หลังจากพิษหุ้น ฟาดเปรี้ยง ทำเอานักการเมืองหลายคนอาจต้องกลายสภาพเป็นอดีต ส.ส.ไปแบบไม่ทันตั้งตัว
เมื่อมีมติชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่เห็นว่าการครอบครอบหุ้นบริษัทสื่อสารและบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับรัฐ ของ16 ส.ว.และ ส.ส.ประชาธิปัตย์ 13 คน ขัดคุณสมบัติการเป็น ส.ว.และ ส.ส.ผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 และ 265 (2)
เลยส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อมการเมืองตามมากันเป็นทอดๆ
ไม่ว่าจะเป็นเสียงเรียกร้องให้ใช้จังหวะที่รัฐบาลได้รับบทสรุปผลการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรใช้จังหวะนี้แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 48 และ 265 ในเรื่องการถือหุ้นให้ชัดเจนไปเลย
จะได้ไม่ต้องมามีพวก ส.ส.-ส.ว. ตายน้ำตื้นกันแบบนี้อีก
แรงกระเพื่อมตรงนี้ พบว่าเริ่มมีสุ้มเสียงสนับสนุนดังเหลือเกินจากสภาหินอ่อน
อาทิ “เสธ.หนั่น” พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ จากพรรคชาติไทยพัฒนา ที่เป็น 1 ใน 44 ส.ส.ที่ กกต.เตรียมลงมติเชือดเร็ววันนี้ บนการคาดการณ์กันว่า เสธ.หนั่น มีโอกาสกลายเป็นอดีต ส.ส.สูงยิ่ง
เพราะหุ้นที่ เสธ.หนั่น ถืออยู่ คือบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด ที่ทำธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นคู่สัญญากับรัฐ คือทีโอที และบริษัทนี้ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ กกต.เคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานเอาไว้แล้วว่า เป็นหุ้นที่ ส.ส.ถือครองไม่ได้
เหตุหนึ่งที่ เสธ.หนั่น ดูจะพยายามจุดประเด็นเรื่องนี้ ต้องไม่ลืมว่า เสธ.หนั่น เข้ามาเป็นส.ส.สัดส่วน ในนามพรรคชาติไทย ที่ถูกยุบพรรคไปแล้ว อันหมายความว่า หากเสธ.หนั่น พ้นสมาชิกภาพ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา และรัฐบาลก็จะขาดเสียง ส.ส.ไปอีกหนึ่งคน
เพราะชาติไทยพัฒนา ไม่สามารถเอาคนขึ้นมาเป็นส.ส.สัดส่วนแทนได้ ในยามที่ประเมินแล้วว่า หากผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาในทางเดียวกับ กกต. ย่อมไม่เป็นผลดีกับเสถียรภาพของรัฐบาลมากนัก
การพยายามจะเรียกร้องให้ใช้โอกาสที่พรรคร่วมรัฐบาลอาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในอนาคต มาแก้รัฐธรรมนูญ มาตราที่เป็นปัญหาทางการเมืองครั้งนี้ด้วย จะว่าไปเรื่องนี้ ปัญหาแก้ง่ายนิดเดียว ก็แค่ต้อง
ลด ละ เลิก
การเห็นแก่ผลประโยชน์ที่จะได้จากการถือหุ้น ทั้งการขายหุ้นเก็งกำไร หรือเงินปันผล หรือการเก็บไว้เป็นสมบัติให้ตัวเอง และครอบครัว
โดยการขายหุ้นออกไปให้หมดเลยจะได้ไม่ต้องมามีปัญหากันภายหลัง จะไม่ดีกว่ามานั่งแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่หรือ ?
เพราะเมื่อดูจากจำนวน ส.ว.-ส.ส. 600 กว่าคน จะพบว่า บรรดา ส.ว.-ส.ส. ที่มีปัญหาในเรื่องนี้มีไม่กี่สิบคนเท่านั้น เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว
คนที่ไม่มีปัญหา มีมากกว่าคนมีปัญหา
คำถามก็คือ แล้วทำไมต้องไปแก้กติกาที่ดีอยู่แล้วในการป้องกันเรื่องผลประโยชน์ขัดกันทางการเมือง เพียงเพื่อให้เป็นที่พอใจของคนที่มีปัญหาไม่กี่คนที่เห็นแก่ประโยชน์เล็กๆน้อยๆ จากการถือหุ้น แล้วพอถูกทำให้เสียประโยชน์ ก็มาโทษว่าเป็นความผิดของรัฐธรรมนูญทุกครั้งไป
นอกจากเรื่องการจะถือโอกาสช่วงชุลมุนการเมือง จากปัญหาเรื่องหุ้นพ่นพิษ มาเป็นแรงผลักดันให้พรรคร่วมรัฐบาลมีเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว
ยังพบว่า มีอีกหลายแรงกระเพื่อมเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการมองไปที่ “การเลือกตั้งซ่อม” ของหลายพรรคการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทยที่ตอนนี้ก็เริ่มจะนัดหารือเตรียมพร้อมกันเนิ่นๆ แล้วเพราะประเมินแล้วว่า 5 ส.ส.เพื่อไทย โอกาสไม่รอดสูง
เช่น ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น, วิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. ไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา เพราะไปถือหุ้นในกลุ่มบริษัทเดียวกับ 16 ส.ว. และ ส.ส.ปชป. ทำให้แกนนำเพื่อไทยต้องเริ่มวางแผนป้องกันแชมป์ กับภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์ รวมถึงเอาเก้าอี้ ส.ส.เพิ่มกันแล้ว ตั้งแต่นี้ เพราะหากจะรอมติศาลรัฐธรรมนูญ แล้วค่อยคิดเตรียมการก็อาจช้าไปจนวิ่งตามเพื่อนไม่ทัน
แต่ที่เริ่มออกตัวก่อน คงหนีไม่พ้นสนามเลือกตั้งซ่อมที่ สุราษฏร์ธานี แม้ตอนนี้จะยังไม่เห็นชัดว่า ปชป.- เพื่อไทย จะส่งใครลงสมัคร แต่ฝ่ายที่ได้เปรียบหลายช่วงตัวยังต้องยกให้ “สุเทพ-ปชป.”
เพราะมีกระแสข่าวว่า เต็งหนึ่งที่ปชป.จะส่งคนลงแทนก็คือ ธานี เทือกสุบรรณ น้องชาย สุเทพ ที่เพิ่งโดนใบเหลืองจากตำแหน่งนายก อบจ. จะโผล่มารับไม้ต่อจากพี่ชายสุดที่รักที่วางตัวธานี ไว้นานแล้ว
เหตุเพราะรู้กันทั้งสุราษฏร์ธานี ว่า สุเทพ เริ่มวางอนาคตทางการเมืองไว้ให้กับเครือญาติ มารับช่วงต่อจากตัวเองแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ดัน เชน เทือกสุบรรณ มาเป็น ส.ส.สุราษฎร์ฯ หลายสมัย ต่อไปก็ถึงคราว ธานี น้องชายอีกคนหนึ่ง แล้วตามด้วยลูกๆ
อาจเริ่มจาก แทน เทือกสุบรรณ ลูกชายคนโตของสุเทพ ที่ตอนนี้เป็นผู้บริหารใหญ่ ศรีสุบรรณฟาร์ม เพื่อให้คนในวงศ์วาน สืบทอดอำนาจการเมืองกันเป็นช่วงๆ จากระดับจังหวัด ท้องถิ่น มาสู่ระดับชาติ เหมือนกับที่ตัว สุเทพ ก็สืบทอดตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ฯ ต่อจากบิดาคือ “กำนันจรัส” แล้วค่อยมาลง ส.ส.
ถึงแม้ว่าล่าสุด ธานี จะชิงออกมาเปิดตัวขอลงสมัคร โดยอ้างว่าได้รับไฟเขียวจาก “พี่เทพ”แล้ว ทั้งที่พรรคยังไม่มีมติ ทำให้ สุเทพไม่สบอารมณ์นัก เพราะจะถูกมองจากทั้งในพรรคและนอกพรรคว่า เก้าอี้ส.ส.เป็นสมบัติผลัดกันชม ของคนในครอบครัว
เลยมีข่าวว่าสุดท้ายโผอาจพลิกไม่ใช่ ธานี แต่ถ้าสุเทพ จะส่งลูกชายแทนตอนนี้ก็ต้องเจอวิจารณ์หนักไม่น้อยเช่นกัน เลยต้องรอดูท่าที สุเทพ และมติที่ประชุมส.ส.ปชป. กันเร็ววันนี้ว่าจะเอาอย่างไร
คาดว่าในวันประชุม ส.ส.ปชป.เพื่อตัดสินเรื่องนี้ คงมีเสียงบ่นดังๆในที่ประชุมพรรคจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรค ที่ออกมาระบุว่า เป็นการไม่สมควรที่สุเทพ ลาออก เพราะหากในอนาคตศาลรัฐธรรมนูญพลิกมติ กกต. นั่นหมายความว่า เงินงบประมาณเลือกตั้งซ่อม ส.ส.คนละเกือบ 20 ล้าน ย่อมสูญเปล่า
กระนั้นเสียงท้วงติงที่ดังออกมา คงไม่เข้าหูสุเทพ เท่ากับเสียงสนับสนุน โดยเฉพาะกับเสียงตอบรับที่ออกมาจาก จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ล่าสุดเมื่อวันวาน ที่เสียงส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 62.7 จากผู้ตอบแบบสอบถาม 1,071 คน ก็ยังเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้จัดการรัฐบาลคนนี้
จึงทำให้มติ กกต.ครั้งนี้ ไม่ได้ทำให้สุเทพ ระคางเคืองทางการเมืองเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะ
1. เก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงก็ยังมีก้นดำๆ ของสุเทพนั่งอยู่ 2. ส.ส.สุราษฏร์ธานีคนใหม่ ก็เป็นไปได้จะเป็นของคนในครอบครัว และ 3. ทำให้ภาพพจน์การเมืองของสุเทพ ดีขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่สุเทพปรารถนามากที่สุด
แล้วแบบนี้จะไม่แฮปปี้ทั้ง"เทือก" ได้อย่างไร !!??
เมื่อมีมติชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่เห็นว่าการครอบครอบหุ้นบริษัทสื่อสารและบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับรัฐ ของ16 ส.ว.และ ส.ส.ประชาธิปัตย์ 13 คน ขัดคุณสมบัติการเป็น ส.ว.และ ส.ส.ผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 และ 265 (2)
เลยส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อมการเมืองตามมากันเป็นทอดๆ
ไม่ว่าจะเป็นเสียงเรียกร้องให้ใช้จังหวะที่รัฐบาลได้รับบทสรุปผลการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรใช้จังหวะนี้แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 48 และ 265 ในเรื่องการถือหุ้นให้ชัดเจนไปเลย
จะได้ไม่ต้องมามีพวก ส.ส.-ส.ว. ตายน้ำตื้นกันแบบนี้อีก
แรงกระเพื่อมตรงนี้ พบว่าเริ่มมีสุ้มเสียงสนับสนุนดังเหลือเกินจากสภาหินอ่อน
อาทิ “เสธ.หนั่น” พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ จากพรรคชาติไทยพัฒนา ที่เป็น 1 ใน 44 ส.ส.ที่ กกต.เตรียมลงมติเชือดเร็ววันนี้ บนการคาดการณ์กันว่า เสธ.หนั่น มีโอกาสกลายเป็นอดีต ส.ส.สูงยิ่ง
เพราะหุ้นที่ เสธ.หนั่น ถืออยู่ คือบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด ที่ทำธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นคู่สัญญากับรัฐ คือทีโอที และบริษัทนี้ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ กกต.เคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานเอาไว้แล้วว่า เป็นหุ้นที่ ส.ส.ถือครองไม่ได้
เหตุหนึ่งที่ เสธ.หนั่น ดูจะพยายามจุดประเด็นเรื่องนี้ ต้องไม่ลืมว่า เสธ.หนั่น เข้ามาเป็นส.ส.สัดส่วน ในนามพรรคชาติไทย ที่ถูกยุบพรรคไปแล้ว อันหมายความว่า หากเสธ.หนั่น พ้นสมาชิกภาพ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา และรัฐบาลก็จะขาดเสียง ส.ส.ไปอีกหนึ่งคน
เพราะชาติไทยพัฒนา ไม่สามารถเอาคนขึ้นมาเป็นส.ส.สัดส่วนแทนได้ ในยามที่ประเมินแล้วว่า หากผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาในทางเดียวกับ กกต. ย่อมไม่เป็นผลดีกับเสถียรภาพของรัฐบาลมากนัก
การพยายามจะเรียกร้องให้ใช้โอกาสที่พรรคร่วมรัฐบาลอาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในอนาคต มาแก้รัฐธรรมนูญ มาตราที่เป็นปัญหาทางการเมืองครั้งนี้ด้วย จะว่าไปเรื่องนี้ ปัญหาแก้ง่ายนิดเดียว ก็แค่ต้อง
ลด ละ เลิก
การเห็นแก่ผลประโยชน์ที่จะได้จากการถือหุ้น ทั้งการขายหุ้นเก็งกำไร หรือเงินปันผล หรือการเก็บไว้เป็นสมบัติให้ตัวเอง และครอบครัว
โดยการขายหุ้นออกไปให้หมดเลยจะได้ไม่ต้องมามีปัญหากันภายหลัง จะไม่ดีกว่ามานั่งแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่หรือ ?
เพราะเมื่อดูจากจำนวน ส.ว.-ส.ส. 600 กว่าคน จะพบว่า บรรดา ส.ว.-ส.ส. ที่มีปัญหาในเรื่องนี้มีไม่กี่สิบคนเท่านั้น เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว
คนที่ไม่มีปัญหา มีมากกว่าคนมีปัญหา
คำถามก็คือ แล้วทำไมต้องไปแก้กติกาที่ดีอยู่แล้วในการป้องกันเรื่องผลประโยชน์ขัดกันทางการเมือง เพียงเพื่อให้เป็นที่พอใจของคนที่มีปัญหาไม่กี่คนที่เห็นแก่ประโยชน์เล็กๆน้อยๆ จากการถือหุ้น แล้วพอถูกทำให้เสียประโยชน์ ก็มาโทษว่าเป็นความผิดของรัฐธรรมนูญทุกครั้งไป
นอกจากเรื่องการจะถือโอกาสช่วงชุลมุนการเมือง จากปัญหาเรื่องหุ้นพ่นพิษ มาเป็นแรงผลักดันให้พรรคร่วมรัฐบาลมีเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว
ยังพบว่า มีอีกหลายแรงกระเพื่อมเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการมองไปที่ “การเลือกตั้งซ่อม” ของหลายพรรคการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทยที่ตอนนี้ก็เริ่มจะนัดหารือเตรียมพร้อมกันเนิ่นๆ แล้วเพราะประเมินแล้วว่า 5 ส.ส.เพื่อไทย โอกาสไม่รอดสูง
เช่น ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น, วิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. ไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา เพราะไปถือหุ้นในกลุ่มบริษัทเดียวกับ 16 ส.ว. และ ส.ส.ปชป. ทำให้แกนนำเพื่อไทยต้องเริ่มวางแผนป้องกันแชมป์ กับภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์ รวมถึงเอาเก้าอี้ ส.ส.เพิ่มกันแล้ว ตั้งแต่นี้ เพราะหากจะรอมติศาลรัฐธรรมนูญ แล้วค่อยคิดเตรียมการก็อาจช้าไปจนวิ่งตามเพื่อนไม่ทัน
แต่ที่เริ่มออกตัวก่อน คงหนีไม่พ้นสนามเลือกตั้งซ่อมที่ สุราษฏร์ธานี แม้ตอนนี้จะยังไม่เห็นชัดว่า ปชป.- เพื่อไทย จะส่งใครลงสมัคร แต่ฝ่ายที่ได้เปรียบหลายช่วงตัวยังต้องยกให้ “สุเทพ-ปชป.”
เพราะมีกระแสข่าวว่า เต็งหนึ่งที่ปชป.จะส่งคนลงแทนก็คือ ธานี เทือกสุบรรณ น้องชาย สุเทพ ที่เพิ่งโดนใบเหลืองจากตำแหน่งนายก อบจ. จะโผล่มารับไม้ต่อจากพี่ชายสุดที่รักที่วางตัวธานี ไว้นานแล้ว
เหตุเพราะรู้กันทั้งสุราษฏร์ธานี ว่า สุเทพ เริ่มวางอนาคตทางการเมืองไว้ให้กับเครือญาติ มารับช่วงต่อจากตัวเองแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ดัน เชน เทือกสุบรรณ มาเป็น ส.ส.สุราษฎร์ฯ หลายสมัย ต่อไปก็ถึงคราว ธานี น้องชายอีกคนหนึ่ง แล้วตามด้วยลูกๆ
อาจเริ่มจาก แทน เทือกสุบรรณ ลูกชายคนโตของสุเทพ ที่ตอนนี้เป็นผู้บริหารใหญ่ ศรีสุบรรณฟาร์ม เพื่อให้คนในวงศ์วาน สืบทอดอำนาจการเมืองกันเป็นช่วงๆ จากระดับจังหวัด ท้องถิ่น มาสู่ระดับชาติ เหมือนกับที่ตัว สุเทพ ก็สืบทอดตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ฯ ต่อจากบิดาคือ “กำนันจรัส” แล้วค่อยมาลง ส.ส.
ถึงแม้ว่าล่าสุด ธานี จะชิงออกมาเปิดตัวขอลงสมัคร โดยอ้างว่าได้รับไฟเขียวจาก “พี่เทพ”แล้ว ทั้งที่พรรคยังไม่มีมติ ทำให้ สุเทพไม่สบอารมณ์นัก เพราะจะถูกมองจากทั้งในพรรคและนอกพรรคว่า เก้าอี้ส.ส.เป็นสมบัติผลัดกันชม ของคนในครอบครัว
เลยมีข่าวว่าสุดท้ายโผอาจพลิกไม่ใช่ ธานี แต่ถ้าสุเทพ จะส่งลูกชายแทนตอนนี้ก็ต้องเจอวิจารณ์หนักไม่น้อยเช่นกัน เลยต้องรอดูท่าที สุเทพ และมติที่ประชุมส.ส.ปชป. กันเร็ววันนี้ว่าจะเอาอย่างไร
คาดว่าในวันประชุม ส.ส.ปชป.เพื่อตัดสินเรื่องนี้ คงมีเสียงบ่นดังๆในที่ประชุมพรรคจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรค ที่ออกมาระบุว่า เป็นการไม่สมควรที่สุเทพ ลาออก เพราะหากในอนาคตศาลรัฐธรรมนูญพลิกมติ กกต. นั่นหมายความว่า เงินงบประมาณเลือกตั้งซ่อม ส.ส.คนละเกือบ 20 ล้าน ย่อมสูญเปล่า
กระนั้นเสียงท้วงติงที่ดังออกมา คงไม่เข้าหูสุเทพ เท่ากับเสียงสนับสนุน โดยเฉพาะกับเสียงตอบรับที่ออกมาจาก จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ล่าสุดเมื่อวันวาน ที่เสียงส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 62.7 จากผู้ตอบแบบสอบถาม 1,071 คน ก็ยังเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้จัดการรัฐบาลคนนี้
จึงทำให้มติ กกต.ครั้งนี้ ไม่ได้ทำให้สุเทพ ระคางเคืองทางการเมืองเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะ
1. เก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงก็ยังมีก้นดำๆ ของสุเทพนั่งอยู่ 2. ส.ส.สุราษฏร์ธานีคนใหม่ ก็เป็นไปได้จะเป็นของคนในครอบครัว และ 3. ทำให้ภาพพจน์การเมืองของสุเทพ ดีขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่สุเทพปรารถนามากที่สุด
แล้วแบบนี้จะไม่แฮปปี้ทั้ง"เทือก" ได้อย่างไร !!??