จำเป็นที่จะต้องเขียนเกี่ยวกับการถวายฎีกาเถื่อนอีกครั้ง เพราะการดื้อดึงและการท้าทายอำนาจความถูกต้องของสาวกทักษิณ และเพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของชาติบ้านเมือง ของคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีจำนวนนับล้านๆ ทั้งประเทศ เพียงแต่ว่าเขาเหล่านั้นไม่ต้องการเห็นความแตกแยกอย่างชัดเจน แต่ที่ชัดเจนคือประชาชนทั้งประเทศต่อต้านคนเพียงหยิบมือเดียวซึ่งส่วนใหญ่ถูกจัดตั้งหรือถูกจ้างวานหรือเป็นคะแนนเสียงปลอม
ทั้งนี้ต้องการบอกว่าไม่ใช่ไม่เคารพเสียงข้างน้อย แต่ต้องถามว่าเสียงข้างน้อยที่บริสุทธิ์ใจนั้นได้รับข้อมูลอย่างถ่องแท้และเพียงพอหรือเปล่า หรือเพียงว่าแห่ตามกันไป หรือเป็นเพราะว่าหลงใหลทักษิณที่ประพฤติชั่วโกงบ้านเมืองด้วยอำนาจรัฐ จนไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งประเด็นเหล่านี้ให้อภัยกันได้เพราะในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมีเรื่องราวเหล่านี้มากมายอยู่แล้ว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องระดับชาติหลายเรื่อง แต่เรื่องการถวายฎีกานั้นเป็นประเด็นสำคัญที่สุด ซึ่งปัญญาชนและนักวิชาการต่างออกมาต่อต้าน ทั้งการให้สัมภาษณ์ และการแสดงความคิดเห็นเชิงอภิปราย เช่น การเสวนาเรื่อง “เมื่อราษฎรถวายฎีกา กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ” ที่จัดโดยกลุ่มนักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีนักวิชาการทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เช่น ดร.วิษณุ เครืองาม อาจารย์และอดีตรองนายกรัฐมนตรีที่เคยทำหน้าที่เป็นนิติกรให้ทักษิณ ดร.ปิยะนาถ บุนนาค อาจารย์สุวิชัย หวันแก้ว ดร.วีระ สมบูรณ์ ดร.ธงทอง จันทรางศุ และคุณเพ็ญจันทร์ โชติบาล มหาบัณฑิตจุฬาฯ เจ้าของวิทยานิพนธ์เรื่องพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งปัจจุบันน่าจะเป็นหนังสือขายดีเล่มหนึ่ง
ดร.ธงทอง จันทรางศุ อภิปรายว่า คำว่า ฎีกานั้นเป็นคำมหัศจรรย์คำหนึ่งในภาษาไทย และเป็นคำที่มีความหมายมากหลากหลาย และตามพจนานุกรมมีประมาณ 10 ความหมาย เช่น หนังสือเขียนนิมนต์พระสงฆ์ ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง ใบบอกบุญเรี่ยไร แต่ที่สำคัญคือคำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ และชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของไทยซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา หรือวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นฎีกาเรียกว่า ศาลฎีกา
ดร.ธงทอง ให้ความหมายหนึ่งว่า เป็นหนังสือยื่นเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และฎีการ้องทุกข์ การถวายฎีกาจึงเป็นสายสัมพันธ์ที่ยึดโยงพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่คงอยู่กับสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เป็นช่องทางให้ผู้ต้องโทษอาญาได้ขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ช่องทางการถวายฎีกานี้ต้องไม่ใช่ศาลชั้นที่ 4 และการพระราชทานอภัยโทษจึงไม่ใช่การกลับคำพิพากษาของศาล
ผู้ที่ถวายฎีกาจะอ้างถึงคุณงามความดีในอดีตหรือการเจ็บป่วยทุกข์ยากต่างๆ กรมราชทัณฑ์จะทำหน้าที่รวบรวม และนำเสนอฎีกาของผู้ต้องขังให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประมวลเรื่อง และนำความเห็นประกอบฎีกาต่างๆ ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ และทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สำนักพระราชวังจะส่งเรื่องการถวายฎีกากลับมาให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาความเห็นประกอบเกี่ยวกับการถวายฎีกาอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการหมกเม็ดและการไม่รับผิดชอบของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดร.ธงทองสรุปว่า เรื่องการเมืองควรยุติหรือแก้ปัญหาด้วยการเมือง ไม่ควรให้การเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นประเด็นที่อยู่ในจิตใจและวิจารณญาณที่ทุกคนต้องตรึกตรองให้รอบคอบ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ในหลายเรื่อง ซึ่งเรื่องในทางการเมืองทั้งหลายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
นอกจากประเด็นที่ดร.ธงทองเน้นถึงว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ในหลายเรื่อง และเรื่องการอ้างเสียงประชาชน 5 ล้านกว่าเสียงมาบีบคั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจารย์วีระ สมบูรณ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สรุปว่า “เมื่อฎีกาที่ยื่น เอาการร้องทุกข์และการอภัยโทษเข้ามาเกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกตัดสินแล้ว ไม่ว่าจะพิจารณาอย่างไรก็ไม่สมควรกระทำ และในทางปฏิบัติควรยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความหมายตามมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญ การยื่นดังกล่าวคือการตีความสิทธิเสรีภาพของผู้ยื่นว่าทำได้หรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการอภัยโทษ”
ส่วนอาจารย์สุวิชัย หวันแก้ว สรุปว่า “เรื่องการถวายฎีกาจริงๆ แล้วใครๆ ก็มีสิทธิ แต่ก็มีหลักการไม่ใช่ใครทำตามอำเภอใจ ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องพวกมากลากไป หรือนับจำนวนว่า ฝ่ายไหนมากกว่า ถ้าตั้งโจทย์แบบนี้สังคมป่นปี้จริงๆ เรื่องถวายฎีกาขณะนี้ (ที่สาวกทักษิณกำลังทำอยู่) ไม่ใช่เรื่องสิทธิ แต่ถูกโยงมาเชิงการเมืองแล้ว”
สำหรับขั้นตอนต่างๆ นั้น กระทรวงยุติธรรมได้ชี้แจงไปแล้วด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 กล่าวว่า ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใด หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้ มาตรา 261 รมว.ยุติธรรมมีหน้าที่ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยหรือไม่
สำหรับผู้มีสิทธิยื่นทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษต้องเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้รับโทษทางอาญา ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องซึ่งหมายถึง ผู้มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิต ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย โดยทางศีลธรรมหรือได้รับผลกระทบโดยตรงจากการได้รับโทษทางอาญาดังกล่าว คือ บิดา มารดา คู่สมรส บุตรหลาน หรือญาติที่ใกล้ชิดหรือกรณีของนักโทษเด็ดขาดชาวต่างประเทศ เช่น สถานทูต
ดังนั้น จึงสรุปได้ทั้งทางพฤตินัยโดยนักวิชาการ และนิตินัยโดยกระทรวงยุติธรรมนั้น ว่าการกระทำของกลุ่มสาวกทักษิณที่ไม่ใช่ญาติสนิทหรือตัวแทนเพราะเป็นการกระทำที่อุกอาจ จัดฉาก สร้างภาพแสดงถึงพลังประชาชนที่หลงเชื่อหรือหลงใหล สร้างกระแสกดดันคนทั้งประเทศอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะกระทำได้ก็ต้องเป็นบรรดาทายาทของทักษิณที่จะยื่นถวายฎีกาให้พ่อตัวเองและจะได้ก็ต่อเมื่อทักษิณต้องมาติดคุกเสียก่อนแล้วจึงจะเริ่มขบวนการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และที่แน่นอน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรน้องสาวทักษิณกล่าวไว้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมาว่า “คนในตระกูลชินวัตร ไม่ได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวดังกล่าว เป็นเรื่องของประชาชนที่ต้องการช่วยเหลือ (พ.ต.ท.) ทักษิณ” จึงสรุปในชั้นต้นได้ว่าบรรดาสาวกชั้นในเสนอหน้าทำเอง
ที่กล่าวมานี้เพื่อให้สังคมไทยที่เงียบอยู่ได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่มสาวกใกล้ชิดทักษิณว่า ต้องการอะไรจริงๆ และขอพูดอีกสักครั้งว่า ความต้องการของสาวกทักษิณที่ทำงานให้ทักษิณก็คือ ต้องการกดดันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่ามีคนถึง 5 ล้านคน ต้องการถวายฎีกาให้ทักษิณ และยิ่งกว่าการกดดันคืออะไร หรือการอาศัยระบบพวกมากลากไปทำเพื่ออะไร หรือเป็นการสร้างวิธีการข่มขู่แบบ Intimidate ซึ่งต่างกว่าการ Terrorization ซึ่งเป็นการข่มขู่แบบเชือดไก่ให้ลิงดู แต่คำว่า Intimidate นั้น เป็นการแสดงการข่มขู่ด้วยหนังสือ จดหมาย หรือแสดงละคร เช่น แสดงละครเรื่องการถวายฎีกา เป็นต้น
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่คนคนหนึ่งพร้อมด้วยสาวกกลุ่มหนึ่งกล้าหาญชาญชัยแสดงละครข่มขู่สถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการใช้พลังประชาชนจอมปลอม คนพวกนี้กล้าทำเช่นนี้เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่กำลังกลัวคำว่า “แตกแยก” ความแตกแยกของชาติกลายเป็นเงื่อนไขที่ทักษิณและสาวกใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เราจึงอย่ากลัวการแตกแยกในวันนี้เลย
การที่ทักษิณและสาวกอนาธิปไตยเลือกเอาวันที่ 17 สิงหาคม เป็นวันถวายฎีกานั้น เป็นวันที่ใช้เป็นอาณัติสัญญาณเปิดศึกกับสถาบันชาติ โดยให้สอดคล้องใกล้กับวันเสียงปืนแตก หรือเป็นวันที่กองกำลังปลดแอกประชาชนชาวไทยเปิดศึกกับรัฐบาลไทยในยุคสงครามอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ณ อำเภอเรณู จังหวัดนครพนม ซึ่งกลุ่มอนาธิปไตยอาศัยเสื้อคลุมพรรคคอมมิวนิสต์สร้างกระแสมวลชนขึ้นมาใหม่ให้ประชาชนสับสน ในระบอบทักษิณกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยการสร้างเรื่องทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งกลุ่มอนาธิปไตยพวกนี้ทำศึกจิตวิทยากระทบสถาบัน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สร้างเรื่องระบบอำมาตยาธิปไตยให้เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการโจมตีองคมนตรี 4 ท่านอย่างต่อเนื่อง และไม่ยำเกรงในคุณงามความดีที่ท่านทั้ง 4 ได้กระทำให้ชาติบ้านเมือง ซึ่งตรงข้ามกับทักษิณและสาวกโดยเฉพาะนายวีระ มุสิกพงศ์อดีตกบฏและเป็นบุคคลล้มละลายไปแล้ว
พฤติกรรมเหล่านี้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นกบฏ โดยเฉพาะละครการถวายฎีกาเป็นฉากสำคัญยิ่งในการแสดงความเป็นกบฏ ซึ่งแปลว่า ทำให้แผ่นดินแตกแยก ทำลายระบอบการปกครองของแผ่นดิน และทำร้ายประเทศชาติรวมทั้งทำร้ายจิตใจประชาชนทุกคน ดังนั้น ณ วันนี้ เวลานี้ คนไทยที่รักชาติ รักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกคนจะต้องแสดงพลังต่อต้านการกระทำอันเป็นกบฏนี้โดยพร้อมเพรียงกัน
ทั้งนี้ต้องการบอกว่าไม่ใช่ไม่เคารพเสียงข้างน้อย แต่ต้องถามว่าเสียงข้างน้อยที่บริสุทธิ์ใจนั้นได้รับข้อมูลอย่างถ่องแท้และเพียงพอหรือเปล่า หรือเพียงว่าแห่ตามกันไป หรือเป็นเพราะว่าหลงใหลทักษิณที่ประพฤติชั่วโกงบ้านเมืองด้วยอำนาจรัฐ จนไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งประเด็นเหล่านี้ให้อภัยกันได้เพราะในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมีเรื่องราวเหล่านี้มากมายอยู่แล้ว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องระดับชาติหลายเรื่อง แต่เรื่องการถวายฎีกานั้นเป็นประเด็นสำคัญที่สุด ซึ่งปัญญาชนและนักวิชาการต่างออกมาต่อต้าน ทั้งการให้สัมภาษณ์ และการแสดงความคิดเห็นเชิงอภิปราย เช่น การเสวนาเรื่อง “เมื่อราษฎรถวายฎีกา กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ” ที่จัดโดยกลุ่มนักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีนักวิชาการทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เช่น ดร.วิษณุ เครืองาม อาจารย์และอดีตรองนายกรัฐมนตรีที่เคยทำหน้าที่เป็นนิติกรให้ทักษิณ ดร.ปิยะนาถ บุนนาค อาจารย์สุวิชัย หวันแก้ว ดร.วีระ สมบูรณ์ ดร.ธงทอง จันทรางศุ และคุณเพ็ญจันทร์ โชติบาล มหาบัณฑิตจุฬาฯ เจ้าของวิทยานิพนธ์เรื่องพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งปัจจุบันน่าจะเป็นหนังสือขายดีเล่มหนึ่ง
ดร.ธงทอง จันทรางศุ อภิปรายว่า คำว่า ฎีกานั้นเป็นคำมหัศจรรย์คำหนึ่งในภาษาไทย และเป็นคำที่มีความหมายมากหลากหลาย และตามพจนานุกรมมีประมาณ 10 ความหมาย เช่น หนังสือเขียนนิมนต์พระสงฆ์ ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง ใบบอกบุญเรี่ยไร แต่ที่สำคัญคือคำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ และชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของไทยซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา หรือวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นฎีกาเรียกว่า ศาลฎีกา
ดร.ธงทอง ให้ความหมายหนึ่งว่า เป็นหนังสือยื่นเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และฎีการ้องทุกข์ การถวายฎีกาจึงเป็นสายสัมพันธ์ที่ยึดโยงพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่คงอยู่กับสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เป็นช่องทางให้ผู้ต้องโทษอาญาได้ขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ช่องทางการถวายฎีกานี้ต้องไม่ใช่ศาลชั้นที่ 4 และการพระราชทานอภัยโทษจึงไม่ใช่การกลับคำพิพากษาของศาล
ผู้ที่ถวายฎีกาจะอ้างถึงคุณงามความดีในอดีตหรือการเจ็บป่วยทุกข์ยากต่างๆ กรมราชทัณฑ์จะทำหน้าที่รวบรวม และนำเสนอฎีกาของผู้ต้องขังให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประมวลเรื่อง และนำความเห็นประกอบฎีกาต่างๆ ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ และทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สำนักพระราชวังจะส่งเรื่องการถวายฎีกากลับมาให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาความเห็นประกอบเกี่ยวกับการถวายฎีกาอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการหมกเม็ดและการไม่รับผิดชอบของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดร.ธงทองสรุปว่า เรื่องการเมืองควรยุติหรือแก้ปัญหาด้วยการเมือง ไม่ควรให้การเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นประเด็นที่อยู่ในจิตใจและวิจารณญาณที่ทุกคนต้องตรึกตรองให้รอบคอบ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ในหลายเรื่อง ซึ่งเรื่องในทางการเมืองทั้งหลายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
นอกจากประเด็นที่ดร.ธงทองเน้นถึงว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ในหลายเรื่อง และเรื่องการอ้างเสียงประชาชน 5 ล้านกว่าเสียงมาบีบคั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจารย์วีระ สมบูรณ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สรุปว่า “เมื่อฎีกาที่ยื่น เอาการร้องทุกข์และการอภัยโทษเข้ามาเกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกตัดสินแล้ว ไม่ว่าจะพิจารณาอย่างไรก็ไม่สมควรกระทำ และในทางปฏิบัติควรยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความหมายตามมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญ การยื่นดังกล่าวคือการตีความสิทธิเสรีภาพของผู้ยื่นว่าทำได้หรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการอภัยโทษ”
ส่วนอาจารย์สุวิชัย หวันแก้ว สรุปว่า “เรื่องการถวายฎีกาจริงๆ แล้วใครๆ ก็มีสิทธิ แต่ก็มีหลักการไม่ใช่ใครทำตามอำเภอใจ ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องพวกมากลากไป หรือนับจำนวนว่า ฝ่ายไหนมากกว่า ถ้าตั้งโจทย์แบบนี้สังคมป่นปี้จริงๆ เรื่องถวายฎีกาขณะนี้ (ที่สาวกทักษิณกำลังทำอยู่) ไม่ใช่เรื่องสิทธิ แต่ถูกโยงมาเชิงการเมืองแล้ว”
สำหรับขั้นตอนต่างๆ นั้น กระทรวงยุติธรรมได้ชี้แจงไปแล้วด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 กล่าวว่า ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใด หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้ มาตรา 261 รมว.ยุติธรรมมีหน้าที่ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยหรือไม่
สำหรับผู้มีสิทธิยื่นทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษต้องเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้รับโทษทางอาญา ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องซึ่งหมายถึง ผู้มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิต ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย โดยทางศีลธรรมหรือได้รับผลกระทบโดยตรงจากการได้รับโทษทางอาญาดังกล่าว คือ บิดา มารดา คู่สมรส บุตรหลาน หรือญาติที่ใกล้ชิดหรือกรณีของนักโทษเด็ดขาดชาวต่างประเทศ เช่น สถานทูต
ดังนั้น จึงสรุปได้ทั้งทางพฤตินัยโดยนักวิชาการ และนิตินัยโดยกระทรวงยุติธรรมนั้น ว่าการกระทำของกลุ่มสาวกทักษิณที่ไม่ใช่ญาติสนิทหรือตัวแทนเพราะเป็นการกระทำที่อุกอาจ จัดฉาก สร้างภาพแสดงถึงพลังประชาชนที่หลงเชื่อหรือหลงใหล สร้างกระแสกดดันคนทั้งประเทศอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะกระทำได้ก็ต้องเป็นบรรดาทายาทของทักษิณที่จะยื่นถวายฎีกาให้พ่อตัวเองและจะได้ก็ต่อเมื่อทักษิณต้องมาติดคุกเสียก่อนแล้วจึงจะเริ่มขบวนการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และที่แน่นอน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรน้องสาวทักษิณกล่าวไว้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมาว่า “คนในตระกูลชินวัตร ไม่ได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวดังกล่าว เป็นเรื่องของประชาชนที่ต้องการช่วยเหลือ (พ.ต.ท.) ทักษิณ” จึงสรุปในชั้นต้นได้ว่าบรรดาสาวกชั้นในเสนอหน้าทำเอง
ที่กล่าวมานี้เพื่อให้สังคมไทยที่เงียบอยู่ได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่มสาวกใกล้ชิดทักษิณว่า ต้องการอะไรจริงๆ และขอพูดอีกสักครั้งว่า ความต้องการของสาวกทักษิณที่ทำงานให้ทักษิณก็คือ ต้องการกดดันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่ามีคนถึง 5 ล้านคน ต้องการถวายฎีกาให้ทักษิณ และยิ่งกว่าการกดดันคืออะไร หรือการอาศัยระบบพวกมากลากไปทำเพื่ออะไร หรือเป็นการสร้างวิธีการข่มขู่แบบ Intimidate ซึ่งต่างกว่าการ Terrorization ซึ่งเป็นการข่มขู่แบบเชือดไก่ให้ลิงดู แต่คำว่า Intimidate นั้น เป็นการแสดงการข่มขู่ด้วยหนังสือ จดหมาย หรือแสดงละคร เช่น แสดงละครเรื่องการถวายฎีกา เป็นต้น
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่คนคนหนึ่งพร้อมด้วยสาวกกลุ่มหนึ่งกล้าหาญชาญชัยแสดงละครข่มขู่สถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการใช้พลังประชาชนจอมปลอม คนพวกนี้กล้าทำเช่นนี้เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่กำลังกลัวคำว่า “แตกแยก” ความแตกแยกของชาติกลายเป็นเงื่อนไขที่ทักษิณและสาวกใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เราจึงอย่ากลัวการแตกแยกในวันนี้เลย
การที่ทักษิณและสาวกอนาธิปไตยเลือกเอาวันที่ 17 สิงหาคม เป็นวันถวายฎีกานั้น เป็นวันที่ใช้เป็นอาณัติสัญญาณเปิดศึกกับสถาบันชาติ โดยให้สอดคล้องใกล้กับวันเสียงปืนแตก หรือเป็นวันที่กองกำลังปลดแอกประชาชนชาวไทยเปิดศึกกับรัฐบาลไทยในยุคสงครามอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ณ อำเภอเรณู จังหวัดนครพนม ซึ่งกลุ่มอนาธิปไตยอาศัยเสื้อคลุมพรรคคอมมิวนิสต์สร้างกระแสมวลชนขึ้นมาใหม่ให้ประชาชนสับสน ในระบอบทักษิณกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยการสร้างเรื่องทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งกลุ่มอนาธิปไตยพวกนี้ทำศึกจิตวิทยากระทบสถาบัน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สร้างเรื่องระบบอำมาตยาธิปไตยให้เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการโจมตีองคมนตรี 4 ท่านอย่างต่อเนื่อง และไม่ยำเกรงในคุณงามความดีที่ท่านทั้ง 4 ได้กระทำให้ชาติบ้านเมือง ซึ่งตรงข้ามกับทักษิณและสาวกโดยเฉพาะนายวีระ มุสิกพงศ์อดีตกบฏและเป็นบุคคลล้มละลายไปแล้ว
พฤติกรรมเหล่านี้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นกบฏ โดยเฉพาะละครการถวายฎีกาเป็นฉากสำคัญยิ่งในการแสดงความเป็นกบฏ ซึ่งแปลว่า ทำให้แผ่นดินแตกแยก ทำลายระบอบการปกครองของแผ่นดิน และทำร้ายประเทศชาติรวมทั้งทำร้ายจิตใจประชาชนทุกคน ดังนั้น ณ วันนี้ เวลานี้ คนไทยที่รักชาติ รักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกคนจะต้องแสดงพลังต่อต้านการกระทำอันเป็นกบฏนี้โดยพร้อมเพรียงกัน