“ปองพล” ไม่เชื่อน้ำคำ “สุวิทย์” ท้าโชว์หลักฐานหนังสือตอบรับการคัดค้านจากยูเนสโก ชี้ปราสาทพระวิหารมีรายชื่อเป็นมรดกโลกแล้ว แนะรัฐบาลทำความเข้าใจประชาชน หวั่นสับสน จี้จับตาแผนพัฒนาบริหารจัดการของกัมพูชาดีกว่า
นายปองพล อดิเรกสาร อดีตประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวถึงกรณีที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ออกมาระบุว่าที่ประชุมคณะกรรมการยูเนสโก ที่ประเทศสเปน รับฟังข้อคัดค้านของไทยกรณีกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว จึงเลื่อนพิจารณาขึ้นทะเบียนไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ว่า ตนขอยืนยันว่าปราสาทพระวิหารมีฐานะเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์ โดยล่าสุดจากการตรวจสอบในเว็บไซต์ของยูเนสโกได้มีการประกาศให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยส่วนตัวจึงไม่เชื่อว่าจะมีการเลื่อนขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และการเลื่อนขึ้นทะเบียนจึงไม่น่าจะเป็นมติของยูเนสโก เพราะไม่มีวาระนี้ในที่ประชุมดังกล่าว
“การที่นายสุวิทย์ออกมาพูดว่ายูเนสโกเลื่อนพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเพียงอย่างเดียว ไม่น่าเชื่อถือ จึงอยากให้นำหนังสือตอบข้อคัดค้านของรัฐบาลไทยจากยูเนสโกมายืนยัน เพราะตามมารยาทหากมีการยื่นคัดค้านแล้วยูเนสโกรับเสนอก็จะมีเอกสารแจ้งกลับมา รวมทั้งต้องระบุชื่อคณะกรรมการหรือตัวบุคคลให้ชัดเจนว่าไปหารือกับใครมาบ้าง และถ้าข้อความตรงหรือมีข้อเท็จที่ตรงกับนายสุวิทย์พูดแล้วค่อยเชื่อ” นายปองพล กล่าว
นายปองพล กล่าวต่อว่า การรับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโกจะมีเงื่อนไขแตกต่างๆ กันไป อย่างเช่น การขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตราพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ เป็นมรดกโลก โดยมีเงื่อนไขว่าไทยจะต้องทำแผนเชื่อมผืนป่าเขาใหญ่กับอุทยานแห่งชาติทับลาน และให้ตั้งองค์กรมาบริหารเพียงองค์กรเดียว แต่ผ่านมา 4 ปีกว่าไทยยังไม่ได้ทำ แต่พื้นที่ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นมรดกโลกแล้ว ซึ่งก็เหมือนกับกัมพูชาต้องทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาปราสาทพระวิหาร และตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee หรือ ICC)
ดังนั้นการเลื่อนเป็นปี 2553 น่าจะเป็นผลพวงจากมากัมพูชาไม่สามารถจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาปราสาทพระวิหาร และตั้งคณะกรรมการ ICC แล้วเสร็จ รวมทั้งในปี 2553 จะครบ 2 ปีที่กัมพูชาต้องรายงานสถานะของมรดกโลก อย่างไรก็ตามอยากให้รัฐบาลออกมาให้ความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะอาจสร้างความสับสนให้กับประชาชนได้ และยังยืนยันว่าจะต้องจับตาเรื่องการจัดทำแผนบริหารจัดการดีกว่า
นายปองพล อดิเรกสาร อดีตประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวถึงกรณีที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ออกมาระบุว่าที่ประชุมคณะกรรมการยูเนสโก ที่ประเทศสเปน รับฟังข้อคัดค้านของไทยกรณีกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว จึงเลื่อนพิจารณาขึ้นทะเบียนไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ว่า ตนขอยืนยันว่าปราสาทพระวิหารมีฐานะเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์ โดยล่าสุดจากการตรวจสอบในเว็บไซต์ของยูเนสโกได้มีการประกาศให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยส่วนตัวจึงไม่เชื่อว่าจะมีการเลื่อนขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และการเลื่อนขึ้นทะเบียนจึงไม่น่าจะเป็นมติของยูเนสโก เพราะไม่มีวาระนี้ในที่ประชุมดังกล่าว
“การที่นายสุวิทย์ออกมาพูดว่ายูเนสโกเลื่อนพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเพียงอย่างเดียว ไม่น่าเชื่อถือ จึงอยากให้นำหนังสือตอบข้อคัดค้านของรัฐบาลไทยจากยูเนสโกมายืนยัน เพราะตามมารยาทหากมีการยื่นคัดค้านแล้วยูเนสโกรับเสนอก็จะมีเอกสารแจ้งกลับมา รวมทั้งต้องระบุชื่อคณะกรรมการหรือตัวบุคคลให้ชัดเจนว่าไปหารือกับใครมาบ้าง และถ้าข้อความตรงหรือมีข้อเท็จที่ตรงกับนายสุวิทย์พูดแล้วค่อยเชื่อ” นายปองพล กล่าว
นายปองพล กล่าวต่อว่า การรับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโกจะมีเงื่อนไขแตกต่างๆ กันไป อย่างเช่น การขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตราพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ เป็นมรดกโลก โดยมีเงื่อนไขว่าไทยจะต้องทำแผนเชื่อมผืนป่าเขาใหญ่กับอุทยานแห่งชาติทับลาน และให้ตั้งองค์กรมาบริหารเพียงองค์กรเดียว แต่ผ่านมา 4 ปีกว่าไทยยังไม่ได้ทำ แต่พื้นที่ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นมรดกโลกแล้ว ซึ่งก็เหมือนกับกัมพูชาต้องทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาปราสาทพระวิหาร และตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee หรือ ICC)
ดังนั้นการเลื่อนเป็นปี 2553 น่าจะเป็นผลพวงจากมากัมพูชาไม่สามารถจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาปราสาทพระวิหาร และตั้งคณะกรรมการ ICC แล้วเสร็จ รวมทั้งในปี 2553 จะครบ 2 ปีที่กัมพูชาต้องรายงานสถานะของมรดกโลก อย่างไรก็ตามอยากให้รัฐบาลออกมาให้ความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะอาจสร้างความสับสนให้กับประชาชนได้ และยังยืนยันว่าจะต้องจับตาเรื่องการจัดทำแผนบริหารจัดการดีกว่า