ASTVผู้จัดการรายวัน – “อภิสิทธิ์” หนุนมาตรการภาษีผลักดันไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้า "อัญมณีและเครื่องประดับของโลก" ลดแวตเหลือ 1% ระบุ 4 ปัจจัย กลไกรัฐ – แรงงาน – การตลาด – วัตถุดิบ ประสานงานใกล้ชิดกันเดินหน้าสู่เป้าหมายได้แน่นอน รมว.คลังเตรียมประกาศลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบต้นน้ำเหลือ 1% ลดภาระผู้ประกอบการหวังดึงรายย่อยเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น ระบุเกิดผลดีต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลในระยะยาว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “รัฐบาลกับการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก” ว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยถือเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญมากสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศในอันดับ 1 ใน 4 และมีมูลค่าสูงถึง 2.8 แสนล้านบาท
รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญและสนับสนุนต่อภาคอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจังโดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจของประเทศประสบปัญหาการเข้าไปสนับสนุนให้ภาคการผลิตสามารถเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเมื่อรวมแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้วพบว่ามีการจ้างงานสูงถึง 1.1 ล้านคน อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 25% อีก 75% กระจายอยู่ใน 20 จังหวัดทุกภูมิภาคถือว่ามีส่วนในการสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศ
“รัฐบาลเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญซึ่งผู้ประกอบการชาวไทยสามารถพัฒนาชื่อเสียง ฝีมือให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกได้ การสร้างแบรนด์ การออกแบบ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาในอุตสาหกรรมนี้เชื่อว่าจะผลักดันให้ประเทศไทยเรากลายเป็นศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับของโลกอย่างแท้จริงได้” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า และยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกได้อีกด้วย
***รัฐ-เอกชนร่วมมือแก้ปัญหา
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ส่วนปัจจัยที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลกนั้นประกอบด้วย 4 เรื่องคือ 1.กลไกภาครัฐที่ต้องแก้ไขให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อรักษาฐานการค้าและดึงดูดการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2.ด้านแรงงานซึ่งในภาคการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของไทยถือว่ามีประสบการณ์และฝีมือสะสมมานานแต่จะหยุดนิ่งไม่ได้ต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมให้ทรัพยากรบุคคลก้าวหน้าไปอีกขั้น
ส่วนปัจจัยที่ 3.คือด้านการตลาดโดยนอกจากจะต้องรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดเดิมไว้แล้วจะต้องขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายสินค้าและลดความเสี่ยงจากการส่งออกไปสู่ตลาดหลัก และปัจจัยสุดท้ายคือเรื่องของวัตถุดิบที่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจึงต้องมีการทบทวนกฎระเบียบและโครงสร้างต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นคงต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับต่อไป
“รัฐบาลได้สนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับด้วยการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเป็นการกระตุ้นการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในระยะยาว ทำให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งจากการทำงานใกล้ชิดกันและรับฟังปัญหาของผู้ประกอบการจึงทำให้สามารถร่วมกันขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำธุรกิจในครั้งนี้ลุล่วงได้ด้วยดี” นายกรัฐมนตรีกล่าว
***คลังเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ 1.0%
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงมาตรการของกระทรวงการคลังในการผลักดันให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ว่า มาตรการด้านภาษีเป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังได้คิดร่วมกันกับผู้ประกอบการเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะเป็นการดึงผู้ประกอบการรายย่อยที่มีอยู่มากเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายได้
จากการประเมินของกรมสรรพากรพบว่าจากโครงสร้างที่ได้มีการทบทวนปรับปรุงกันใหม่นี้เชื่อว่าในระยะยาวจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าโครงสร้างเดิมและมาตรการด้านภาษีที่กำหนดขึ้นมาใหม่ยังส่งผลดีกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะแรงงานกว่า 1.1 ล้านคนในอุตสาหกรรมนี้จะมีรายได้อย่างต่อเนื่องชะลอการเลิกจ้างและมีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น
“ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีจากการนำเข้าวัตถุดิบนั้นจะเก็บจากจำนวนที่นำเข้าทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัตินั้นเมื่อผู้ประกอบการดูสินค้าแล้วอาจซื้อบางส่วนหรือไม่ซื้อเลยก็ได้เกิดภาระต้นทุนให้กับผู้ประกอบการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยและทำให้มีการเลี่ยงภาษีเกิดขึ้น ดังนั้นทางออกร่วมกันที่ทุกฝ่ายมีความพอใจจึงเก็บภาษีจากการซื้อขายจริงเพียง 1.0% เท่านั้น” นายกรณ์กล่าว
นายสาธิต รังคศิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การนำเข้าพลอยก้อน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ เดิมจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของมูลค่าการนำเข้า ซึ่งถือว่าเป็นภาษีซื้อ แต่สามารถขอคืนภาษีส่วนนี้ได้ โดยแต่ละปีจะมีภาษีประมาณ 40-50 ล้านบาท และเมื่อมีการนำมาผลิตและขายได้ ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีขายอีกต่อหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการมองว่า เป็นภาระต้นทุน ทำให้มีการหลบเลี่ยงภาษี หรือมีการจ่ายใต้โต๊ะจำนวนมาก
ผู้ประกอบการจึงได้เสนอที่จะให้มีการปรับวิธีการจัดเก็บใหม่ โดยให้ยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มาเก็บเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1% แทน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับรัฐมากกว่า เพราะนอกจากภาษีส่วนนี้ไม่สามารถขอคืนได้ และเมื่อผลิตและจำหน่ายผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีขายอีกต่อหนึ่งด้วย และยังทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยที่เคยหลบเลี่ยง เข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มเป็น 2-3 พันล้านบาทจากเดิมที่มีประมาณ 100 ล้านบาท
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการได้ โดยกระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายที่จะผลักดันมูลค่าการส่งอัญมณีไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาทจากปัจจุบันอยู่ที่ 1.65 แสนล้านบาท และคาดหวังว่า อุตสาหกรรมอัญมณีจะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของการส่งออกทั้งหมด จากช่วง 5 เดือนแรกที่มูลค่าการส่งออกสูงสุดอยู่ที่อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ขณะที่อัญมณีอยู่อันดับ 2 และครั้งนี้น่าจะเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญ ซึ่งขณะนี้การส่งออกยังติดลบ 2 หลัก แต่หากการส่งออกอัญมณีสามารถเป็นบวกได้ ก็น่าจะช่วยให้การส่งออกรวมติดลบน้อยลง.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “รัฐบาลกับการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก” ว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยถือเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญมากสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศในอันดับ 1 ใน 4 และมีมูลค่าสูงถึง 2.8 แสนล้านบาท
รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญและสนับสนุนต่อภาคอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจังโดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจของประเทศประสบปัญหาการเข้าไปสนับสนุนให้ภาคการผลิตสามารถเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเมื่อรวมแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้วพบว่ามีการจ้างงานสูงถึง 1.1 ล้านคน อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 25% อีก 75% กระจายอยู่ใน 20 จังหวัดทุกภูมิภาคถือว่ามีส่วนในการสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศ
“รัฐบาลเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญซึ่งผู้ประกอบการชาวไทยสามารถพัฒนาชื่อเสียง ฝีมือให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกได้ การสร้างแบรนด์ การออกแบบ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาในอุตสาหกรรมนี้เชื่อว่าจะผลักดันให้ประเทศไทยเรากลายเป็นศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับของโลกอย่างแท้จริงได้” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า และยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกได้อีกด้วย
***รัฐ-เอกชนร่วมมือแก้ปัญหา
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ส่วนปัจจัยที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลกนั้นประกอบด้วย 4 เรื่องคือ 1.กลไกภาครัฐที่ต้องแก้ไขให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อรักษาฐานการค้าและดึงดูดการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2.ด้านแรงงานซึ่งในภาคการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของไทยถือว่ามีประสบการณ์และฝีมือสะสมมานานแต่จะหยุดนิ่งไม่ได้ต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมให้ทรัพยากรบุคคลก้าวหน้าไปอีกขั้น
ส่วนปัจจัยที่ 3.คือด้านการตลาดโดยนอกจากจะต้องรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดเดิมไว้แล้วจะต้องขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายสินค้าและลดความเสี่ยงจากการส่งออกไปสู่ตลาดหลัก และปัจจัยสุดท้ายคือเรื่องของวัตถุดิบที่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจึงต้องมีการทบทวนกฎระเบียบและโครงสร้างต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นคงต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับต่อไป
“รัฐบาลได้สนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับด้วยการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเป็นการกระตุ้นการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในระยะยาว ทำให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งจากการทำงานใกล้ชิดกันและรับฟังปัญหาของผู้ประกอบการจึงทำให้สามารถร่วมกันขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำธุรกิจในครั้งนี้ลุล่วงได้ด้วยดี” นายกรัฐมนตรีกล่าว
***คลังเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ 1.0%
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงมาตรการของกระทรวงการคลังในการผลักดันให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ว่า มาตรการด้านภาษีเป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังได้คิดร่วมกันกับผู้ประกอบการเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะเป็นการดึงผู้ประกอบการรายย่อยที่มีอยู่มากเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมายได้
จากการประเมินของกรมสรรพากรพบว่าจากโครงสร้างที่ได้มีการทบทวนปรับปรุงกันใหม่นี้เชื่อว่าในระยะยาวจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าโครงสร้างเดิมและมาตรการด้านภาษีที่กำหนดขึ้นมาใหม่ยังส่งผลดีกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะแรงงานกว่า 1.1 ล้านคนในอุตสาหกรรมนี้จะมีรายได้อย่างต่อเนื่องชะลอการเลิกจ้างและมีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น
“ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีจากการนำเข้าวัตถุดิบนั้นจะเก็บจากจำนวนที่นำเข้าทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัตินั้นเมื่อผู้ประกอบการดูสินค้าแล้วอาจซื้อบางส่วนหรือไม่ซื้อเลยก็ได้เกิดภาระต้นทุนให้กับผู้ประกอบการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยและทำให้มีการเลี่ยงภาษีเกิดขึ้น ดังนั้นทางออกร่วมกันที่ทุกฝ่ายมีความพอใจจึงเก็บภาษีจากการซื้อขายจริงเพียง 1.0% เท่านั้น” นายกรณ์กล่าว
นายสาธิต รังคศิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การนำเข้าพลอยก้อน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ เดิมจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของมูลค่าการนำเข้า ซึ่งถือว่าเป็นภาษีซื้อ แต่สามารถขอคืนภาษีส่วนนี้ได้ โดยแต่ละปีจะมีภาษีประมาณ 40-50 ล้านบาท และเมื่อมีการนำมาผลิตและขายได้ ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีขายอีกต่อหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการมองว่า เป็นภาระต้นทุน ทำให้มีการหลบเลี่ยงภาษี หรือมีการจ่ายใต้โต๊ะจำนวนมาก
ผู้ประกอบการจึงได้เสนอที่จะให้มีการปรับวิธีการจัดเก็บใหม่ โดยให้ยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มาเก็บเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1% แทน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับรัฐมากกว่า เพราะนอกจากภาษีส่วนนี้ไม่สามารถขอคืนได้ และเมื่อผลิตและจำหน่ายผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีขายอีกต่อหนึ่งด้วย และยังทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยที่เคยหลบเลี่ยง เข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มเป็น 2-3 พันล้านบาทจากเดิมที่มีประมาณ 100 ล้านบาท
นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการได้ โดยกระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายที่จะผลักดันมูลค่าการส่งอัญมณีไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาทจากปัจจุบันอยู่ที่ 1.65 แสนล้านบาท และคาดหวังว่า อุตสาหกรรมอัญมณีจะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของการส่งออกทั้งหมด จากช่วง 5 เดือนแรกที่มูลค่าการส่งออกสูงสุดอยู่ที่อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ขณะที่อัญมณีอยู่อันดับ 2 และครั้งนี้น่าจะเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญ ซึ่งขณะนี้การส่งออกยังติดลบ 2 หลัก แต่หากการส่งออกอัญมณีสามารถเป็นบวกได้ ก็น่าจะช่วยให้การส่งออกรวมติดลบน้อยลง.