ทำเนียบขาวพูดถึงการเดินทางไปเกาหลีเหนือของคลินตันคราวนี้ว่า เป็นการดำเนินการแบบ “ส่วนตัว” เครื่องบินลำที่พาตัวเขา, จอห์น โพเดสตา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบขาวของเขา, ตลอดจนผู้ช่วยและที่ปรึกษาอื่นๆ อีกหลายหลาก ไปที่กรุงเปียงยาง ก็ไม่ได้ติดเครื่องหมายอะไร สอดคล้องกับลักษณะ “ไม่เป็นทางการ” ของการเยือนคราวนี้ อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าเรื่องราวหน้าฉากที่ประโคมกันออกมาคราวนี้ มันดูเป็นแฟนตาซีมากเกินไป
แท้ที่จริงแล้ว คลินตันคืออาคันตุกะระดับความเป็นมาโด่งดังสูงส่ง ซึ่งเกาหลีเหนือวาดหวังที่จะชักจูงโน้มน้าวให้วอชิงตันส่งบุคคลระดับนี้แหละมาติดต่อ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการส่งตัว 2 นักข่าวหญิงคืนให้
แล้วทำไมจะต้องเสแสร้างแกล้งทำอะไรกันอีก หลังจากที่ฮิลลารี ภรรยาของเขา ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ได้ช่วยปูพื้นเอาไว้ให้แล้ว ด้วยการพูดว่า บางที หลิง และ ลี อาจจะทำผิดและหลงทางข้ามแม่น้ำทูเมน จากเขตจีนเข้าไปยังเขตเกาหลีเหนือ เมื่อตอนที่ทหารโสมแดงจับตัวพวกเธอไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม การที่ฮิลลารีพูดเช่นนี้ไม่ใช่เท่ากับกล่าวแสดงการขอโทษสำหรับเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นนี้ไปแล้วหรือ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นเธอพูดยืนยันว่านักข่าวทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดอะไรทั้งสิ้น
ชัดเจนเหลือเกินว่าบิลคือทูตของฮิลลารี นอกจากนั้นเขายังได้รับการอวยชัยให้พรจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยที่เกาหลีเหนือถึงขั้นพูดว่า โอบามาได้ส่ง “ข้อความทางวาจา” ผ่านทางบิล คลินตัน โดยแสดง “ความขอบคุณอย่างจริงใจ” และ “แสดงทัศนะเกี่ยวกับหนทางต่างๆ ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ” ทำเนียบขาวอาจจะปฏิเสธว่าไม่ได้มีการการส่งข้อความดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในเกมที่เรื่องหน้าตาคือสิ่งสำคัญมากๆ เช่นนี้ ท่าทีใดๆ จากโอบามา ซึ่งอาจมีเพียงแค่ “คำขอบคุณ” ก็อาจจะถูกตีความว่าเป็น “การส่งข้อความ” แล้ว
กระนั้นก็ตาม นอกเหนือจากการแสดงท่าทีแล้ว คลินตันยังไปเสนออะไรที่จริงจังเป็นเรื่องเป็นราวอีกบ้าง คำตอบน่าจะออกมาว่าต้องมีอะไรมากมายทีเดียว แม้ข้อเสนอเหล่านี้อาจจะอยู่ในลักษณะเพียงการให้ความมั่นใจและการแสดงท่าทีเป็นนัย
“เกาหลีเหนือนั้นไม่ได้เชื่อเลยว่าควรทำตัวเป็นซานตาคลอส” นิโคลัส อีเบอร์สตัดต์ นักวิชาการอาวุโสแห่งสถาบันอเมริกันเอนเตอร์ไพรซ์อินสติติว (American Enterprise Institute) องค์กรของภาคเอกชนที่มุ่งศึกษาวิจัยด้านนโยบายและตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน กล่าวให้ความเห็น “แต่พวกเขาต้องกำลังคิดอยู่แน่ๆ ว่าเดือนสิงหาคมนี่แหละคือคริสต์มาสแล้ว” และ “พวกเขากำลังคาดหมายว่า เขา(คลินตัน)จะต้องแบกของขวัญต่างๆ มาแจกจ่าย”
ด้วยการใช้สมมุติฐานที่ว่า “เกาหลีเหนือไม่เคยให้อะไรใครฟรีๆ” เช่นนี้ อีเบอร์สตัดต์จึงตั้งคำถามขึ้นมาว่า “แล้วพวกเขาคาดหมายว่าจะได้อะไรจากการปล่อยตัวประกันทั้งสอง” กล่าวถึงที่สุดแล้ว ก็ดังที่เกาหลีเหนือได้ประกาศออกมาอย่างชัดเจนด้วยการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในเดือนตุลาคม 2006 และอีกครั้งในวันที่ 25 พฤษภาคมปีนี้ นั่นคือเกาหลีเหนือต้องการที่จะได้รับการยอมรับฐานะ “การเป็นชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์อย่างถาวร” ต้องการที่จะได้รับ “การยอมรับในทางพฤตินัยว่าตนเป็น 1 ใน 9 มหาอำนาจนิวเคลียร์ของโลก” อีเบอร์สตัดต์บอก ขณะเดียวกัน ก็ต้องการทำให้ “ความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ อ่อนกำลังลง”
ในฐานะที่เป็นทูตแบบไม่เป็นทางการ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคลินตันย่อมสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปยุ่งกับประเด็นปัญหาอันอ่อนไหวเหล่านี้ แต่เขาก็อาจจะถ่ายทอดความรู้สึกอันอบอุ่น, ไมตรีจิต, และความเป็นเพื่อนมิตร จากวอชิงตันไปให้แก่เปียงยาง ซึ่งสามารถที่จะแปรมาเป็นความช่วยเหลือก้อนมหึมา ถ้าหากเกาหลีเหนือยินยอมนั่งโต๊ะเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของตนอย่างจริงจัง หรือถ้าหากไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว เมื่อมองจากทัศนะของเปียงยาง การสนทนาระหว่างคลินตันกับคิม ซึ่งสำนักข่าวกลางเกาหลีบรรยายว่า เป็นการพูดจากัน “อย่างละเอียดถี่ถ้วน” ก็ยังมีแง่บวกตรงที่เป็นการเปิดทางให้แก่การสนทนา 2 ฝ่าย ซึ่งจะเข้าแทนที่การหารือ 6 ฝ่ายที่โสมแดงประกาศไว้ว่าจะไม่ยอมกลับคืนสู่การเจรจาเช่นนั้นอีกแล้ว
ต้องไม่ลืมว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากตัวเขาในเดือนมกราคม 2001 หรือกระทั่งว่าเมื่อเทียบกับโอบามาด้วย คลินตันคือผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจให้แก่คิม อันเป็นสิ่งที่ผู้นำโสมแดงต้องการมากในขณะที่พะวักพะวนเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง ตลอดจนต้องวุ่นวายอยู่กับความพยายามในการปูพื้นฐานเพื่อแต่งตั้งให้บุตรชายคนเล็กสุดของเขาขึ้นเป็นทายาทคนต่อไป
ในสายตาของคิมแล้ว ภารกิจของคลินตันในคราวนี้ เปรียบได้กับเป็นการเดินหน้าต่อเนื่องจากการเจรจาที่คิมทำไว้กับ แมเดลีน อัลไบรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศของคลินตันเมื่อเดือนตุลาคม 2000 อัลไบรต์ซึ่งเป็นที่ประทับใจของคิมเอามากๆ มองการเยือนในคราวนั้นของเธอ ว่าเป็นการเกริ่นนำให้แก่คลินตัน ซึ่งกำหนดจะไปเยือนเกาหลีเหนือในสัปดาห์ท้ายๆ แห่งวาระการดำรงตำแหน่งของเขา
อย่างไรก็ตาม เวลากลับหมดสิ้นลงเสียก่อนแบบพลิกความคาดหมาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉาวโฉ่เรื่องการนับคะแนนเลือกตั้งกันใหม่ที่มลรัฐฟลอริดา ซึ่งส่งผลให้บุชได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ขณะที่ อัล กอร์ รองประธานาธิบดีของคลินตันต้องตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ข้อเท็จจริงที่ว่านักข่าวที่ถูกจับกุมทั้งสอง กำลังปฏิบัติงานให้แก่ “เคอร์เรนต์ทีวี” (Current TV) เครือข่ายทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ซานฟรานซิสโก และกอร์เป็นผู้ถือหุ้นบางส่วน ก็ยิ่งทำให้คลินตันกลายเป็นตัวบุคคลที่ใครๆ ก็ปรารถนาให้เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจนี้ ในฐานะเป็นอาคันตุกะระดับความเป็นมาโด่งดังสูงส่ง ที่คิมจองอิลต้องการให้มาพบปะ
ภารกิจเดินทางไปเปียงยางเมื่อวันอังคาร(4) ของคลินตัน ช่างมีความละม้ายคล้ายคลึงอย่างน่าตกใจกับการเยี่ยมเยียนโสมแดงของอดีตประธานาธิบดีอีกคนหนึ่ง นั่นคือ จิมมี่ คาร์เตอร์ เมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปเมืองหลวงของเกาหลีเหนือในเดือนมิถุนายน 1994 โดยที่ตอนนั้นสถานการณ์การประจันหน้ากันเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดง ก็ตึงเครียดพอๆ กันกับเวลานี้
บุคคลซึ่งไปต้อนรับคลินตันที่สนามบินซูนัน ของกรุงเปียงยาง คือ คิม-คเย-กวาน(Kim Kye-gwan) รองรัฐมนตรีต่างประเทศ และเป็นหัวหน้าผู้เจรจาของเกาหลีเหนือในการประชุม 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดง การปรากฏตัวของคิมผู้นี้ตอกย้ำถึงความปรารถนาของเกาหลีเหนือที่จะเปิดการสนทนาแบบสองฝ่ายกับสหรัฐฯ เริ่มต้นด้วยการพูดจากับชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงความเป็นอันมาอันสูงส่งสักคนหนึ่ง ทั้งนี้คาร์เตอร์ก็เคยแสดงบทบาทของชาวอเมริกันผู้โด่งดังเช่นนี้แหละ ตอนที่เขาบินไปเปียงยางเพื่อพบหารือกับ คิมอิงซุง ผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปในอีก 1 เดือนถัดมา และส่งมอบอำนาจเต็มๆ ให้แก่คิมจองอิล ผู้เป็นบุตรชายของเขา
อย่างไรก็ดี ความสำเร็จอย่างแท้จริงจากการเดินทางของคลินตันคราวนี้ น่าจะอยู่ที่ว่ามันทำให้การตั้งประจันหน้ากันระหว่างสองฝ่ายในปัจจุบันที่นับวันตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดการทะลุทะลวงผ่าทางตันได้หรือไม่
ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศในยุคของฮิลลารี คลินตัน กำลังกดดันชาติต่างๆ ทั้งใหญ่น้อยให้เคร่งครัดกระทำตามมาตรการลงโทษเกาหลีเหนือ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นผ่านออกมาภายหลังการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง มาตรการเหล่านี้ระบุห้ามทำการค้าขายผลิตภัณฑ์มากมายหลายหลากกับเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือวัสดุทางนิวเคลียร์ ตลอดจนเทคโนโลยีด้านขีปนาวุธที่สามารถบรรทุกอาวุธทำลายร้ายแรงไปสู่เป้าหมายไกลๆ
ขณะที่ ชอยจินวูค นักวิจัยอาวุธแห่งสถาบันเพื่อการรวมชาติเกาหลี (Korea Institute of National Unification)ในกรุงโซล ให้ความเห็นว่า การที่เกาหลีเหนือพูดว่าพวกเขาพร้อมที่จะเจรจาแบบทวิภาคกับสหรัฐฯนั้น เรื่องนี้อาจจะนำไปสู่การผ่าทางตันก็ได้ อย่างน้อยก็ควรถือเป็นสัญญาณที่ดี
แต่ชอยก็ไม่ได้มองแง่บวกมากมายนัก ในเรื่องผลเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นจากการเยือนเปียงยางของคลินตัน หรือในเรื่องความเป็นไปได้ที่การเยือนคราวนี้จะเป็นการฟื้นชีพการเจรจา 6 ฝ่าย “สหรัฐฯประกาศเรื่อยมาว่าไม่ได้กำลังจะเปิดเจรจาทวิภาคี” เขาชี้ “จึงยังเร็วเกินไปที่จะมองโลกในแง่ดี สหรัฐฯนั้นมีท่าทีที่ชัดเจนมากๆ ว่าควรต้องลงโทษเกาหลีเหนือที่ประพฤติปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องเสียก่อน”
กระนั้นก็ตาม ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเปรียบเทียบการเยือนของคลินตันกับของคาร์เตอร์ในปี 1994 ภายหลังคาร์เตอร์กลับออกมาแล้ว ประโยชน์ต่างๆจากการไปเปียงยาง ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้สนทนาอย่างยาวเหยียดกับคิมอิลซอง บนเรือที่ล่องไปในแม่น้ำแดดอง ในกรุงเปียงยางด้วยนั้น ก็ดูจะสูญสิ้นไปสืบเนื่องจากการสิ้นชีวิตของคิม
อย่างไรก็ดี หลังจากประสบภาวะชะงักงันอย่างยาวนานในช่วงฤดูร้อนปี 1994 คณะผู้เจรจาของฝ่ายต่างๆ ในเรื่องโครงการนิวเคลียร์โสมแดง ก็ได้กลับเข้าสู่โต๊ะหารืออีกครั้ง และในที่สุดก็เห็นชอบกันเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ของข้อตกลงแม่บทเจนีวา (Geneva framework agreement) ซึ่งลงนามกันในเดือนตุลาคม สาระสำคัญของการตกลงกันคราวนี้ก็คือ เกาหลีเหนือยินยอมปิดโครงการนิวเคลียร์ของตน แลกเปลี่ยนกับการได้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบเทคโนโลยีน้ำมวลเบา 2 ชุด เพื่อช่วยผลิตไฟฟ้าสนองความต้องการพลังงานของโสมแดง
เกาหลีเหนือแสดงท่าทีขึงขังว่ากระทำตามข้อตกลงเป็นอันดี ด้วยการคล้องกุญแจปิดเตาปฏิกรณ์ที่ศูนย์นิวเคลียร์ยง-บยอน (Yongbyon) และยุติการผลิตพลูโตเนียม ทั้งหมดเหล่านี้มีคณะผู้ตรวจสอบจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คอยตรวจตราติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้ก็ล้มครืนไปอย่างไม่เป็นท่า ภายหลังเกาหลีเหนือออกมาเปิดเผยในอีก 8 ปีต่อมา นั่นคือในเดือนตุลาคม 2002 ว่าได้เริ่มโครงการต่างหากอีกโครงการหนึ่งเพื่อพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ที่หันไปใช้ยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นสูง หลังจากนั้นมาเหล่านักการทูตก็ยังคงต้องพยายามซ่อมแซมแก้ไขความเสียหายร้ายแรงที่บังเกิดขึ้น
สำหรับการเยือนครั้งนี้ของคลินตัน ภารกิจคราวนี้ของคลินตันจะให้ผลในทางบวกหรือลบ และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน อาจจะอยู่ตรงที่ว่าเกาหลีเหนือหมายความว่าอย่างไรเมื่อเผยแพร่รายงานข่าวที่กล่าวว่า คลินตันกับคิมได้มี “การหารือกันอย่างตรงไปตรงมาและเจาะลึก ในเรื่องประเด็นปัญหาต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และสหรัฐฯ ด้วยบรรยากาศที่จริงใจ และสามารถบรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกันในเรื่องเกี่ยวกับการหาทางแก้ไขประเด็นปัญหาที่ได้เจรจากันแล้วนี้”
ต้องเป็นคลินตันทั้งสอง ทั้งบิลและฮิลลารี ที่จะต้องมาอธิบายว่า สิ่ง“ที่ได้เจรจากันแล้ว” คืออะไร และ มีการ“บรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกัน” จริงหรือไม่ ถ้าเป็นเป็นจริง สิ่งที่เห็นสอดคล้องต้องกันนี้มีอะไรบ้าง
โดนัลด์ เคิร์ก เป็นนักหนังสือพิมพ์ซึ่งรายงานข่าวเรื่องเกาหลี และการประจันหน้ากันระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี
Dear Leader stars in Bill and Hillary show
By Donald Kirk
05/08/2009
อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ของสหรัฐฯ แสดงบทเล็กๆ ของตัวเองไปแล้ว ด้วยการนำ 2 นักข่าวทีวีอเมริกัน ลอรา หลิง และ ยูนา ลี กลับบ้าน หลังจากพวกเธอถูกจับกุมคุมขังมา 5 เดือน ในข้อหาข้ามพรมแดนเข้าไปในเกาหลีเหนืออย่างผิดกฎหมาย เวลานี้จึงขึ้นอยู่กับทางกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนำโดย ฮิลลารี ภรรยาของเขา ที่จะเล่นบทของตัวเองบ้าง โดยเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า คิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือต้องการรางวัลตอบแทน สำหรับการรับบทบาทเป็น “นักมนุษยธรรมและผู้รักสันติภาพ” ของเขา
วอชิงตัน – อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐฯ ขี่เครื่องบินมาช่วยชีวิต 2 นักข่าวทีวีอเมริกันที่ถูกคุมขังในเกาหลีเหนือ ด้วยความชำนิชำนาญและความมั่นใจตามแบบฮีโรในภาพยนตร์ จากการมาเยือนที่ใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง เขาได้พูดคุยกับคิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ, ประสบความสำเร็จในการทำให้มีการอภัยโทษและการปล่อยตัวนักข่าวทั้งสอง, นำพวกเธอขึ้นเครื่องบินของเขา, แล้วก็บินออกมามุ่งหน้าสู่นครลอสแองเจลิส มันช่างเป็นเหตุการณ์ที่จัดเรียงลำดับได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจเหมาะสมแก่การสร้างภาพยนตร์ฮอลลีวูดโดยแท้
คลินตันอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องถูกต้องสมเหตุสมผลมาก หากเขาจะแขวนป้ายเขียนข้อความว่า “ภารกิจสำเร็จเรียบร้อยแล้ว” (Mission Accomplished) เอาไว้ที่หน้าสำนักงานของเขา กระนั้นมันก็ยังคงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เขากระทำอะไรสำเร็จไปบ้าง นั่นคือ เขาได้บอกกล่าว, หรือส่งสัญญาณ, หรือแสดงท่าที อะไรต่อคิมจองอิล? สิ่งที่เขาเสนอออกมาเพื่อการยื่นหมูยื่นแมวกันคราวนี้คืออะไร? หรือถามกันให้ชัดๆ กว่านี้อีกก็คือ เกาหลีเหนือน่าจะได้รับอะไรเป็นการแลกเปลี่ยนบ้าง จากการปล่อยตัว ลอรา หลิง และ ยูนา ลี ซึ่งสำนักข่าวกลางเกาหลี (Korean Central News Agency หรือ KCNA) ของเปียงยาง เรียกว่าเป็นการแสดงท่าทีอย่าง “นักมนุษยธรรมและผู้รักสันติภาพ”
ทำเนียบขาวพูดถึงการเดินทางไปเกาหลีเหนือของคลินตันคราวนี้ว่า เป็นการดำเนินการแบบ “ส่วนตัว” เครื่องบินลำที่พาตัวเขา, จอห์น โพเดสตา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบขาวของเขา, ตลอดจนผู้ช่วยและที่ปรึกษาอื่นๆ อีกหลายหลาก ไปที่กรุงเปียงยาง ก็ไม่ได้ติดเครื่องหมายอะไร สอดคล้องกับลักษณะ “ไม่เป็นทางการ” ของการเยือนคราวนี้ อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าเรื่องราวหน้าฉากที่ประโคมกันออกมาคราวนี้ มันดูเป็นแฟนตาซีมากเกินไป
แท้ที่จริงแล้ว คลินตันคืออาคันตุกะระดับความเป็นมาโด่งดังสูงส่ง ซึ่งเกาหลีเหนือวาดหวังที่จะชักจูงโน้มน้าวให้วอชิงตันส่งบุคคลระดับนี้แหละมาติดต่อ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการส่งตัว 2 นักข่าวหญิงคืนให้
แล้วทำไมจะต้องเสแสร้างแกล้งทำอะไรกันอีก หลังจากที่ฮิลลารี ภรรยาของเขา ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ได้ช่วยปูพื้นเอาไว้ให้แล้ว ด้วยการพูดว่า บางที หลิง และ ลี อาจจะทำผิดและหลงทางข้ามแม่น้ำทูเมน จากเขตจีนเข้าไปยังเขตเกาหลีเหนือ เมื่อตอนที่ทหารโสมแดงจับตัวพวกเธอไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม การที่ฮิลลารีพูดเช่นนี้ไม่ใช่เท่ากับกล่าวแสดงการขอโทษสำหรับเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นนี้ไปแล้วหรือ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นเธอพูดยืนยันว่านักข่าวทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดอะไรทั้งสิ้น
ชัดเจนเหลือเกินว่าบิลคือทูตของฮิลลารี นอกจากนั้นเขายังได้รับการอวยชัยให้พรจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยที่เกาหลีเหนือถึงขั้นพูดว่า โอบามาได้ส่ง “ข้อความทางวาจา” ผ่านทางบิล คลินตัน โดยแสดง “ความขอบคุณอย่างจริงใจ” และ “แสดงทัศนะเกี่ยวกับหนทางต่างๆ ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ” ทำเนียบขาวอาจจะปฏิเสธว่าไม่ได้มีการการส่งข้อความดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในเกมที่เรื่องหน้าตาคือสิ่งสำคัญมากๆ เช่นนี้ ท่าทีใดๆ จากโอบามา ซึ่งอาจมีเพียงแค่ “คำขอบคุณ” ก็อาจจะถูกตีความว่าเป็น “การส่งข้อความ” แล้ว
กระนั้นก็ตาม นอกเหนือจากการแสดงท่าทีแล้ว คลินตันยังไปเสนออะไรที่จริงจังเป็นเรื่องเป็นราวอีกบ้าง คำตอบน่าจะออกมาว่าต้องมีอะไรมากมายทีเดียว แม้ข้อเสนอเหล่านี้อาจจะอยู่ในลักษณะเพียงการให้ความมั่นใจและการแสดงท่าทีเป็นนัย
“เกาหลีเหนือนั้นไม่ได้เชื่อเลยว่าควรทำตัวเป็นซานตาคลอส” นิโคลัส อีเบอร์สตัดต์ นักวิชาการอาวุโสแห่งสถาบันอเมริกันเอนเตอร์ไพรซ์อินสติติว (American Enterprise Institute) องค์กรของภาคเอกชนที่มุ่งศึกษาวิจัยด้านนโยบายและตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน กล่าวให้ความเห็น “แต่พวกเขาต้องกำลังคิดอยู่แน่ๆ ว่าเดือนสิงหาคมนี่แหละคือคริสต์มาสแล้ว” และ “พวกเขากำลังคาดหมายว่า เขา(คลินตัน)จะต้องแบกของขวัญต่างๆ มาแจกจ่าย”
ด้วยการใช้สมมุติฐานที่ว่า “เกาหลีเหนือไม่เคยให้อะไรใครฟรีๆ” เช่นนี้ อีเบอร์สตัดต์จึงตั้งคำถามขึ้นมาว่า “แล้วพวกเขาคาดหมายว่าจะได้อะไรจากการปล่อยตัวประกันทั้งสอง” กล่าวถึงที่สุดแล้ว ก็ดังที่เกาหลีเหนือได้ประกาศออกมาอย่างชัดเจนด้วยการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในเดือนตุลาคม 2006 และอีกครั้งในวันที่ 25 พฤษภาคมปีนี้ นั่นคือเกาหลีเหนือต้องการที่จะได้รับการยอมรับฐานะ “การเป็นชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์อย่างถาวร” ต้องการที่จะได้รับ “การยอมรับในทางพฤตินัยว่าตนเป็น 1 ใน 9 มหาอำนาจนิวเคลียร์ของโลก” อีเบอร์สตัดต์บอก ขณะเดียวกัน ก็ต้องการทำให้ “ความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ อ่อนกำลังลง”
ในฐานะที่เป็นทูตแบบไม่เป็นทางการ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคลินตันย่อมสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปยุ่งกับประเด็นปัญหาอันอ่อนไหวเหล่านี้ แต่เขาก็อาจจะถ่ายทอดความรู้สึกอันอบอุ่น, ไมตรีจิต, และความเป็นเพื่อนมิตร จากวอชิงตันไปให้แก่เปียงยาง ซึ่งสามารถที่จะแปรมาเป็นความช่วยเหลือก้อนมหึมา ถ้าหากเกาหลีเหนือยินยอมนั่งโต๊ะเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของตนอย่างจริงจัง หรือถ้าหากไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว เมื่อมองจากทัศนะของเปียงยาง การสนทนาระหว่างคลินตันกับคิม ซึ่งสำนักข่าวกลางเกาหลีบรรยายว่า เป็นการพูดจากัน “อย่างละเอียดถี่ถ้วน” ก็ยังมีแง่บวกตรงที่เป็นการเปิดทางให้แก่การสนทนา 2 ฝ่าย ซึ่งจะเข้าแทนที่การหารือ 6 ฝ่ายที่โสมแดงประกาศไว้ว่าจะไม่ยอมกลับคืนสู่การเจรจาเช่นนั้นอีกแล้ว
ต้องไม่ลืมว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากตัวเขาในเดือนมกราคม 2001 หรือกระทั่งว่าเมื่อเทียบกับโอบามาด้วย คลินตันคือผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจให้แก่คิม อันเป็นสิ่งที่ผู้นำโสมแดงต้องการมากในขณะที่พะวักพะวนเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง ตลอดจนต้องวุ่นวายอยู่กับความพยายามในการปูพื้นฐานเพื่อแต่งตั้งให้บุตรชายคนเล็กสุดของเขาขึ้นเป็นทายาทคนต่อไป
ในสายตาของคิมแล้ว ภารกิจของคลินตันในคราวนี้ เปรียบได้กับเป็นการเดินหน้าต่อเนื่องจากการเจรจาที่คิมทำไว้กับ แมเดลีน อัลไบรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศของคลินตันเมื่อเดือนตุลาคม 2000 อัลไบรต์ซึ่งเป็นที่ประทับใจของคิมเอามากๆ มองการเยือนในคราวนั้นของเธอ ว่าเป็นการเกริ่นนำให้แก่คลินตัน ซึ่งกำหนดจะไปเยือนเกาหลีเหนือในสัปดาห์ท้ายๆ แห่งวาระการดำรงตำแหน่งของเขา
อย่างไรก็ตาม เวลากลับหมดสิ้นลงเสียก่อนแบบพลิกความคาดหมาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉาวโฉ่เรื่องการนับคะแนนเลือกตั้งกันใหม่ที่มลรัฐฟลอริดา ซึ่งส่งผลให้บุชได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ขณะที่ อัล กอร์ รองประธานาธิบดีของคลินตันต้องตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ข้อเท็จจริงที่ว่านักข่าวที่ถูกจับกุมทั้งสอง กำลังปฏิบัติงานให้แก่ “เคอร์เรนต์ทีวี” (Current TV) เครือข่ายทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ซานฟรานซิสโก และกอร์เป็นผู้ถือหุ้นบางส่วน ก็ยิ่งทำให้คลินตันกลายเป็นตัวบุคคลที่ใครๆ ก็ปรารถนาให้เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจนี้ ในฐานะเป็นอาคันตุกะระดับความเป็นมาโด่งดังสูงส่ง ที่คิมจองอิลต้องการให้มาพบปะ
ภารกิจเดินทางไปเปียงยางเมื่อวันอังคาร(4) ของคลินตัน ช่างมีความละม้ายคล้ายคลึงอย่างน่าตกใจกับการเยี่ยมเยียนโสมแดงของอดีตประธานาธิบดีอีกคนหนึ่ง นั่นคือ จิมมี่ คาร์เตอร์ เมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปเมืองหลวงของเกาหลีเหนือในเดือนมิถุนายน 1994 โดยที่ตอนนั้นสถานการณ์การประจันหน้ากันเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดง ก็ตึงเครียดพอๆ กันกับเวลานี้
บุคคลซึ่งไปต้อนรับคลินตันที่สนามบินซูนัน ของกรุงเปียงยาง คือ คิม-คเย-กวาน(Kim Kye-gwan) รองรัฐมนตรีต่างประเทศ และเป็นหัวหน้าผู้เจรจาของเกาหลีเหนือในการประชุม 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดง การปรากฏตัวของคิมผู้นี้ตอกย้ำถึงความปรารถนาของเกาหลีเหนือที่จะเปิดการสนทนาแบบสองฝ่ายกับสหรัฐฯ เริ่มต้นด้วยการพูดจากับชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงความเป็นอันมาอันสูงส่งสักคนหนึ่ง ทั้งนี้คาร์เตอร์ก็เคยแสดงบทบาทของชาวอเมริกันผู้โด่งดังเช่นนี้แหละ ตอนที่เขาบินไปเปียงยางเพื่อพบหารือกับ คิมอิงซุง ผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปในอีก 1 เดือนถัดมา และส่งมอบอำนาจเต็มๆ ให้แก่คิมจองอิล ผู้เป็นบุตรชายของเขา
อย่างไรก็ดี ความสำเร็จอย่างแท้จริงจากการเดินทางของคลินตันคราวนี้ น่าจะอยู่ที่ว่ามันทำให้การตั้งประจันหน้ากันระหว่างสองฝ่ายในปัจจุบันที่นับวันตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดการทะลุทะลวงผ่าทางตันได้หรือไม่
ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศในยุคของฮิลลารี คลินตัน กำลังกดดันชาติต่างๆ ทั้งใหญ่น้อยให้เคร่งครัดกระทำตามมาตรการลงโทษเกาหลีเหนือ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นผ่านออกมาภายหลังการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง มาตรการเหล่านี้ระบุห้ามทำการค้าขายผลิตภัณฑ์มากมายหลายหลากกับเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือวัสดุทางนิวเคลียร์ ตลอดจนเทคโนโลยีด้านขีปนาวุธที่สามารถบรรทุกอาวุธทำลายร้ายแรงไปสู่เป้าหมายไกลๆ
ขณะที่ ชอยจินวูค นักวิจัยอาวุธแห่งสถาบันเพื่อการรวมชาติเกาหลี (Korea Institute of National Unification)ในกรุงโซล ให้ความเห็นว่า การที่เกาหลีเหนือพูดว่าพวกเขาพร้อมที่จะเจรจาแบบทวิภาคกับสหรัฐฯนั้น เรื่องนี้อาจจะนำไปสู่การผ่าทางตันก็ได้ อย่างน้อยก็ควรถือเป็นสัญญาณที่ดี
แต่ชอยก็ไม่ได้มองแง่บวกมากมายนัก ในเรื่องผลเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นจากการเยือนเปียงยางของคลินตัน หรือในเรื่องความเป็นไปได้ที่การเยือนคราวนี้จะเป็นการฟื้นชีพการเจรจา 6 ฝ่าย “สหรัฐฯประกาศเรื่อยมาว่าไม่ได้กำลังจะเปิดเจรจาทวิภาคี” เขาชี้ “จึงยังเร็วเกินไปที่จะมองโลกในแง่ดี สหรัฐฯนั้นมีท่าทีที่ชัดเจนมากๆ ว่าควรต้องลงโทษเกาหลีเหนือที่ประพฤติปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องเสียก่อน”
กระนั้นก็ตาม ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเปรียบเทียบการเยือนของคลินตันกับของคาร์เตอร์ในปี 1994 ภายหลังคาร์เตอร์กลับออกมาแล้ว ประโยชน์ต่างๆจากการไปเปียงยาง ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้สนทนาอย่างยาวเหยียดกับคิมอิลซอง บนเรือที่ล่องไปในแม่น้ำแดดอง ในกรุงเปียงยางด้วยนั้น ก็ดูจะสูญสิ้นไปสืบเนื่องจากการสิ้นชีวิตของคิม
อย่างไรก็ดี หลังจากประสบภาวะชะงักงันอย่างยาวนานในช่วงฤดูร้อนปี 1994 คณะผู้เจรจาของฝ่ายต่างๆ ในเรื่องโครงการนิวเคลียร์โสมแดง ก็ได้กลับเข้าสู่โต๊ะหารืออีกครั้ง และในที่สุดก็เห็นชอบกันเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ของข้อตกลงแม่บทเจนีวา (Geneva framework agreement) ซึ่งลงนามกันในเดือนตุลาคม สาระสำคัญของการตกลงกันคราวนี้ก็คือ เกาหลีเหนือยินยอมปิดโครงการนิวเคลียร์ของตน แลกเปลี่ยนกับการได้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบเทคโนโลยีน้ำมวลเบา 2 ชุด เพื่อช่วยผลิตไฟฟ้าสนองความต้องการพลังงานของโสมแดง
เกาหลีเหนือแสดงท่าทีขึงขังว่ากระทำตามข้อตกลงเป็นอันดี ด้วยการคล้องกุญแจปิดเตาปฏิกรณ์ที่ศูนย์นิวเคลียร์ยง-บยอน (Yongbyon) และยุติการผลิตพลูโตเนียม ทั้งหมดเหล่านี้มีคณะผู้ตรวจสอบจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คอยตรวจตราติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้ก็ล้มครืนไปอย่างไม่เป็นท่า ภายหลังเกาหลีเหนือออกมาเปิดเผยในอีก 8 ปีต่อมา นั่นคือในเดือนตุลาคม 2002 ว่าได้เริ่มโครงการต่างหากอีกโครงการหนึ่งเพื่อพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ที่หันไปใช้ยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นสูง หลังจากนั้นมาเหล่านักการทูตก็ยังคงต้องพยายามซ่อมแซมแก้ไขความเสียหายร้ายแรงที่บังเกิดขึ้น
สำหรับการเยือนครั้งนี้ของคลินตัน ภารกิจคราวนี้ของคลินตันจะให้ผลในทางบวกหรือลบ และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน อาจจะอยู่ตรงที่ว่าเกาหลีเหนือหมายความว่าอย่างไรเมื่อเผยแพร่รายงานข่าวที่กล่าวว่า คลินตันกับคิมได้มี “การหารือกันอย่างตรงไปตรงมาและเจาะลึก ในเรื่องประเด็นปัญหาต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และสหรัฐฯ ด้วยบรรยากาศที่จริงใจ และสามารถบรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกันในเรื่องเกี่ยวกับการหาทางแก้ไขประเด็นปัญหาที่ได้เจรจากันแล้วนี้”
ต้องเป็นคลินตันทั้งสอง ทั้งบิลและฮิลลารี ที่จะต้องมาอธิบายว่า สิ่ง“ที่ได้เจรจากันแล้ว” คืออะไร และ มีการ“บรรลุความคิดเห็นอันสอดคล้องต้องกัน” จริงหรือไม่ ถ้าเป็นเป็นจริง สิ่งที่เห็นสอดคล้องต้องกันนี้มีอะไรบ้าง
โดนัลด์ เคิร์ก เป็นนักหนังสือพิมพ์ซึ่งรายงานข่าวเรื่องเกาหลี และการประจันหน้ากันระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี