“โตโยต้า” เชื่อมั่นตลาดรถผ่านจุดต่ำสุด คาดตลาดครึ่งปีหลังฟื้น ปรับยอดขายรวมเป็น 4.8 แสนคัน มากกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เดินหน้าเพิ่มเวลาการผลิตรถยนต์ต่อคันเร็วขึ้น รองรับกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น พร้อมส่งรถยนต์รุ่นใหม่บุกตลาด ดันยอดขายทั้งปี 2.05 แสนคัน เผยเตรียมจับมือค่ายรถอื่นๆ เจรจาบีโอไอ ขอปรับลดเงื่อนไขผลิต 1 แสนคันลง
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายในตลาดรถยนต์ไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ทำได้ทั้งหมด 231,428 เทียบกับปีที่ผ่านมาช่วงเดียวกัน ลดลง 28% ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการเงินโลก และความผันผวนทางการเมืองในไทย แต่สถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะกลับมาดีขึ้น แม้จะยังต่ำกว่าที่โตโยต้าประเมินไว้เมื่อต้นปีที่ 5.2 แสนคัน
“ตลาดครึ่งปีแรกถือว่าผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว จากการประเมินตัวเลขของโตโยต้าใหม่ คาดว่าตลาดรถยนต์ไทยปีนี้จะอยู่ที่ 4.8 แสนคัน ซึ่งมากกว่าที่ทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทคาดไว้ 4.3 แสนคัน เพราะปิดยอดครึ่งปีอยู่ที่ 2.31 แสนคัน และตามสถิติที่ผ่านมาตัวเลขครึ่งปีหลังปกติจะดีกว่าอยู่แล้ว ทำให้ตัวเลขที่โตโยต้าประเมินจึงน่าถึง 4.8-5.0 แสนคัน”
ส่วนเหตุผลที่มองทิศทางยอดขายดีขึ้น นอกจากเป็นปกติของตลาดครึ่งปีแรกจะดีกว่าแล้ว การใช้จ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐน่าจะเห็นผลมากขึ้น รวมถึงเดือนตุลาคมงบประมาณปี 2553 ก็จะออกมาอีก ทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลชัดเจน และกระตุ้นตลาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายได้เป็นอย่างดี ขณะที่การเมืองเริ่มคลี่คลายไปพอสมควร
นายทานาดะกล่าวว่า จากการปรับประมาณการณ์ตัวเลขยอดขายใหม่ ในส่วนของโตโยต้าได้ตั้งเป้าการขายไว้ 2.05 แสนคัน ลดลง 21.8% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 9.05 หมื่นคัน ลดลง 15.3% และรถเพื่อการพาณิชย์ 1.14 แสนคัน ลดลง 26.3% โดยเป็นอัพและฟอร์จูนเนอร์ 1.04 แสนคัน ส่วนการส่งออกของโตโยต้าเป็นรถสำเร็จรูป 2.22 แสนคัน คิดเป็นมูลค่า 9.66 ล้านบาท และชิ้นส่วนอะไหล่มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท
รวมมูลค่าการส่งออก 1.36 แสนล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 25.6%
สำหรับแผนการทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้า โดยจะมีการเปิดตัวโตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด ปลายเดือนก.ค.นี้ และจะมีการเพิ่มโมเดลให้แก่ปิกอัพโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ นอกจากนี้ โตโยต้ายังจะมีทางเลือกในส่วนของรถพลังงานทางเลือก CNG โดยปลายปีจะมีรถยนต์นั่ง โตโยต้า โคโรลล่า ซีเอ็นจี ตามออกมา หลังจากได้แนะนำรุ่นเกียร์ธรรมดาออกมาแล้ว
“จากทิศทางที่ดีขึ้นของตลาด ทำให้ในส่วนของโรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้าทั้ง 4 แห่งในไทย จากเดิมที่ลดลงมากในช่วงต้นปี จำเป็นมีการปรับเวลาการผลิตรถยนต์หนึ่งคันเร็วขึ้น อย่างที่โรงงานสำโรงจาก 1.6 นาทีต่อคัน ในเดือนสิงหาคมจะขยับเร็วขึ้นเป็น 1.3 นาทีต่อคัน และเดือนตุลาคมน่าจะปรับเป็น 1.2 นาทีต่อวัน ส่วนโรงงานเกตุเวย์จากปัจจุบัน 1.7 นาทีต่อคัน ขยับเวลาเป็น 1.5 นาทีต่อคัน ” นายทานาดะกล่าวและว่า
ดังนั้น คาดว่าถึงสิ้นปีโตโยต้าจะมีการผลิตรถยนต์ในไทยประมาณ 4.2 แสนคัน จากกำลังการผลิตเต็มที่ทั้ง 4 โรงงาน รวมกันอยู่ที่ 5.5 แสนคัน ซึ่งในสภาวะตลาดเป็นอย่างนี้ใช้กำลังการผลิตไปประมาณ 75% นับว่าเป็นไปตามทิศทางตลาด และโตโยต้าเชื่อมั่นจะรักษาผลประกอบการที่เป็นกำไรไว้ได้
นายนินนาท ไชยธีระภิญโญ รองประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ของโตโยต้า ทุกอย่างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
“แต่จากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลกระทบอุตสหกรรมยานยนต์ ทำให้อาจจะมีผลต่อเงื่อนไขของบีโอไอ เรื่องกำหนดให้มียอดผลิต 1 แสนคันในปีที่ 5 ขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องการพูดคุยกับทางคณะกรรมการบีโอไอ เพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขให้ดีขึ้น โดยเร็วๆ นี้คาดว่าจะมีการพูดคุยกับบริษัทรถยนต์ที่ยื่นเรื่องขอรับส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ ว่าจะมีการลดจำนวนการผลิตลงเท่าไหร่ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด และประมาณปลายปีน่าจะมีความชัดเจน”นายนินนาทกล่าว
นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายในตลาดรถยนต์ไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ทำได้ทั้งหมด 231,428 เทียบกับปีที่ผ่านมาช่วงเดียวกัน ลดลง 28% ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการเงินโลก และความผันผวนทางการเมืองในไทย แต่สถานการณ์ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะกลับมาดีขึ้น แม้จะยังต่ำกว่าที่โตโยต้าประเมินไว้เมื่อต้นปีที่ 5.2 แสนคัน
“ตลาดครึ่งปีแรกถือว่าผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว จากการประเมินตัวเลขของโตโยต้าใหม่ คาดว่าตลาดรถยนต์ไทยปีนี้จะอยู่ที่ 4.8 แสนคัน ซึ่งมากกว่าที่ทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทคาดไว้ 4.3 แสนคัน เพราะปิดยอดครึ่งปีอยู่ที่ 2.31 แสนคัน และตามสถิติที่ผ่านมาตัวเลขครึ่งปีหลังปกติจะดีกว่าอยู่แล้ว ทำให้ตัวเลขที่โตโยต้าประเมินจึงน่าถึง 4.8-5.0 แสนคัน”
ส่วนเหตุผลที่มองทิศทางยอดขายดีขึ้น นอกจากเป็นปกติของตลาดครึ่งปีแรกจะดีกว่าแล้ว การใช้จ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐน่าจะเห็นผลมากขึ้น รวมถึงเดือนตุลาคมงบประมาณปี 2553 ก็จะออกมาอีก ทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลชัดเจน และกระตุ้นตลาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายได้เป็นอย่างดี ขณะที่การเมืองเริ่มคลี่คลายไปพอสมควร
นายทานาดะกล่าวว่า จากการปรับประมาณการณ์ตัวเลขยอดขายใหม่ ในส่วนของโตโยต้าได้ตั้งเป้าการขายไว้ 2.05 แสนคัน ลดลง 21.8% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 9.05 หมื่นคัน ลดลง 15.3% และรถเพื่อการพาณิชย์ 1.14 แสนคัน ลดลง 26.3% โดยเป็นอัพและฟอร์จูนเนอร์ 1.04 แสนคัน ส่วนการส่งออกของโตโยต้าเป็นรถสำเร็จรูป 2.22 แสนคัน คิดเป็นมูลค่า 9.66 ล้านบาท และชิ้นส่วนอะไหล่มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท
รวมมูลค่าการส่งออก 1.36 แสนล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 25.6%
สำหรับแผนการทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้า โดยจะมีการเปิดตัวโตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด ปลายเดือนก.ค.นี้ และจะมีการเพิ่มโมเดลให้แก่ปิกอัพโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ นอกจากนี้ โตโยต้ายังจะมีทางเลือกในส่วนของรถพลังงานทางเลือก CNG โดยปลายปีจะมีรถยนต์นั่ง โตโยต้า โคโรลล่า ซีเอ็นจี ตามออกมา หลังจากได้แนะนำรุ่นเกียร์ธรรมดาออกมาแล้ว
“จากทิศทางที่ดีขึ้นของตลาด ทำให้ในส่วนของโรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้าทั้ง 4 แห่งในไทย จากเดิมที่ลดลงมากในช่วงต้นปี จำเป็นมีการปรับเวลาการผลิตรถยนต์หนึ่งคันเร็วขึ้น อย่างที่โรงงานสำโรงจาก 1.6 นาทีต่อคัน ในเดือนสิงหาคมจะขยับเร็วขึ้นเป็น 1.3 นาทีต่อคัน และเดือนตุลาคมน่าจะปรับเป็น 1.2 นาทีต่อวัน ส่วนโรงงานเกตุเวย์จากปัจจุบัน 1.7 นาทีต่อคัน ขยับเวลาเป็น 1.5 นาทีต่อคัน ” นายทานาดะกล่าวและว่า
ดังนั้น คาดว่าถึงสิ้นปีโตโยต้าจะมีการผลิตรถยนต์ในไทยประมาณ 4.2 แสนคัน จากกำลังการผลิตเต็มที่ทั้ง 4 โรงงาน รวมกันอยู่ที่ 5.5 แสนคัน ซึ่งในสภาวะตลาดเป็นอย่างนี้ใช้กำลังการผลิตไปประมาณ 75% นับว่าเป็นไปตามทิศทางตลาด และโตโยต้าเชื่อมั่นจะรักษาผลประกอบการที่เป็นกำไรไว้ได้
นายนินนาท ไชยธีระภิญโญ รองประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ของโตโยต้า ทุกอย่างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
“แต่จากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลกระทบอุตสหกรรมยานยนต์ ทำให้อาจจะมีผลต่อเงื่อนไขของบีโอไอ เรื่องกำหนดให้มียอดผลิต 1 แสนคันในปีที่ 5 ขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องการพูดคุยกับทางคณะกรรมการบีโอไอ เพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขให้ดีขึ้น โดยเร็วๆ นี้คาดว่าจะมีการพูดคุยกับบริษัทรถยนต์ที่ยื่นเรื่องขอรับส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ ว่าจะมีการลดจำนวนการผลิตลงเท่าไหร่ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด และประมาณปลายปีน่าจะมีความชัดเจน”นายนินนาทกล่าว