มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนผู้รักสันติและความเป็นธรรมท้อแท้ การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์และนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้สร้างความสุขเล็กๆ ให้สังคมไทยชั่วเวลาไม่นาน จากนั้นเงาทะมึนของเมฆหมอกก็กลับมาปกคลุมอีกครั้งท่ามกลางสถานการณ์ “ยักตื้นติดกึกยักลึกติดกัก” ทำให้สังคมไทยกลายเป็นลูกแกะในภาวะหนีเสือปะจระเข้ จากนั้น เสือ ( ติดปีก ) ก็กลับมาสำแดงเดชอีก
การชนะเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยในจังหวัดสกลนครและศรีสะเกษ หลายคนรู้สึกผิดหวัง แต่ถ้ามองอีกมุม-นั่นอาจจะเป็นสัญญาณตอบรับที่ดี...ดีอย่างไร?
ประการหนึ่ง เป็นการบอนไซพรรคภูมิใจไทยหรือกลุ่มเพื่อนเนวิน ไม่ให้โตเร็วเกินไป ทำให้อำนาจต่อรองในรัฐบาลชะงักงัน สายพานของผลประโยชน์ในโครงการต่างๆ หยุดเคลื่อนไหว แม้จะต้องแลกกับความเชื่อมั่นของทักษิณและบ่าวไพร่ที่กลับมาก็มองว่าคุ้ม
อีกประการหนึ่ง เป็นการปูทางไปสู่การเลือกตั้งสมัยหน้ากับสถานการณ์การต่อสู้ระหว่างทักษิณกับเนวินในภาคอีสาน เปิดพื้นที่ตรงกลางพอเอาตัวรอดสำหรับ “ตาอยู่” ระหว่างพรรค ปชป.กับพรรคการเมืองใหม่ว่า ใครจะช่วงชิง ส.ส.ได้มากกว่ากัน โดยมีผลงานรัฐบาลเป็นตัวแปร และจากผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา 6 เดือน นอกจากจะไม่มีอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันแล้ว แนวโน้มที่รัฐบาลโดยเฉพาะพรรค ปชป.จะเสียโอกาสมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นการทำลายโอกาสของแกนนำ ปชป.( บางคน ) เอง แม้ภาพของนายกฯ อภิสิทธิ์จะดูดีมีความน่าเชื่อถือ แต่ความสามารถและความซื่อสัตย์ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ต้องมี “ความกล้าหาญ” ประกอบกันด้วย น่าเสียดายที่ท่านนายกฯ ขาดคุณสมบัติสำคัญข้อนี้ ทำให้สนิมเหล็กแต่เนื้อใน-ทำพิษอยู่เนืองๆ
การที่ตำรวจป้ายข้อหา “ผู้ก่อการร้าย” ให้แกนนำและวิทยากรกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด การบอนแซะเก้าอี้ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นภาพของสนิมแต่เนื้อใน สะท้อนภาพวิกฤตจริยธรรมของนักการเมืองบางคน สะท้อนภาพปัญหาซับซ้อนทางการเมือง และสะท้อนภาพคุณสมบัติ “ความกล้าหาญ” ที่ขาดหายไปของนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ขณะสังคมเสียความรู้สึก หากแต่องคาพยพเหล่านี้กำลังเป็นสัญญาณที่ดีทอดเงามาสู่กลุ่มพันธมิตรฯ และประชาชนที่รักความเป็นธรรม เพราะเมื่อสังคมอ่านเกมการเมืองออกว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้สถานการณ์สวิงไปสวิงมาเช่นนี้ เท่ากับเป็นแรงเหวี่ยงให้แฟนคลับของพรรค ปชป.ที่กำลังลังเลว่า จะเลือกใครดีในการเลือกตั้งสมัยหน้า ทุบเปรี้ยงเดี๋ยวนั้นว่าเลือกข้างผู้ถูกกระทำ (ซึ่งเป็นไปตามนิสัยคนไทยที่ไม่ชอบเห็นใครถูกรังแก)
การยืมมือตำรวจเชือดข้าวนอกนาอย่างนายกษิต ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้สังคมไทย (โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ตรงกลาง) มองเห็นภาพกลุ่มผลประโยชน์ที่แฝงตัวอยู่คณะรัฐบาลชัดขึ้น ทั้งต่อกรณีข้อพิพาทไทยกับกัมพูชา หรือความล้มเหลวของหน่วยงานความมั่นคง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้พบสัจธรรมที่ว่า ในที่สุดผู้ที่รักและพร้อมจะปกปักรักษาผืนแผ่นดินนี้จริงๆ แล้วก็คือกลุ่มพันธมิตรฯ
ทั้งนี้เพราะสังคมรับรู้มาตลอดว่า ตำรวจยัดเยียดข้อหาผู้ก่อการร้ายให้กลุ่มพันธมิตรฯ และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนั้น เกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่กัมพูชา ภารกิจระหว่างประเทศที่ไม่ใช่หน้าที่ของรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมแต่อย่างใด
พฤติการณ์ของนักการเมืองไทย (จำนวนไม่น้อย) นอกจากจะบกพร่องทางจริยธรรมแล้ว วิสัยทัศน์ยังมีจำกัด แยกแยะไม่ออกว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ยังคงลุ่มหลงอยู่กับอำนาจและผลประโยชน์ ขนาดประเทศชาติเจอวิกฤตทั้งในประเทศและนอกประเทศขนาดนี้ ยังไม่มีสำนึก และขาดความละอายต่อบาป
การหยิบยื่นข้อหาร้ายแรงให้กลุ่มพันธมิตรฯ เป็นเครื่องชี้ประการหนึ่งว่า ผู้อยู่เบื้องหลังประเมินสถานการณ์ผิดพลาด เพราะความที่กระทำไม่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ของภาคประชาชนอย่าง พธม. จึงไม่รู้ว่าผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกันนั้นมีความกลมเกลียวลึกซึ้งเพียงใด การประเมินที่ผิดพลาดมีค่าเท่ากับประเมินความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่ำ ถ้าคิดว่า “เพื่อนสนิท” คือเพื่อนแท้ วันนี้อาจไม่ใช่ เพราะ “เพื่อนร่วมอุดมการณ์” ที่นอนกลางดินกินกลางทรายต่อสู้และเผชิญหน้ากับความเป็นความตายร่วมกันมานั้นต่างหากคือเพื่อนแท้!
แม้นายกฯ อภิสิทธิ์จะดูอ่อนเยาว์ในภาวะผู้นำ แต่นั่นไม่ใช่สำคัญเท่ากับความกล้าที่จะยืนอยู่ข้างความถูกต้อง และกล้าตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาทั้งหลายบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยไม่หวั่นไหวไปกับแรงเสียดทานรอบตัว โดยไม่เอนเอียงไปกับแรงยั่วยุของทักษิณและบ่าวไพร่ และโดยไม่เห็นแก่หน้าของพรรคร่วมรัฐบาลที่เห็นผลประโยชน์ตนมาก่อน
ฤาว่า...การที่นายกรัฐมนตรีในช่วงวิกฤตการเมืองเป็นนายอภิสิทธิ์เป็นเพียงสัญญาณ หากถอดรหัสเหตุปัจจัยนี้สำเร็จ อาจพบคำตอบที่สังคมไทยต้องการ นั่นคือความสงบสุขสันติที่แท้จริง
เพราะฉะนั้น ผู้มีอำนาจในทุกภาคส่วนถึงเวลาที่ทุกคนต้องกล้าที่จะปฏิเสธความไม่ถูกต้องทั้งหลาย พร้อมที่จะก้าวข้ามผลประโยชน์สารพัดที่ผู้ไม่หวังดีหยิบยื่น ไม่เช่นนั้นสังคมไทยก็จะตกอยู่กับห้วงทุกข์ต่อไปไม่รู้จักจบจักสิ้น.
การชนะเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยในจังหวัดสกลนครและศรีสะเกษ หลายคนรู้สึกผิดหวัง แต่ถ้ามองอีกมุม-นั่นอาจจะเป็นสัญญาณตอบรับที่ดี...ดีอย่างไร?
ประการหนึ่ง เป็นการบอนไซพรรคภูมิใจไทยหรือกลุ่มเพื่อนเนวิน ไม่ให้โตเร็วเกินไป ทำให้อำนาจต่อรองในรัฐบาลชะงักงัน สายพานของผลประโยชน์ในโครงการต่างๆ หยุดเคลื่อนไหว แม้จะต้องแลกกับความเชื่อมั่นของทักษิณและบ่าวไพร่ที่กลับมาก็มองว่าคุ้ม
อีกประการหนึ่ง เป็นการปูทางไปสู่การเลือกตั้งสมัยหน้ากับสถานการณ์การต่อสู้ระหว่างทักษิณกับเนวินในภาคอีสาน เปิดพื้นที่ตรงกลางพอเอาตัวรอดสำหรับ “ตาอยู่” ระหว่างพรรค ปชป.กับพรรคการเมืองใหม่ว่า ใครจะช่วงชิง ส.ส.ได้มากกว่ากัน โดยมีผลงานรัฐบาลเป็นตัวแปร และจากผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา 6 เดือน นอกจากจะไม่มีอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันแล้ว แนวโน้มที่รัฐบาลโดยเฉพาะพรรค ปชป.จะเสียโอกาสมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นการทำลายโอกาสของแกนนำ ปชป.( บางคน ) เอง แม้ภาพของนายกฯ อภิสิทธิ์จะดูดีมีความน่าเชื่อถือ แต่ความสามารถและความซื่อสัตย์ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ต้องมี “ความกล้าหาญ” ประกอบกันด้วย น่าเสียดายที่ท่านนายกฯ ขาดคุณสมบัติสำคัญข้อนี้ ทำให้สนิมเหล็กแต่เนื้อใน-ทำพิษอยู่เนืองๆ
การที่ตำรวจป้ายข้อหา “ผู้ก่อการร้าย” ให้แกนนำและวิทยากรกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด การบอนแซะเก้าอี้ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นภาพของสนิมแต่เนื้อใน สะท้อนภาพวิกฤตจริยธรรมของนักการเมืองบางคน สะท้อนภาพปัญหาซับซ้อนทางการเมือง และสะท้อนภาพคุณสมบัติ “ความกล้าหาญ” ที่ขาดหายไปของนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ขณะสังคมเสียความรู้สึก หากแต่องคาพยพเหล่านี้กำลังเป็นสัญญาณที่ดีทอดเงามาสู่กลุ่มพันธมิตรฯ และประชาชนที่รักความเป็นธรรม เพราะเมื่อสังคมอ่านเกมการเมืองออกว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้สถานการณ์สวิงไปสวิงมาเช่นนี้ เท่ากับเป็นแรงเหวี่ยงให้แฟนคลับของพรรค ปชป.ที่กำลังลังเลว่า จะเลือกใครดีในการเลือกตั้งสมัยหน้า ทุบเปรี้ยงเดี๋ยวนั้นว่าเลือกข้างผู้ถูกกระทำ (ซึ่งเป็นไปตามนิสัยคนไทยที่ไม่ชอบเห็นใครถูกรังแก)
การยืมมือตำรวจเชือดข้าวนอกนาอย่างนายกษิต ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้สังคมไทย (โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ตรงกลาง) มองเห็นภาพกลุ่มผลประโยชน์ที่แฝงตัวอยู่คณะรัฐบาลชัดขึ้น ทั้งต่อกรณีข้อพิพาทไทยกับกัมพูชา หรือความล้มเหลวของหน่วยงานความมั่นคง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้พบสัจธรรมที่ว่า ในที่สุดผู้ที่รักและพร้อมจะปกปักรักษาผืนแผ่นดินนี้จริงๆ แล้วก็คือกลุ่มพันธมิตรฯ
ทั้งนี้เพราะสังคมรับรู้มาตลอดว่า ตำรวจยัดเยียดข้อหาผู้ก่อการร้ายให้กลุ่มพันธมิตรฯ และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนั้น เกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่กัมพูชา ภารกิจระหว่างประเทศที่ไม่ใช่หน้าที่ของรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมแต่อย่างใด
พฤติการณ์ของนักการเมืองไทย (จำนวนไม่น้อย) นอกจากจะบกพร่องทางจริยธรรมแล้ว วิสัยทัศน์ยังมีจำกัด แยกแยะไม่ออกว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ยังคงลุ่มหลงอยู่กับอำนาจและผลประโยชน์ ขนาดประเทศชาติเจอวิกฤตทั้งในประเทศและนอกประเทศขนาดนี้ ยังไม่มีสำนึก และขาดความละอายต่อบาป
การหยิบยื่นข้อหาร้ายแรงให้กลุ่มพันธมิตรฯ เป็นเครื่องชี้ประการหนึ่งว่า ผู้อยู่เบื้องหลังประเมินสถานการณ์ผิดพลาด เพราะความที่กระทำไม่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ของภาคประชาชนอย่าง พธม. จึงไม่รู้ว่าผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกันนั้นมีความกลมเกลียวลึกซึ้งเพียงใด การประเมินที่ผิดพลาดมีค่าเท่ากับประเมินความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่ำ ถ้าคิดว่า “เพื่อนสนิท” คือเพื่อนแท้ วันนี้อาจไม่ใช่ เพราะ “เพื่อนร่วมอุดมการณ์” ที่นอนกลางดินกินกลางทรายต่อสู้และเผชิญหน้ากับความเป็นความตายร่วมกันมานั้นต่างหากคือเพื่อนแท้!
แม้นายกฯ อภิสิทธิ์จะดูอ่อนเยาว์ในภาวะผู้นำ แต่นั่นไม่ใช่สำคัญเท่ากับความกล้าที่จะยืนอยู่ข้างความถูกต้อง และกล้าตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาทั้งหลายบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยไม่หวั่นไหวไปกับแรงเสียดทานรอบตัว โดยไม่เอนเอียงไปกับแรงยั่วยุของทักษิณและบ่าวไพร่ และโดยไม่เห็นแก่หน้าของพรรคร่วมรัฐบาลที่เห็นผลประโยชน์ตนมาก่อน
ฤาว่า...การที่นายกรัฐมนตรีในช่วงวิกฤตการเมืองเป็นนายอภิสิทธิ์เป็นเพียงสัญญาณ หากถอดรหัสเหตุปัจจัยนี้สำเร็จ อาจพบคำตอบที่สังคมไทยต้องการ นั่นคือความสงบสุขสันติที่แท้จริง
เพราะฉะนั้น ผู้มีอำนาจในทุกภาคส่วนถึงเวลาที่ทุกคนต้องกล้าที่จะปฏิเสธความไม่ถูกต้องทั้งหลาย พร้อมที่จะก้าวข้ามผลประโยชน์สารพัดที่ผู้ไม่หวังดีหยิบยื่น ไม่เช่นนั้นสังคมไทยก็จะตกอยู่กับห้วงทุกข์ต่อไปไม่รู้จักจบจักสิ้น.