วันนี้ผมขอเนื้อที่เขียนถึงผู้ใหญ่ที่จากไปที่ผมรู้จักและเคยทำงานร่วมกันสักคนหนึ่ง ท่านผู้ใหญ่คนนี้คือคุณบุญชู โรจนเสถียร ครับ
งานพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทร์ จะมีขึ้นในไม่ช้า และหวังว่าข้อเขียนนี้คงจะเป็นการระลึกถึงวันที่ผมได้ทำงานร่วมกัน
หลายปีมาแล้ว ผมได้รับการติดต่อในขณะที่ผมทำงานที่การบินไทยให้เข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากได้รับการบอกกล่าวว่ารัฐบาลมีปัญหาด้านการทำความเข้าใจกับประชาชน
ผมเข้าไปโดยไม่ทราบว่าบุคคลที่จะพบนั้นเป็นใคร
หลังจากไปนั่งคอยอยู่ร่วมชั่วโมงกว่าๆ ก็พบว่าคนที่ผมจะต้องไปช่วยเขียนเอกสารเกี่ยวกับ “อ้อยและน้ำตาล” นั่นคือ คุณบุญชู โรจนเสถียร
ผมไม่เคยรู้จักคุณบุญชู มาก่อน เคยได้ยินแต่ชื่อเสียงว่าท่านคุ้นเคยกับคนรุ่นใหม่ และเป็นนายธนาคารมาก่อน
ก็มีการทักทายเป็นธรรมเนียม พอทราบว่ามาจากการบินไทยก็ถามว่า ผมไปทำอะไรที่นั่น ผมก็รายงานว่าเป็นพนักงานมาร่วม 10 ปี แล้วท่านก็บอกว่าคิดว่าผมเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์ฯ แต่ผมอธิบายว่า ออกมานานแล้ว และอยู่ที่ประชาสัมพันธ์การบินไทย
และเคยร่วมเป็นทีมโฆษกของท่าน ดร.ไตรรงค์ อยู่ระยะหนึ่ง
หลังจากนั้นท่านก็นำเอกสารหนาๆ ปึกหนึ่ง พร้อมอธิบายว่าเป็นเรื่องอ้อยและนโยบายน้ำตาล อยากให้เรียบเรียงให้คนเข้าใจ อยากให้เสร็จภายใน 2-3 วัน
ผมก็เรียนว่านี่เพิ่งบ่าย 2 โมง ถ้ารอให้ผมเสร็จประมาณบ่ายสี่โมงครึ่ง
ท่านลังเลอยู่ไม่นาน ก็บอกว่า เรื่องมันยากให้เวลาวันนึงก็ได้ แล้วท่านก็ไปทำอย่างอื่นต่อ
ความจริงเรื่องเหล่านี้ ผมทราบจาก ดร.แสง สงวนเรือง แถมมี ดร.แสงเคยอธิบายให้เข้าใจมาก่อนบ้าง
พอจับความได้ ผมอ่านโดยละเอียดข้อความในเอกสารจึงเข้าใจได้ไม่ยากว่า ทำไมคนจึงไม่เข้าใจ เพราะมันมีตาราง, ตัวเลข และคำอธิบายที่ยากจะเข้าใจมาก
ผมปรับตารางโดยใช้ตัวเลขที่สำคัญๆ เท่านั้น
และเรียบเรียงภาษาเสียใหม่ให้สั้นและง่าย
เสร็จสิ้นได้ประมาณ 3-4 หน้าเท่านั้น
ผมใช้เวลาทบทวนแก้ไข และเสร็จเมื่อบ่าย 3 โมงครึ่ง
คุณบุญชู ว่างก่อนบ่าย 4 โมงเล็กน้อย ผมเคาะประตูและนำเอกสารไปให้
“มีอะไรให้ผมอธิบายหรือคุณ”
“ผมทำเสร็จแล้วครับ”
“เอ้อ.. เร็วจัง” ผมยื่นเอกสารให้ท่านไม่ว่าอะไร ผมก็เดินออกมา
อีกประมาณ 10 นาที ท่านก็เดินออกมา พร้อมเอกสารซึ่งมีการแก้ไขตัวเลข และข้อความบางตอน
“ตัวเลขที่ผมเอาออกนั้นเวลานี้เรายังบอกไม่ได้นะ ข้อความก็ขยายอีกหน่อยจะดีขึ้น”
ผมใช้เวลาไม่นาน หลังจากนั้นคุณบุญชูก็ไม่ได้ตรวจทานแค่ส่งพิมพ์เลย
ปรากฏว่าเอกสารฉบับนั้นกลายเป็นเอกสารที่ถูกเผยแพร่ได้รับการตีพิมพ์ในหน้าสื่อมวลชนทุกฉบับ วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยนำไปสรุปออกอากาศ
ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้น ผมทราบว่าท่านพ้นจากตำแหน่งแต่ก็ยังวนเวียนอยู่ในเวทีการเมือง
ผมถูกให้ไปพบอีกครั้ง
คราวนี้สิ่งที่ต้องการไม่ใช่งานเขียน แต่เป็นงานข่าว “คุณเรียนเรื่องข่าวกรองมาใช่ไหม? เรียนที่วิสคอนซิล มีคนบอกผมว่า คุณลงวิชายุทธศาสตร์การทหารตอนทำปริญญาโท”
ผมยอมรับ แต่อธิบายว่าเรื่องข่าวกรอง เป็นวิชาเล็กๆ เท่านั้น
งานที่ผมทำไม่ใช่งานลับลมคมใน
แค่อ่าน นสพ. 10 กว่าฉบับ กรองข่าวที่ตีพิมพ์เปิดเผยแล้วตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น
และทำสรุป, วิเคราะห์ โดยใช้กราฟสำรวจจัดลำดับความน่าเชื่อถือ โดยดูจากความบ่อยครั้งที่ข่าวเดียวกัน ถูกระบุต่อเนื่องในช่วง 3-5 วัน และให้กราฟทำพยากรณ์โดยผมจะ “ถ่วงน้ำหนัก” ตามความสำคัญที่สื่อให้เนื้อที่ความสำคัญ เช่น ขึ้นหน้าหนึ่ง, มีปริมาณข่าวมากน้อยแค่ไหน และมีความถี่ติดต่อกันอย่างไร
แน่นอนต้องมีความเห็นที่ใส่ลงไปด้วย
ดูคุณบุญชูจะพอใจกับระบบกราฟที่ผมนำเสนอมาก
เพราะท่านบอกว่า “ไม่เคยเห็นใครทำแบบนี้มาก่อนเลย”
ผมทำอยู่ประมาณ 1 เดือน ท่านก็เรียกไปพบ และบอกว่าที่พยากรณ์ไว้ 40% นั้นเป็นจริง ถือว่าใช้ได้เลย อีก 60% มันยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นจริงสัก 10% ก็เป็น 50% เรียกว่าประสบความสำเร็จดีกว่าใช้การเดาสุ่ม
แล้วก็มาถึงคำถามสำคัญในการสนทนา
“ช่วยเอาตำราเรื่องนี้มาให้ผมดูหน่อย”
“ไม่มีหรอกครับ เป็นสูตรผมคำนวณจากประสบการณ์เอง”
“อ้าว...คุณก็เขียนเป็นตำราสิ ... ผมจะพิมพ์ให้ คนจะได้เอาไปใช้ทำอย่างอื่น”
“ผมลองเอาไปใช้ซื้อหุ้นจนเจ๊งมาแล้วครับท่าน เดาใจพวกนักเล่นหุ้นเป็นพันเป็นหมื่นไม่ไหวหรอกครับ ผมเคยกำไรล้านกว่าบาทเหลือแค่ 3 แสนเท่านั้น
ท่านก็หัวเราะเสียงดัง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมได้ยิน
สรุปว่าผมช่วยงานแบบนี้อยู่ร่วมปี บางครั้งท่านก็ถามว่าผมรู้จักคนโน้น คนนี้บ้างไหม คนไหนผมรู้จักแบบสนิทก็จะบอกท่าน บางคนบอกไปท่านก็งง ว่าผมไปรู้จักได้ยังไง ผมก็อธิบายอย่างบางคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งจังหวัดใหญ่จังหวัดหนึ่ง ผมก็บอกสั้นๆ ว่า ท่านผู้นี้เคยมาติดพันกับญาติห่างๆ และผมกับผู้ใหญ่สนิทกันไปสภาก็เจอะกันทุกครั้ง
บางคนท่านก็เพิ่งรู้ว่า เป็นเพื่อนกับผมตั้งแต่เด็กจนไปเมืองนอกก็คบกันมายาวนาน ทำให้ท่านได้รับความสะดวกแบบไม่คิดว่าจะได้เมื่อไปจังหวัดนั้น
ผมเลิกทำงานกับท่านหลายปีต่อมา แต่พบที่งานสังคมเป็นครั้งคราว ก็จะรีบเดินมาคุยกันทุกครั้ง
ล่าสุดท่านไปทำโครงการที่หัวหิน โดยเมื่อเริ่มต้นท่านก็บอกว่า เป็นโครงการที่ท่านตั้งใจจะทำให้ชาวต่างประเทศรู้ว่าเรามีของดี
เวลานี้โครงการที่ว่านั้น มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นที่รู้จักในหมู่มหาเศรษฐี บางคนมาประเทศไทยเพื่อมาที่นี่นานนับเป็นเดือนก็มี
ครับ... ผมระลึกถึงท่านบุญชู โรจนเสถียรเสมอ แม้ว่าผมไม่ได้พบท่านอีกเลยนับ 10 ปี
ความทรงจำดีๆ ที่ผมมีต่อท่าน จึงต้องนำมาเขียนในที่นี้แหละครับ
งานพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทร์ จะมีขึ้นในไม่ช้า และหวังว่าข้อเขียนนี้คงจะเป็นการระลึกถึงวันที่ผมได้ทำงานร่วมกัน
หลายปีมาแล้ว ผมได้รับการติดต่อในขณะที่ผมทำงานที่การบินไทยให้เข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากได้รับการบอกกล่าวว่ารัฐบาลมีปัญหาด้านการทำความเข้าใจกับประชาชน
ผมเข้าไปโดยไม่ทราบว่าบุคคลที่จะพบนั้นเป็นใคร
หลังจากไปนั่งคอยอยู่ร่วมชั่วโมงกว่าๆ ก็พบว่าคนที่ผมจะต้องไปช่วยเขียนเอกสารเกี่ยวกับ “อ้อยและน้ำตาล” นั่นคือ คุณบุญชู โรจนเสถียร
ผมไม่เคยรู้จักคุณบุญชู มาก่อน เคยได้ยินแต่ชื่อเสียงว่าท่านคุ้นเคยกับคนรุ่นใหม่ และเป็นนายธนาคารมาก่อน
ก็มีการทักทายเป็นธรรมเนียม พอทราบว่ามาจากการบินไทยก็ถามว่า ผมไปทำอะไรที่นั่น ผมก็รายงานว่าเป็นพนักงานมาร่วม 10 ปี แล้วท่านก็บอกว่าคิดว่าผมเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์ฯ แต่ผมอธิบายว่า ออกมานานแล้ว และอยู่ที่ประชาสัมพันธ์การบินไทย
และเคยร่วมเป็นทีมโฆษกของท่าน ดร.ไตรรงค์ อยู่ระยะหนึ่ง
หลังจากนั้นท่านก็นำเอกสารหนาๆ ปึกหนึ่ง พร้อมอธิบายว่าเป็นเรื่องอ้อยและนโยบายน้ำตาล อยากให้เรียบเรียงให้คนเข้าใจ อยากให้เสร็จภายใน 2-3 วัน
ผมก็เรียนว่านี่เพิ่งบ่าย 2 โมง ถ้ารอให้ผมเสร็จประมาณบ่ายสี่โมงครึ่ง
ท่านลังเลอยู่ไม่นาน ก็บอกว่า เรื่องมันยากให้เวลาวันนึงก็ได้ แล้วท่านก็ไปทำอย่างอื่นต่อ
ความจริงเรื่องเหล่านี้ ผมทราบจาก ดร.แสง สงวนเรือง แถมมี ดร.แสงเคยอธิบายให้เข้าใจมาก่อนบ้าง
พอจับความได้ ผมอ่านโดยละเอียดข้อความในเอกสารจึงเข้าใจได้ไม่ยากว่า ทำไมคนจึงไม่เข้าใจ เพราะมันมีตาราง, ตัวเลข และคำอธิบายที่ยากจะเข้าใจมาก
ผมปรับตารางโดยใช้ตัวเลขที่สำคัญๆ เท่านั้น
และเรียบเรียงภาษาเสียใหม่ให้สั้นและง่าย
เสร็จสิ้นได้ประมาณ 3-4 หน้าเท่านั้น
ผมใช้เวลาทบทวนแก้ไข และเสร็จเมื่อบ่าย 3 โมงครึ่ง
คุณบุญชู ว่างก่อนบ่าย 4 โมงเล็กน้อย ผมเคาะประตูและนำเอกสารไปให้
“มีอะไรให้ผมอธิบายหรือคุณ”
“ผมทำเสร็จแล้วครับ”
“เอ้อ.. เร็วจัง” ผมยื่นเอกสารให้ท่านไม่ว่าอะไร ผมก็เดินออกมา
อีกประมาณ 10 นาที ท่านก็เดินออกมา พร้อมเอกสารซึ่งมีการแก้ไขตัวเลข และข้อความบางตอน
“ตัวเลขที่ผมเอาออกนั้นเวลานี้เรายังบอกไม่ได้นะ ข้อความก็ขยายอีกหน่อยจะดีขึ้น”
ผมใช้เวลาไม่นาน หลังจากนั้นคุณบุญชูก็ไม่ได้ตรวจทานแค่ส่งพิมพ์เลย
ปรากฏว่าเอกสารฉบับนั้นกลายเป็นเอกสารที่ถูกเผยแพร่ได้รับการตีพิมพ์ในหน้าสื่อมวลชนทุกฉบับ วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยนำไปสรุปออกอากาศ
ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้น ผมทราบว่าท่านพ้นจากตำแหน่งแต่ก็ยังวนเวียนอยู่ในเวทีการเมือง
ผมถูกให้ไปพบอีกครั้ง
คราวนี้สิ่งที่ต้องการไม่ใช่งานเขียน แต่เป็นงานข่าว “คุณเรียนเรื่องข่าวกรองมาใช่ไหม? เรียนที่วิสคอนซิล มีคนบอกผมว่า คุณลงวิชายุทธศาสตร์การทหารตอนทำปริญญาโท”
ผมยอมรับ แต่อธิบายว่าเรื่องข่าวกรอง เป็นวิชาเล็กๆ เท่านั้น
งานที่ผมทำไม่ใช่งานลับลมคมใน
แค่อ่าน นสพ. 10 กว่าฉบับ กรองข่าวที่ตีพิมพ์เปิดเผยแล้วตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น
และทำสรุป, วิเคราะห์ โดยใช้กราฟสำรวจจัดลำดับความน่าเชื่อถือ โดยดูจากความบ่อยครั้งที่ข่าวเดียวกัน ถูกระบุต่อเนื่องในช่วง 3-5 วัน และให้กราฟทำพยากรณ์โดยผมจะ “ถ่วงน้ำหนัก” ตามความสำคัญที่สื่อให้เนื้อที่ความสำคัญ เช่น ขึ้นหน้าหนึ่ง, มีปริมาณข่าวมากน้อยแค่ไหน และมีความถี่ติดต่อกันอย่างไร
แน่นอนต้องมีความเห็นที่ใส่ลงไปด้วย
ดูคุณบุญชูจะพอใจกับระบบกราฟที่ผมนำเสนอมาก
เพราะท่านบอกว่า “ไม่เคยเห็นใครทำแบบนี้มาก่อนเลย”
ผมทำอยู่ประมาณ 1 เดือน ท่านก็เรียกไปพบ และบอกว่าที่พยากรณ์ไว้ 40% นั้นเป็นจริง ถือว่าใช้ได้เลย อีก 60% มันยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นจริงสัก 10% ก็เป็น 50% เรียกว่าประสบความสำเร็จดีกว่าใช้การเดาสุ่ม
แล้วก็มาถึงคำถามสำคัญในการสนทนา
“ช่วยเอาตำราเรื่องนี้มาให้ผมดูหน่อย”
“ไม่มีหรอกครับ เป็นสูตรผมคำนวณจากประสบการณ์เอง”
“อ้าว...คุณก็เขียนเป็นตำราสิ ... ผมจะพิมพ์ให้ คนจะได้เอาไปใช้ทำอย่างอื่น”
“ผมลองเอาไปใช้ซื้อหุ้นจนเจ๊งมาแล้วครับท่าน เดาใจพวกนักเล่นหุ้นเป็นพันเป็นหมื่นไม่ไหวหรอกครับ ผมเคยกำไรล้านกว่าบาทเหลือแค่ 3 แสนเท่านั้น
ท่านก็หัวเราะเสียงดัง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมได้ยิน
สรุปว่าผมช่วยงานแบบนี้อยู่ร่วมปี บางครั้งท่านก็ถามว่าผมรู้จักคนโน้น คนนี้บ้างไหม คนไหนผมรู้จักแบบสนิทก็จะบอกท่าน บางคนบอกไปท่านก็งง ว่าผมไปรู้จักได้ยังไง ผมก็อธิบายอย่างบางคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งจังหวัดใหญ่จังหวัดหนึ่ง ผมก็บอกสั้นๆ ว่า ท่านผู้นี้เคยมาติดพันกับญาติห่างๆ และผมกับผู้ใหญ่สนิทกันไปสภาก็เจอะกันทุกครั้ง
บางคนท่านก็เพิ่งรู้ว่า เป็นเพื่อนกับผมตั้งแต่เด็กจนไปเมืองนอกก็คบกันมายาวนาน ทำให้ท่านได้รับความสะดวกแบบไม่คิดว่าจะได้เมื่อไปจังหวัดนั้น
ผมเลิกทำงานกับท่านหลายปีต่อมา แต่พบที่งานสังคมเป็นครั้งคราว ก็จะรีบเดินมาคุยกันทุกครั้ง
ล่าสุดท่านไปทำโครงการที่หัวหิน โดยเมื่อเริ่มต้นท่านก็บอกว่า เป็นโครงการที่ท่านตั้งใจจะทำให้ชาวต่างประเทศรู้ว่าเรามีของดี
เวลานี้โครงการที่ว่านั้น มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นที่รู้จักในหมู่มหาเศรษฐี บางคนมาประเทศไทยเพื่อมาที่นี่นานนับเป็นเดือนก็มี
ครับ... ผมระลึกถึงท่านบุญชู โรจนเสถียรเสมอ แม้ว่าผมไม่ได้พบท่านอีกเลยนับ 10 ปี
ความทรงจำดีๆ ที่ผมมีต่อท่าน จึงต้องนำมาเขียนในที่นี้แหละครับ