คณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) มีการประชุมเพื่อประเมินแนวโน้มทิศทางเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐฯครั้งล่าสุดเมื่อ 23-24 มิถุนายนที่ผ่านมา สรุปผลการประชุมนี้เป็นการบอกถึงทิศทางของนโยบายการเงินและนโยบายอื่นๆ รวมไปถึงมุมมองของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) ที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในบทความบับนี้ผมจึงพยายามตีความสรุปการประชุมดังกล่าว เพื่อจะคาดทิศทางของนโยบายการเงินและนโยบายสำคัญอื่นๆ ของ Fed ว่าจะไปในทิศทางใด
ผลการประชุมของ FOMC โดยรวมสรุปได้ว่า FOMC และ Fed มองว่า ในปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของสหรัฐฯ มีแนวโน้มดีขึ้นแม้ว่าวิกฤติจะยังไม่จบลงก็ตาม โดยระบุว่าแม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาส 2 นี้จะยังหดตัวอยู่ แต่ก็หดตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาส 1 อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ Fed ยังปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2552 และ 2553 ในการประชุมครั้งนี้ด้วย โดยประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวลดลงจาก (-1.3) – (-2.0) จากการคาดการณ์เมื่อดือนเมษายน เหลือร้อยละ (-1.0) – (-1.5) และเศรษฐกิจปี 2553 จะขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 - 3.3 จากเดิมที่ร้อยละ 2.0-3.0 การคาดการณ์ครั้งนี้เป็นการมองเศรษฐกิจในแง่ที่ดีมาก เพราะหน่วยงานอื่น เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวถึงร้อยละ 2.6 ในปี 2552 และขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 เท่านั้นในปี 2553
แม้ FOMC และ Fed คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดไว้โดยเฉพาะในปี 2553 แต่ขณะเดียวกันก็ปรับอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.8 – 10.1 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มร้อยละ 9.2 – 9.8 ขณะที่คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ (Deflator ของ Personal Consumption Expenditure) ในปี 2553 จะเพิ่มจากร้อยละ 1.0 -1.4 เป็นร้อยละ 1.2 – 1.8 อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ด้านมาตรการเกี่ยวกับสถาบันการเงิน FOMC มีความเห็นค่อนข้างชัดเจนว่าสถานการณ์ของวิกฤติการเงินปรับตัวดีขึ้น ซึ่งดูได้จากยอดเงินกู้คงค้างที่ Fed ให้กับสถาบันการเงินโดยผ่านช่องทางต่างๆ ลดน้อยลง หมายความว่าปัญหาสภาพคล่องของสถาบันการเงินเริ่มคลี่คลาย ดังนั้น มาตรการบางอย่างอาจจะยกเลิกได้ แต่บางมาตรการที่สำคัญและมีประโยชน์จะยังคงใช้ต่อไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเวลาที่มีความอ่อนไหวด้านการเงิน ซึ่งตีความได้ว่าในความเห็นของ Fed แม้สถานการณ์ในตลาดการเงินอาจจะยังไม่ปกติแต่ก็พ้นวิกฤติเลวร้ายที่สุดแล้ว
เรื่องสำคัญต่อมาคือ งบดุลของ Fed ที่ขยายตัวอย่างมากจากประมาณ 900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯก่อนวิกฤติ มาเป็นประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการปล่อยกู้แก่ภาคสถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชนอื่นๆ โดยผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการซื้อตราสารหนี้โดยตรง FOMC คาดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายงบดุลของ Fed อีก และคาดว่างบดุลอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและสูงสุดในครึ่งหลังของปีนี้ และ Fed จะยกเลิกเมื่อถึงเวลาอันควร ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเสริมสภาพคล่องต่างๆ ที่ Fed จะยกเลิกในต้นปีหน้า นอกจากนี้ FOMC ยังเชื่อว่า Fed จะสามารถดึงสภาพคล่องจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินออกจากระบบได้และไม่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นประเด็นที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกังวล โดยประธาน Fed Dr. Bernanke ชี้แจงว่า Fed มีมาตรการ 5 ประการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลจากการอัดฉีดเงินเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการเงิน ซึ่งผมคิดว่า Fed ค่อนข้างมั่นใจว่าจะทำได้ เพราะได้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 และ 2553 จะอยู่ในระดับต่ำ
ประเด็นสุดท้ายและสำคัญที่สุดคือ ผลสรุปการประชุมตีความได้ว่ามีโอกาสน้อยมากที่ Fed จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2553 ภายใต้สมมติฐานที่ว่า Fed สามารถดึงสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบการเงินได้และทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เหตุผลคือ แม้ว่าตามการคาดการณ์ของ Fed เศรษฐกิจในปี 2553 จะขยายตัวในอัตราดีขึ้น แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับที่สูงมากเกือบตลอดปี 2553 Fed จึงจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนถึงปลายปี 2553 เป็นอย่างเร็ว ในอดีตที่ผ่านมาแม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่ Fed จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ต่อเมื่ออัตราการว่างงานลดลงอย่างชัดเจน เช่น เมื่อเกิดการถดถอยของเศรษฐกิจในปี 2533 และฟื้นตัวในปี 2534 Fed ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมกราคม 2537 หรือประมาณ 3 ปีหลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัวและเมื่ออัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 6.6 จากระดับสูงสุดร้อยละ 7.8 ในเดือนพฤษภาคม 2535 และอีกครั้งเมื่อครั้งเศรษฐกิจถดถอยในปี 2544 และฟื้นตัวปี 2545 Fed เริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมิถุนายน 2547 หรือประมาณ 2 ปีครึ่งหลังจากการฟื้นตัวและอัตราการว่างงานลดลง สำหรับการถดถอยครั้งนี้ คาดว่าอัตราการว่างงานจะสู่ระดับสูงสุดกว่าร้อยละ 10 ในปี 2553 ดังนั้นกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงจนถึงระดับที่ Fed มั่นใจว่าจะสามารถปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ก็น่าจะปลายปี 2553 หรือหลังจากนั้น
จากสรุปการประชุม ผมมีความเห็นว่า FOMC หรือ Fed มีความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ถึงจุดต่ำสุดและจะฟื้นตัว โดยจะขยายตัวในอัตราค่อนข้างสูงในปี 2553 ขณะเดียวกันวิกฤติการเงินก็ปรับตัวดีขึ้นจน Fed คาดว่าจะสามารถยกเลิกการให้ความช่วยเหลือได้ในต้นปี 2553 นอกจากนั้น Fed คาดว่าจะสามารถดูดสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือสถาบันการเงินและแก้ปัญหาสภาพคล่องทำให้หลีกเลี่ยงปัญหาเงินเฟ้อได้ อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานของสหรัฐฯยังอยู่ในระดับสูงมาก ทำให้คาดว่า Fed จะยังไม่ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยจนปลายปี 2553
bunluasak.p@cimbthai.com
ผลการประชุมของ FOMC โดยรวมสรุปได้ว่า FOMC และ Fed มองว่า ในปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของสหรัฐฯ มีแนวโน้มดีขึ้นแม้ว่าวิกฤติจะยังไม่จบลงก็ตาม โดยระบุว่าแม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาส 2 นี้จะยังหดตัวอยู่ แต่ก็หดตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาส 1 อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ Fed ยังปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2552 และ 2553 ในการประชุมครั้งนี้ด้วย โดยประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวลดลงจาก (-1.3) – (-2.0) จากการคาดการณ์เมื่อดือนเมษายน เหลือร้อยละ (-1.0) – (-1.5) และเศรษฐกิจปี 2553 จะขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 - 3.3 จากเดิมที่ร้อยละ 2.0-3.0 การคาดการณ์ครั้งนี้เป็นการมองเศรษฐกิจในแง่ที่ดีมาก เพราะหน่วยงานอื่น เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวถึงร้อยละ 2.6 ในปี 2552 และขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 เท่านั้นในปี 2553
แม้ FOMC และ Fed คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดไว้โดยเฉพาะในปี 2553 แต่ขณะเดียวกันก็ปรับอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.8 – 10.1 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มร้อยละ 9.2 – 9.8 ขณะที่คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ (Deflator ของ Personal Consumption Expenditure) ในปี 2553 จะเพิ่มจากร้อยละ 1.0 -1.4 เป็นร้อยละ 1.2 – 1.8 อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ด้านมาตรการเกี่ยวกับสถาบันการเงิน FOMC มีความเห็นค่อนข้างชัดเจนว่าสถานการณ์ของวิกฤติการเงินปรับตัวดีขึ้น ซึ่งดูได้จากยอดเงินกู้คงค้างที่ Fed ให้กับสถาบันการเงินโดยผ่านช่องทางต่างๆ ลดน้อยลง หมายความว่าปัญหาสภาพคล่องของสถาบันการเงินเริ่มคลี่คลาย ดังนั้น มาตรการบางอย่างอาจจะยกเลิกได้ แต่บางมาตรการที่สำคัญและมีประโยชน์จะยังคงใช้ต่อไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเวลาที่มีความอ่อนไหวด้านการเงิน ซึ่งตีความได้ว่าในความเห็นของ Fed แม้สถานการณ์ในตลาดการเงินอาจจะยังไม่ปกติแต่ก็พ้นวิกฤติเลวร้ายที่สุดแล้ว
เรื่องสำคัญต่อมาคือ งบดุลของ Fed ที่ขยายตัวอย่างมากจากประมาณ 900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯก่อนวิกฤติ มาเป็นประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการปล่อยกู้แก่ภาคสถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชนอื่นๆ โดยผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการซื้อตราสารหนี้โดยตรง FOMC คาดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายงบดุลของ Fed อีก และคาดว่างบดุลอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและสูงสุดในครึ่งหลังของปีนี้ และ Fed จะยกเลิกเมื่อถึงเวลาอันควร ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเสริมสภาพคล่องต่างๆ ที่ Fed จะยกเลิกในต้นปีหน้า นอกจากนี้ FOMC ยังเชื่อว่า Fed จะสามารถดึงสภาพคล่องจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินออกจากระบบได้และไม่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นประเด็นที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกังวล โดยประธาน Fed Dr. Bernanke ชี้แจงว่า Fed มีมาตรการ 5 ประการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลจากการอัดฉีดเงินเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการเงิน ซึ่งผมคิดว่า Fed ค่อนข้างมั่นใจว่าจะทำได้ เพราะได้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 และ 2553 จะอยู่ในระดับต่ำ
ประเด็นสุดท้ายและสำคัญที่สุดคือ ผลสรุปการประชุมตีความได้ว่ามีโอกาสน้อยมากที่ Fed จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2553 ภายใต้สมมติฐานที่ว่า Fed สามารถดึงสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบการเงินได้และทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เหตุผลคือ แม้ว่าตามการคาดการณ์ของ Fed เศรษฐกิจในปี 2553 จะขยายตัวในอัตราดีขึ้น แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับที่สูงมากเกือบตลอดปี 2553 Fed จึงจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนถึงปลายปี 2553 เป็นอย่างเร็ว ในอดีตที่ผ่านมาแม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่ Fed จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ต่อเมื่ออัตราการว่างงานลดลงอย่างชัดเจน เช่น เมื่อเกิดการถดถอยของเศรษฐกิจในปี 2533 และฟื้นตัวในปี 2534 Fed ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมกราคม 2537 หรือประมาณ 3 ปีหลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัวและเมื่ออัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 6.6 จากระดับสูงสุดร้อยละ 7.8 ในเดือนพฤษภาคม 2535 และอีกครั้งเมื่อครั้งเศรษฐกิจถดถอยในปี 2544 และฟื้นตัวปี 2545 Fed เริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมิถุนายน 2547 หรือประมาณ 2 ปีครึ่งหลังจากการฟื้นตัวและอัตราการว่างงานลดลง สำหรับการถดถอยครั้งนี้ คาดว่าอัตราการว่างงานจะสู่ระดับสูงสุดกว่าร้อยละ 10 ในปี 2553 ดังนั้นกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงจนถึงระดับที่ Fed มั่นใจว่าจะสามารถปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ก็น่าจะปลายปี 2553 หรือหลังจากนั้น
จากสรุปการประชุม ผมมีความเห็นว่า FOMC หรือ Fed มีความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ถึงจุดต่ำสุดและจะฟื้นตัว โดยจะขยายตัวในอัตราค่อนข้างสูงในปี 2553 ขณะเดียวกันวิกฤติการเงินก็ปรับตัวดีขึ้นจน Fed คาดว่าจะสามารถยกเลิกการให้ความช่วยเหลือได้ในต้นปี 2553 นอกจากนั้น Fed คาดว่าจะสามารถดูดสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือสถาบันการเงินและแก้ปัญหาสภาพคล่องทำให้หลีกเลี่ยงปัญหาเงินเฟ้อได้ อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานของสหรัฐฯยังอยู่ในระดับสูงมาก ทำให้คาดว่า Fed จะยังไม่ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยจนปลายปี 2553
bunluasak.p@cimbthai.com