ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเจรจาคมนาคม ยอมคงสัญญางานก่อสร้างรถไฟสีแดง 3 สัญญา ตามเงื่อนไขเดิม ยันไจก้าไม่ขัดข้องซอยงาน แต่เกรงจะกระทบให้การประกวดราคาล่าช้าออกไปอีกหลังจากยืดเยื้อมานาน 2-3 เดือน ด้านสคร.ได้ที บอกสหภาพฯ ร.ฟ.ท.หยุดเดินรถไฟ กระทบแอร์พอร์ตลิงก์ เหตุไม่สามารถตั้งบริษัทลูก และวางระบบเดินรถได้ ยันเดินหน้าแผนฟื้นฟูฯ หลังเจรจากับสหภาพจบ เชื่อจะเป็นประโยชน์กับร.ฟ.ท.มากกว่า
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ระบุว่าองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือไจก้า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ ร.ฟ.ท.ที่เสนอแบ่งซอยสัญญางานก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท ออกเป็น 5 สัญญา จากเดิม 3 สัญญา ว่า ทางไจก้าไม่ได้ขัดข้องเรื่องการแบ่งซอยสัญญาหรือทำให้ยุ่งยากต่อการบริหารจัดการ แต่เห็นว่าหากจะมาแบ่งซอยสัญญาตอนนี้อาจส่งผลกระทบต่อการประกวดราคาที่ต้องล่าช้าออกไปอีก เนื่องจากขณะนี้ได้จัดทำร่างเอกสารสัญญาไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว 3 สัญญา หากต้องเพิ่มเติมอีก 2 สัญญาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดอีกมาก
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเห็นว่าควรดำเนินการต่อไปตามร่างสัญญางานก่อสร้าง 3 สัญญาตามเดิมเพื่อให้สามารถประกวดราคาและเลือกเอกชนเข้ามาดำเนินการก่อสร้างได้ทันปีนี้หรือต้นปีหน้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้ล่าช้ากว่ากำหนดมาแล้ว 2-3 เดือนจากการปรับเปลี่ยนร่างสัญญาก่อสร้างไปมาของกระทรวงคมนาคม
“เข้าใจว่าทางคมนาคมคงอยากซอยสัญญาการก่อสร้างจาก 3 เป็น 5 สัญญาเพื่อให้เอกชนเข้ามารับงานได้หลายรายมากขึ้น แต่เมื่อชี้แจงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากต้องมีการเปลี่ยนสัญญาใหม่ทางคมนาคมก็เข้าใจและยอมรับร่างสัญญาเดิมแล้ว คาดว่าหลังจากนี้จะเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ตามที่กำหนดไว้ โดยหากมีการประกวดราคาและคัดเลือกเอกชนแล้วก็พร้อมจะเบิกจ่ายเงินกู้จากไจก้าได้ทันที” แหล่งข่าวระบุ
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ทาง ร.ฟ.ท.ระบุว่าเหตุที่ต้องขอแบ่งซอยสัญญา เพราะต้องการให้งานก่อสร้างได้เร็วขึ้น และช่วยกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
สำหรับงานก่อสร้างรถไฟสีแดงทั้ง 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 งานโครงสร้างช่วงประดิพัทธ์-กม.11 ระยะทาง 5 กิโลเมตร และสถานีกลางบางซื่อ มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างช่วง กม.11-รังสิต ระยะทาง 21 กิโลเมตร มูลค่า1.8 หมื่นล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณ และระบบรถไฟฟ้า มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท รวมถึงเส้นทางช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งใช้เงินกู้ในประเทศจะเปิดประกวดราคาพร้อมกัน
รับสหภาพประท้วงกระทบแอร์พอร์ตลิ้งก์
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า การชุมนุมประท้วงของการหยุดเดินรถไฟของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย มีผลกระทบต่อการจัดตั้งบริษัทและการจัดการวางระบบรางของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งเป็นจะเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท. เพราะขณะนี้ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ต้องใช้เวลาในการเจรจากับสหภาพแรงงาน ทำให้งานทุกอย่างหยุดชะงัก รวมถึงการเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูของ ร.ฟ.ท.ด้วยว่าจะต้องรอการเจรจากับสหภาพแรงงานให้จบก่อน
ยันเดินหน้าปรับโครงสร้าง
นายอารีพงศ์กล่าวถึงแผนการฟิ้นฟู ร.ฟ.ท.ว่า จะต้องเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) หลังจากที่ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เจรจาหาข้อสรุปกับสหภาพแรงงานจบแล้ว ซึ่งแผนดังกล่าวได้หารือร่วมกับสหภาพแรงงานมาโดยตลอด และที่ผ่านมาไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่ได้เป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ปรับแผนการดำเนินงานใหม่ เพื่อให้ ร.ฟ.ท.เดินหน้าต่อไปได้ เพราะหลังโครงการไทยเข้มแข็ง ร.ฟ.ท.จะมีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มอีกปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่แต่ละปีจะมีงบลงทุน 1.5-2 หมื่นล้านบาท แต่สามารถเบิกงบได้เพียง 30-40% เท่านั้น
ชี้สหภาพเสนอตั้งบริษัทลูกเอง
สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท.นายอารีพงศ์กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะรับผิดชอบในการดูแลระบบรางทั้งหมด และตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 2 แห่ง ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ที่ ร.ฟ.ท.ถือหุ้นทั้งหมด โดยบริษัทแรก จัดตั้งขึ้นมาดูแลการเดินรถ และอีกบริษัทจัดตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด โดยจะโอนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการเดินรถให้มาอยู่ในบริษัทดังกล่าว เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้มากกว่าปีละ 2 พันล้านบาท
“บริษัทที่จะตั้งขึ้นมาดูแลบริหารสินทรัพย์ ก็ยังเป็นบริษัทจำกัด ที่ถือหุ้น 100% โดย ร.ฟ.ท. ซึ่งสหภาพแรงงานเป็นผู้เสนอเองว่า หาก ร.ฟ.ท.ไม่มีความเชี่ยวชาญก็ควรที่จะจ้างผู้เชี่ยวชาญมาบริหารแทน เพราะที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการบริหารสินทรัพย์ปีละ 1.5-2 พันล้านบาทเท่านั้น ทั้งที่มีทรัพย์สินอยู่จำนวนมาก ทางการไม่ได้คิดที่จะขายหรือให้เช่ากับเอกชน เพื่อให้มีรายได้จำนวนมากแต่อย่างใด อาจจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน” นายอารีพงศ์กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ระบุว่าองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือไจก้า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ ร.ฟ.ท.ที่เสนอแบ่งซอยสัญญางานก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท ออกเป็น 5 สัญญา จากเดิม 3 สัญญา ว่า ทางไจก้าไม่ได้ขัดข้องเรื่องการแบ่งซอยสัญญาหรือทำให้ยุ่งยากต่อการบริหารจัดการ แต่เห็นว่าหากจะมาแบ่งซอยสัญญาตอนนี้อาจส่งผลกระทบต่อการประกวดราคาที่ต้องล่าช้าออกไปอีก เนื่องจากขณะนี้ได้จัดทำร่างเอกสารสัญญาไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว 3 สัญญา หากต้องเพิ่มเติมอีก 2 สัญญาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดอีกมาก
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเห็นว่าควรดำเนินการต่อไปตามร่างสัญญางานก่อสร้าง 3 สัญญาตามเดิมเพื่อให้สามารถประกวดราคาและเลือกเอกชนเข้ามาดำเนินการก่อสร้างได้ทันปีนี้หรือต้นปีหน้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้ล่าช้ากว่ากำหนดมาแล้ว 2-3 เดือนจากการปรับเปลี่ยนร่างสัญญาก่อสร้างไปมาของกระทรวงคมนาคม
“เข้าใจว่าทางคมนาคมคงอยากซอยสัญญาการก่อสร้างจาก 3 เป็น 5 สัญญาเพื่อให้เอกชนเข้ามารับงานได้หลายรายมากขึ้น แต่เมื่อชี้แจงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากต้องมีการเปลี่ยนสัญญาใหม่ทางคมนาคมก็เข้าใจและยอมรับร่างสัญญาเดิมแล้ว คาดว่าหลังจากนี้จะเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ตามที่กำหนดไว้ โดยหากมีการประกวดราคาและคัดเลือกเอกชนแล้วก็พร้อมจะเบิกจ่ายเงินกู้จากไจก้าได้ทันที” แหล่งข่าวระบุ
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ทาง ร.ฟ.ท.ระบุว่าเหตุที่ต้องขอแบ่งซอยสัญญา เพราะต้องการให้งานก่อสร้างได้เร็วขึ้น และช่วยกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
สำหรับงานก่อสร้างรถไฟสีแดงทั้ง 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 งานโครงสร้างช่วงประดิพัทธ์-กม.11 ระยะทาง 5 กิโลเมตร และสถานีกลางบางซื่อ มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างช่วง กม.11-รังสิต ระยะทาง 21 กิโลเมตร มูลค่า1.8 หมื่นล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณ และระบบรถไฟฟ้า มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท รวมถึงเส้นทางช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งใช้เงินกู้ในประเทศจะเปิดประกวดราคาพร้อมกัน
รับสหภาพประท้วงกระทบแอร์พอร์ตลิ้งก์
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า การชุมนุมประท้วงของการหยุดเดินรถไฟของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย มีผลกระทบต่อการจัดตั้งบริษัทและการจัดการวางระบบรางของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งเป็นจะเป็นบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท. เพราะขณะนี้ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ต้องใช้เวลาในการเจรจากับสหภาพแรงงาน ทำให้งานทุกอย่างหยุดชะงัก รวมถึงการเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูของ ร.ฟ.ท.ด้วยว่าจะต้องรอการเจรจากับสหภาพแรงงานให้จบก่อน
ยันเดินหน้าปรับโครงสร้าง
นายอารีพงศ์กล่าวถึงแผนการฟิ้นฟู ร.ฟ.ท.ว่า จะต้องเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) หลังจากที่ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เจรจาหาข้อสรุปกับสหภาพแรงงานจบแล้ว ซึ่งแผนดังกล่าวได้หารือร่วมกับสหภาพแรงงานมาโดยตลอด และที่ผ่านมาไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่ได้เป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ปรับแผนการดำเนินงานใหม่ เพื่อให้ ร.ฟ.ท.เดินหน้าต่อไปได้ เพราะหลังโครงการไทยเข้มแข็ง ร.ฟ.ท.จะมีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มอีกปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่แต่ละปีจะมีงบลงทุน 1.5-2 หมื่นล้านบาท แต่สามารถเบิกงบได้เพียง 30-40% เท่านั้น
ชี้สหภาพเสนอตั้งบริษัทลูกเอง
สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท.นายอารีพงศ์กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะรับผิดชอบในการดูแลระบบรางทั้งหมด และตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 2 แห่ง ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ที่ ร.ฟ.ท.ถือหุ้นทั้งหมด โดยบริษัทแรก จัดตั้งขึ้นมาดูแลการเดินรถ และอีกบริษัทจัดตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด โดยจะโอนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการเดินรถให้มาอยู่ในบริษัทดังกล่าว เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้มากกว่าปีละ 2 พันล้านบาท
“บริษัทที่จะตั้งขึ้นมาดูแลบริหารสินทรัพย์ ก็ยังเป็นบริษัทจำกัด ที่ถือหุ้น 100% โดย ร.ฟ.ท. ซึ่งสหภาพแรงงานเป็นผู้เสนอเองว่า หาก ร.ฟ.ท.ไม่มีความเชี่ยวชาญก็ควรที่จะจ้างผู้เชี่ยวชาญมาบริหารแทน เพราะที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการบริหารสินทรัพย์ปีละ 1.5-2 พันล้านบาทเท่านั้น ทั้งที่มีทรัพย์สินอยู่จำนวนมาก ทางการไม่ได้คิดที่จะขายหรือให้เช่ากับเอกชน เพื่อให้มีรายได้จำนวนมากแต่อย่างใด อาจจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน” นายอารีพงศ์กล่าว