ASTVผู้จัดการรายวัน – แฉข้อมูล “ธนวัฒน์ วันสม” กับข้อกังขา เป็นงง บริหารองค์กรรายได้แค่หลักสิบล้านบาท แต่ผ่านเกณฑ์หลักพันล้านได้ยังไง จี้ บอร์ด อสมท ยังไม่สายเกินไป พิจารณาใหม่ให้รอบคอบ
การที่จะเข้าดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อย่างเป็นทางการ ของ นายธนวัฒน์ วันสม ยังคงต้องมีการตรวจสอบถึงคุณสมบัติว่าถูกต้องหรือไม่ แม้ว่าคณะกรรมการบมจ.อสมท หรือบอร์ด อสมท ที่มีนายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการฯ จะยืนยันว่า บอร์ด อสมท มีมติเป็นเอกฉันท์ที่เลือกให้นายธนวัฒน์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งไปแล้วก่อนหน้านี้ก็ตาม เนื่องจากยังมีข้อกังขาอีกมากมายที่ต้องการคำตอบที่ชัดเจน แต่ดูเหมือนว่า บอร์ด อสมท ก็จะยังคงยืนกรานที่จะอนุมัติให้นายธนวัฒน์ นั่งเก้าอี้นี้ได้
ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกต ถึงกรณีความไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณสมบัติของนายธนวัฒน์ ในประเด็นที่ว่า นายธนวัฒน์ที่จะอายุครบ 38 ปีในไม่กี่เดือนคนนี้ จะเคยผ่านการบริหารงานในบริษัทขนาดใหญ่ มีตำแหน่งเป็นลำดับที่ 2 ขององค์กรที่มีรายได้ต่อปีมากถึง 1,200 ล้านบาท มาแล้วจริงหรือไม่
จากประวัติการทำงานที่นายธนวัฒน์ยื่นเอกสารให้กับคณะกรรมการ อสมท ในใบสมัคร และที่มีการเปิดเผยมาตลอดก่อนหน้านี้ก็คือ อายุ 37 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ ที่ยูซีแอลเอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบปริญญาโท MM (EMBA)/บริหารธุรกิจ สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนการทำงานนั้น ปี 2540-2546 เคยดำรงตำแหน่งรองประธานภูมิภาค STAR TV S.E.A. หรือ สตาร์ทีวี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทลูกของ STAR GROUP ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทสตาร์ฮ่องกง ในเครือบริษัทสื่อชั้นนำของโลก “NEW CORPORATION” (Time Warner + Hutchinson Whampao)
ช่วงปี 2543 – 2546 เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท แชนแนลวี ประเทศไทย จำกัด ต่อมาในปี 2546-2549 เข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ท็อปคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และในช่วงปี 2549 ถึงปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส Lumina-Looque International Pte Ltd. และปี 2550 ถึงปัจจุบัน ทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส พัฒนาธุรกิจ บริษัท กันตนา กรุ๊ปจำกัด (มหาชน)
จากการตรวจสอบพบว่า นายธนวัฒน์ เคยเป็นรองประธานผู้จัดการทั่วไป บริษัท สตาร์ กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) จำกัดจริง และยังมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการบริษัทด้วย แต่ทั้งนี้บริษัทดังกล่าว จัดตั้งขึ้นมาเมื่อช่วงปี 2544 แต่มีทุนจดทะเบียนแค่ 3 ล้านบาทเท่านั้นเอง
โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท สตาร์ กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่ระบุไว้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 คือ บริษัท สตาร์ เทเลวิชั่น โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ซึ่งจดทะเบียนบริษัทอยู่ที่บริติช เวอร์จิ้น ไอแลนด์ จำนวน 14,695 หุ้น และมีบริษัท สตาร์ อินเตอร์เนชั่นแน โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นอยู่ 15,293 หุ้น ส่วนนายธนวัฒน์ วันสม ถือหุ้น 1 หุ้น และยังเป็นกรรมการบริหารบริษัทด้วย
ขณะที่เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 กลับไม่มีรายชื่อนายธนวัฒน์ วันสม ถือหุ้นแต่อย่างใด
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องของรายได้ ขณะที่รายได้ของสตาร์กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) ที่ได้ส่งงบการเงินให้กับกระทรวงพาณิชย์นั้นกลับพบว่า รายได้ยังไม่ถึงหลักร้อยล้านบาทด้วยซ้ำไป
โดยในปี 2545 มีรายได้รวมเท่ากับ 25,122,992.00 บาท หรือประมาณ 22 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 642,429.00 บาท, ส่วนปี 2546 รายได้รวมก็เพิ่มขึ้นเป็น 32,442,702.00 บาท หรือประมาณ 32 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 788,708.00 บาท, แต่ปี 2547 รายได้รวมก็หดหายไปมากเหลือแค่ 14,724,238.00 บาท มีกำไร 464,323.00 บาท แต่เพิ่มขึ้นในปี 2548 แต่ก็ยังหลักสิบล้านบาทอยู่ดีคือ มีรายได้ 18,109,384.00 บาท หรือแค่ 18 กว่าล้านบาทเท่านั้นเอง มีกำไร 694,705.00 บาท
ว่ากันว่า งานที่นายธนวัฒน์ดูแลอยู่นั้นคือ การขายรายการทีวีของสตาร์กรุ๊ป ในเซาท์อีสเอเชีย แต่ไม่ได้ทำงานโดยตรงที่สตาร์ทีวีฮ่องกงบริษัทแม่แต่อย่างใด แต่นายธนวัฒน์นั้นนั่งบริหารสาขาที่ประเทศไทย มีสำนักงานอยู่ที่ ชั้น 4 ตึกโอลิมเปียไทย พนักงานในองค์กรก็คงไม่น่าจะเกิน 15 คน เพราะเป็นแค่สำนักงานตัวแทนเท่านั้น
นี่หรือคุณสมบัติของนายธนวัฒน์ ที่ บอร์ด อสมท บอกว่าผ่านเกณฑ์ และเหมาะสม เพราะไม่มีตัวเลขหลักรายได้ที่มากกว่า 1,200 ล้านบาท หรือ1,500 ล้านบาท แต่อย่างใด อีกทั้งสมควรอย่างยิ่งที่ต้องพิสูจน์ความชัดเจนด้วย เพราะตามประวัติที่กล่าวอ้างนั้น ยังมีข้อสับสนอีกว่า นายธนวัฒน์นั้น ทำงานที่ สตาร์ทีวี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของสตาร์กรุ๊ป หรือไม่
เพราะเอาเข้าจริงแล้วดูเหมือนว่าจะทำงานที่บริษัทลูกมากกว่า ซึ่งเป็นสาขาในประเทศไทย จดทะเบียนชื่อ สตาร์ กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) จำกัด มากกว่า แต่กลับมาอ้างสตาร์ทีวี อ้างพนักงาน และยอดบิลลิ่งของบริษัทแม่ซึ่งมีพนักงานมากกว่า อาจจะเป็นระดับพันคนก็ได้ แต่ที่เมืองไทยอาจมีพนักงานแค่หลักสิบคน (เหมือนเป็นรองผู้จัดการสาขา อ้างสำนักงานใหญ่ อ้างพนักงาน งบรายได้ของทั้งบริษัทระดับโลก แต่ดูแลแค่สาขาเดียว หรือต่อให้ทั้งเซาท์อีสท์เอเชียมี 7 ประเทศ ก็คงมีรายได้รวมกันไม่น่าเกิน 1,500 ล้านบาทตามที่อ้างมา เพราะในเมืองไทยยังไม่ถึง 30 ล้านบาทเลย ดังนั้นถ้าหากเปรียบเทียบตำแหน่งในสาขาที่เป็นกับตำแหน่งที่สำนักงานใหญ่ อาจจะเป็นเบอร์ที่ร้อยหรือลำดับที่เท่าไรก็ไม่อาจรู้ได้
สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบลงไปให้ลึกว่า ตามที่นายธนวัฒน์ อ้างว่าทำงานที่ Star TV S.E.A. คือบริษัทอะไรกันแน่ จดทะเบียนจัดตั้งที่ไหน ในงบการเงินที่ส่งกรมสรรพากร เป็นเท่าไร หรือถ้าเป็นตำแหน่งที่ Star Group Hong Kong แน่นอนว่าคนที่มีอายุเพียง 30 กว่าๆเท่านั้น คงจะไม่ได้เป็นผู้บริหารลำดับสองในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขนาดนี้แน่ ยกเว้นเสียเป็นบริษัทของครอบครัวเองหรือ Family Business
ด้วยข้อมูลทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้ บอร์ด อสมท จะอยู่เฉยอีกไม่ได้แล้ว สิ่งที่ บอร์ด อสมท ต้องเร่งรีบดำเนินการในขณะนี้ ก็คือ การกลับมานั่งพิจารณาและตรวจสอบคุณสมบัติ ของ นายธนวัฒน์ วันสม ใหม่อีกครั้งอย่างละเอียด และรอบคอบ ขณะที่ตัวของนายธนวัฒน์เองนั้น จะต้องแสงดงถึงความถูกต้องและพิสูจน์ตัวเองให้ชัดเจน ถึงข้อกังขาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว ความโปร่งใสและความสง่าผ่าเผย ย่อมถูกบดบัง อย่างนี้แล้วจะหาบารมีของการเป็นผู้นำ อสมท ได้อย่างไร
การที่จะเข้าดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อย่างเป็นทางการ ของ นายธนวัฒน์ วันสม ยังคงต้องมีการตรวจสอบถึงคุณสมบัติว่าถูกต้องหรือไม่ แม้ว่าคณะกรรมการบมจ.อสมท หรือบอร์ด อสมท ที่มีนายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการฯ จะยืนยันว่า บอร์ด อสมท มีมติเป็นเอกฉันท์ที่เลือกให้นายธนวัฒน์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งไปแล้วก่อนหน้านี้ก็ตาม เนื่องจากยังมีข้อกังขาอีกมากมายที่ต้องการคำตอบที่ชัดเจน แต่ดูเหมือนว่า บอร์ด อสมท ก็จะยังคงยืนกรานที่จะอนุมัติให้นายธนวัฒน์ นั่งเก้าอี้นี้ได้
ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกต ถึงกรณีความไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณสมบัติของนายธนวัฒน์ ในประเด็นที่ว่า นายธนวัฒน์ที่จะอายุครบ 38 ปีในไม่กี่เดือนคนนี้ จะเคยผ่านการบริหารงานในบริษัทขนาดใหญ่ มีตำแหน่งเป็นลำดับที่ 2 ขององค์กรที่มีรายได้ต่อปีมากถึง 1,200 ล้านบาท มาแล้วจริงหรือไม่
จากประวัติการทำงานที่นายธนวัฒน์ยื่นเอกสารให้กับคณะกรรมการ อสมท ในใบสมัคร และที่มีการเปิดเผยมาตลอดก่อนหน้านี้ก็คือ อายุ 37 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ ที่ยูซีแอลเอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบปริญญาโท MM (EMBA)/บริหารธุรกิจ สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนการทำงานนั้น ปี 2540-2546 เคยดำรงตำแหน่งรองประธานภูมิภาค STAR TV S.E.A. หรือ สตาร์ทีวี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทลูกของ STAR GROUP ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทสตาร์ฮ่องกง ในเครือบริษัทสื่อชั้นนำของโลก “NEW CORPORATION” (Time Warner + Hutchinson Whampao)
ช่วงปี 2543 – 2546 เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท แชนแนลวี ประเทศไทย จำกัด ต่อมาในปี 2546-2549 เข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ท็อปคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และในช่วงปี 2549 ถึงปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส Lumina-Looque International Pte Ltd. และปี 2550 ถึงปัจจุบัน ทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส พัฒนาธุรกิจ บริษัท กันตนา กรุ๊ปจำกัด (มหาชน)
จากการตรวจสอบพบว่า นายธนวัฒน์ เคยเป็นรองประธานผู้จัดการทั่วไป บริษัท สตาร์ กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) จำกัดจริง และยังมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการบริษัทด้วย แต่ทั้งนี้บริษัทดังกล่าว จัดตั้งขึ้นมาเมื่อช่วงปี 2544 แต่มีทุนจดทะเบียนแค่ 3 ล้านบาทเท่านั้นเอง
โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท สตาร์ กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่ระบุไว้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 คือ บริษัท สตาร์ เทเลวิชั่น โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ซึ่งจดทะเบียนบริษัทอยู่ที่บริติช เวอร์จิ้น ไอแลนด์ จำนวน 14,695 หุ้น และมีบริษัท สตาร์ อินเตอร์เนชั่นแน โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นอยู่ 15,293 หุ้น ส่วนนายธนวัฒน์ วันสม ถือหุ้น 1 หุ้น และยังเป็นกรรมการบริหารบริษัทด้วย
ขณะที่เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 กลับไม่มีรายชื่อนายธนวัฒน์ วันสม ถือหุ้นแต่อย่างใด
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องของรายได้ ขณะที่รายได้ของสตาร์กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) ที่ได้ส่งงบการเงินให้กับกระทรวงพาณิชย์นั้นกลับพบว่า รายได้ยังไม่ถึงหลักร้อยล้านบาทด้วยซ้ำไป
โดยในปี 2545 มีรายได้รวมเท่ากับ 25,122,992.00 บาท หรือประมาณ 22 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 642,429.00 บาท, ส่วนปี 2546 รายได้รวมก็เพิ่มขึ้นเป็น 32,442,702.00 บาท หรือประมาณ 32 ล้านบาท มีกำไรประมาณ 788,708.00 บาท, แต่ปี 2547 รายได้รวมก็หดหายไปมากเหลือแค่ 14,724,238.00 บาท มีกำไร 464,323.00 บาท แต่เพิ่มขึ้นในปี 2548 แต่ก็ยังหลักสิบล้านบาทอยู่ดีคือ มีรายได้ 18,109,384.00 บาท หรือแค่ 18 กว่าล้านบาทเท่านั้นเอง มีกำไร 694,705.00 บาท
ว่ากันว่า งานที่นายธนวัฒน์ดูแลอยู่นั้นคือ การขายรายการทีวีของสตาร์กรุ๊ป ในเซาท์อีสเอเชีย แต่ไม่ได้ทำงานโดยตรงที่สตาร์ทีวีฮ่องกงบริษัทแม่แต่อย่างใด แต่นายธนวัฒน์นั้นนั่งบริหารสาขาที่ประเทศไทย มีสำนักงานอยู่ที่ ชั้น 4 ตึกโอลิมเปียไทย พนักงานในองค์กรก็คงไม่น่าจะเกิน 15 คน เพราะเป็นแค่สำนักงานตัวแทนเท่านั้น
นี่หรือคุณสมบัติของนายธนวัฒน์ ที่ บอร์ด อสมท บอกว่าผ่านเกณฑ์ และเหมาะสม เพราะไม่มีตัวเลขหลักรายได้ที่มากกว่า 1,200 ล้านบาท หรือ1,500 ล้านบาท แต่อย่างใด อีกทั้งสมควรอย่างยิ่งที่ต้องพิสูจน์ความชัดเจนด้วย เพราะตามประวัติที่กล่าวอ้างนั้น ยังมีข้อสับสนอีกว่า นายธนวัฒน์นั้น ทำงานที่ สตาร์ทีวี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของสตาร์กรุ๊ป หรือไม่
เพราะเอาเข้าจริงแล้วดูเหมือนว่าจะทำงานที่บริษัทลูกมากกว่า ซึ่งเป็นสาขาในประเทศไทย จดทะเบียนชื่อ สตาร์ กรุ๊ป รีจินอล (ประเทศไทย) จำกัด มากกว่า แต่กลับมาอ้างสตาร์ทีวี อ้างพนักงาน และยอดบิลลิ่งของบริษัทแม่ซึ่งมีพนักงานมากกว่า อาจจะเป็นระดับพันคนก็ได้ แต่ที่เมืองไทยอาจมีพนักงานแค่หลักสิบคน (เหมือนเป็นรองผู้จัดการสาขา อ้างสำนักงานใหญ่ อ้างพนักงาน งบรายได้ของทั้งบริษัทระดับโลก แต่ดูแลแค่สาขาเดียว หรือต่อให้ทั้งเซาท์อีสท์เอเชียมี 7 ประเทศ ก็คงมีรายได้รวมกันไม่น่าเกิน 1,500 ล้านบาทตามที่อ้างมา เพราะในเมืองไทยยังไม่ถึง 30 ล้านบาทเลย ดังนั้นถ้าหากเปรียบเทียบตำแหน่งในสาขาที่เป็นกับตำแหน่งที่สำนักงานใหญ่ อาจจะเป็นเบอร์ที่ร้อยหรือลำดับที่เท่าไรก็ไม่อาจรู้ได้
สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบลงไปให้ลึกว่า ตามที่นายธนวัฒน์ อ้างว่าทำงานที่ Star TV S.E.A. คือบริษัทอะไรกันแน่ จดทะเบียนจัดตั้งที่ไหน ในงบการเงินที่ส่งกรมสรรพากร เป็นเท่าไร หรือถ้าเป็นตำแหน่งที่ Star Group Hong Kong แน่นอนว่าคนที่มีอายุเพียง 30 กว่าๆเท่านั้น คงจะไม่ได้เป็นผู้บริหารลำดับสองในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขนาดนี้แน่ ยกเว้นเสียเป็นบริษัทของครอบครัวเองหรือ Family Business
ด้วยข้อมูลทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้ บอร์ด อสมท จะอยู่เฉยอีกไม่ได้แล้ว สิ่งที่ บอร์ด อสมท ต้องเร่งรีบดำเนินการในขณะนี้ ก็คือ การกลับมานั่งพิจารณาและตรวจสอบคุณสมบัติ ของ นายธนวัฒน์ วันสม ใหม่อีกครั้งอย่างละเอียด และรอบคอบ ขณะที่ตัวของนายธนวัฒน์เองนั้น จะต้องแสงดงถึงความถูกต้องและพิสูจน์ตัวเองให้ชัดเจน ถึงข้อกังขาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ให้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว ความโปร่งใสและความสง่าผ่าเผย ย่อมถูกบดบัง อย่างนี้แล้วจะหาบารมีของการเป็นผู้นำ อสมท ได้อย่างไร