เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (27ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภาคีเครือข่ายติดตามสถานการณ์ กรณีปราสาทพระวิหาร ประมาณ 30 คน นำโดย มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายฯ ได้มาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้อง และออกแถลงการณ์เรื่อง "นายกฯอภิสิทธิ์ ต้องไม่สืบทอดนโยบายขายชาติ" โดยให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ของกัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.51 เพื่อแจ้งต่อยูเนสโก และประชาคมโลกอย่างเป็นทางการ
มล.วัลย์วิภา เปิดเผยว่า แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจว่า แถลงการณ์ความร่วมมือดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และศาลปกครอง มีคำส่งคุ้มครอง ไม่ให้แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมีผลในทางปฏิบัติ
แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลยังไม่มีการบอกเลิกอย่างเป็นทางการต่อยูเนสโก และประชาคมโลก ทางเครือข่ายเกรงว่าจะมีการนำแถลงการณ์ดังกล่าวไปใช้เพื่อหาผลประโยชน์ เพราะขณะนี้มีสัญญาณว่า รัฐบาลไทยจะไปขอขึ้นทะเบียนปราสาทประวิหารร่วมกับกัมพูชา ซึ่งจะทำให้ไทยไม่ได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เห็นได้จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่ละความพยายามในการเตรียมนำเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาร่วม โดยมีเป้าหมายในการขอความร่วมมือให้กัมพูชาผนวกพื้นที่รอยเชื่อมต่อระหว่างเขตแดน ที่ติดต่อกับบริเวณเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันอย่างไร้สติ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าอนุรักษ์ และเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าใน จ.ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ จ.สุรินทร์ จำนวน 7 แห่ง รวมพื้นที่กว่า 1.5 ล้านไร่
นอกจากนี้ ยังพบว่ากระทรวงการต่างประเทศ โดยนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ยังคงเดินหน้าเตรียมจัดการประชุมสัญจร เพื่อให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตาม มาตรา 190 วรรค 3 เกี่ยวกับการเจรจาข้อตกลงร่วมชั่วคราว ไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 ในวันที่ 11 ส.ค.นี้ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถือเป็นกิจกรรมที่หมิ่นเหม่ต่อการฝ่าฝืนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.51 ที่ห้ามการอ้าง หรือใช้ประโยชน์จากมติครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.51 ที่เห็นชอบคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
"จากข้อเท็จจริงทั้งหมด ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตั้งแต่ต้น มีความพยายามพลักดันให้รัฐบาลสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก ด้านวัฒนธรรม ของกัมพูชาให้สัมฤทธิ์ผล และจะผลักดันให้รัฐบาลร้องขอให้กัมพูชาผนวกผืนป่าอนุรักษ์กว่า 1.5 ล้านไร่ ในพื้นที่เชื่อมต่อ เป็นเขตมรดกโลกร่วมกันด้านสิ่งแวดล้อม อย่างกระเหี้ยนกระหือรือ ด้วยเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม ทั้งยังพบว่ารัฐบาลมีนโยบายสนับสนับสนุนให้กัมพูชา สร้างรัฐกันชน ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา โดยรวมพื้นที่ของไทย 4.6 ตร.กม.เข้าไปด้วย ทั้งๆที่ประเทศไทย ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องเส้นเขตแดนไทยกัมพูชา" มล.วัลย์วิภากล่าว
มล.วัลย์วิภา กล่าวว่า เครือข่ายได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าเมื่อวันศุกร์ ที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาได้ให้สัมปทานธุรกิจน้ำมันกับประเทศฝรั่งเศส บริเวณน่านน้ำทางทะเล ซึ่งถือเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ยังไม่มีความชัดเจน โดยยังอาศัยแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเรื่องนี้อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตย รวมไปถึงดินแดนด้วย และรัฐบาลไทย ควรจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวอย่างแข็งขัน มากกว่าจะขอให้กัมพูชาผลักดันผนึกผืนป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นมรดกด้านธรรมชาติ เพราะนอกจากไทยจะเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนแล้ว ยังจะเสียพื้นที่ผืนป่าในประเทศอีก 1.5 ล้านไร่ ด้วย
"อยากให้สังคมได้จับตาการประชุมระหว่างไทย-กัมพูชา ในเร็วๆนี้ เรื่องการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ หากมีการถอนกำลังทหารออกจริง หรือมีเฉพาะกองกำลังทหารที่ไปเช้า-เย็นกลับ รวมถึงการหารือร่วมทั้งสองประเทศ เพื่อพิจารณาข้อพิพาทเขตพื้นที่ทับซ้อน ที่ประเทศไทยอาจจะยอมถอนกำลังทหาร และมีการตกลงพื้นที่ทับซ้อน โดยรัฐบาลนี้อาจจะกระทำการเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และถูกประณามว่า สืบทอดนโยบายขายชาติ เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ที่ถูกสังคมประณามมาก่อนหน้านี้แล้ว" มล.วัลย์วิภา กล่าว
มล.วัลย์วิภา เปิดเผยว่า แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจว่า แถลงการณ์ความร่วมมือดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และศาลปกครอง มีคำส่งคุ้มครอง ไม่ให้แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมีผลในทางปฏิบัติ
แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลยังไม่มีการบอกเลิกอย่างเป็นทางการต่อยูเนสโก และประชาคมโลก ทางเครือข่ายเกรงว่าจะมีการนำแถลงการณ์ดังกล่าวไปใช้เพื่อหาผลประโยชน์ เพราะขณะนี้มีสัญญาณว่า รัฐบาลไทยจะไปขอขึ้นทะเบียนปราสาทประวิหารร่วมกับกัมพูชา ซึ่งจะทำให้ไทยไม่ได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เห็นได้จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่ละความพยายามในการเตรียมนำเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาร่วม โดยมีเป้าหมายในการขอความร่วมมือให้กัมพูชาผนวกพื้นที่รอยเชื่อมต่อระหว่างเขตแดน ที่ติดต่อกับบริเวณเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันอย่างไร้สติ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าอนุรักษ์ และเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าใน จ.ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ จ.สุรินทร์ จำนวน 7 แห่ง รวมพื้นที่กว่า 1.5 ล้านไร่
นอกจากนี้ ยังพบว่ากระทรวงการต่างประเทศ โดยนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ยังคงเดินหน้าเตรียมจัดการประชุมสัญจร เพื่อให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตาม มาตรา 190 วรรค 3 เกี่ยวกับการเจรจาข้อตกลงร่วมชั่วคราว ไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 ในวันที่ 11 ส.ค.นี้ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถือเป็นกิจกรรมที่หมิ่นเหม่ต่อการฝ่าฝืนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.51 ที่ห้ามการอ้าง หรือใช้ประโยชน์จากมติครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.51 ที่เห็นชอบคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
"จากข้อเท็จจริงทั้งหมด ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตั้งแต่ต้น มีความพยายามพลักดันให้รัฐบาลสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก ด้านวัฒนธรรม ของกัมพูชาให้สัมฤทธิ์ผล และจะผลักดันให้รัฐบาลร้องขอให้กัมพูชาผนวกผืนป่าอนุรักษ์กว่า 1.5 ล้านไร่ ในพื้นที่เชื่อมต่อ เป็นเขตมรดกโลกร่วมกันด้านสิ่งแวดล้อม อย่างกระเหี้ยนกระหือรือ ด้วยเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม ทั้งยังพบว่ารัฐบาลมีนโยบายสนับสนับสนุนให้กัมพูชา สร้างรัฐกันชน ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา โดยรวมพื้นที่ของไทย 4.6 ตร.กม.เข้าไปด้วย ทั้งๆที่ประเทศไทย ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องเส้นเขตแดนไทยกัมพูชา" มล.วัลย์วิภากล่าว
มล.วัลย์วิภา กล่าวว่า เครือข่ายได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าเมื่อวันศุกร์ ที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาได้ให้สัมปทานธุรกิจน้ำมันกับประเทศฝรั่งเศส บริเวณน่านน้ำทางทะเล ซึ่งถือเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ยังไม่มีความชัดเจน โดยยังอาศัยแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเรื่องนี้อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตย รวมไปถึงดินแดนด้วย และรัฐบาลไทย ควรจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวอย่างแข็งขัน มากกว่าจะขอให้กัมพูชาผลักดันผนึกผืนป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นมรดกด้านธรรมชาติ เพราะนอกจากไทยจะเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนแล้ว ยังจะเสียพื้นที่ผืนป่าในประเทศอีก 1.5 ล้านไร่ ด้วย
"อยากให้สังคมได้จับตาการประชุมระหว่างไทย-กัมพูชา ในเร็วๆนี้ เรื่องการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ หากมีการถอนกำลังทหารออกจริง หรือมีเฉพาะกองกำลังทหารที่ไปเช้า-เย็นกลับ รวมถึงการหารือร่วมทั้งสองประเทศ เพื่อพิจารณาข้อพิพาทเขตพื้นที่ทับซ้อน ที่ประเทศไทยอาจจะยอมถอนกำลังทหาร และมีการตกลงพื้นที่ทับซ้อน โดยรัฐบาลนี้อาจจะกระทำการเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และถูกประณามว่า สืบทอดนโยบายขายชาติ เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ที่ถูกสังคมประณามมาก่อนหน้านี้แล้ว" มล.วัลย์วิภา กล่าว