ASTVผู้จัดการรายวัน-“เกื้อกูล”เน้นขนส่งทางน้ำลดต้นทุนโลจิสติกส์ ดันแผนลงทุนปี 53-55 วงเงิน 4,000ล้านบาท ชงคณะกรรมการพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก คาดส.ค.ชงครม.เดินหน้าท่าเรือปากบารา ขณะที่ขน.ได้ไฟเขียวลงทุน ท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด วงเงิน 1,295.67 ลบ. ด้านการท่าเรือฯ ทรุดตามพิษศก.คาดทั้งปี ตู้สินค้า เรือลดจากปีก่อน เฉลี่ย 9-15% คาดรายได้รวมลดลง 727 ล้านบาทเหลือ 9,235 ล้านบาท ปรับลดค่าใช้จ่าย ประคองตัว
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังจัดทำรายละเอียดแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งรถไฟ ถนน ท่าเรือ ศูนย์ขนส่งสินค้า ซึ่งในส่วนของการขนส่งทางน้ำ จะมีการพัฒนา 8 โครงการ มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2553-2555 เนื่องจากการขนส่งทางน้ำมีต้นทุนต่ำที่สุด และการเติบโตเฉลี่ยปีละ 15-16% ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศลดลงจากปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 17% โดยจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวก และลดขั้นตอนในการประสานกับภาคเอกชน และสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัย
“ปี 2552 ซึ่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) ครบรอบ 150 ปี จึงได้เน้นสำคัญกับการขนส่งทางน้ำทั้งสินค้า ที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งของกองเรือไทย พัฒนาอู่ต่อเรือ ต่อเชื่อมกับระบบรางและถนนให้เกิดความสะดวก ส่วนด้านโดยสารซึ่งในแม่น้ำเจ้าพระยามีผู้เดินทางประมาณ 6 หมื่นคนต่อวัน จะเน้นเรื่องความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย “นายเกื้อกูลกล่าว
นายชลอ คชรัตน์ อธิบดี ขน.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ค.52 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการและอนุมัติให้ขน.ดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด วงเงิน 1,295.67 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน (2553-2555) ปี 53 วงเงิน 259.134 ล้านบาท ปี 54 วงเงิน 431.89 ล้านบาท ปี 55 วงเงิน 604.646 ล้านบาท โดยปี 2551 มีปริมาณการค้าบริเวณดังกล่าวโดยนำเข้า ส่งออก ระหว่าง ไทย กัมพูชา เวียดนาม ผ่านท่าเรือเอกชนมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท สินค้าส่วนใหญ่คือ อุปโภค บริโภค ยาง น้ำตาล ยา อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ เป็นต้น คาดว่า เมื่อก่อสร้างเสร็จ จะทำให้เกิดความสะดวกด้านการขนส่งและด้านศุลกากรทำให้ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 6.28 % ต่อปี
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล มูลค่า 11,466.2 ล้านบาทนั้น นายชลอกล่าวว่า ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว โดยอยู่ระหว่างประสานรายละเอียด คาดว่าอีกประมาณ 3 สัปดาห์หรือภายในเดือนส.ค.นี้จะเสนอครม.ขออนุมัติได้
นางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการและรักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า ผลประกอบการปี 52 คาดว่าจะไม่ลดลงจากปี 51 มากนัก แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยประมาณการรายได้รวมปี 52 อยู่ที่ 9,235 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีรายได้รวม 9,962 ล้านบาทประมาณ 727 ล้านบาท ประมาณการกำไรสุทธิปี 52 ที่ 2,256 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,310 ล้านบาทประมาณ 54 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณ 600 ล้านบาท เหลือ 7,000 ล้านบาท จากปีก่อนมีค่าใช้จ่าย 7,600 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการหารายได้เพิ่มจากรายได้อื่นๆ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 100 ล้านบาท
โดยผลดำเนินงานในรอบ 8 เดือน (ต.ค.51-พ.ค.52) เทียบกับปีก่อน ท่าเรือกรุงเทพมีเรือผ่านท่าลดลง 13% สินค้าผ่านท่าลดลง 18% ตู้สินค้าผ่านท่าลดลง 16% ส่วนท่าเรือแหลมฉบังมีเรือผ่านท่า ลดลง 9% สินค้าผ่านท่าลดลง 16% ตู้สินค้าผ่านท่าลดลง 15% โดยคาดว่าไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ปริมาณสินค้าเรือและตู้สินค้าผ่านท่าจะเพิ่มขึ้นทำให้ยอดรวมเรือผ่านท่าเทียบกับปีก่อนจะลดลงเพียง 9% สินค้าผ่านท่าและตู้สินค้าผ่านท่าจะลดลงแค่ 15% ซึ่งในส่วนนี้ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับเรือและสินค้าลดลงประมาณ 600 ล้านบาท
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังจัดทำรายละเอียดแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งรถไฟ ถนน ท่าเรือ ศูนย์ขนส่งสินค้า ซึ่งในส่วนของการขนส่งทางน้ำ จะมีการพัฒนา 8 โครงการ มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2553-2555 เนื่องจากการขนส่งทางน้ำมีต้นทุนต่ำที่สุด และการเติบโตเฉลี่ยปีละ 15-16% ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศลดลงจากปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 17% โดยจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวก และลดขั้นตอนในการประสานกับภาคเอกชน และสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัย
“ปี 2552 ซึ่งกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) ครบรอบ 150 ปี จึงได้เน้นสำคัญกับการขนส่งทางน้ำทั้งสินค้า ที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งของกองเรือไทย พัฒนาอู่ต่อเรือ ต่อเชื่อมกับระบบรางและถนนให้เกิดความสะดวก ส่วนด้านโดยสารซึ่งในแม่น้ำเจ้าพระยามีผู้เดินทางประมาณ 6 หมื่นคนต่อวัน จะเน้นเรื่องความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย “นายเกื้อกูลกล่าว
นายชลอ คชรัตน์ อธิบดี ขน.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ค.52 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการและอนุมัติให้ขน.ดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด วงเงิน 1,295.67 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน (2553-2555) ปี 53 วงเงิน 259.134 ล้านบาท ปี 54 วงเงิน 431.89 ล้านบาท ปี 55 วงเงิน 604.646 ล้านบาท โดยปี 2551 มีปริมาณการค้าบริเวณดังกล่าวโดยนำเข้า ส่งออก ระหว่าง ไทย กัมพูชา เวียดนาม ผ่านท่าเรือเอกชนมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท สินค้าส่วนใหญ่คือ อุปโภค บริโภค ยาง น้ำตาล ยา อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ เป็นต้น คาดว่า เมื่อก่อสร้างเสร็จ จะทำให้เกิดความสะดวกด้านการขนส่งและด้านศุลกากรทำให้ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 6.28 % ต่อปี
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล มูลค่า 11,466.2 ล้านบาทนั้น นายชลอกล่าวว่า ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว โดยอยู่ระหว่างประสานรายละเอียด คาดว่าอีกประมาณ 3 สัปดาห์หรือภายในเดือนส.ค.นี้จะเสนอครม.ขออนุมัติได้
นางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการและรักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า ผลประกอบการปี 52 คาดว่าจะไม่ลดลงจากปี 51 มากนัก แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยประมาณการรายได้รวมปี 52 อยู่ที่ 9,235 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีรายได้รวม 9,962 ล้านบาทประมาณ 727 ล้านบาท ประมาณการกำไรสุทธิปี 52 ที่ 2,256 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,310 ล้านบาทประมาณ 54 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณ 600 ล้านบาท เหลือ 7,000 ล้านบาท จากปีก่อนมีค่าใช้จ่าย 7,600 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการหารายได้เพิ่มจากรายได้อื่นๆ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 100 ล้านบาท
โดยผลดำเนินงานในรอบ 8 เดือน (ต.ค.51-พ.ค.52) เทียบกับปีก่อน ท่าเรือกรุงเทพมีเรือผ่านท่าลดลง 13% สินค้าผ่านท่าลดลง 18% ตู้สินค้าผ่านท่าลดลง 16% ส่วนท่าเรือแหลมฉบังมีเรือผ่านท่า ลดลง 9% สินค้าผ่านท่าลดลง 16% ตู้สินค้าผ่านท่าลดลง 15% โดยคาดว่าไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ปริมาณสินค้าเรือและตู้สินค้าผ่านท่าจะเพิ่มขึ้นทำให้ยอดรวมเรือผ่านท่าเทียบกับปีก่อนจะลดลงเพียง 9% สินค้าผ่านท่าและตู้สินค้าผ่านท่าจะลดลงแค่ 15% ซึ่งในส่วนนี้ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับเรือและสินค้าลดลงประมาณ 600 ล้านบาท