พันธมิตรประชาชนเพื่อประธิปไตย กลับมารวมตัวกันเพื่อสร้างความเกรียงไกรอันยิ่งใหญ่ให้ได้เห็นอีกครั้งกับภาพที่ชาวพันธมิตรฯ จำนวนมากจากทั่วประเทศไปรวมตัวกันที่สโมสรตำรวจ ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2552 เพื่อร่วมเป็นกำลังใจและสักขีพยานในการต่อสู้ทางการเมืองให้กับ 35 นักรบพันธมิตรฯ
ที่มุ่งมั่นปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยไม่หวาดหวั่นต่อภยันอันตรายใดๆ แต่กลับถูกความอยุติธรรมยัดเยียดข้อหาอันเป็นเท็จ ใส่ความเพื่อหวังกลั่นแกล้งทางการเมือง ว่าสมรู้ร่วมคิดและวางแผนกันเพื่อ
“ก่อการร้าย”!
ในคดีชุมนุมการเมืองโดยสงบและสันติหน้าอาคารที่ทำการสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง
เพียงเพราะคิดว่าลูกไม้ตื้นๆ แบบนี้จะทำให้ผู้กล้า 35 ผู้นำ และแนวร่วมพันธมิตรฯ อยู่ในสภาพ คอตก ขาสั่น ใจเสีย
และจะถอดใจล่าถอยด้วยที่ถูกข้อหาฉกรรจ์ แต่ภาพที่มวลชนพันธมิตรจากทั่วทุกสารทิศ มาปักหลักให้กำลังใจกับ 35 พันธมิตรฯผู้โดนกลั่นแกล้ง ตั้งแต่เช้ามืดจนภารกิจเสร็จสิ้นลง
แสดงให้เห็นถึงการหลอมรวมใจอันเป็นหนึ่งเดียวของผองชนพันธมิตรโดยไม่ต้องอธิบายใดๆ อีกแล้ว
และเพราะสิ่งนี้ที่เรียกว่าพลังเป็นแน่แท้ จึงทำให้สังคมเห็นภาพ และได้ยินคำพูดที่ไม่คาดฝันออกมาจากปากของ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผช.ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ที่ขึ้นเวทีปราศรัย รวมถึงการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพนักงานสอบสวน ซึ่งไม่ใช่แค่รับผิดชอบคดีสนามบินสุวรรณภูมิและคดีสนามบินดอนเมือง แต่รับผิดชอบคดีเกี่ยวกับพันธมิตรฯ เกือบ 109 คดี ในทางที่เป็น
”บวกกับรูปคดี”
ของพันธมิตรฯ อย่างไม่มีใครคาดคิด !
“อยากบอกกับกลุ่มพันธมิตรฯว่า ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนกฎหมาย และที่ขึ้นเวทีครั้งนี้ อยากขออภัยประชาชนที่ต้องทำให้เสียเวลาทำมาหากิน ที่ต้องมาให้กำลังใจผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 36 คน ผมได้บอกกับสื่อมวลชนไปก่อนหน้านี้แล้วว่า พันธมิตรฯ เป็นผู้ก่อการดี เหมือนกันป้ายที่พันธมิตรฯ ทำมา ซึ่งตรงกับใจผม ที่ต้องการให้ความยุติธรรมกับ 36 ผู้ถูกกล่าวหา
ผมมารับทำสำนวนนี้เมื่อเดือนเมษายน ได้ให้พนักงานสอบสวนไปรวบรวมหลักฐาน ซึ่งได้รับหลักฐานมาจากผู้ชุมนุมส่วนหนึ่ง ซึ่งหลังจากนี้จะส่งให้พนักงานสอบสวนพิจารณาอีกครั้ง
ผมอยากให้คำมั่นว่าต้องการให้ความยุติธรรมเกิดขึ้น และถือคติเสมอว่าตำรวจเป็นข้าราชการ ประชาชนเป็นนายของเรา หากประชาชนเปลี่ยนใจเมื่อใด ก็สามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลา”
คำพูดของนายตำรวจคนนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนท่าทีด้วยการ ”ดึงศัตรูมาเป็นมิตร” ชนิดที่หลายคนคาดไม่ถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการแสดงออกว่าพร้อมจะ
“ยกเลิกความผิด”
บางประเด็นที่ตำรวจตั้งข้อหาเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องข้อหาก่อการร้าย พร้อมกับหยอดคำหวานว่าเป็น ”ผู้ก่อการดี” ที่อาจทำให้เพื่อนพันธมิตรฯ เคลิบเคลิ้มไปชั่วขณะ แต่เราอยากบอกว่า สิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน
“รู้สึกยินดีได้ แต่อย่าหลงเชื่อ”
เพราะนี่อาจเป็นการ “สับขาหลอก” คล้ายกับเอาเหยื่อมาล่อให้พันธมิตรฯ ติดเบ็ด
ที่ตอกย้ำเช่นนี้ มิใช่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ต้องการเตือนเพื่อไม่ให้ประมาท และชะล่าใจ ซึ่งแกนนำพันธมิตรฯ รวมถึงทีมทนายความ ก็คงรู้สึกเช่นเดียวกัน
พันธมิตรฯ จึงควรเฝ้าติดตามการทำคดีของตำรวจอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะพฤติกรรมหลายอย่างที่พลิกไปพลิกมาของพนักงานสอบสวนชุดนี้ จากเดิมตั้งข้อหาเสียอุฉกรรจ์คล้ายกับว่า 36 คนกำลังคิดร้ายต่อบ้านเมือง
แต่มาวันดีคืนดี กลับจะมาบอกว่าตั้งข้อหาแรงไป ต้องทบทวน
แบบนี้ แม้ 36 แกนนำพันธมิตรฯ จะได้ประโยชน์จากการที่คดีจะเบาลง ทำให้การสู้คดีมีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะหลุดคดี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย
หากควักหัวใจของพวกเขาออกมาถาม ทุกคนย่อมตอบตรงกันว่า
แน่จริง ตำรวจตั้งข้อหาให้หนักกว่านี้ได้ไหม !
อย่ามาอ่อนข้อ
เลิกเสแสร้งปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ
ถ้าแน่จริง อย่าเปลี่ยนความผิด อย่ายกเลิกข้อหา เมื่อสู้กันแล้ว ต้องให้รู้แพ้รู้ชนะ กันไปข้าง
เพื่อให้เมื่อคดีสิ้นสุด คนทั้งประเทศจะได้ประจักษ์ว่า ตำรวจไทย มีความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่อำนวยความเป็นธรรมให้แก่ราษฎรแค่ไหน? หรือเก่งแต่ยัดความผิดให้คนบริสุทธิ์
เราขอบอกว่า วันนี้พนักงานสอบสวนชุดนี้ ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ว่า ไม่เห็นโลงศพมิหลั่งน้ำตา
เพราะมันชัดเจนทุกอย่างว่า ผู้คนรู้เท่าทันการทำคดีแบบกลั่นแกล้งใส่ความเท็จให้กับประชาชน เลยต้องกลบเกลื่อนความผิดของตัวเองแบบกลับลำกระทันหัน
ก็ดูอย่างคำพูดของ วุฒิ พัวเวส ที่ว่าเริ่มทำคดีนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายน เท่ากับว่าพนักงานสอบสวนได้ไปซุ่มทำคดีนี้ โดยไม่เคยเรียกทั้ง 36 คนที่ถูกตั้งข้อหาไปพบกับพนักงานสอบสวน เพื่อสอบถามเหตุแห่งคดีให้ชัดเจนก่อน
แต่ว่า ตำรวจได้ทำคดีแบบจิ้มเอาชื่อคนผิด หรือตั้งข้อหาตามที่ฝ่ายตรงข้าม เช่น ทอท. มาแจ้งความเอาไว้กับสถานีตำรวจ สภ.อ.ราชาเทวะ แล้วก็ยัดเยียดความผิดกันไปเลย ขณะที่หลายคนก็ไปอยู่บนเวทีพันธมิตรฯ ทั้งที่ดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ แต่กลับไม่มีชื่อ
อาทิ พิเชษฐ์ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา และอดีตผู้สมัครส.ส.นครราชสีมา พรรคประชาธิปัตย์
ย่อมมองได้ว่า พนักงานสอบสวนทำคดีแบบเร่งรีบ แล้ว ”ตั้งข้อหา”เอาไว้ก่อน โดยไม่รับฟังข้อมูลให้รอบด้าน โดยปฏิเสธรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้จะถูกตำรวจเอาผิด เพื่อให้พนักงานสอบสวนทำคดีด้วยหลักสุจริตและเป็นธรรม
ยิ่งกับข้อหาก่อการร้าย ถือเป็นข้อหาอุฉกรรจ์ ที่มีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิตได้เลย ก็ยิ่งต้องทำคดีอย่างรอบคอบและให้ความเป็นธรรม ไม่ให้เป็นคดีการเมืองอย่างที่มี “บิ๊กตำรวจ” บางคนต้องการ แต่พนักงานสอบสวนกลับไม่ยึดหลักที่ว่า แต่กลับเลือกที่จะเป็นเบี้ยรับใช้ทางการเมืองด้วยการออกหมายเรียก แล้วให้ข่าวกับสื่อมวลชน จนสังคมสับสนคิดว่า ตำรวจสรุปคดีไปแล้วหรือออก ”หมายจับ” ทั้งที่เป็นแค่หมายเรียกเหมือนกับต้องการให้เกิดผลทางการเมือง
อันเห็นได้ชัดเจนกับกรณี กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่ถูกรุมกินโต๊ะแทบน่วมเกือบสองสัปดาห์บนกระแสเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง
รวมถึง หรือหวังจะดิสเครดิตการก่อตั้ง ”พรรคการเมืองใหม่” ที่กำลังจะขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับพรรคการเมืองบางพรรค ที่เกี่ยวพันกับคนที่คุมและดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในสังกัดค่ายประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย
ทั้งหมดคือการประจานและฟ้องให้ประชาชนเห็นแล้วว่า พนักงานสอบสวนทำคดีแบบโหลยโท่ย ไม่ได้ความขนาดไหน แล้วเมื่อเห็นว่าถูกจับได้ไล่ทัน จะมาทำกลบเกลื่อน ยกเลิกความผิด เปลี่ยนแปลงข้อหา
นี่หรือ กระบวนการยุติธรรมบ้านเรา
เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า กันชัดๆ
แล้วแบบนี้ประชาชนตาดำๆ ที่ไม่มีปากมีเสียง จะไม่ถูกตำรวจ กลั่นแกล้ง ยัดเยียดข้อหากันเพื่อให้ตำรวจได้ผลงานกันไปจนล้นคุกแล้วหรือ!
วันนี้ท่าทีการพร้อมเปลี่ยนข้อหาความผิด จากหนักให้เป็นเบา
มันจึงเป็นการยอมรับความผิดพลาดครั้งใหญ่ของพนักงานสอบสวนแล้ว เหมือนกับไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา
เมื่อรู้ว่ากำลังทำผิด อาจถูกฟ้องกลับและเอาผิดด้วยข้อหาใส่ความเท็จกับประชาชน ก็เลยต้องมาญาติดีกับพันธมิตรฯ เพื่อหวังกลบเกลื่อนขี้ก้อนใหญ่
หรือว่าลึกๆ จะมี ”การเมืองอยู่เบื้องหลัง” หรือไม่ เพราะตอนนี้ เริ่มมีสัญญาณออกมาแล้วว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงขั้นนายกรัฐมนตรี ยังพูดเป็นนัยว่า พร้อมจะมีการขจัด ”ตอ” ใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ทำให้การทำคดีลอบสังหาร สนธิ ลิ้มทองกุล มีอุปสรรค
อันหมายความว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. อาจหลุดจากเก้าอี้เป็นรอบที่สอง
ยิ่งเมื่อป.ป.ช.เร่งทำการสอบสวนสำนวนคดี 7 ตุลาทมิฬ ซึ่งพัชรวาท เป็นผบ.ตร.ในเวลานั้น ก็ยิ่งเป็นสองแรงบวกสำคัญ
ที่ทำให้วันนี้ ผบ.ตร.คนนี้อาจไม่ได้อยู่จนถึงเกษียณก็เป็นได้
จึงอาจทำให้มีคำสั่งลับๆ มายัง วุฒิ พัวเวศ เพื่อให้อะลุ้มอล่วยกับพันธมิตรฯ จะได้ช่วยลดแรงเสียดทานทางการเมืองให้กับ พัชรวาท จะได้ประคองตัวจนถึงสิ้นกันยายนนี้
ที่มุ่งมั่นปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยไม่หวาดหวั่นต่อภยันอันตรายใดๆ แต่กลับถูกความอยุติธรรมยัดเยียดข้อหาอันเป็นเท็จ ใส่ความเพื่อหวังกลั่นแกล้งทางการเมือง ว่าสมรู้ร่วมคิดและวางแผนกันเพื่อ
“ก่อการร้าย”!
ในคดีชุมนุมการเมืองโดยสงบและสันติหน้าอาคารที่ทำการสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง
เพียงเพราะคิดว่าลูกไม้ตื้นๆ แบบนี้จะทำให้ผู้กล้า 35 ผู้นำ และแนวร่วมพันธมิตรฯ อยู่ในสภาพ คอตก ขาสั่น ใจเสีย
และจะถอดใจล่าถอยด้วยที่ถูกข้อหาฉกรรจ์ แต่ภาพที่มวลชนพันธมิตรจากทั่วทุกสารทิศ มาปักหลักให้กำลังใจกับ 35 พันธมิตรฯผู้โดนกลั่นแกล้ง ตั้งแต่เช้ามืดจนภารกิจเสร็จสิ้นลง
แสดงให้เห็นถึงการหลอมรวมใจอันเป็นหนึ่งเดียวของผองชนพันธมิตรโดยไม่ต้องอธิบายใดๆ อีกแล้ว
และเพราะสิ่งนี้ที่เรียกว่าพลังเป็นแน่แท้ จึงทำให้สังคมเห็นภาพ และได้ยินคำพูดที่ไม่คาดฝันออกมาจากปากของ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผช.ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ที่ขึ้นเวทีปราศรัย รวมถึงการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพนักงานสอบสวน ซึ่งไม่ใช่แค่รับผิดชอบคดีสนามบินสุวรรณภูมิและคดีสนามบินดอนเมือง แต่รับผิดชอบคดีเกี่ยวกับพันธมิตรฯ เกือบ 109 คดี ในทางที่เป็น
”บวกกับรูปคดี”
ของพันธมิตรฯ อย่างไม่มีใครคาดคิด !
“อยากบอกกับกลุ่มพันธมิตรฯว่า ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนกฎหมาย และที่ขึ้นเวทีครั้งนี้ อยากขออภัยประชาชนที่ต้องทำให้เสียเวลาทำมาหากิน ที่ต้องมาให้กำลังใจผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 36 คน ผมได้บอกกับสื่อมวลชนไปก่อนหน้านี้แล้วว่า พันธมิตรฯ เป็นผู้ก่อการดี เหมือนกันป้ายที่พันธมิตรฯ ทำมา ซึ่งตรงกับใจผม ที่ต้องการให้ความยุติธรรมกับ 36 ผู้ถูกกล่าวหา
ผมมารับทำสำนวนนี้เมื่อเดือนเมษายน ได้ให้พนักงานสอบสวนไปรวบรวมหลักฐาน ซึ่งได้รับหลักฐานมาจากผู้ชุมนุมส่วนหนึ่ง ซึ่งหลังจากนี้จะส่งให้พนักงานสอบสวนพิจารณาอีกครั้ง
ผมอยากให้คำมั่นว่าต้องการให้ความยุติธรรมเกิดขึ้น และถือคติเสมอว่าตำรวจเป็นข้าราชการ ประชาชนเป็นนายของเรา หากประชาชนเปลี่ยนใจเมื่อใด ก็สามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลา”
คำพูดของนายตำรวจคนนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนท่าทีด้วยการ ”ดึงศัตรูมาเป็นมิตร” ชนิดที่หลายคนคาดไม่ถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการแสดงออกว่าพร้อมจะ
“ยกเลิกความผิด”
บางประเด็นที่ตำรวจตั้งข้อหาเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องข้อหาก่อการร้าย พร้อมกับหยอดคำหวานว่าเป็น ”ผู้ก่อการดี” ที่อาจทำให้เพื่อนพันธมิตรฯ เคลิบเคลิ้มไปชั่วขณะ แต่เราอยากบอกว่า สิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน
“รู้สึกยินดีได้ แต่อย่าหลงเชื่อ”
เพราะนี่อาจเป็นการ “สับขาหลอก” คล้ายกับเอาเหยื่อมาล่อให้พันธมิตรฯ ติดเบ็ด
ที่ตอกย้ำเช่นนี้ มิใช่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ต้องการเตือนเพื่อไม่ให้ประมาท และชะล่าใจ ซึ่งแกนนำพันธมิตรฯ รวมถึงทีมทนายความ ก็คงรู้สึกเช่นเดียวกัน
พันธมิตรฯ จึงควรเฝ้าติดตามการทำคดีของตำรวจอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะพฤติกรรมหลายอย่างที่พลิกไปพลิกมาของพนักงานสอบสวนชุดนี้ จากเดิมตั้งข้อหาเสียอุฉกรรจ์คล้ายกับว่า 36 คนกำลังคิดร้ายต่อบ้านเมือง
แต่มาวันดีคืนดี กลับจะมาบอกว่าตั้งข้อหาแรงไป ต้องทบทวน
แบบนี้ แม้ 36 แกนนำพันธมิตรฯ จะได้ประโยชน์จากการที่คดีจะเบาลง ทำให้การสู้คดีมีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะหลุดคดี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย
หากควักหัวใจของพวกเขาออกมาถาม ทุกคนย่อมตอบตรงกันว่า
แน่จริง ตำรวจตั้งข้อหาให้หนักกว่านี้ได้ไหม !
อย่ามาอ่อนข้อ
เลิกเสแสร้งปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ
ถ้าแน่จริง อย่าเปลี่ยนความผิด อย่ายกเลิกข้อหา เมื่อสู้กันแล้ว ต้องให้รู้แพ้รู้ชนะ กันไปข้าง
เพื่อให้เมื่อคดีสิ้นสุด คนทั้งประเทศจะได้ประจักษ์ว่า ตำรวจไทย มีความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่อำนวยความเป็นธรรมให้แก่ราษฎรแค่ไหน? หรือเก่งแต่ยัดความผิดให้คนบริสุทธิ์
เราขอบอกว่า วันนี้พนักงานสอบสวนชุดนี้ ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ว่า ไม่เห็นโลงศพมิหลั่งน้ำตา
เพราะมันชัดเจนทุกอย่างว่า ผู้คนรู้เท่าทันการทำคดีแบบกลั่นแกล้งใส่ความเท็จให้กับประชาชน เลยต้องกลบเกลื่อนความผิดของตัวเองแบบกลับลำกระทันหัน
ก็ดูอย่างคำพูดของ วุฒิ พัวเวส ที่ว่าเริ่มทำคดีนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายน เท่ากับว่าพนักงานสอบสวนได้ไปซุ่มทำคดีนี้ โดยไม่เคยเรียกทั้ง 36 คนที่ถูกตั้งข้อหาไปพบกับพนักงานสอบสวน เพื่อสอบถามเหตุแห่งคดีให้ชัดเจนก่อน
แต่ว่า ตำรวจได้ทำคดีแบบจิ้มเอาชื่อคนผิด หรือตั้งข้อหาตามที่ฝ่ายตรงข้าม เช่น ทอท. มาแจ้งความเอาไว้กับสถานีตำรวจ สภ.อ.ราชาเทวะ แล้วก็ยัดเยียดความผิดกันไปเลย ขณะที่หลายคนก็ไปอยู่บนเวทีพันธมิตรฯ ทั้งที่ดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ แต่กลับไม่มีชื่อ
อาทิ พิเชษฐ์ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา และอดีตผู้สมัครส.ส.นครราชสีมา พรรคประชาธิปัตย์
ย่อมมองได้ว่า พนักงานสอบสวนทำคดีแบบเร่งรีบ แล้ว ”ตั้งข้อหา”เอาไว้ก่อน โดยไม่รับฟังข้อมูลให้รอบด้าน โดยปฏิเสธรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้จะถูกตำรวจเอาผิด เพื่อให้พนักงานสอบสวนทำคดีด้วยหลักสุจริตและเป็นธรรม
ยิ่งกับข้อหาก่อการร้าย ถือเป็นข้อหาอุฉกรรจ์ ที่มีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิตได้เลย ก็ยิ่งต้องทำคดีอย่างรอบคอบและให้ความเป็นธรรม ไม่ให้เป็นคดีการเมืองอย่างที่มี “บิ๊กตำรวจ” บางคนต้องการ แต่พนักงานสอบสวนกลับไม่ยึดหลักที่ว่า แต่กลับเลือกที่จะเป็นเบี้ยรับใช้ทางการเมืองด้วยการออกหมายเรียก แล้วให้ข่าวกับสื่อมวลชน จนสังคมสับสนคิดว่า ตำรวจสรุปคดีไปแล้วหรือออก ”หมายจับ” ทั้งที่เป็นแค่หมายเรียกเหมือนกับต้องการให้เกิดผลทางการเมือง
อันเห็นได้ชัดเจนกับกรณี กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่ถูกรุมกินโต๊ะแทบน่วมเกือบสองสัปดาห์บนกระแสเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง
รวมถึง หรือหวังจะดิสเครดิตการก่อตั้ง ”พรรคการเมืองใหม่” ที่กำลังจะขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับพรรคการเมืองบางพรรค ที่เกี่ยวพันกับคนที่คุมและดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในสังกัดค่ายประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย
ทั้งหมดคือการประจานและฟ้องให้ประชาชนเห็นแล้วว่า พนักงานสอบสวนทำคดีแบบโหลยโท่ย ไม่ได้ความขนาดไหน แล้วเมื่อเห็นว่าถูกจับได้ไล่ทัน จะมาทำกลบเกลื่อน ยกเลิกความผิด เปลี่ยนแปลงข้อหา
นี่หรือ กระบวนการยุติธรรมบ้านเรา
เขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า กันชัดๆ
แล้วแบบนี้ประชาชนตาดำๆ ที่ไม่มีปากมีเสียง จะไม่ถูกตำรวจ กลั่นแกล้ง ยัดเยียดข้อหากันเพื่อให้ตำรวจได้ผลงานกันไปจนล้นคุกแล้วหรือ!
วันนี้ท่าทีการพร้อมเปลี่ยนข้อหาความผิด จากหนักให้เป็นเบา
มันจึงเป็นการยอมรับความผิดพลาดครั้งใหญ่ของพนักงานสอบสวนแล้ว เหมือนกับไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา
เมื่อรู้ว่ากำลังทำผิด อาจถูกฟ้องกลับและเอาผิดด้วยข้อหาใส่ความเท็จกับประชาชน ก็เลยต้องมาญาติดีกับพันธมิตรฯ เพื่อหวังกลบเกลื่อนขี้ก้อนใหญ่
หรือว่าลึกๆ จะมี ”การเมืองอยู่เบื้องหลัง” หรือไม่ เพราะตอนนี้ เริ่มมีสัญญาณออกมาแล้วว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงขั้นนายกรัฐมนตรี ยังพูดเป็นนัยว่า พร้อมจะมีการขจัด ”ตอ” ใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ทำให้การทำคดีลอบสังหาร สนธิ ลิ้มทองกุล มีอุปสรรค
อันหมายความว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. อาจหลุดจากเก้าอี้เป็นรอบที่สอง
ยิ่งเมื่อป.ป.ช.เร่งทำการสอบสวนสำนวนคดี 7 ตุลาทมิฬ ซึ่งพัชรวาท เป็นผบ.ตร.ในเวลานั้น ก็ยิ่งเป็นสองแรงบวกสำคัญ
ที่ทำให้วันนี้ ผบ.ตร.คนนี้อาจไม่ได้อยู่จนถึงเกษียณก็เป็นได้
จึงอาจทำให้มีคำสั่งลับๆ มายัง วุฒิ พัวเวศ เพื่อให้อะลุ้มอล่วยกับพันธมิตรฯ จะได้ช่วยลดแรงเสียดทานทางการเมืองให้กับ พัชรวาท จะได้ประคองตัวจนถึงสิ้นกันยายนนี้