ASTVผู้จัดการรายวัน – กระทรวงการต่างประเทศ แจงกรณีรัฐบาลกัมพูชาให้สัมปทานโตตาล ออยล์ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศสเข้าสำรวจขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมในเขตทับซ้อนทะเลไทย-กัมพูชา แค่จองสิทธิ์เท่านั้น ยังทำอะไรไม่ได้จนกว่ารัฐบาลทั้งสองชาติจะตกลงกัน ชี้แผนภูมิแนบท้ายข้อตกลงแบ่งเขตไหล่ทวีปทับซ้อนยุคทักษิณไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ กลุ่มพันธมิตรฯ แถลงจี้ยกเลิกหวั่นซ้ำรอยกรณีพระวิหาร ด้าน “สุวิทย์” เผยยังไม่ชงพื้นที่ป่า 1.5 ล้านไร่รอบเขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งมรดกโลก
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลกัมพูชาให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซฯ บริเวณเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ว่า เวลานี้ไม่มีทางที่ใครจะให้สัมปทานใครได้ เป็นแต่เพียงการจองสิทธิ์เพื่อเข้ามาสำรวจขุดเจาะเท่านั้น แต่การจะลงมือสำรวจได้จริงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะต้องตกลงกันได้ก่อน ตอนนี้เหมือนกับการซื้อกระดาษไปใบหนึ่ง
นายชวนนท์ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลที่ได้รับพื้นที่ที่โตตาล ออยล์ เข้าจองสิทธินั้นเดิมเป็นสัมปทานเก่าของเชลล์ ทางโตตาลฯ ไปซื้อต่อ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวทางกัมพูชาเรียกว่า Block 3 แต่ทางไทยเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า แปลง B 9, 10, 11 ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ และไทยก็ให้สัมปทานเหมือนกัน
“อันที่จริงพื้นที่ทับซ้อนทางทะลทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็ให้สัมปทาน ฝ่ายกัมพูชาให้ 6 บริษัท ส่วนไทยให้มากกว่า 11 บริษัท แต่ทั้งหมดก็ยังทำอะไรไม่ได้ เป็นเพียงการซื้อสิทธิ์ เพื่อให้มีสิทธิ์เข้าไปสำรวจเมื่อตกลงกันได้” นายชวนนท์ กล่าว
สำหรับเรื่องที่กล่าวว่า มีแผนที่แนบท้ายบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ว่าด้วยการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 ยุครัฐบาลทักษิณนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ไม่ใช่แผนที่เพราะไม่มีรายละเอียดเส้นลองติจูด ละติจูด ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน เป็นแต่เพียงภาพสเก็ตเท่านั้น
“ภาพสเกตดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเล ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลกัมพูชา จะให้สิทธิสัมปทานใดๆ ทั้งสิ้น ภาพสเกตดังกล่าวใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งบล็อกพื้นที่พัฒนาร่วมเท่านั้นว่าอยู่จุดไหนบ้าง และยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้” เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ กล่าว
นอกจากนั้น เขายังย้ำว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชากรณีกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารนั้น ทางรัฐบาลได้ยกเลิกไปแล้ว
***พันธมิตรจี้ยกเลิกเอ็มโอยูยุคทักษิณ
วานนี้ (29 ก.ค.) กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวติดตามการบริหารงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยประเด็นเรื่องการปกป้องอธิปไตยของชาติทั้งทางบกและทางทะเลในทุกมิติรวมถึงการรักษาผลประโยชน์ของชาติด้านพลังงานนั้น นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ได้รับมอบหมายให้แถลงติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว
นายปานเทพ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วงมากขณะนี้ คือ การพบว่ามีการสวมสิทธิ์หรือสวมผลประโยชน์ จากการเจรจาต่อรองตั้งแต่สมัยรัฐบาลคุณทักษิณ เราไปพบว่ามีการเซ็นบันทึกข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 ที่ไม่มีการผ่านรัฐสภา ซึ่งลงนามโดยคุณทักษิณ และฮุนเซน ในเอกสารดังกล่าว พบว่ามีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารคือ มีการแนบแผนที่ท้ายแถลงการณ์ร่วมหรือบันทึกข้อตกลง
นายปานเทพ กล่าวว่า เอกสารแนบท้าย ซึ่งเป็นแผนที่ทางทะเลระหว่าไทย-กัมพูชา พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นฝั่งกัมพูชาเขียนขึ้นเองไม่มีมาตรฐานใดๆ รองรับ ผิดหลักสากลทั่วไป ประเทศไทยใช้หลักเส้นมัธยะ ตามหลักสากล ขีดเส้นออกมาจากหลักที่ 73 เราพบว่า เส้นดังกล่าวมีการละเมิดอธิปไตยของไทย บริเวณที่เห็นเป็นรอยหยักๆ เล็กๆ คือ เกาะกูด พื้นที่เกาะกูดต้องมีพื้นที่ทางทะเลล้อมรอบเป็นดินแดนของไทย อย่างน้อย 12 ไมล์ทะเล แต่ทางกัมพูชาไม่มีข้อสนใจในเรื่องนี้
ในแถลงการณ์ร่วม และบันทึกข้อตกลงในเดือนมิ.ย. 2544 พบว่า เนื่องจากมีข้อพิพาทดังกล่าวและเกรงประชาชนจะจับได้ ทำให้มีข้อตกลงว่า พื้นที่พิพาทด้านบน เหนือกว่า 11 องศาเหนือ ไม่มีการตกลงในเรื่องอธิปไตย แต่ให้มาบันทึกความเข้าใจในเรื่องผลประโยชน์ พื้นที่ใต้ 11 องศาเหนือ ที่เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ ลงมาข้างล่าง เป็นพื้นที่ที่ตกลงจะแบ่งผลประโยชน์กัน ผลปรากฎว่า วันนี้ได้มีการยึดพื้นที่ดังกล่าวนั้นจากพื้นที่ที่ควรจะเป็นของไทย กลับกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตั้งแต่ปี 2544 ผลประโยชน์ตรงนี้ มีมูลค่านับ 4 ล้านล้านบาท
ข้อพิรุธประการต่อมา คือ มีบริษัทจากฝรั่งเศส ชื่อบริษัท โตตาล ออยล์ ได้เซ็นสัญญาในพื้นที่ของไทย ซึ่งเซ็นสัญญานี้เป็นขั้นตอนการเซ็นสัญญาณระหว่างบริษัทต่างชาติกับประเทศกัมพูชาในพื้นที่ของไทย ถ้ารัฐบาลไม่ตระหนัก หรือปล่อยให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปเจรจา ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหาร แต่ไปเจรจายอมรับพื้นที่ดังกล่าว เท่ากับเป็นการยกทรัพยากรของประเทศไทยให้กลายเป็นพื้นที่ทับซ้อน และกลายเป็นผลประโยชน์ของกัมพูชา
“เรื่องนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลควรต้องยกเลิกแถลงการณ์ที่ไม่ชอบ และสุ่มเสี่ยงต่ออธิปไตยของชาติ ที่เซ็นกันไว้ตั้งแต่ปี 2544 ไม่เช่นนั้นจะซ้ำรอยเดิม เหมือนปราสาทพระวิหาร คือใช้กฎหมายปิดปาก ว่าประเทศไทยไม่มีข้อโต้แย้งในเรื่องเหล่านี้”
โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ยังพบอีกว่า มีพฤติกรรม พื้นที่ที่มีลักษณะดูเหมือนกับว่า พื้นที่ทับซ้อนที่อ้างว่าดังกล่าวนี้ 27,960 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะ มีบริษัทที่มาร่วมลงทุนกับ ปตท.สผ. ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนใกล้ชิดคุณทักษิณ ไม่ว่าจะเป็น นายโมฮัมหมัด อัล ฟาเยด เจ้าของห้างแฮร์รอดส์ หรือบริษัทเทมาเส็ก
นายปานเทพ ตั้งข้อสังเกตว่า การเจรจาโดยที่ไม่มีรัฐมนตรีกษิต ไปเจรจาในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และไปยอมรับพื้นที่และแผนที่ดังกล่าว จะเป็นการตอกย้ำให้ประเทศไทยสูญเสียผลประโยชน์มากขึ้น
*** พิรุธกัน“กษิต”ออกนอกวงเจรจา
นายปานเทพ กล่าวในระหว่างการตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า ไม่มั่นใจว่า บทบาทของนายกษิต ในการเจรจากับฝั่งกัมพูชา มีมากน้อยแค่ไหน เพราะมีกระแสข่าวถูกกันออกไปในการเจรจากับทางกัมพูชาเรื่องปราสาทพระวิหาร ซึ่งรัฐบาลส่งรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไปแทน แต่แทนที่จะเจรจากันเรื่องปราสาทพระวิหารกลับกลายเป็นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทย ซึ่งเซ็นกันไว้ตั้งแต่ปี 2544
กรณีนี้ น่าเป็นห่วงมาก ยิ่งมีพฤติกรรมว่า มีเอกชนไปสัมปทานกับฝั่งกัมพูชาฝ่ายเดียวในเวลาตอนนี้เพิ่มมากขึ้น มีข่าวว่า มีหุ่นเชิดของนักการเมืองผ่านบริษัทต่างๆ ไปลงทุนมากขึ้น ยิ่งอันตราย ท่านรัฐมนตรีกษิต ต้องใช้สิทธิ์ และหน้าที่ของตนเองในสิ่งที่เคยได้ประกาศไว้กับพันธมิตรฯ
“ในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ที่เซ็นกันไว้ตั้งแต่ปี 2544 เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นคู่เจรจาโดยตรงกับในแถลงการณ์ร่วม และเอ็มโอยู ที่เซ็นตั้งแต่สมัยรัฐบาลคุณทักษิณ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่มีกระบวนการต้องการให้คุณกษิต ออกจากตำแหน่ง เพราะจริงๆ แล้วรองนายกรัฐมนตรีไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะไปเจรจาตามเอ็มโอยู ที่ได้เคยเซ็นกันไว้”
โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ อธิบายต่อว่า ตามเอกสารที่ปรากฎในการเซ็นเอ็มโอยู ระบุอย่างชัดเจน หน้าที่แต่ละฝ่าย ในผลประโยชน์ทางพลังงาน มีการตั้งคณะกรรมการร่วม 1 กลุ่ม เรื่องการเจรจาโดยภาพรวม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศเป็นคู่เจรจา เพราะฉะนั้น ภายใต้เอ็มโอยู ในเจรจาเรื่องพลังงาน จึงไม่ใช่หน้าที่ของรองนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นหน้าที่ในการลงรายละเอียดของคณะกรรมการ 1 ชุด รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
“ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ไม่เห็นด้วยกับการสูญเสียผลประโยชน์รอบปราสาทพระวิหารและพื้นที่อ่าวไทย และเห็นด้วยกับการยกเลิกแถลงการณ์ อาจจะเป็นไปได้ว่า มีกระบวนการต้องการให้ท่านนั้นพ้นจากตำแหน่ง นั่นเป็นสาเหตุใช่หรือไม่ ที่เราต้องตั้งคำถามว่า ข้อหาผู้ก่อการร้าย กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีกระแสข่าวว่า ส่งรายชื่อรัฐมนตรีกษิต เป็นคนสุดท้าย ย่อมถูกตั้งข้อสงสัยได้ว่า เป็นกระบวนการเดียวกันหรือเปล่า เพื่อกำจัดท่านออกไปในการเจรจาในเรื่องระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งวันนี้ก็สอดคล้องว่า หลายครั้งที่ไปเจรจาไม่ได้เรื่องอื่นเลย คือเรื่องพลังงานล้วนๆ”
***กษิต ป้อง สุเทพ เจรจาที่ทับซ้อน
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่พันธมิตรตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวประธานการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง โดยหวั่นมีการเสียประโยชน์ว่า ตนมีความเคารพในความซื่อสัตย์สุจริต และความรักชาติของนายสุเทพ และรัฐบาลก็ทำงานเป็นทีม มีการหารือกันตลอดเวลาและการตัดสินใจใดๆ นั้น ก็ต้องไปที่นายกฯ และไปที่ครม. ทั้งนี้ ประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยดินแดนนั้น ต้องรายงานต่อสภา และขอความเห็นชอบจากรัฐสภา จึงไม่มีสิ่งใดเป็นข้อสงสัย ทุกอย่างเจรจาไปตามตัวบทกฎหมายที่กำกับอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกรมเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน และทางกองทัพก็ดูข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับพื้นที่ทางทะเล นี่เป็นการเจรจาต่อรองระหว่าง 2 ประเทศเพื่อผลประโยชน์ของคนทั้ง 2 ประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของคนทั้ง 2 ประเทศ มันมีผลประโยชน์อันมหาศาล ไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นข้อสงสัย และที่สำคัญฝ่ายกัมพูชา ก็เป็นระดับรองนายกรัฐมนตรี ก็มีคิดกันในรัฐบาลว่า เพื่อจะให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีความทัดเทียมกัน ตัวผมก็เป็นรองหัวหน้าคณะอยู่ และเราก็มีทีม ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งแผนที่ทางทะเลและมีท่านทูตวศิน เป็นผู้เจรจาทางด้านเทคนิค ซึ่งเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศมือหนึ่ง
“อย่าไปคาดการณ์ว่า คนนั้นคนนี้จะไม่ดี ผมคิดว่า ต้องให้ความเคารพในความที่เป็นนักการเมืองที่ดี และความเป็นมืออาชีพของนายสุเทพ และการเป็นรัฐบาลที่เอาเรื่องธรรมาภิบาลความโปร่งใสเป็นตัวตั้ง ก็ไม่อยากให้มีการคาดการณ์ตีโพยตีพายล่วงหน้า ขอให้มีความมั่นใจในความโปร่งใสและการปรึกษาหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าไปตีโพยตีพายหรือไปตราบาปคนเสียก่อน ผมคิดว่าอันนี้ไม่เป็นการยุติธรรมกับคนอย่างยิ่ง ต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง” นายกษิตกล่าว
เมื่อถามว่านายสุเทพ ไม่เคยมีประสบการณ์เจรจาระหว่างประเทศมาก่อน นายกษิต กล่าวว่า เป็นเรื่องของการเจรจา นายสุเทพเจรจามาตลอดชีวิต ส่วนนี้ขึ้นอยู่ว่าจะเตรียมข้อมูลให้อย่างไร และกระทรวงได้จัดเจ้าหน้าที่ไปรายงานเป็นระยะๆ ทางกระทรวงพลังงานก็ทำเอกสารข้อมูลรายละเอียดเรื่องพื้นที่ทับซ้อนมาหมดแล้ว ขอให้สบายใจได้
*** สุวิทย์ ยันยังไม่ชงเรื่องพื้นที่ป่าขึ้นมรดกโลก
ในวันเดียวกันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้อนรับนายโอลาบิยี บาบาโลลา โจเซฟ ประธานคณะกรรมการบริหารยูเนสโก ในฐานะทูต เบนิน ผู้แทนพิเศษยูเนสโก ในโอกาสมาเยือนประเทศไทย
นายสุวิทย์ เปิดเผยว่า การมาของประธานคณะกรรมการบริหารยูเนสโกฯ เป็นการมาดูพื้นที่ในส่วนของมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว และพบปะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับกรณีที่ ทางสถาบันไทยคดีศึกษา มายื่นหนังสือถึงรัฐบาล ไม่เห็นด้วยกับการร่วมจดทะเบียนมรดกโลกกับกัมพูชา เพราะจะกลายเป็นการยกพื้นที่ให้นั้น นายสุวิทย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว และเป็นกระบวนการที่ต้องพูดคุยกัน และดูทางออกว่าอยู่ตรงไหน อย่างไร ในการที่จะยุติปัญหาขัดแย้ง สิ่งสำคัญของการขึ้นทะเบียนมรดกโลก มีเงื่อนไข กติกา ภายใต้อนุสัญญาและภายใต้ธรรมนูญขององค์การยูเนสโก อะไรที่ยังมีปัญหา คิดว่าสามารถแก้ได้
เมื่อถามว่าทางกัมพูชาไม่คุยกับไทยเพราะได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว เหลือเพียงพื้นที่ทับซ้อนเท่านั้น นายสุวิทย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของคณะกรรมการทางยูเนสโก ที่ผ่านมาได้คุยแล้วโดยพูดถึงประเด็นปัญหากระบวนการขั้นตอนต่างๆ ที่เกิดขึ้น และพยายามหาแนวทางยุติปัญหาความขัดแย้งให้ได้
ทั้งนี้เราได้บอกกับทางคณะกรรมการมรดกโลกและทางยูเนสโก้ ไปแล้วว่ามรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนเป็นของชาวโลก ที่คนทั่วโลกจะมาชื่นชมเรียนรู้ เมื่อประกาศแล้วมาปิดไม่ให้คนขึ้นไปเที่ยวมันขัดกับหลักการ และวัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และขัดกับหลักการการจัดตั้งองค์การยูเนสโก้ในภาพรวม และการปักปันเขตแดนเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการ เพื่อให้เกิดขอบเขตที่ชัดเจน เพราะเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนบอกว่า ต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน และมีแผนการบริหารจัดการที่ชัดเจนจึงจะทำให้การขึ้นทะเบียนสมบูรณ์
ส่วนการยกเลิกแถลงการณ์ร่วมของไทย จะถือว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารของเขมรสมบูรณ์หรือไม่ นายสุวิทย์ กล่าวว่า ถามว่าสมบูรณ์หรือไม่ ยังเป็นข้อถกเถียงกัน เพราะคณะกรรมการมรดกโลกได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว แต่การขึ้นทะเบียน ยังไม่มีความสมบูรณ์ เพราะกระบวนการยังขาดองค์ประกอบตามเงื่อนไข กติกาที่กำหนดไว้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่เราได้ไปยื่นให้กับคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก
เมื่อถามว่าพื้นที่ป่า 1.5 ล้านไร่ กระทรวงทรัพย์ฯ จะมีแผนบริหารจัดการอย่างไร กระทรวงทรัพย์ฯ จะเสนอแผนให้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมรดกโลกด้านธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ นายสุวิทย์ กล่าวย้ำว่า ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เลย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลกัมพูชาให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซฯ บริเวณเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ว่า เวลานี้ไม่มีทางที่ใครจะให้สัมปทานใครได้ เป็นแต่เพียงการจองสิทธิ์เพื่อเข้ามาสำรวจขุดเจาะเท่านั้น แต่การจะลงมือสำรวจได้จริงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะต้องตกลงกันได้ก่อน ตอนนี้เหมือนกับการซื้อกระดาษไปใบหนึ่ง
นายชวนนท์ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลที่ได้รับพื้นที่ที่โตตาล ออยล์ เข้าจองสิทธินั้นเดิมเป็นสัมปทานเก่าของเชลล์ ทางโตตาลฯ ไปซื้อต่อ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวทางกัมพูชาเรียกว่า Block 3 แต่ทางไทยเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า แปลง B 9, 10, 11 ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ และไทยก็ให้สัมปทานเหมือนกัน
“อันที่จริงพื้นที่ทับซ้อนทางทะลทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็ให้สัมปทาน ฝ่ายกัมพูชาให้ 6 บริษัท ส่วนไทยให้มากกว่า 11 บริษัท แต่ทั้งหมดก็ยังทำอะไรไม่ได้ เป็นเพียงการซื้อสิทธิ์ เพื่อให้มีสิทธิ์เข้าไปสำรวจเมื่อตกลงกันได้” นายชวนนท์ กล่าว
สำหรับเรื่องที่กล่าวว่า มีแผนที่แนบท้ายบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ว่าด้วยการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 ยุครัฐบาลทักษิณนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ไม่ใช่แผนที่เพราะไม่มีรายละเอียดเส้นลองติจูด ละติจูด ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน เป็นแต่เพียงภาพสเก็ตเท่านั้น
“ภาพสเกตดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเล ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลกัมพูชา จะให้สิทธิสัมปทานใดๆ ทั้งสิ้น ภาพสเกตดังกล่าวใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งบล็อกพื้นที่พัฒนาร่วมเท่านั้นว่าอยู่จุดไหนบ้าง และยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้” เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ กล่าว
นอกจากนั้น เขายังย้ำว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชากรณีกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารนั้น ทางรัฐบาลได้ยกเลิกไปแล้ว
***พันธมิตรจี้ยกเลิกเอ็มโอยูยุคทักษิณ
วานนี้ (29 ก.ค.) กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวติดตามการบริหารงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยประเด็นเรื่องการปกป้องอธิปไตยของชาติทั้งทางบกและทางทะเลในทุกมิติรวมถึงการรักษาผลประโยชน์ของชาติด้านพลังงานนั้น นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ได้รับมอบหมายให้แถลงติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว
นายปานเทพ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วงมากขณะนี้ คือ การพบว่ามีการสวมสิทธิ์หรือสวมผลประโยชน์ จากการเจรจาต่อรองตั้งแต่สมัยรัฐบาลคุณทักษิณ เราไปพบว่ามีการเซ็นบันทึกข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 ที่ไม่มีการผ่านรัฐสภา ซึ่งลงนามโดยคุณทักษิณ และฮุนเซน ในเอกสารดังกล่าว พบว่ามีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารคือ มีการแนบแผนที่ท้ายแถลงการณ์ร่วมหรือบันทึกข้อตกลง
นายปานเทพ กล่าวว่า เอกสารแนบท้าย ซึ่งเป็นแผนที่ทางทะเลระหว่าไทย-กัมพูชา พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นฝั่งกัมพูชาเขียนขึ้นเองไม่มีมาตรฐานใดๆ รองรับ ผิดหลักสากลทั่วไป ประเทศไทยใช้หลักเส้นมัธยะ ตามหลักสากล ขีดเส้นออกมาจากหลักที่ 73 เราพบว่า เส้นดังกล่าวมีการละเมิดอธิปไตยของไทย บริเวณที่เห็นเป็นรอยหยักๆ เล็กๆ คือ เกาะกูด พื้นที่เกาะกูดต้องมีพื้นที่ทางทะเลล้อมรอบเป็นดินแดนของไทย อย่างน้อย 12 ไมล์ทะเล แต่ทางกัมพูชาไม่มีข้อสนใจในเรื่องนี้
ในแถลงการณ์ร่วม และบันทึกข้อตกลงในเดือนมิ.ย. 2544 พบว่า เนื่องจากมีข้อพิพาทดังกล่าวและเกรงประชาชนจะจับได้ ทำให้มีข้อตกลงว่า พื้นที่พิพาทด้านบน เหนือกว่า 11 องศาเหนือ ไม่มีการตกลงในเรื่องอธิปไตย แต่ให้มาบันทึกความเข้าใจในเรื่องผลประโยชน์ พื้นที่ใต้ 11 องศาเหนือ ที่เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ ลงมาข้างล่าง เป็นพื้นที่ที่ตกลงจะแบ่งผลประโยชน์กัน ผลปรากฎว่า วันนี้ได้มีการยึดพื้นที่ดังกล่าวนั้นจากพื้นที่ที่ควรจะเป็นของไทย กลับกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตั้งแต่ปี 2544 ผลประโยชน์ตรงนี้ มีมูลค่านับ 4 ล้านล้านบาท
ข้อพิรุธประการต่อมา คือ มีบริษัทจากฝรั่งเศส ชื่อบริษัท โตตาล ออยล์ ได้เซ็นสัญญาในพื้นที่ของไทย ซึ่งเซ็นสัญญานี้เป็นขั้นตอนการเซ็นสัญญาณระหว่างบริษัทต่างชาติกับประเทศกัมพูชาในพื้นที่ของไทย ถ้ารัฐบาลไม่ตระหนัก หรือปล่อยให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปเจรจา ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหาร แต่ไปเจรจายอมรับพื้นที่ดังกล่าว เท่ากับเป็นการยกทรัพยากรของประเทศไทยให้กลายเป็นพื้นที่ทับซ้อน และกลายเป็นผลประโยชน์ของกัมพูชา
“เรื่องนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลควรต้องยกเลิกแถลงการณ์ที่ไม่ชอบ และสุ่มเสี่ยงต่ออธิปไตยของชาติ ที่เซ็นกันไว้ตั้งแต่ปี 2544 ไม่เช่นนั้นจะซ้ำรอยเดิม เหมือนปราสาทพระวิหาร คือใช้กฎหมายปิดปาก ว่าประเทศไทยไม่มีข้อโต้แย้งในเรื่องเหล่านี้”
โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ยังพบอีกว่า มีพฤติกรรม พื้นที่ที่มีลักษณะดูเหมือนกับว่า พื้นที่ทับซ้อนที่อ้างว่าดังกล่าวนี้ 27,960 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะ มีบริษัทที่มาร่วมลงทุนกับ ปตท.สผ. ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนใกล้ชิดคุณทักษิณ ไม่ว่าจะเป็น นายโมฮัมหมัด อัล ฟาเยด เจ้าของห้างแฮร์รอดส์ หรือบริษัทเทมาเส็ก
นายปานเทพ ตั้งข้อสังเกตว่า การเจรจาโดยที่ไม่มีรัฐมนตรีกษิต ไปเจรจาในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และไปยอมรับพื้นที่และแผนที่ดังกล่าว จะเป็นการตอกย้ำให้ประเทศไทยสูญเสียผลประโยชน์มากขึ้น
*** พิรุธกัน“กษิต”ออกนอกวงเจรจา
นายปานเทพ กล่าวในระหว่างการตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า ไม่มั่นใจว่า บทบาทของนายกษิต ในการเจรจากับฝั่งกัมพูชา มีมากน้อยแค่ไหน เพราะมีกระแสข่าวถูกกันออกไปในการเจรจากับทางกัมพูชาเรื่องปราสาทพระวิหาร ซึ่งรัฐบาลส่งรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไปแทน แต่แทนที่จะเจรจากันเรื่องปราสาทพระวิหารกลับกลายเป็นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทย ซึ่งเซ็นกันไว้ตั้งแต่ปี 2544
กรณีนี้ น่าเป็นห่วงมาก ยิ่งมีพฤติกรรมว่า มีเอกชนไปสัมปทานกับฝั่งกัมพูชาฝ่ายเดียวในเวลาตอนนี้เพิ่มมากขึ้น มีข่าวว่า มีหุ่นเชิดของนักการเมืองผ่านบริษัทต่างๆ ไปลงทุนมากขึ้น ยิ่งอันตราย ท่านรัฐมนตรีกษิต ต้องใช้สิทธิ์ และหน้าที่ของตนเองในสิ่งที่เคยได้ประกาศไว้กับพันธมิตรฯ
“ในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ที่เซ็นกันไว้ตั้งแต่ปี 2544 เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นคู่เจรจาโดยตรงกับในแถลงการณ์ร่วม และเอ็มโอยู ที่เซ็นตั้งแต่สมัยรัฐบาลคุณทักษิณ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่มีกระบวนการต้องการให้คุณกษิต ออกจากตำแหน่ง เพราะจริงๆ แล้วรองนายกรัฐมนตรีไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะไปเจรจาตามเอ็มโอยู ที่ได้เคยเซ็นกันไว้”
โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ อธิบายต่อว่า ตามเอกสารที่ปรากฎในการเซ็นเอ็มโอยู ระบุอย่างชัดเจน หน้าที่แต่ละฝ่าย ในผลประโยชน์ทางพลังงาน มีการตั้งคณะกรรมการร่วม 1 กลุ่ม เรื่องการเจรจาโดยภาพรวม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศเป็นคู่เจรจา เพราะฉะนั้น ภายใต้เอ็มโอยู ในเจรจาเรื่องพลังงาน จึงไม่ใช่หน้าที่ของรองนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นหน้าที่ในการลงรายละเอียดของคณะกรรมการ 1 ชุด รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
“ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ไม่เห็นด้วยกับการสูญเสียผลประโยชน์รอบปราสาทพระวิหารและพื้นที่อ่าวไทย และเห็นด้วยกับการยกเลิกแถลงการณ์ อาจจะเป็นไปได้ว่า มีกระบวนการต้องการให้ท่านนั้นพ้นจากตำแหน่ง นั่นเป็นสาเหตุใช่หรือไม่ ที่เราต้องตั้งคำถามว่า ข้อหาผู้ก่อการร้าย กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีกระแสข่าวว่า ส่งรายชื่อรัฐมนตรีกษิต เป็นคนสุดท้าย ย่อมถูกตั้งข้อสงสัยได้ว่า เป็นกระบวนการเดียวกันหรือเปล่า เพื่อกำจัดท่านออกไปในการเจรจาในเรื่องระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งวันนี้ก็สอดคล้องว่า หลายครั้งที่ไปเจรจาไม่ได้เรื่องอื่นเลย คือเรื่องพลังงานล้วนๆ”
***กษิต ป้อง สุเทพ เจรจาที่ทับซ้อน
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่พันธมิตรตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวประธานการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง โดยหวั่นมีการเสียประโยชน์ว่า ตนมีความเคารพในความซื่อสัตย์สุจริต และความรักชาติของนายสุเทพ และรัฐบาลก็ทำงานเป็นทีม มีการหารือกันตลอดเวลาและการตัดสินใจใดๆ นั้น ก็ต้องไปที่นายกฯ และไปที่ครม. ทั้งนี้ ประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยดินแดนนั้น ต้องรายงานต่อสภา และขอความเห็นชอบจากรัฐสภา จึงไม่มีสิ่งใดเป็นข้อสงสัย ทุกอย่างเจรจาไปตามตัวบทกฎหมายที่กำกับอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกรมเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน และทางกองทัพก็ดูข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับพื้นที่ทางทะเล นี่เป็นการเจรจาต่อรองระหว่าง 2 ประเทศเพื่อผลประโยชน์ของคนทั้ง 2 ประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของคนทั้ง 2 ประเทศ มันมีผลประโยชน์อันมหาศาล ไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นข้อสงสัย และที่สำคัญฝ่ายกัมพูชา ก็เป็นระดับรองนายกรัฐมนตรี ก็มีคิดกันในรัฐบาลว่า เพื่อจะให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีความทัดเทียมกัน ตัวผมก็เป็นรองหัวหน้าคณะอยู่ และเราก็มีทีม ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งแผนที่ทางทะเลและมีท่านทูตวศิน เป็นผู้เจรจาทางด้านเทคนิค ซึ่งเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศมือหนึ่ง
“อย่าไปคาดการณ์ว่า คนนั้นคนนี้จะไม่ดี ผมคิดว่า ต้องให้ความเคารพในความที่เป็นนักการเมืองที่ดี และความเป็นมืออาชีพของนายสุเทพ และการเป็นรัฐบาลที่เอาเรื่องธรรมาภิบาลความโปร่งใสเป็นตัวตั้ง ก็ไม่อยากให้มีการคาดการณ์ตีโพยตีพายล่วงหน้า ขอให้มีความมั่นใจในความโปร่งใสและการปรึกษาหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าไปตีโพยตีพายหรือไปตราบาปคนเสียก่อน ผมคิดว่าอันนี้ไม่เป็นการยุติธรรมกับคนอย่างยิ่ง ต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง” นายกษิตกล่าว
เมื่อถามว่านายสุเทพ ไม่เคยมีประสบการณ์เจรจาระหว่างประเทศมาก่อน นายกษิต กล่าวว่า เป็นเรื่องของการเจรจา นายสุเทพเจรจามาตลอดชีวิต ส่วนนี้ขึ้นอยู่ว่าจะเตรียมข้อมูลให้อย่างไร และกระทรวงได้จัดเจ้าหน้าที่ไปรายงานเป็นระยะๆ ทางกระทรวงพลังงานก็ทำเอกสารข้อมูลรายละเอียดเรื่องพื้นที่ทับซ้อนมาหมดแล้ว ขอให้สบายใจได้
*** สุวิทย์ ยันยังไม่ชงเรื่องพื้นที่ป่าขึ้นมรดกโลก
ในวันเดียวกันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้อนรับนายโอลาบิยี บาบาโลลา โจเซฟ ประธานคณะกรรมการบริหารยูเนสโก ในฐานะทูต เบนิน ผู้แทนพิเศษยูเนสโก ในโอกาสมาเยือนประเทศไทย
นายสุวิทย์ เปิดเผยว่า การมาของประธานคณะกรรมการบริหารยูเนสโกฯ เป็นการมาดูพื้นที่ในส่วนของมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว และพบปะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับกรณีที่ ทางสถาบันไทยคดีศึกษา มายื่นหนังสือถึงรัฐบาล ไม่เห็นด้วยกับการร่วมจดทะเบียนมรดกโลกกับกัมพูชา เพราะจะกลายเป็นการยกพื้นที่ให้นั้น นายสุวิทย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว และเป็นกระบวนการที่ต้องพูดคุยกัน และดูทางออกว่าอยู่ตรงไหน อย่างไร ในการที่จะยุติปัญหาขัดแย้ง สิ่งสำคัญของการขึ้นทะเบียนมรดกโลก มีเงื่อนไข กติกา ภายใต้อนุสัญญาและภายใต้ธรรมนูญขององค์การยูเนสโก อะไรที่ยังมีปัญหา คิดว่าสามารถแก้ได้
เมื่อถามว่าทางกัมพูชาไม่คุยกับไทยเพราะได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว เหลือเพียงพื้นที่ทับซ้อนเท่านั้น นายสุวิทย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของคณะกรรมการทางยูเนสโก ที่ผ่านมาได้คุยแล้วโดยพูดถึงประเด็นปัญหากระบวนการขั้นตอนต่างๆ ที่เกิดขึ้น และพยายามหาแนวทางยุติปัญหาความขัดแย้งให้ได้
ทั้งนี้เราได้บอกกับทางคณะกรรมการมรดกโลกและทางยูเนสโก้ ไปแล้วว่ามรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนเป็นของชาวโลก ที่คนทั่วโลกจะมาชื่นชมเรียนรู้ เมื่อประกาศแล้วมาปิดไม่ให้คนขึ้นไปเที่ยวมันขัดกับหลักการ และวัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และขัดกับหลักการการจัดตั้งองค์การยูเนสโก้ในภาพรวม และการปักปันเขตแดนเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการ เพื่อให้เกิดขอบเขตที่ชัดเจน เพราะเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนบอกว่า ต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน และมีแผนการบริหารจัดการที่ชัดเจนจึงจะทำให้การขึ้นทะเบียนสมบูรณ์
ส่วนการยกเลิกแถลงการณ์ร่วมของไทย จะถือว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารของเขมรสมบูรณ์หรือไม่ นายสุวิทย์ กล่าวว่า ถามว่าสมบูรณ์หรือไม่ ยังเป็นข้อถกเถียงกัน เพราะคณะกรรมการมรดกโลกได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว แต่การขึ้นทะเบียน ยังไม่มีความสมบูรณ์ เพราะกระบวนการยังขาดองค์ประกอบตามเงื่อนไข กติกาที่กำหนดไว้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่เราได้ไปยื่นให้กับคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก
เมื่อถามว่าพื้นที่ป่า 1.5 ล้านไร่ กระทรวงทรัพย์ฯ จะมีแผนบริหารจัดการอย่างไร กระทรวงทรัพย์ฯ จะเสนอแผนให้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมรดกโลกด้านธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ นายสุวิทย์ กล่าวย้ำว่า ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เลย