ASTV ผู้จัดการรายวัน – BAOSTEEL บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่จากจีน ซุ่มเงียมเก็บหุ้น "ไทยง้วนเมทัล " 6 วันกวาดแล้ว 100 ล้านหุ้น อ้างหวังใช้รุกอินโดไชน่าและรองรับออเดอร์ชุดใหญ่ของนิสสันจากโครงการอีโค คาร์ ด้าน "บิ๊กTYM " ยืนยันไม่ใช่พันธมิตรในลิสต์ และไม่ทราบสาเหตุโดนเก็บหุ้น
แหล่งข่าวรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ขณะนี้ BAOSTEEL GROUP CORPORATION ( www.baosteel.com) ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของจีนได้สั่งการผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศให้เข้ามาดำเนินการซื้อหุ้น บริษัท ไทยง้วนเมทัล จำกัด (มหาชน) ( TYM ) ผ่านกระดานหลักทรัพย์ไทย ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมาจนถึงวานนี้ (4ส.ค.) มีการเก็บหุ้นดังกล่าวไปแล้ว 100 ล้านหุ้น
ทั้งนี้ การซื้อหุ้นดังกล่าว เป็นการซื้อในนามของ ซิตี้ แบงก์ (นอมินี) ฮ่องกง และมอร์แกนสแตนเลย์ อินเตอร์เนชั่นแนล พอร์ คัสตี้ และยังมีเม็ดเงินอีกจำนวน 50 ล้านเหรียญฮ่องกงที่ถูกโอนผ่านธนาคาร ดอยซ์ แบงก์ ฮ่องกงที่จะเตรียมนำมาใช้ซื้อหุ้น TYM เพิ่มเติม แต่อยู่ในขั้นตอนของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ
สำหรับสาเหตุการเข้าถือหุ้นในครั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เป็นแผนการขยายธุรกิจของ BAOSTEEL ที่ต้องการรุกตลาดเหล็กในอินโดไชน่า และมองว่า บมจ.ไทยง้วนเมทัล เป็นบริษัททีมีหนี้สินน้อย เหมาะแก่การเข้าร่วมทุนขยายธุรกิจเข้าสู่เมืองไทยเป็นครั้งแรก เพื่อร่วมลงทุนขยายธุรกิจเหล็กต้นน้ำ รวมทั้งเตรียมพร้อมในการส่งมอบเหล็กโครงสร้างรถยนต์ให้กับค่ายนิสสัน ซึ่งเป็ฯซัพพลายเออร์รายใหญ่ของบริษัทที่มีแผนรุกโครงการใหญ่ในไทย
โดยโครงการดังกล่าวคือโครงการรถยนต์อีโคคาร์ที่นิสสัน มีแผนจะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ประเทศดังกล่าวเพื่อส่งออกไปทั่วโลก หลังจากที่มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นหากการเข้าถือหุ้น TYM ประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้TYM มีโอกาสเป็นตัวแทนในการส่งวัตถุดิบให้แก่ค่ายนิสสัน ในประเทศไทย แทน BAOSTEEL
สำหรับ TYM มีสัดส่วนการถือของผู้ลงทุนรายย่อย ( Free Float ) 31.57% จำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายผ่านกระดาาน 1,262 ล้านหุ้น โดยวานนี้ปิดที่ 0.36 บาท เพิ่มขึ้น0.01 บาทหรือ 2.86% มูลค่าซื้อขาย 17.524 ล้านบาท หรือ 48.46 ล้านหุ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามเรื่องดังกล่าวไปยัง นายบุญชัย จิรพงษ์ตระกูล กรรมการผู้จัดการ TYM ทางผู้บริหาร ยืนยันว่า บริษัทดังกล่าวไม่มีชื่ออยู่ในลิสต์ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนเป็นพันธมิตรกับบริษัท และไม่ทราบสาเหตุของการเข้ามาซื้อหุ้นในครั้งนี้ด้วย เพราะไม่เคยติดต่อกัน อีกทั้งหากต้องการเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนในธุรกิจเหล็กจริง จะต้องมีการพูดคุยและศึกษารูปแบบธุรกิจกันก่อน ใช่เพียงแต่เข้ามาซื้อหุ้น แม้ 13 ส.ค.นี้จะมีการนำเรื่องของพันธมิตรให้บอร์ดพิจารณา
แหล่งข่าวรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ขณะนี้ BAOSTEEL GROUP CORPORATION ( www.baosteel.com) ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของจีนได้สั่งการผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศให้เข้ามาดำเนินการซื้อหุ้น บริษัท ไทยง้วนเมทัล จำกัด (มหาชน) ( TYM ) ผ่านกระดานหลักทรัพย์ไทย ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมาจนถึงวานนี้ (4ส.ค.) มีการเก็บหุ้นดังกล่าวไปแล้ว 100 ล้านหุ้น
ทั้งนี้ การซื้อหุ้นดังกล่าว เป็นการซื้อในนามของ ซิตี้ แบงก์ (นอมินี) ฮ่องกง และมอร์แกนสแตนเลย์ อินเตอร์เนชั่นแนล พอร์ คัสตี้ และยังมีเม็ดเงินอีกจำนวน 50 ล้านเหรียญฮ่องกงที่ถูกโอนผ่านธนาคาร ดอยซ์ แบงก์ ฮ่องกงที่จะเตรียมนำมาใช้ซื้อหุ้น TYM เพิ่มเติม แต่อยู่ในขั้นตอนของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ
สำหรับสาเหตุการเข้าถือหุ้นในครั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เป็นแผนการขยายธุรกิจของ BAOSTEEL ที่ต้องการรุกตลาดเหล็กในอินโดไชน่า และมองว่า บมจ.ไทยง้วนเมทัล เป็นบริษัททีมีหนี้สินน้อย เหมาะแก่การเข้าร่วมทุนขยายธุรกิจเข้าสู่เมืองไทยเป็นครั้งแรก เพื่อร่วมลงทุนขยายธุรกิจเหล็กต้นน้ำ รวมทั้งเตรียมพร้อมในการส่งมอบเหล็กโครงสร้างรถยนต์ให้กับค่ายนิสสัน ซึ่งเป็ฯซัพพลายเออร์รายใหญ่ของบริษัทที่มีแผนรุกโครงการใหญ่ในไทย
โดยโครงการดังกล่าวคือโครงการรถยนต์อีโคคาร์ที่นิสสัน มีแผนจะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ประเทศดังกล่าวเพื่อส่งออกไปทั่วโลก หลังจากที่มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นหากการเข้าถือหุ้น TYM ประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้TYM มีโอกาสเป็นตัวแทนในการส่งวัตถุดิบให้แก่ค่ายนิสสัน ในประเทศไทย แทน BAOSTEEL
สำหรับ TYM มีสัดส่วนการถือของผู้ลงทุนรายย่อย ( Free Float ) 31.57% จำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายผ่านกระดาาน 1,262 ล้านหุ้น โดยวานนี้ปิดที่ 0.36 บาท เพิ่มขึ้น0.01 บาทหรือ 2.86% มูลค่าซื้อขาย 17.524 ล้านบาท หรือ 48.46 ล้านหุ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามเรื่องดังกล่าวไปยัง นายบุญชัย จิรพงษ์ตระกูล กรรมการผู้จัดการ TYM ทางผู้บริหาร ยืนยันว่า บริษัทดังกล่าวไม่มีชื่ออยู่ในลิสต์ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนเป็นพันธมิตรกับบริษัท และไม่ทราบสาเหตุของการเข้ามาซื้อหุ้นในครั้งนี้ด้วย เพราะไม่เคยติดต่อกัน อีกทั้งหากต้องการเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนในธุรกิจเหล็กจริง จะต้องมีการพูดคุยและศึกษารูปแบบธุรกิจกันก่อน ใช่เพียงแต่เข้ามาซื้อหุ้น แม้ 13 ส.ค.นี้จะมีการนำเรื่องของพันธมิตรให้บอร์ดพิจารณา