ตาก- คณะทำงานศึกษารูปแบบองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ เตรียมเสนอรัฐบาลต่อ ชูธง “ท้องถิ่นพิเศษนครแม่สอด”นำร่อง ก่อนเดินหน้าตั้งทั้ง “เกาะสมุย – มาบตาพุด แหลมฉบัง – อยุธยา สุโขทัย –เมืองสุวรรณภูมิ” ประธานหอฯตาก เสนอแผนผลักดันทั้ง “นครแม่สอด-เขต เศรษฐกิจชายแดนและ Gate Way” ประตูเชื่อมเส้นทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการประชุมคณะทำงานศึกษารูปแบบองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ ในส่วนของเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 4 หลักเกณฑ์ ที่ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ คือ 1.เขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ "นครแม่สอด"เมืองการค้าชายแดน จะใช้นำร่อง 2.ท้องถิ่นพิเศษ"เมืองเกาะสมุย" เมืองท่องเที่ยว 3.ท้องถิ่นพิเศษมาบตาพุดและแหลมฉบัง เมืองอุตสาหกรรมและท่าเรือ 4.ท้องถิ่นพิเศษอยุธยาและสุโขทัย เมืองประวัติศาสตร์ โดยมี รศ.วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2/2552
การประชุมคณะทำงานครั้งนี้ มีนายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด เทศบาลเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก ในฐานะคณะกรรมการกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น( อปท.)พร้อมคณะผู้บริหารเมืองแม่สอดและสมาชิกสภาท้องถิ่นจากเมืองแม่สอด ท้องถิ่นที่เตรียมความพร้อมในการยกฐานะเป็นท้องถิ่นพิเศษ ที่จะมีการนำร่องให้เมืองแม่สอดเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด” รวมทั้งผู้นำ นักวิชาการ-ภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้อง และ ผู้นำ อปท.โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน
รศ.วุฒิสาร กล่าวว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ประธานอนุกรรมการฯได้เร่งรัดให้ดำเนินการเรื่องนี้และสรุปใแล้วเสร็จมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยให้นำร่องแม่สอดที่ค่อนข้างมีความพร้อมเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด”ในฐานะเมืองเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเมืองพิเศษจะมีความพิเศษหลายด้านทั้งการบริหารการจัดเก็บภาษี-การบริหารจัดการเบ็ดเสร็จ
“แม่สอดเป็นเมืองที่ครบถ้วน และคณะทำงานจะนำเสนอให้เป็นท้องถิ่นพิเศษเมืองชายแดน ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ คู่กับเมืองอื่นๆในด้านต่างๆ เช่น มาบตาพุด เป็นท้องถิ่นพิเศษด้านพัฒนาอุตสาหกรรม เกาะสมุยและภูเก็ต เป็นเมืองพิเศษด้านการท่องเที่ยว เมืองแหลมฉบัง ด้านท่าเรือสินค้า และเมืองอยุธยาเป็นท้องถิ่นพิเศษด้านประวัติศาสตร์ และแม่สอดจะเป็นเมืองนำร่องท้องถิ่นพิเศษนครแม่สอด เป็นอันดับต้นๆ โดยเตรียมเสนอให้ อนุกรรมการฯ นำสู่รัฐบาลในเดือนนี้”
ขณะที่นายเทอดเกียรติ กล่าวว่า ชาวแม่สอด ตื่นตัวเรื่องนี้มาก และได้มีการจัดทำประชามติแล้ว ประชาชนเห็นด้วยกว่า 80 % รวมทั้งเอกสารประกอบการเสนอที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของพื้นที่เช่นการเป็นเมืองหน้าด่านการค้าชายแดน ไทย-พม่า ที่มีมูลค่าการค้ามากกว่าปีละ 23,000 ล้านบาท การเป็นเมืองที่เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด”และเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor
“เมียวดีของพม่า ที่อยู่ตรงข้ามแม่สอด ก็ยกฐานะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไปแล้ว ซึ่งเมืองแม่สอดซึ่งเป็นชายแดนติดต่อกัน จึงต้องมีการยกฐานะเป็นท้องถิ่นพิเศษ ให้ทันต่อระบบการค้าระหว่างประเทศ สังเกตได้ว่าชายแดนพม่า-จีน ทุกจุดที่สำคัญ มีการยกฐานะเมืองเหล่านั้นเป็นเขตปกครอง ท้องถิ่นพิเศษ ประกอบกับแม่สอดมีการสถาปนาเป็นเมืองคู่แฝดทางการค้า-การท่องเที่ยว กับเขตปกครองพิเศษเต๋อหง ชายแดนจีน-พม่า การยกเมืองแม่สอด เป็น เขตเศรษฐกิจและท้องถิ่นพิเศษ จึงสอดคล้องกับ เมืองชายแดนไทย-พม่า-จีน แม่สอด-เมียวดี-เต๋อหง ด้วยเช่นกัน”
ด้านนายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า นอกจากการผลักดันแม่สอดเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด” แล้ว ควรที่จะผลักดันการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเป็น เมือง Gate Way ECS Summit ที่เชื่อมการส่งเสริมการลงทุนการค้าและบริการเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเป็นประตูการค้าของภูมิภาค ไปพร้อมๆกัน เนื่องจากผลการศึกษาวิเคราะห์และการทำวิจัยของฝ่ายวิชาการมีความเห็นพ้องที่จะพัฒนาเมืองแม่สอด ให้เป็นเมือง Gate Way ประตูเชื่อมเส้นทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอีกด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่ารูปแบบท้องถิ่นพิเศษ”นครแม่สอด” มีโครงสร้างคล้ายกับกรุงเทพมหานครประกอบด้วย นายกฯนครแม่สอด มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีสมาชิกสภานครแม่สอด 60 คน-คณะกรรมการบริหารนโยบาย เพื่อบริหารเขตพื้นที่พิเศษ governing board
นอกจากนี้ที่คณะทำงานศึกษารูปแบบองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ ยังมีการพิจารณาเมืองอื่นๆที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น มาบตาพุด เป็นท้องถิ่นพิเศษด้านพัฒนาอุตสาหกรรม เกาะสมุยและภูเก็ต เป็นเมืองพิเศษด้านการท่องเที่ยว- เมืองแหลมฉบัง ด้านท่าเรือสินค้าและเมืองอยุธยาเป็นท้องถิ่นพิเศษด้านประวัติศาสตร์ รวมไปถึงเมืองมรดกโลกและ เมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองท่าอากาศยานนานาชาติ เป็นต้น
เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการประชุมคณะทำงานศึกษารูปแบบองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ ในส่วนของเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 4 หลักเกณฑ์ ที่ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ คือ 1.เขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ "นครแม่สอด"เมืองการค้าชายแดน จะใช้นำร่อง 2.ท้องถิ่นพิเศษ"เมืองเกาะสมุย" เมืองท่องเที่ยว 3.ท้องถิ่นพิเศษมาบตาพุดและแหลมฉบัง เมืองอุตสาหกรรมและท่าเรือ 4.ท้องถิ่นพิเศษอยุธยาและสุโขทัย เมืองประวัติศาสตร์ โดยมี รศ.วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2/2552
การประชุมคณะทำงานครั้งนี้ มีนายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด เทศบาลเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก ในฐานะคณะกรรมการกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น( อปท.)พร้อมคณะผู้บริหารเมืองแม่สอดและสมาชิกสภาท้องถิ่นจากเมืองแม่สอด ท้องถิ่นที่เตรียมความพร้อมในการยกฐานะเป็นท้องถิ่นพิเศษ ที่จะมีการนำร่องให้เมืองแม่สอดเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด” รวมทั้งผู้นำ นักวิชาการ-ภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้อง และ ผู้นำ อปท.โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน
รศ.วุฒิสาร กล่าวว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ประธานอนุกรรมการฯได้เร่งรัดให้ดำเนินการเรื่องนี้และสรุปใแล้วเสร็จมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยให้นำร่องแม่สอดที่ค่อนข้างมีความพร้อมเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด”ในฐานะเมืองเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเมืองพิเศษจะมีความพิเศษหลายด้านทั้งการบริหารการจัดเก็บภาษี-การบริหารจัดการเบ็ดเสร็จ
“แม่สอดเป็นเมืองที่ครบถ้วน และคณะทำงานจะนำเสนอให้เป็นท้องถิ่นพิเศษเมืองชายแดน ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ คู่กับเมืองอื่นๆในด้านต่างๆ เช่น มาบตาพุด เป็นท้องถิ่นพิเศษด้านพัฒนาอุตสาหกรรม เกาะสมุยและภูเก็ต เป็นเมืองพิเศษด้านการท่องเที่ยว เมืองแหลมฉบัง ด้านท่าเรือสินค้า และเมืองอยุธยาเป็นท้องถิ่นพิเศษด้านประวัติศาสตร์ และแม่สอดจะเป็นเมืองนำร่องท้องถิ่นพิเศษนครแม่สอด เป็นอันดับต้นๆ โดยเตรียมเสนอให้ อนุกรรมการฯ นำสู่รัฐบาลในเดือนนี้”
ขณะที่นายเทอดเกียรติ กล่าวว่า ชาวแม่สอด ตื่นตัวเรื่องนี้มาก และได้มีการจัดทำประชามติแล้ว ประชาชนเห็นด้วยกว่า 80 % รวมทั้งเอกสารประกอบการเสนอที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของพื้นที่เช่นการเป็นเมืองหน้าด่านการค้าชายแดน ไทย-พม่า ที่มีมูลค่าการค้ามากกว่าปีละ 23,000 ล้านบาท การเป็นเมืองที่เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด”และเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor
“เมียวดีของพม่า ที่อยู่ตรงข้ามแม่สอด ก็ยกฐานะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไปแล้ว ซึ่งเมืองแม่สอดซึ่งเป็นชายแดนติดต่อกัน จึงต้องมีการยกฐานะเป็นท้องถิ่นพิเศษ ให้ทันต่อระบบการค้าระหว่างประเทศ สังเกตได้ว่าชายแดนพม่า-จีน ทุกจุดที่สำคัญ มีการยกฐานะเมืองเหล่านั้นเป็นเขตปกครอง ท้องถิ่นพิเศษ ประกอบกับแม่สอดมีการสถาปนาเป็นเมืองคู่แฝดทางการค้า-การท่องเที่ยว กับเขตปกครองพิเศษเต๋อหง ชายแดนจีน-พม่า การยกเมืองแม่สอด เป็น เขตเศรษฐกิจและท้องถิ่นพิเศษ จึงสอดคล้องกับ เมืองชายแดนไทย-พม่า-จีน แม่สอด-เมียวดี-เต๋อหง ด้วยเช่นกัน”
ด้านนายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า นอกจากการผลักดันแม่สอดเป็นท้องถิ่นพิเศษ “นครแม่สอด” แล้ว ควรที่จะผลักดันการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเป็น เมือง Gate Way ECS Summit ที่เชื่อมการส่งเสริมการลงทุนการค้าและบริการเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเป็นประตูการค้าของภูมิภาค ไปพร้อมๆกัน เนื่องจากผลการศึกษาวิเคราะห์และการทำวิจัยของฝ่ายวิชาการมีความเห็นพ้องที่จะพัฒนาเมืองแม่สอด ให้เป็นเมือง Gate Way ประตูเชื่อมเส้นทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอีกด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่ารูปแบบท้องถิ่นพิเศษ”นครแม่สอด” มีโครงสร้างคล้ายกับกรุงเทพมหานครประกอบด้วย นายกฯนครแม่สอด มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีสมาชิกสภานครแม่สอด 60 คน-คณะกรรมการบริหารนโยบาย เพื่อบริหารเขตพื้นที่พิเศษ governing board
นอกจากนี้ที่คณะทำงานศึกษารูปแบบองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ ยังมีการพิจารณาเมืองอื่นๆที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น มาบตาพุด เป็นท้องถิ่นพิเศษด้านพัฒนาอุตสาหกรรม เกาะสมุยและภูเก็ต เป็นเมืองพิเศษด้านการท่องเที่ยว- เมืองแหลมฉบัง ด้านท่าเรือสินค้าและเมืองอยุธยาเป็นท้องถิ่นพิเศษด้านประวัติศาสตร์ รวมไปถึงเมืองมรดกโลกและ เมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองท่าอากาศยานนานาชาติ เป็นต้น