เหตุการณ์ที่มีคนจำนวนหนึ่งกลุ้มรุมทำร้าย มุ่งหมายเอาชีวิต บุคคลระดับ นายกรัฐมนตรี และกรณีการใช้อาวุธสงครามนานาชนิดระดมยิงถล่มเพื่อสังหาร สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และยังเป็นสื่อมวลชนคนสำคัญกันกลางเมืองหลวง ทั้งสองกรณีถือว่าโหดร้าย ป่าเถื่อนจนเหนือคำบรรยายแล้ว
ยิ่งมาเห็นพฤติกรรมและท่าทีขัดขวาง พยายามทำลายหลักฐานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับคดีก็ยิ่งเห็นภาพสะท้อนความล้าหลังได้เป็นทวีคูณ และที่สำคัญยังสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บังคับบัญชาได้อย่างดี
แม้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่กำกับดูแลคดีลอบสังหาร สนธิ จะโพล่งออกมาอย่างเหลืออดว่า “เจอตอ” รวมทั้งเปิดโปง “ไส้ศึก” เนื่องจากสังคมคาดเดาและรับรู้กันไปแล้วว่า กลุ่มบุคคลที่อยู่เบื้องหลังย่อมมีความเป็นมาไม่ธรรมดา
ต้องเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจอย่างแน่นอน และต้องมีอำนาจในระดับ “น่าสะพรึงกลัว” มีเครือข่ายควบคุมทั้งกองทัพและตำรวจถึงจะกล้าลงมือได้อย่าง “อุกอาจ” แบบนี้ได้
เพราะตลอดระยะเวลาผ่านมาทั้งก่อนและหลังจากออกหมายจับผู้ต้องหาในเบื้องต้นจำนวน 2 ราย ก็ต้องเจอกับการขัดขวาง ข่มขู่คุกคามพนักงานสอบสวนที่ทำคดีอย่างหนัก จนถึงกับทำให้บางคนต้องถอดใจก็มี
เมื่อพิจารณาจากแบ็กกราวด์ของ ผู้ต้องหาดังกล่าวทั้งสองคนที่คนแรกมาจากทหารจากหน่วย “รบพิเศษ” และตำรวจหน่วยปราบปรามยาเสพติดช่วยราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่สำคัญบุคคลทั้งสองก็ล้วนมีความใกล้ชิดกับผู้บังคับบัญชาระดับสูงทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดีหากมองอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะที่ผ่านมาภาพที่เห็นจนชินตาก็คือความ “หละหลวม” ของการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาจนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม คุมบ่อน คุมซ่อง รับจ้างทวงหนี้ เป็นเด็กของ เสธ.นั่น หรือเสธ.คนนี้
ที่เห็นได้ชัดก็คือ “การยืมตัว” มาช่วยราชการ หรือการนำของกลางไปใช้ หลายครั้งก็ไม่ได้ดำเนินการไปตามระเบียบ แต่มักอาศัยความใกล้ชิดระหว่าง “นาย” กับ “ลูกน้อง” อยู่เสมอ ซึ่งกรณีของ ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ ได้สะท้อนให้เห็นถึง ความ “มั่ว” ออกมาให้เห็นได้ดีที่สุด
เพราะในความเป็นจริงแล้วแม้ว่า ส.ต.ท.วรวุฒิ เป็นตำรวจในสังกัด บช.ปส.แต่กลับถูกดึงมาช่วยราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษ และยังมีบทบาทสำคัญในหลายคดี แต่กลับกลายเป็นว่าได้รับการปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉยจากผู้บังคับบัญชาจากหน่วยงานดังกล่าว และปฏิเสธความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันยังแสดงท่าทีไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบหาหลักฐานเพื่อสาวไปถึงผู้บงการเสียอีก
นอกเหนือจากนี้หากพลิกดูประวัติก่อนเข้ามารับราชการก็ยังมีรายงานว่าเคยถูกไล่ออกจากบริษัทที่เกี่ยวกับการสื่อสารมาแล้ว
ส่วนในระดับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่กลายเป็นว่าถูกกันออกมานอกวง ไม่ให้ร่วมรับรู้ในเรื่องของคดีเลยแม้แต่น้อย มันก็มี “พิรุธ” อยู่แล้ว ยิ่งมาเห็นคำสั่งย้ายนายตำรวจที่เชี่ยวชาญในเรื่องการแกะรอยเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ กลับต้นสังกัดในช่วงคดีกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม ทำให้คดีสะดุด ก็ยิ่งทำให้ “น่าสงสัย” มากขึ้นไปอีก
ขณะเดียวกันเมื่อวกเข้าไปในกองทัพก็มักมีพฤติกรรมแปลกๆออกมาให้เห็นเป็นระยะนอกเหนือจากกรณีที่มีผู้บังคับบัญชาหรือลูกน้องก่อเรื่องอื้อฉาว ทำผิดกฎหมายแล้ว เท่าที่เห็นจนชินตาก็คือ บทบาทของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่ระบุตำแหน่งว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก” มักออกมาพูดในลักษณะ “ชี้นำ” ในหลายๆเรื่องทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
อีกทั้งในหลายๆครั้งยังเข้ามามีบทบาทเคลื่อนไหวกับกลุ่มการเมืองเสียเอง โดยเป็นครูฝีกอาวุธให้กับกลุ่ม “คนเสื้อแดง” กลางสนามหลวงมาแล้ว
แต่ที่น่าสังเกตก็คือการออกมาทุกครั้งของ พล.ต.ขัตติยะ หรือ “เสธ.แดง” มักเป็นช่วงที่ผู้นำกองทัพถูกรุกไล่ หรือตกเป็นจำเลยสังคมแทบทุกครั้ง ล่าสุดได้ออกมาให้ความเห็นทำลายความน่าเชื่อถือของ พล.ต.อ.ธานี ว่าคดีลอบยิง สนธิ จะเป็นมวยล้มและเอาผิดผู้ต้องหาไม่ได้
สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือนายทหารที่มีประวัติอื้อฉาว และมีแต่สร้างภาพลบให้กับกองทัพมาตลอด กลับแสดงความคิดเห็นให้สังคมสับสนอยู่บ่อยครั้ง โดยที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงไม่เคยจัดการอะไร ตรงกันข้ามยิ่งทำให้สงสัยได้ว่าเป็นการ “หรี่ตา” ไฟเขียวให้ออกมาหรือไม่
เมื่อประมวลภาพทั้งหลายทั้งปวงมาตั้งแต่ต้น เมื่อมองอีกด้านหนึ่งกรณีคดีของ สนธิ ลิ้มทองกุล มันได้สะท้อนภาพของความล้าหลัง ความด้อยพัฒนา และความป่าเถื่อนของระบบราชการบางแห่งที่ยังเน่าเฟะ ไม่มีจิตวิญญาณของการทำหน้าที่เพื่อประชาชน !!
ยิ่งมาเห็นพฤติกรรมและท่าทีขัดขวาง พยายามทำลายหลักฐานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับคดีก็ยิ่งเห็นภาพสะท้อนความล้าหลังได้เป็นทวีคูณ และที่สำคัญยังสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บังคับบัญชาได้อย่างดี
แม้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่กำกับดูแลคดีลอบสังหาร สนธิ จะโพล่งออกมาอย่างเหลืออดว่า “เจอตอ” รวมทั้งเปิดโปง “ไส้ศึก” เนื่องจากสังคมคาดเดาและรับรู้กันไปแล้วว่า กลุ่มบุคคลที่อยู่เบื้องหลังย่อมมีความเป็นมาไม่ธรรมดา
ต้องเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจอย่างแน่นอน และต้องมีอำนาจในระดับ “น่าสะพรึงกลัว” มีเครือข่ายควบคุมทั้งกองทัพและตำรวจถึงจะกล้าลงมือได้อย่าง “อุกอาจ” แบบนี้ได้
เพราะตลอดระยะเวลาผ่านมาทั้งก่อนและหลังจากออกหมายจับผู้ต้องหาในเบื้องต้นจำนวน 2 ราย ก็ต้องเจอกับการขัดขวาง ข่มขู่คุกคามพนักงานสอบสวนที่ทำคดีอย่างหนัก จนถึงกับทำให้บางคนต้องถอดใจก็มี
เมื่อพิจารณาจากแบ็กกราวด์ของ ผู้ต้องหาดังกล่าวทั้งสองคนที่คนแรกมาจากทหารจากหน่วย “รบพิเศษ” และตำรวจหน่วยปราบปรามยาเสพติดช่วยราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่สำคัญบุคคลทั้งสองก็ล้วนมีความใกล้ชิดกับผู้บังคับบัญชาระดับสูงทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดีหากมองอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะที่ผ่านมาภาพที่เห็นจนชินตาก็คือความ “หละหลวม” ของการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาจนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม คุมบ่อน คุมซ่อง รับจ้างทวงหนี้ เป็นเด็กของ เสธ.นั่น หรือเสธ.คนนี้
ที่เห็นได้ชัดก็คือ “การยืมตัว” มาช่วยราชการ หรือการนำของกลางไปใช้ หลายครั้งก็ไม่ได้ดำเนินการไปตามระเบียบ แต่มักอาศัยความใกล้ชิดระหว่าง “นาย” กับ “ลูกน้อง” อยู่เสมอ ซึ่งกรณีของ ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ ได้สะท้อนให้เห็นถึง ความ “มั่ว” ออกมาให้เห็นได้ดีที่สุด
เพราะในความเป็นจริงแล้วแม้ว่า ส.ต.ท.วรวุฒิ เป็นตำรวจในสังกัด บช.ปส.แต่กลับถูกดึงมาช่วยราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษ และยังมีบทบาทสำคัญในหลายคดี แต่กลับกลายเป็นว่าได้รับการปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉยจากผู้บังคับบัญชาจากหน่วยงานดังกล่าว และปฏิเสธความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันยังแสดงท่าทีไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบหาหลักฐานเพื่อสาวไปถึงผู้บงการเสียอีก
นอกเหนือจากนี้หากพลิกดูประวัติก่อนเข้ามารับราชการก็ยังมีรายงานว่าเคยถูกไล่ออกจากบริษัทที่เกี่ยวกับการสื่อสารมาแล้ว
ส่วนในระดับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่กลายเป็นว่าถูกกันออกมานอกวง ไม่ให้ร่วมรับรู้ในเรื่องของคดีเลยแม้แต่น้อย มันก็มี “พิรุธ” อยู่แล้ว ยิ่งมาเห็นคำสั่งย้ายนายตำรวจที่เชี่ยวชาญในเรื่องการแกะรอยเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ กลับต้นสังกัดในช่วงคดีกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม ทำให้คดีสะดุด ก็ยิ่งทำให้ “น่าสงสัย” มากขึ้นไปอีก
ขณะเดียวกันเมื่อวกเข้าไปในกองทัพก็มักมีพฤติกรรมแปลกๆออกมาให้เห็นเป็นระยะนอกเหนือจากกรณีที่มีผู้บังคับบัญชาหรือลูกน้องก่อเรื่องอื้อฉาว ทำผิดกฎหมายแล้ว เท่าที่เห็นจนชินตาก็คือ บทบาทของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่ระบุตำแหน่งว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก” มักออกมาพูดในลักษณะ “ชี้นำ” ในหลายๆเรื่องทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
อีกทั้งในหลายๆครั้งยังเข้ามามีบทบาทเคลื่อนไหวกับกลุ่มการเมืองเสียเอง โดยเป็นครูฝีกอาวุธให้กับกลุ่ม “คนเสื้อแดง” กลางสนามหลวงมาแล้ว
แต่ที่น่าสังเกตก็คือการออกมาทุกครั้งของ พล.ต.ขัตติยะ หรือ “เสธ.แดง” มักเป็นช่วงที่ผู้นำกองทัพถูกรุกไล่ หรือตกเป็นจำเลยสังคมแทบทุกครั้ง ล่าสุดได้ออกมาให้ความเห็นทำลายความน่าเชื่อถือของ พล.ต.อ.ธานี ว่าคดีลอบยิง สนธิ จะเป็นมวยล้มและเอาผิดผู้ต้องหาไม่ได้
สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือนายทหารที่มีประวัติอื้อฉาว และมีแต่สร้างภาพลบให้กับกองทัพมาตลอด กลับแสดงความคิดเห็นให้สังคมสับสนอยู่บ่อยครั้ง โดยที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงไม่เคยจัดการอะไร ตรงกันข้ามยิ่งทำให้สงสัยได้ว่าเป็นการ “หรี่ตา” ไฟเขียวให้ออกมาหรือไม่
เมื่อประมวลภาพทั้งหลายทั้งปวงมาตั้งแต่ต้น เมื่อมองอีกด้านหนึ่งกรณีคดีของ สนธิ ลิ้มทองกุล มันได้สะท้อนภาพของความล้าหลัง ความด้อยพัฒนา และความป่าเถื่อนของระบบราชการบางแห่งที่ยังเน่าเฟะ ไม่มีจิตวิญญาณของการทำหน้าที่เพื่อประชาชน !!