ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ประสานเสียงพร้อมสนองนโยบายรัฐร่วมวงปล่อยกู้เอสเอ็มอีขาดสภาพคล่อง แต่จะขยายสินเชื่อได้ระดับไหนขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการพิจารณา-ความต้องการสินเชื่อของธุรกิจ แนะรัฐหามาตรการอื่นช่วยกระตุ้นลงทุนจะกระจายรายได้สู่ธุรกิจอีกทาง และควรให้บสย.ร่วมโครงการช่วยบรรเทาความเสี่ยง
นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคม ธนาคารไทย กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงการคลังที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยการขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์สมทบวงเงินสินเชื่ออีก 25,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ทางสมาคมยังไม่ได้รับการรายงานเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากพิจารณาโดยหลักการแล้วถือว่าเป็นมาตรการที่ดีอย่างหนึ่งที่จะสามารถช่วยผู้ประกอบการได้ในช่วงสภาเศรษฐกิจชะลอตัวจนส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจและดีกว่าที่จะไม่มีมาตรการช่วยเหลืออะไรเลย เนื่องจากจำนวนวงเงินที่จะให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้นั้นถือว่าไม่มาก อีกทั้งเชื่อว่าธนาคารแต่ละแห่งสามารถรับได้
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าหลังจากที่ปล่อยวงเงินสินเชื่อไปแล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้ รับการอนุมัติทุกราย เพราะธนาคารจะต้องดูความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกทั้งต้องตรวจสอบดูว่าธุรกิจที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทำอยู่นั้นสามารถเดินต่อได้หรือไม่ หรือผู้ประกอบการมีความสามารถในการชำระคืนหนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะผู้ประกอบการบางรายไม่มีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเลยซึ่งเชื่อว่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน
ส่วนนายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า หากกระทรวงการคลังมอบนโยบายมาธนาคารก็ยินดีให้ความร่วมมือเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับสภาพคล่อง แต่อยากให้ทุกฝ่ายดูถึงความต้องการของผู้กู้ด้วยว่ามีเท่าไร เพราะการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยในช่วงครึ่งปีแรกได้อนุมัติวงเงินไปถึง 60,000 ล้านบาทและมีลูกค้าชำระคืนมามากพอสมควรจึงทำให้ยอดการเติบโตสินเชื่อสุทธิมีไม่มาก ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการอยู่ในระดับทรงตัว ดังนั้น ทางกระทรวงการคลังต้องเข้าใจถึงความต้องการของผู้ประกอบการด้วย ส่วนอัตราดอกเบี้ย 0.1% นั้นก็เชื่อว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระเกี่ยวกับต้นทุนการทำธุรกิจได้
ดังนั้น ทางรัฐบาลเองก็ควรที่จะมีมาตรการอื่นๆออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและเกิดการใช้จ่ายในภาคประชาชนด้วย เพราะปัจจัยดังกล่าวจะเป็นการช่วยทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่จะมีการกิจกรรมการผลิต การค้าขายเพิ่มขึ้นในขณะที่ยอดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารก็จะเติบโตตามไปด้วย
ด้านนายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) (TMB) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ธนาคารพร้อมที่จะร่วมมือในการปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่องตามแนวทางของกระทรวงการคลัง แต่ก็จะต้องพิจารณาถึงตัวปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่จะให้สินเชื่อที่ด้วย เนื่องจากปัจจัยในการทำให้ธุรกิจอยู่รอดไม่ใช่เรื่องของราคาหรือดอกเบี้ยที่ต่ำแต่เพียงอย่างเดียว แต่แนวทางดังกลาวของรัฐบาลก็จะช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนหนึ่งให้เข้าถือสินเชื่อและมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง
"เอสเอ็มอีกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ก็เป็นธุรกิจที่แต่ก่อนอาจจะเข้าสินเชื่อได้ไม่เต็มที่ หรือมีหลักประกันไม่เพียงพอ ตรงนี้ก็จะทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้นในระดับต้นทุนที่ต่ำมาก ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาได้ แต่เอสเอ็มอีอีกกลุ่มที่ไปไม่รอดจริงๆ ก็คงจะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะเมื่อแบงก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ไหวก็คงไม่สามารถปล่อยกู้ให้ได้เพราะจะเสี่ยงต่อการเป็นหนี้เสีย ซึ่งแนวทางนี้หากรวมกับการเข้ามามีบทบาทของบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อรายย่อย(บสย.)ก็จะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะแม้ลูกค้าจะเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม แต่ก็คุ้มกับดอกเบี้ยที่เสียน้อยลง"
นายสุทธิพงศ์ อิทธิพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (SCIB ) กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวของรัฐถือว่ามาถูกทางแล้ว จะช่วยเสริมสภาพคล่องธุรกิจเอสเอ็มอีในส่วนที่ประสบปัญหาซบเซามาระยะหนึ่ง ซึ่งธนาคารเองปัจจุบันก็เน้นการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีอยู่แล้ว โดยล่าสุดก็เพิ่งจะทำโครงการร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม(บีโอไอ)เพื่อปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีที่บีโอไอสนับสนุน และหากทางการมีนโยบายที่จะให้ช่วยปล่อยกู้ก็ยินดีจะร่วมมือด้วย แต่ก็ต้องดูหลักเกณฑ์ต่างๆว่าจะสามารถดำเนินการได้ในระดับใด และหากจะให้ทางบสย.เข้ามาร่วมโครงการด้วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารลงได้
สำหรับภาพรวมของเอสเอ็มอีแล้ว ก็น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยวที่อาจจะได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนกระทั่งถึงครึ่งปีแรกก็น่าจะกระเตื้องขึ้นในปลายปี ขณะที่กลุ่มรถยนต์เองก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นในบางส่วน โดยเฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก เท่าที่ตรวจสอบดู อย่าง โตโยต้าก็มีคำสั่งซื้อรถยนต์ขนาดเล็กเข้ามามากจนต้องเพิ่มกำลังการผลิตแล้ว แต่ในรถประเภทอื่นก็ยังไม่ดีนัก
นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคม ธนาคารไทย กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงการคลังที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยการขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์สมทบวงเงินสินเชื่ออีก 25,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ทางสมาคมยังไม่ได้รับการรายงานเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากพิจารณาโดยหลักการแล้วถือว่าเป็นมาตรการที่ดีอย่างหนึ่งที่จะสามารถช่วยผู้ประกอบการได้ในช่วงสภาเศรษฐกิจชะลอตัวจนส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจและดีกว่าที่จะไม่มีมาตรการช่วยเหลืออะไรเลย เนื่องจากจำนวนวงเงินที่จะให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้นั้นถือว่าไม่มาก อีกทั้งเชื่อว่าธนาคารแต่ละแห่งสามารถรับได้
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าหลังจากที่ปล่อยวงเงินสินเชื่อไปแล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้ รับการอนุมัติทุกราย เพราะธนาคารจะต้องดูความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกทั้งต้องตรวจสอบดูว่าธุรกิจที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทำอยู่นั้นสามารถเดินต่อได้หรือไม่ หรือผู้ประกอบการมีความสามารถในการชำระคืนหนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะผู้ประกอบการบางรายไม่มีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเลยซึ่งเชื่อว่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน
ส่วนนายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า หากกระทรวงการคลังมอบนโยบายมาธนาคารก็ยินดีให้ความร่วมมือเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับสภาพคล่อง แต่อยากให้ทุกฝ่ายดูถึงความต้องการของผู้กู้ด้วยว่ามีเท่าไร เพราะการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยในช่วงครึ่งปีแรกได้อนุมัติวงเงินไปถึง 60,000 ล้านบาทและมีลูกค้าชำระคืนมามากพอสมควรจึงทำให้ยอดการเติบโตสินเชื่อสุทธิมีไม่มาก ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการอยู่ในระดับทรงตัว ดังนั้น ทางกระทรวงการคลังต้องเข้าใจถึงความต้องการของผู้ประกอบการด้วย ส่วนอัตราดอกเบี้ย 0.1% นั้นก็เชื่อว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระเกี่ยวกับต้นทุนการทำธุรกิจได้
ดังนั้น ทางรัฐบาลเองก็ควรที่จะมีมาตรการอื่นๆออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและเกิดการใช้จ่ายในภาคประชาชนด้วย เพราะปัจจัยดังกล่าวจะเป็นการช่วยทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่จะมีการกิจกรรมการผลิต การค้าขายเพิ่มขึ้นในขณะที่ยอดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารก็จะเติบโตตามไปด้วย
ด้านนายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) (TMB) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ธนาคารพร้อมที่จะร่วมมือในการปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่องตามแนวทางของกระทรวงการคลัง แต่ก็จะต้องพิจารณาถึงตัวปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่จะให้สินเชื่อที่ด้วย เนื่องจากปัจจัยในการทำให้ธุรกิจอยู่รอดไม่ใช่เรื่องของราคาหรือดอกเบี้ยที่ต่ำแต่เพียงอย่างเดียว แต่แนวทางดังกลาวของรัฐบาลก็จะช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนหนึ่งให้เข้าถือสินเชื่อและมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง
"เอสเอ็มอีกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ก็เป็นธุรกิจที่แต่ก่อนอาจจะเข้าสินเชื่อได้ไม่เต็มที่ หรือมีหลักประกันไม่เพียงพอ ตรงนี้ก็จะทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้นในระดับต้นทุนที่ต่ำมาก ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาได้ แต่เอสเอ็มอีอีกกลุ่มที่ไปไม่รอดจริงๆ ก็คงจะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะเมื่อแบงก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ไหวก็คงไม่สามารถปล่อยกู้ให้ได้เพราะจะเสี่ยงต่อการเป็นหนี้เสีย ซึ่งแนวทางนี้หากรวมกับการเข้ามามีบทบาทของบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อรายย่อย(บสย.)ก็จะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะแม้ลูกค้าจะเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม แต่ก็คุ้มกับดอกเบี้ยที่เสียน้อยลง"
นายสุทธิพงศ์ อิทธิพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (SCIB ) กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวของรัฐถือว่ามาถูกทางแล้ว จะช่วยเสริมสภาพคล่องธุรกิจเอสเอ็มอีในส่วนที่ประสบปัญหาซบเซามาระยะหนึ่ง ซึ่งธนาคารเองปัจจุบันก็เน้นการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีอยู่แล้ว โดยล่าสุดก็เพิ่งจะทำโครงการร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม(บีโอไอ)เพื่อปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีที่บีโอไอสนับสนุน และหากทางการมีนโยบายที่จะให้ช่วยปล่อยกู้ก็ยินดีจะร่วมมือด้วย แต่ก็ต้องดูหลักเกณฑ์ต่างๆว่าจะสามารถดำเนินการได้ในระดับใด และหากจะให้ทางบสย.เข้ามาร่วมโครงการด้วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารลงได้
สำหรับภาพรวมของเอสเอ็มอีแล้ว ก็น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยวที่อาจจะได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนกระทั่งถึงครึ่งปีแรกก็น่าจะกระเตื้องขึ้นในปลายปี ขณะที่กลุ่มรถยนต์เองก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นในบางส่วน โดยเฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก เท่าที่ตรวจสอบดู อย่าง โตโยต้าก็มีคำสั่งซื้อรถยนต์ขนาดเล็กเข้ามามากจนต้องเพิ่มกำลังการผลิตแล้ว แต่ในรถประเภทอื่นก็ยังไม่ดีนัก