พวกผู้วางนโยบายและผู้เชี่ยวชาญทางทหารในสหรัฐฯ ต่างกำลังเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิด ถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระดับรากฐานที่ทำท่าว่ากำลังบังเกิดขึ้นในญี่ปุ่น แทบจะเป็นเรื่องแน่นอนแล้วว่า พรรคเดโมแครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (Democratic Party of Japan หรือ DPJ) ซึ่งเวลานี้เป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุด จะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสภาล่างของประเทศ ที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคม มันจะเป็นการโค่นล้มการกุมอำนาจปกครองประเทศมาอย่างแทบจะต่อเนื่องตลอดกว่าครึ่งศตวรรษของพรรคลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party หรือ LDP)
ทว่าพรรคดีพีเจเองเวลานี้ก็กำลังเผชิญสถานการณ์แบบ "ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง" ที่มีเดิมพันสูงมากอยู่เหมือนกัน นั่นคือ พรรคอาจจะต้องปรับนโยบายการต่างประเทศและด้านกลาโหมให้เป็นไปในทางมุ่งผลเชิงปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจะต้องขจัดความหวาดกลัวของสหรัฐฯผู้เป็นพันธมิตรสำคัญที่สุดของญี่ปุ่นในประเด็นปัญหาทางด้านความมั่นคง สิ่งเหล่านี้คงจะมีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้น ถ้าหากดีพีเจพยายามกีดกันไม่ให้พรรคโซเชียล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (Social Democratic Party หรือ SDP) ที่มีแนวทางเอียงซ้ายมากกว่า เข้ามาร่วมในรัฐบาลผสมในช่วงหลังการเลือกตั้ง แต่ถ้าหากปราศจากเอสดีพี พรรคดีพีเจก็จะสูญเสียเสียงข้างมากในสภาสูงของรัฐสภาไดเอต และจะไม่สามารถผ่านกฎหมายสำคัญใดๆ ได้ แม้กระทั่งว่าในการเลือกตั้งสภาล่างคราวนี้ พรรคเกิดสามารถกุมเสียงข้างมากได้ก็ตามที
อันที่จริงความแตกแยกกันระหว่างดีพีเจ และ เอสดีพี กำลังปรากฏให้เห็นแล้ว ตั้งแต่ที่ดีพีเจเข้าเจรจาหารือกับทางสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ
ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่สหรัฐฯนั้นต่างออกมาบอกอย่างเปิดเผยว่ากำลังเริ่มการสนทนากับพรรคดีพีเจแบบลึกซึ้งเจาะลึก ในกรณีล่าสุดเลย เคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า "หนึ่งในสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผมเกิดกำลังใจขึ้นมาเป็นอย่างมาก ก็คือระดับและขอบเขตที่บรรดาเพื่อนมิตรและผู้ร่วมงานที่อยู่ในพรรคมินชูโต (Minshuto ซึ่งก็คือ ดีพีเจ) กำลังแสดงออกมาให้เห็น เกี่ยวกับเรื่องการสนทนาหารือกับทางสหรัฐฯ นั่นเป็นสิ่งที่บ่งชี้กับผมว่า เมื่อพิจารณากันไปถึงระดับที่ลึกซึ้งมากๆ และเป็นระดับรากฐานเลยนั้น (พรรคดีพีเจ) มีความเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกัน (ระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่น) คือเรื่องที่ต้องถือเป็นใจกลางและเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด" แคมป์เบลล์พูดเช่นนี้ระหว่างที่ให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้กับทางหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุง ซึ่งทางหนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลเฮอรัลด์ทรีบูนได้นำไปตีพิมพ์ไว้ในฉบับวันพฤหัสบดี(23)
ในวันพฤหัสบดี(23)นั้นเอง พรรคดีพีเจได้ประกาศนโยบายชุดหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "ดัชนี 2009" (INDEX 2009) เนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงนโยบายภายในประเทศด้านต่างๆ เช่น โครงการสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กเพื่อกระตุ้นจูงใจให้คู่สมรสมีบุตร นอกจากนั้นแล้วยังมีการประเมินทบทวนระบบประกันสังคมของญี่ปุ่นครั้งมโหฬาร โดยครอบคลุมทั้งเรื่องบำนาญ, บริการทางการแพทย์, และการดูแลคนชรา เวลานี้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นกำลังเชื่อว่า ในการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับการที่ประเทศกำลังกลายเป็นสังคมของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ดีพีเจจะสามารถทำได้ดีกว่าแอลดีพี
ในส่วนที่เกี่ยวกับด้านกลาโหมของ "ดัชนี 2009" จุดที่โดดเด่นเตะตาที่สุด คือการที่พรรคดีพีเจทำท่าจะเปลี่ยนแปลงจุดยืนเดิมของตนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ในประเด็นคัดค้านการส่งกองกำลังป้องกันตนเอง (Self-Defense Forces หรือ SDF) ไปปฏิบัติภารกิจในต่างแดน ในเอกสารฉบับนี้ พรรคได้ตัดถ้อยคำทั้งหมดที่พูดถึงการปฏิบัติการของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล ในการให้บริการเติมน้ำมันแก่เรือฝ่ายพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดีย กิจกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องที่ดีพีเจได้คัดค้านอย่างแข็งขันเรื่อยมา การตัดถ้อยคำออกเช่นนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการปล่อยไว้ให้คลุมเครือ ไม่มีความแน่นอนว่าทางพรรคยังจะคัดค้านต่อไปหรือไม่ เมื่อถึงเวลาที่สภาจะต้องต่ออายุภารกิจนี้อีกครั้งในเดือนมกราคมปีหน้า
หลังจากได้เสียงข้างมากในสภาสูงของไดเอตเมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 มีอยู่พักหนึ่งดีพีเจได้ขัดขวางการต่ออายุกฎหมายที่จะเปิดทางให้เอสดีเอฟดำเนินภารกิจให้บริการเติมน้ำมันแก่กองกำลังพันธมิตรต่อต้านการก่อการร้ายทั้งในและรอบๆ อัฟกานิสถาน ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2001 ส่งผลให้ต้องยุติการส่งเรือญี่ปุ่นออกไปทำหน้าที่นี้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2007 ถึง เดือนมกราคม 2008
แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยูคิโอะ ฮาโตยามะ หัวหน้าคนปัจจุบันของพรรคดีพีเจ ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า ถ้าได้ขึ้นครองอำนาจ คณะรัฐบาลที่นำโดยดีพีเจจะยังคงภารกิจเติมน้ำมันช่วยเหลือพันธมิตรนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเขาบอกว่าหากถอนตัวด้วยความเร่งรีบก็จะกลายเป็นความบุ่มบ่ามไม่รู้จักยั้งคิด "ในทางการทูตนั้นจำเป็นจะต้องมีความต่อเนื่อง" เขากล่าวย้ำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม
ปรากฏว่าเพียงวันรุ่งขึ้นเท่านั้น ประธานพรรคเอสดีพี มิซูโฮ ฟูคุชิมะ ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ฮาโตยามะ โดยกล่าวว่า "มันเป็นเรื่องประหลาดที่มาเปลี่ยนแปลงความคิด เพียงเพราะว่า [พรรค] กำลังจะได้อำนาจ ทั้งที่ดีพีเจได้คัดค้านภารกิจเติมน้ำมันนี้มาตลอดระหว่างที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน เราจึงไม่สามารถที่จะอยู่เฉยและอดทนเห็นการโอนเอนไปมาเช่นนี้ของดีพีเจ"
(เก็บความและตัดทอนจากเรื่อง DPJ faces pragmatism poser เขียนโดย Kosuke Takahashi นักหนังสือพิมพ์ซึ่งพำนักอยู่ที่โตเกียว)
ทว่าพรรคดีพีเจเองเวลานี้ก็กำลังเผชิญสถานการณ์แบบ "ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง" ที่มีเดิมพันสูงมากอยู่เหมือนกัน นั่นคือ พรรคอาจจะต้องปรับนโยบายการต่างประเทศและด้านกลาโหมให้เป็นไปในทางมุ่งผลเชิงปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจะต้องขจัดความหวาดกลัวของสหรัฐฯผู้เป็นพันธมิตรสำคัญที่สุดของญี่ปุ่นในประเด็นปัญหาทางด้านความมั่นคง สิ่งเหล่านี้คงจะมีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้น ถ้าหากดีพีเจพยายามกีดกันไม่ให้พรรคโซเชียล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (Social Democratic Party หรือ SDP) ที่มีแนวทางเอียงซ้ายมากกว่า เข้ามาร่วมในรัฐบาลผสมในช่วงหลังการเลือกตั้ง แต่ถ้าหากปราศจากเอสดีพี พรรคดีพีเจก็จะสูญเสียเสียงข้างมากในสภาสูงของรัฐสภาไดเอต และจะไม่สามารถผ่านกฎหมายสำคัญใดๆ ได้ แม้กระทั่งว่าในการเลือกตั้งสภาล่างคราวนี้ พรรคเกิดสามารถกุมเสียงข้างมากได้ก็ตามที
อันที่จริงความแตกแยกกันระหว่างดีพีเจ และ เอสดีพี กำลังปรากฏให้เห็นแล้ว ตั้งแต่ที่ดีพีเจเข้าเจรจาหารือกับทางสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ
ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่สหรัฐฯนั้นต่างออกมาบอกอย่างเปิดเผยว่ากำลังเริ่มการสนทนากับพรรคดีพีเจแบบลึกซึ้งเจาะลึก ในกรณีล่าสุดเลย เคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า "หนึ่งในสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผมเกิดกำลังใจขึ้นมาเป็นอย่างมาก ก็คือระดับและขอบเขตที่บรรดาเพื่อนมิตรและผู้ร่วมงานที่อยู่ในพรรคมินชูโต (Minshuto ซึ่งก็คือ ดีพีเจ) กำลังแสดงออกมาให้เห็น เกี่ยวกับเรื่องการสนทนาหารือกับทางสหรัฐฯ นั่นเป็นสิ่งที่บ่งชี้กับผมว่า เมื่อพิจารณากันไปถึงระดับที่ลึกซึ้งมากๆ และเป็นระดับรากฐานเลยนั้น (พรรคดีพีเจ) มีความเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกัน (ระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่น) คือเรื่องที่ต้องถือเป็นใจกลางและเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด" แคมป์เบลล์พูดเช่นนี้ระหว่างที่ให้สัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้กับทางหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุง ซึ่งทางหนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลเฮอรัลด์ทรีบูนได้นำไปตีพิมพ์ไว้ในฉบับวันพฤหัสบดี(23)
ในวันพฤหัสบดี(23)นั้นเอง พรรคดีพีเจได้ประกาศนโยบายชุดหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "ดัชนี 2009" (INDEX 2009) เนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงนโยบายภายในประเทศด้านต่างๆ เช่น โครงการสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กเพื่อกระตุ้นจูงใจให้คู่สมรสมีบุตร นอกจากนั้นแล้วยังมีการประเมินทบทวนระบบประกันสังคมของญี่ปุ่นครั้งมโหฬาร โดยครอบคลุมทั้งเรื่องบำนาญ, บริการทางการแพทย์, และการดูแลคนชรา เวลานี้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นกำลังเชื่อว่า ในการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับการที่ประเทศกำลังกลายเป็นสังคมของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ดีพีเจจะสามารถทำได้ดีกว่าแอลดีพี
ในส่วนที่เกี่ยวกับด้านกลาโหมของ "ดัชนี 2009" จุดที่โดดเด่นเตะตาที่สุด คือการที่พรรคดีพีเจทำท่าจะเปลี่ยนแปลงจุดยืนเดิมของตนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ในประเด็นคัดค้านการส่งกองกำลังป้องกันตนเอง (Self-Defense Forces หรือ SDF) ไปปฏิบัติภารกิจในต่างแดน ในเอกสารฉบับนี้ พรรคได้ตัดถ้อยคำทั้งหมดที่พูดถึงการปฏิบัติการของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล ในการให้บริการเติมน้ำมันแก่เรือฝ่ายพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดีย กิจกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องที่ดีพีเจได้คัดค้านอย่างแข็งขันเรื่อยมา การตัดถ้อยคำออกเช่นนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการปล่อยไว้ให้คลุมเครือ ไม่มีความแน่นอนว่าทางพรรคยังจะคัดค้านต่อไปหรือไม่ เมื่อถึงเวลาที่สภาจะต้องต่ออายุภารกิจนี้อีกครั้งในเดือนมกราคมปีหน้า
หลังจากได้เสียงข้างมากในสภาสูงของไดเอตเมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 มีอยู่พักหนึ่งดีพีเจได้ขัดขวางการต่ออายุกฎหมายที่จะเปิดทางให้เอสดีเอฟดำเนินภารกิจให้บริการเติมน้ำมันแก่กองกำลังพันธมิตรต่อต้านการก่อการร้ายทั้งในและรอบๆ อัฟกานิสถาน ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2001 ส่งผลให้ต้องยุติการส่งเรือญี่ปุ่นออกไปทำหน้าที่นี้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2007 ถึง เดือนมกราคม 2008
แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยูคิโอะ ฮาโตยามะ หัวหน้าคนปัจจุบันของพรรคดีพีเจ ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า ถ้าได้ขึ้นครองอำนาจ คณะรัฐบาลที่นำโดยดีพีเจจะยังคงภารกิจเติมน้ำมันช่วยเหลือพันธมิตรนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเขาบอกว่าหากถอนตัวด้วยความเร่งรีบก็จะกลายเป็นความบุ่มบ่ามไม่รู้จักยั้งคิด "ในทางการทูตนั้นจำเป็นจะต้องมีความต่อเนื่อง" เขากล่าวย้ำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม
ปรากฏว่าเพียงวันรุ่งขึ้นเท่านั้น ประธานพรรคเอสดีพี มิซูโฮ ฟูคุชิมะ ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ฮาโตยามะ โดยกล่าวว่า "มันเป็นเรื่องประหลาดที่มาเปลี่ยนแปลงความคิด เพียงเพราะว่า [พรรค] กำลังจะได้อำนาจ ทั้งที่ดีพีเจได้คัดค้านภารกิจเติมน้ำมันนี้มาตลอดระหว่างที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน เราจึงไม่สามารถที่จะอยู่เฉยและอดทนเห็นการโอนเอนไปมาเช่นนี้ของดีพีเจ"
(เก็บความและตัดทอนจากเรื่อง DPJ faces pragmatism poser เขียนโดย Kosuke Takahashi นักหนังสือพิมพ์ซึ่งพำนักอยู่ที่โตเกียว)