ยอดติดหวัดพุ่งพรวดเป็น 44 ศพ สธ.เผย ตายเฉลี่ย 3 รายต่อวัน อายุน้อยสุด 4 เดือน มากสุด 91 ปี นักระบาดวิทยาคาดตัวเลขติดเชื้อจริงอยู่ที่ 5 แสนราย “อภิสิทธิ์” พูดเองเฉลี่ยติดหลักหมื่นต่อวัน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ถึงการรับมือการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในขณะนี้ว่า การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่หลักการบริหารต้องพยายามชะลอไม่ให้การแพร่ระบาดพุ่งสูงขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหากับสถานพยาบาล จึงต้องมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้นในการชะลอการแพร่ระบาด
สำหรับตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวประจำสัปดาห์นั้น เป็นตัวเลขที่ส่งไปยังห้องปฏิบัติการ ซึ่งความจริงอาจไม่ตรงกัน จากการสอบถามฝ่ายวิชาการในส่วนของประเทศไทยที่มีผลกระทบต่อวันน่าจะอยู่ที่หลักหมื่น ซึ่งได้สั่งการ สธ.เกี่ยวกับระบบการจ่ายยา เพราะการแพร่ระบาดจะออกไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันตก
ยอดตายพุ่ง 44 คน
ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ. แถลงว่า ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยรายใหม่ยืนยันเพิ่มขึ้น 2,307 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 6,776 ราย เสียชีวิตสะสม 44 ราย ในจำนวนนี้หายแล้ว 6,697 ราย ยังพักรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 35 ราย อาการหนัก 7 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นชายและหญิงในจำนวน 22 รายเท่าๆ กัน มีผู้เสียชีวิตอายุต่ำสุดคือ 4 เดือน อายุมากที่สุด 91 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 16-21 ก.ค. ที่สธ.หยุดการแถลงตัวเลขพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย เฉลี่ยเสียชีวิต 3 รายต่อวัน ซึ่งไม่แตกต่างจากช่วงที่มีการแถลงข่าวรายวัน ไม่เกี่ยวกับโรคมีความรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดพบว่า 29 ราย หรือร้อยละ 66 มีโรคประจำตัว พบว่าเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูงมากที่สุด อย่างละ 6 ราย ส่วนโรคประจำตัวอื่นที่พบรองลงมาได้แก่ โรคไตวาย หัวใจ และมะเร็ง อย่างละ 3 ราย ตั้งครรภ์ 2 ราย ที่เหลือเป็นโรคต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อยกว่าปกติ ตับอักเสบเรื้อรัง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ปอดอักเสบติดเชื้อซ้ำ ร่างกายพิการ และเด็กเล็กอย่างละ 1 ราย
ปัจจัยเสี่ยงตายส่วนใหญ่มาหาหมอช้า
นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ถึงปัจจัยสาเหตุการเสียชีวิต พบผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มารับการรักษาช้า ทำให้ได้รับยาต้านไวรัสไม่ทัน ดังนั้น สธ.จะมีการปรับ 3 มาตรการ โดยมาตรการแรกซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนคือ ลดการเสียชีวิต จะปรับปรุงการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วขึ้น กลุ่มมีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ โรคอ้วน และเด็กต่ำกว่า 2 ปี หากติดเชื้อจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เมื่อมีอาการจึงต้องได้รับยาต้านไวรัสทันที ส่วนผู้ป่วยทั่วไปหากเป็นไข้ 2 วัน ทานยาแล้วไข้ไม่ลดให้มาพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับยาทันที
2.มาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรค ซึ่งจะกระจายเชื้อจากครอบครัวไปสู่ที่ทำงาน โดยเพิ่มความเข้มข้นการคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มนักเรียน โรงงาน ให้ อสม.เคาะประตูบ้าน แนะนำความรู้ประชาชน โดยจะเน้นขอความร่วมมือผู้ป่วยให้พักอยู่กับบ้านจนกว่าจะหาย และต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ แยกห้อง แยกของใช้ประจำตัว และตามมติครม. ประชาชนสามารถหยุดเรียน ทำงานได้ โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางวิชาการ พบว่า ในระยะนี้ การแพร่เชื้อของโรคจะเพิ่มแบบทวีคูณ ผู้ป่วย 1 คน อาจแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยโดย 2 คนโดยเฉลี่ย หากสามารถสกัดกั้นในระยะนี้ได้ ก็จะสามารถชะลอการแพร่เชื้อลงได้มาก และมาตรการที่ 3 คือการให้ความรู้ประชาชน ให้เข้าใจโรคโดย สธ.มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคในระดับจังหวัด เพื่อประสานเฝ้าระวังและควบคุมโรค และให้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง หรือ ขสมก.
เด็ก4 เดือนตายติดเชื้อจากคนเยี่ยม
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกสธ.กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กทารกอายุไม่ถึง 4 เดือน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยเด็กเป็นโรคปอดอักเสบและจากการสอบสวนโรคพบว่า ช่วงก่อนเด็กเสียชีวิต มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนมาเยี่ยมเด็กที่บ้าน รวมทั้งแม่เด็กได้พาเด็กออกไปนอกบ้าน จึงเป็นข้อเตือนใจว่าเด็กทารกอายุ 1-3 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังสุขภาพอย่างดี โดยผลชันสูตรพบว่า ที่ปอดมีความพิการแต่กำเนิด ลักษณะเนื้อปอดแข็งคล้ายฟองน้ำ จึงมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ต้องรอผลตรวจเนื้อปอดที่นำไปเพาะเชื้อไวรัส เพื่อตรวจสอบว่าปอดมีการติดเชื้อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 หรือไม่
คาดป่วยจริงถึง 5 แสน
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 แต่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เพราะเป็นการคำนวณจากจำนวนผู้ป่วยที่สธ.รายงาน คือ 6,776 ราย เป็นเพียงผู้ป่วยที่ส่งตรวจเชื้อเท่านั้น ทำให้ไทยยังไม่ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของการระบาดเป็นระดับ 3 ซึ่งจากการประเมินจำนวนผู้ติดเชื้อโดยใช้โมเดลจำลอง คาดว่า ไทยจะมีผู้ติดเชื้อแล้วราว 5 แสนคน เมื่อมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดต่ำลงตามไปด้วย ขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเมื่อมีผู้ป่วย 10,000 คน จะมีผู้เสียชีวิต 1 คน เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีผู้เสียชีวิต 44 ราย จะมีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 500,000 ราย จึงมีการคาดการณ์ว่าในผู้ป่วย 100,000 ราย จะมีเสียชีวิต 10 ราย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ถึงการรับมือการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในขณะนี้ว่า การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่หลักการบริหารต้องพยายามชะลอไม่ให้การแพร่ระบาดพุ่งสูงขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหากับสถานพยาบาล จึงต้องมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้นในการชะลอการแพร่ระบาด
สำหรับตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวประจำสัปดาห์นั้น เป็นตัวเลขที่ส่งไปยังห้องปฏิบัติการ ซึ่งความจริงอาจไม่ตรงกัน จากการสอบถามฝ่ายวิชาการในส่วนของประเทศไทยที่มีผลกระทบต่อวันน่าจะอยู่ที่หลักหมื่น ซึ่งได้สั่งการ สธ.เกี่ยวกับระบบการจ่ายยา เพราะการแพร่ระบาดจะออกไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันตก
ยอดตายพุ่ง 44 คน
ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดสธ. แถลงว่า ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยรายใหม่ยืนยันเพิ่มขึ้น 2,307 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 6,776 ราย เสียชีวิตสะสม 44 ราย ในจำนวนนี้หายแล้ว 6,697 ราย ยังพักรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 35 ราย อาการหนัก 7 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นชายและหญิงในจำนวน 22 รายเท่าๆ กัน มีผู้เสียชีวิตอายุต่ำสุดคือ 4 เดือน อายุมากที่สุด 91 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 16-21 ก.ค. ที่สธ.หยุดการแถลงตัวเลขพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 20 ราย เฉลี่ยเสียชีวิต 3 รายต่อวัน ซึ่งไม่แตกต่างจากช่วงที่มีการแถลงข่าวรายวัน ไม่เกี่ยวกับโรคมีความรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดพบว่า 29 ราย หรือร้อยละ 66 มีโรคประจำตัว พบว่าเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูงมากที่สุด อย่างละ 6 ราย ส่วนโรคประจำตัวอื่นที่พบรองลงมาได้แก่ โรคไตวาย หัวใจ และมะเร็ง อย่างละ 3 ราย ตั้งครรภ์ 2 ราย ที่เหลือเป็นโรคต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อยกว่าปกติ ตับอักเสบเรื้อรัง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ปอดอักเสบติดเชื้อซ้ำ ร่างกายพิการ และเด็กเล็กอย่างละ 1 ราย
ปัจจัยเสี่ยงตายส่วนใหญ่มาหาหมอช้า
นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ถึงปัจจัยสาเหตุการเสียชีวิต พบผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มารับการรักษาช้า ทำให้ได้รับยาต้านไวรัสไม่ทัน ดังนั้น สธ.จะมีการปรับ 3 มาตรการ โดยมาตรการแรกซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนคือ ลดการเสียชีวิต จะปรับปรุงการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วขึ้น กลุ่มมีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ โรคอ้วน และเด็กต่ำกว่า 2 ปี หากติดเชื้อจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เมื่อมีอาการจึงต้องได้รับยาต้านไวรัสทันที ส่วนผู้ป่วยทั่วไปหากเป็นไข้ 2 วัน ทานยาแล้วไข้ไม่ลดให้มาพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับยาทันที
2.มาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรค ซึ่งจะกระจายเชื้อจากครอบครัวไปสู่ที่ทำงาน โดยเพิ่มความเข้มข้นการคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มนักเรียน โรงงาน ให้ อสม.เคาะประตูบ้าน แนะนำความรู้ประชาชน โดยจะเน้นขอความร่วมมือผู้ป่วยให้พักอยู่กับบ้านจนกว่าจะหาย และต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ แยกห้อง แยกของใช้ประจำตัว และตามมติครม. ประชาชนสามารถหยุดเรียน ทำงานได้ โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางวิชาการ พบว่า ในระยะนี้ การแพร่เชื้อของโรคจะเพิ่มแบบทวีคูณ ผู้ป่วย 1 คน อาจแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยโดย 2 คนโดยเฉลี่ย หากสามารถสกัดกั้นในระยะนี้ได้ ก็จะสามารถชะลอการแพร่เชื้อลงได้มาก และมาตรการที่ 3 คือการให้ความรู้ประชาชน ให้เข้าใจโรคโดย สธ.มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นประธานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคในระดับจังหวัด เพื่อประสานเฝ้าระวังและควบคุมโรค และให้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง หรือ ขสมก.
เด็ก4 เดือนตายติดเชื้อจากคนเยี่ยม
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกสธ.กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กทารกอายุไม่ถึง 4 เดือน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยเด็กเป็นโรคปอดอักเสบและจากการสอบสวนโรคพบว่า ช่วงก่อนเด็กเสียชีวิต มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนมาเยี่ยมเด็กที่บ้าน รวมทั้งแม่เด็กได้พาเด็กออกไปนอกบ้าน จึงเป็นข้อเตือนใจว่าเด็กทารกอายุ 1-3 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังสุขภาพอย่างดี โดยผลชันสูตรพบว่า ที่ปอดมีความพิการแต่กำเนิด ลักษณะเนื้อปอดแข็งคล้ายฟองน้ำ จึงมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ต้องรอผลตรวจเนื้อปอดที่นำไปเพาะเชื้อไวรัส เพื่อตรวจสอบว่าปอดมีการติดเชื้อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 หรือไม่
คาดป่วยจริงถึง 5 แสน
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 แต่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เพราะเป็นการคำนวณจากจำนวนผู้ป่วยที่สธ.รายงาน คือ 6,776 ราย เป็นเพียงผู้ป่วยที่ส่งตรวจเชื้อเท่านั้น ทำให้ไทยยังไม่ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของการระบาดเป็นระดับ 3 ซึ่งจากการประเมินจำนวนผู้ติดเชื้อโดยใช้โมเดลจำลอง คาดว่า ไทยจะมีผู้ติดเชื้อแล้วราว 5 แสนคน เมื่อมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดต่ำลงตามไปด้วย ขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเมื่อมีผู้ป่วย 10,000 คน จะมีผู้เสียชีวิต 1 คน เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีผู้เสียชีวิต 44 ราย จะมีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 500,000 ราย จึงมีการคาดการณ์ว่าในผู้ป่วย 100,000 ราย จะมีเสียชีวิต 10 ราย