xs
xsm
sm
md
lg

หุ้นเด่น:ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

Analyst View : 2009 Flu and Impact to Thai Economy

การระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 ในขณะนี้เป็นเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้น ความรุนแรงจะมีมากขึ้นอีกคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนสิงหาคม ในทัศนะของฝ่ายวิจัย ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเตรียมรับมือกับการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่นี้มากขึน และควรมีมาตรการเชิงรุกที่เข้มข้นมากกว่านี้ โดยดูจากประเทศที่มีการลุกลามของโรคนี้ก่อนหน้าเราเช่น เม็กซิโก อเมริกา ญี่ปุ่น และอเมิกาใต้ มาตรการในเชิงรุกได้แก่ การปิดโรงเรียน ปิดสถานที่ราชการ ปิดสถานประกอบการ ห้ามการอยู่ในที่ชุมชน เช่น ห้ามจัดงานคอนเสริต์ เป็นต้น นอกจากนี้ควรประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนเตรียมแผนรับมือ และลดผลกระทบหากมีการลาป่วยของพนักงานจำนวนมาก

การตระหนักถึงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและเตรียมรับมือเป็นสิ่งจำเป็น แต่สิ่งที่จะกระทบเศรษฐกิจมากที่สุด คือ การลุกลามของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่จนกระทั่งทำให้ประชาชนตื่นตระหนก โดยป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ จึงงดการเดินทางและการบริโภคสินค้าบริการในที่สาธารณะ หยุดท่องเที่ยว ไม่ใช้บริการขนส่งมวลชน ไม่ไปให้ห้างสรรพสินค้าหรือโรงภาพยนตร์ ซึ่งยิ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น

Investment Theme :

* สถานการณ์ของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 เริ่มมีความรุนแรงขึ้น โดยที่ภาครัฐบาลยังไม่มีนโยบายในเชิงรุกเข้ามาควบคุมโรคนี้อย่างได้ผล โดยในช่วงแรกมาตรการป้องกันที่ออกมาเผยแพร่แก่สธารณชนมีเพียง สโลแกน กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือ และการประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก แต่จากการลุกลามของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ทำให้เราเห็นว่า มาตรการของรัฐบาลมีไม่เพียงพอ และคาดว่าภัยจากไข้หวัดสายพันธ์ใหม่นี้จะลุกลามมจนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวหดตัวลงมากขึ้น หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกแล้วยังคาดว่าจะโดนซ้ำเติมจากไข้หวัดสายพันธ์ใหม่นี้อีก

* จากการศึกษาของธนาคารโลกมีการจำลองสถานการณ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับเบา จำลองสถานการณ์จากไข้ฮ่องกง ฟลู ปี 1968-1969 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1.4 ล้านคน ความเสียหายต่อจีดีพีของเอเชียตะวันออกหดตัว 0.8% แต่หากเป็นระดับปานกลาง ในครั้งเกิดเอเชียน ฟลู ในปี 1957 มีผู้เสียชีวิต 14 ล้านคน จีดีพีของเอเชียตะวันออกหดตัว 3.5% และ การระบาดหนัก สแปนิช ฟลู เหมือนครั้งในปี 1918 -1919 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 71 ล้านคน จีดีพีเอเชียตะวันออกหดตัว 8.7% ส่วนระดับโลกหดตัวลง 4.8%

* ในช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค.ที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชีย พบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ก่อนประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง และ ฟิลิปปินส์ แต่เนื่องจากประเทศเหล่านั้นตระหนักถึงความรุนแรงของโรค จึงได้ออกมาตรการในเชิงรุก เช่น ในญี่ปุ่นมีการปิดโรงเรียน การปิดสถานที่ราชการ ห้ามจัดงานแสดงต่างๆ รวมถึงคอนเสิรต์ต่างๆ รวมถึงประชาชนมีการใช้หน้ากากอนามัยกันเป็นจำนวนมากทำให้สถิติการเสียชีวิตจากโรคนี้น้อยกว่าไทยมาก แต่ผลกระทบจากการมาตการดังกล่าวทำให้ นักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นลดลง อย่างไรก็ตามเป็นเพียงผลในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อสถิติผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อลดลง สถานการณ์การท่องเที่ยวจะกลับคืนมาในไม่ช้า แต่ถ้าหากไม่สามารถควบคุมได้ แม้ประเทศไทยจะไม่มีมาตรการปิดประเทศ แต่นักท่องเที่ยวก็ไม่กล้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และจะมีผลกระทบที่ยืดเยื้อยาวนานต่อการท่องเที่ยวมากกว่า

* ในประเทศไทยการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ในขณะนี้เป็นเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้น ความรุนแรงจะมีมากขึ้นอีกคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนสิงหาคม ในทัศนะของฝ่ายวิจัย ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเตรียมรับมือกับการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่นี้มากขึน และควรเป็นมาตรการเชิงรุกที่เข้มข้นมากกว่านี้ โดยดูจากประเทศที่มีการลุกลามของโรคนี้ก่อนหน้าเราเช่น เม็กซิโก อเมริกา ญี่ปุ่น และอเมิกาใต้ มาตรการในเชิงรุกได้แก่ การปิดโรงเรียน ปิดสถานที่ราชการ ปิดสถานประกอบการ ห้ามการอยู่ในที่ชุมชน เช่น ห้ามจัดงานคอนเสริต์ เป็นต้น นอกจากนี้ควรประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนเตรียมแผนรับมือ และลดผลกระทบหากมีการลาป่วยของพนักงานจำนวนมาก แผนรับมือดังกล่าวได้แก่ การกำหนดแผนการทำงานในภาวะฉุกเฉิน การเรียนรู้เพื่อการทำงานได้หลายหน้าที่ และทำงานทดแทนกันได้ การทำงานที่บ้านโดยใช้เครื่องมือสื่อสาร และ Internet การพิจารณาว่ากิจกรรมใดสามารถลดทอนได้ในภาวะฉุกเฉิน กิจกรรมใดจำเป็นต้องคงไว้ และการพิจารณาปิดสถานประกอบการเมือมีผู้ป่วยในสถานประกอบการ การตระหนักถึงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและเตรียมรับมือเป็นสิ่งจำเป็น แต่สิ่งที่จะกระทบเศรษฐกิจมากที่สุด คือ การลุกลามของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่จนกระทั่งทำให้ประชาชนตื่นตระหนก โดยป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ จึงงดการเดินทางและการบริโภคสินค้าบริการในที่สาธารณะ หยุดท่องเที่ยว ไม่ใช้บริการขนส่งมวลชน ไม่ไปให้ห้างสรรพสินค้าหรือโรงภาพยนตร์ ซึ่งยิ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น

* การคาดการณ์ผลกระทบจากไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 ต่อเศรษฐกิจไทย จากการประมาณการณ์เดิมของเราที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวลง -2.7% – (-5.2%) นั้น ถ้าหากสถานการณ์ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ลุกลามยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยวคาดว่า เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบมาก การฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 ที่คาดว่าจะมีการขยายตัวเป็นบวก อาจมีความเป็นไปได้น้อยลง เราคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะหดตัวลงมากลงมาอยู่ในขอบล่างที่ -5.2%

หมายเหตุ-บทวิเคราะห์ฉบับนี้ ฝ่ายวิจัยวิเคราะห์ในวันที่ 16 ก.ค. 2552

                  เอกพิทยา เอี่ยมคงเอกและทีมงานฝ่ายวิจัย
                          บล.บีฟิท/www.bfitsec.net
กำลังโหลดความคิดเห็น