ASTVผู้จัดการรายวัน- สภาพัฒน์ เสนอแนวทางการบริหารรัฐวิสาหกิจ ชี้สาเหตุปี 48-51 มีการเปลี่ยนนโยบาย-รมต.บ่อย ทำให้บริหารชะงัก แนะบอร์ดกำหนดนโยบาย ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับการจัดซื้อจัดจ้าง พร้อมขอเบี้ยประชุมประธานบอร์ดครั้งละ 1หมื่น แต่นายกฯเคาะให้แค่เคือนละ1หมื่น ไม่ว่าจะมีการประชุมกี่ครั้ง ถ้าไม่ประชุมก็ไม่ได้รับ
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ครม.ได้รับทราบ และเห็นชอบต่อข้อเสนอตามที่ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอรายงานการศึกษา เรื่องแนวทางการบริหารการจัดการรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกับฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม และหลักเกณฑ์การค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ โดยนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้มีข้อเสนอมายังครม. 3 ประเภท คือ
1. รัฐวิสาหกิจที่มีผลประกอบการด้านการเงินดี เช่น ปตท. ไปรษณีย์ไทย การประปานครหลวง และ อสมท
2. กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ประสบการขาดทุนจากการดำเนินงาน เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการบินไทย
3. รัฐวิสาหกิจที่เริ่มดำเนินการ และมีผลกำไรลดลงที่อาจนำไปสู่การขาดทุน เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทีโอที กสท. และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ทางสภาพัฒน์ได้ มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1. นโยยบาย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2548-2551 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล และมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรี ที่ทำหน้าที่ดูแลรัฐวิสาหกิจ ทำให้นโยบายรัฐวิสาหกิจต่างๆ ขาดความต่อเนื่อง ยุดยั้งโครงการต่างๆเอาไว้ ฃ
2. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจขาดเอกภาพในการดูแล และการทำงานมากมาย ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือต่อผู้ถือหุ้น เช่น ปตท. ทีโอที กสท.
3. ในส่วนการบริหารจัดการ พบว่า จำนวนรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ 55 แห่ง มีจำนวนถึง 53 แห่ง ที่มีการเปลี่ยนบอร์ดผู้บริหาร ทางสภาพัฒน์ จึงเสนอให้มีการกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการผู้บริหารให้ชัดเจน ตามหลักเกณฑ์ผู้บริหารที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ และเร่งให้ทางกระทรวงการคลัง และกระทรวงเจ้าสังกัดรัฐวิสาหกิจ จัดสรร และแต่งตั้งผู้บริหาร และบอร์ดของรัฐวิสาหกิจให้เสร็จสิ้นลงโดยเร็ว
นายวัชระ กล่าวย้ำว่า สภาพัฒน์ เสนอให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจควรมีการกำหนดหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้ฝ่ายบริหารทำหน้าที่บริหารองค์กรตามพันธกิจ และแผนงาน ต้องแยกหน้าที่อย่างชัดเจนในส่วนของบอร์ด และผู้บริหาร ซึ่งทางครม.โดยนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบตามที่สภาพัฒน์ ขอให้พิจารณาให้เห็นชอบตามแนวทางข้างต้น
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนออื่นในแนวทางการบริหารรัฐวิสาหกิจ ยังมีการปรับโครงสร้างการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทบทวนบทบาทรัฐวิสาหกิจ พร้อมกับการพัฒนาบุคลากร รวมไปถึงการกำหนดความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ ความเห็นของสภาพัฒน์ เห็นควรให้มีการบังคับใช้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจำกัด ให้ดำเนินการภายใน 1 ปี ส่วนรัฐวิสาหกิจทั่วไป ให้ปรับปรุงบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานภายใน 2 ปี
นอกจากนี้ สภาพัฒน์ เสนอให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์การค้ำประกันเงินกู้ ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐมีภาระต้องค้ำประกันอย่างต่อเนื่อง โดยให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อกรอบการค้ำประกันเงินกู้ของโครงการลงทุนใหม่ ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจขาดทุนจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ รัฐควรชดเชยผลการขาดทุนดังกล่าวโดยจัดตั้งงบประมาณ เพื่อชดเชยให้ทันทีภายหลังสิ้นสุดโครงการ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อฐานะการเงินขององค์กร และเป็นการลดภาระการค้ำประกันเงินกู้ของภาครัฐ
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ทางสภาพัฒน์ ได้ขอให้มีค่าบริหารตอบแทนค่าประชุม โดยให้ประธานกรรมการครั้งละ 1 หมื่นบาท แต่ ครม.มีความเห็นอนุมัติให้เป็นรายเดือน เดือนละ 1 หมื่นบาท ไม่ว่าจะมีการประชุมกี่ครั้งก็ตาม อย่างไรก็ตามหากไม่มีการประชุมก็ไม่ต้องจ่ายเงินเดือน สำหรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้เดือนละ 8 พันบาท ประธานคณะอนุกรรมการ เดือนละ 5 พันบาท ส่วนอนุกรรมการ เดือนละ 4 พันบาท
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ครม.ได้รับทราบ และเห็นชอบต่อข้อเสนอตามที่ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอรายงานการศึกษา เรื่องแนวทางการบริหารการจัดการรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกับฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม และหลักเกณฑ์การค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ โดยนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้มีข้อเสนอมายังครม. 3 ประเภท คือ
1. รัฐวิสาหกิจที่มีผลประกอบการด้านการเงินดี เช่น ปตท. ไปรษณีย์ไทย การประปานครหลวง และ อสมท
2. กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ประสบการขาดทุนจากการดำเนินงาน เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการบินไทย
3. รัฐวิสาหกิจที่เริ่มดำเนินการ และมีผลกำไรลดลงที่อาจนำไปสู่การขาดทุน เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทีโอที กสท. และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ทางสภาพัฒน์ได้ มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1. นโยยบาย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2548-2551 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล และมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรี ที่ทำหน้าที่ดูแลรัฐวิสาหกิจ ทำให้นโยบายรัฐวิสาหกิจต่างๆ ขาดความต่อเนื่อง ยุดยั้งโครงการต่างๆเอาไว้ ฃ
2. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจขาดเอกภาพในการดูแล และการทำงานมากมาย ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือต่อผู้ถือหุ้น เช่น ปตท. ทีโอที กสท.
3. ในส่วนการบริหารจัดการ พบว่า จำนวนรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ 55 แห่ง มีจำนวนถึง 53 แห่ง ที่มีการเปลี่ยนบอร์ดผู้บริหาร ทางสภาพัฒน์ จึงเสนอให้มีการกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการผู้บริหารให้ชัดเจน ตามหลักเกณฑ์ผู้บริหารที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ และเร่งให้ทางกระทรวงการคลัง และกระทรวงเจ้าสังกัดรัฐวิสาหกิจ จัดสรร และแต่งตั้งผู้บริหาร และบอร์ดของรัฐวิสาหกิจให้เสร็จสิ้นลงโดยเร็ว
นายวัชระ กล่าวย้ำว่า สภาพัฒน์ เสนอให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจควรมีการกำหนดหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้ฝ่ายบริหารทำหน้าที่บริหารองค์กรตามพันธกิจ และแผนงาน ต้องแยกหน้าที่อย่างชัดเจนในส่วนของบอร์ด และผู้บริหาร ซึ่งทางครม.โดยนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบตามที่สภาพัฒน์ ขอให้พิจารณาให้เห็นชอบตามแนวทางข้างต้น
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนออื่นในแนวทางการบริหารรัฐวิสาหกิจ ยังมีการปรับโครงสร้างการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทบทวนบทบาทรัฐวิสาหกิจ พร้อมกับการพัฒนาบุคลากร รวมไปถึงการกำหนดความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ ความเห็นของสภาพัฒน์ เห็นควรให้มีการบังคับใช้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจำกัด ให้ดำเนินการภายใน 1 ปี ส่วนรัฐวิสาหกิจทั่วไป ให้ปรับปรุงบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานภายใน 2 ปี
นอกจากนี้ สภาพัฒน์ เสนอให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์การค้ำประกันเงินกู้ ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐมีภาระต้องค้ำประกันอย่างต่อเนื่อง โดยให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อกรอบการค้ำประกันเงินกู้ของโครงการลงทุนใหม่ ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจขาดทุนจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ รัฐควรชดเชยผลการขาดทุนดังกล่าวโดยจัดตั้งงบประมาณ เพื่อชดเชยให้ทันทีภายหลังสิ้นสุดโครงการ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อฐานะการเงินขององค์กร และเป็นการลดภาระการค้ำประกันเงินกู้ของภาครัฐ
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ทางสภาพัฒน์ ได้ขอให้มีค่าบริหารตอบแทนค่าประชุม โดยให้ประธานกรรมการครั้งละ 1 หมื่นบาท แต่ ครม.มีความเห็นอนุมัติให้เป็นรายเดือน เดือนละ 1 หมื่นบาท ไม่ว่าจะมีการประชุมกี่ครั้งก็ตาม อย่างไรก็ตามหากไม่มีการประชุมก็ไม่ต้องจ่ายเงินเดือน สำหรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้เดือนละ 8 พันบาท ประธานคณะอนุกรรมการ เดือนละ 5 พันบาท ส่วนอนุกรรมการ เดือนละ 4 พันบาท