ASTVผู้จัดการรายวัน - " โทรีเซนไทยฯ" ไตรมาสนี้กำไรหายกว่า 2 พันล้านบาท เหตุอัตราค่าระวางเรือลดต่ำ ส่งผลรายได้รวมลดจากจากปี51 ถึง 3,822 ล้านบาท เล็งขายเรือเพื่อลดปริมาณกองเรือให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่มีจำกัด ด้าน " อาร์ ซี แอล " ขาดทุน 711.30 ล้านบาท ชี้จำนวนเรือเดินทะเลเพิ่มสูงแต่ปริมาณสินค้าขนส่งต่ำ รวมทั้งปัญหาการชะลอสินเชื่อยังส่งผลต่อธุรกิจช่วง 2 เดือนแรกปีนี้
ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 (1 มกราคม - 31 มีนาคม 52) ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 99.16 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,101.83 ล้านบาท หรือกำไรลดลง 2,002.67 ล้านบาท โดยบริษัทมีรายได้จากการขาย 4,304.90 ล้านบาท แต่มีรายได้อื่นที่สำคัญ ในไตรมาสที่ 2 นี้ คือกำไรที่ได้จากการซื้อคืนและยกเลิกหุ้นกู้แปลงสภาพของบริษัทฯ 131.02 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรกปี 51 มีรายได้รวม 8,126.53 ล้านบาท หรือลดลง 3,821.63 ล้านบาท
" กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือของธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกองลดลงมาก ดัชนีค่าระวางเรือบอลติคลดต่ำลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 25.41 % " ม.ล.จันทรจุฑากล่าว
แม้ว่าบริษัทฯได้มีความกังวลเกี่ยวกับตลาดการขนส่งสินค้าทางทะเลในปี 52 เนื่องจากการที่มีปริมาณเรือมากเกินความต้องการของตลาด กอปรกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่บริษัทฯ สังเกตเห็นว่าดัชนีค่าระวางเรือบอลติคได้ฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงสามเดือนแรกปี52 บริษัทฯ คาดว่าดัชนีค่าระวางเรือบอลติคจะทรงตัวอยู่ที่อัตราปัจจุบันในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ โดยมีองค์ประกอบสนับสนุนจากปัจจัยกระตุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน อันเกิดจากการที่รัฐบาลจีนได้สนับสนุนโครงการสาธารณูปโภค ทำให้เกิดการกระตุ้นการนำเข้าเหล็ก ปัจจัยเชิงบวกอื่นๆ ที่ช่วยพยุงอัตราดัชนีค่าระวางเรือบอลติคคือ การยกเลิกเรือสั่งต่อใหม่และการขายเรือเป็นเศษเหล็กมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณเรือล้นตลาดได้
นอกจากนี้ การจองเรือล่วงหน้าบ่งชี้ให้เห็นว่าอุปสงค์ที่ลดลงนั้นกำลังจะอยู่ในภาวะทรงตัว แม้กระนั้นก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่าแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวยังอยู่ในขอบเขตจำกัด บริษัทฯ จึงได้ลดกองเรือลง เพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่ลดลงโดยการขายเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง 4 ลำ ให้กับบริษัทอื่นในรอบปีบัญชีปัจจุบัน และลดจำนวนวันเดินเรือที่เช่ามาเสริมกองเรือลงเหลือ 1,132 วัน หรือลดลง 32.26 %จากไตรมาสที่ 1 รอบปีบัญชี 52 ทั้งนี้บริษัทฯ คาดว่าจะมีการขายเรือเป็นเศษซากอีกหลายลำในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
"ในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 52 เมอร์เมดมีกำไรจากการบริการ เท่ากับ 940.96 ล้านบาท ลดลง 40.23 % จากไตรมาสที่ 1 ของปีบัญชี 52 และได้มีส่วนแบ่งผลขาดทุนสุทธิให้กับบริษัทฯ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 52 เป็น 42.26 ล้านบาท โดยไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือลดลง 123.48 % จากไตรมาสที่แรกของปี 52" ม.ล. จันทรจุฑา กล่าวเพิ่ม
**RCLขาดทุนกว่า 700 ล.**
นายสุเมธ ตันธุวนิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) ( RCL ) แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ว่าบริษัทขาดทุนสุทธิ 711.32 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 524.61 ล้านบาท หรือขาดทุน 235.59% อันเป็นผลจากวิกฤติการณ์การเงินโลกรวมทั้งการเพิ่มขึ้นของเรือเดินทะเลที่ขนส่งตู้สินค้าได้ส่งผลให้สภาพการดำเนินธุรกิจขนส่งตู้สินค้าทางทะเลวิกฤติสุดไตรมาสแรกปีนี้ รวมทั้งปัญหาการชะลอสินเชื่อยังส่งผลต่อธุรกิจในช่วง 2 เดือนแรก และนำไปสู่การลดลงของปริมาณขนส่งตู้สินค้า เกิดผลลบต่ออัตราค่าระวาง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในเส้นทางเอเซียไปยุโรป ขณะที่เดือนมีนาคมท่าเรือส่วนใหญ่ในเอเซียมียอดการขนส่งตู้สินค้าดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปี
ทั้งนี้ การลดลงของปริมาณขนส่งตู้สินค้าในเส้นทางตะวันออก ตะวันตกได้ส่งผลเสียต่อการขนส่งตู้สินค้าของบริษัทฯในประเภทคู่ค้ากับสายเรือใหญ่ปริมาณการขนส่งตู้สินค้าประเภทคู่ค้ากับสายเรือใหญ่ไตรมาส1 ได้ลดลง 28 % เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปีก่อนไปที่ 262,631 ตู้ แม้เศรษฐกิจของเอเซียจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์การเงิน แต่น้อยกว่ายุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ปริมาณการขนส่งตู้สินค้าของบริษัท ฯ ในประเภทที่บริษัท ดำเนินการเองจึงลดลงเพียง 8 % ที่ 298,381 ตู้ ยอดรวมการขนส่งตู้สินค้าของบริษัทลดลง 19 % เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปีก่อน 561,012 ตู้
จากการลดลงของการขนส่งตู้สินค้าดังกล่าว ทำให้รายได้รวมก่อนผลต่างอัตราแลกเปลี่ยนกำไรจากการขายสินทรัพย์ และผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของตราสารอนุพันธ์ลดลง 22% ที่ 3,699 ล้านบาท โดยการลดลงของปริมาณขนส่งตู้สินค้าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้รายได้ลดลง และอัตราค่าระวางไตรมาสแรกปีนี้ลดต่ำ แต่ถูกแบ่งเบาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ดี บริษัท ฯ ได้ลดต้นทุนด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของปีเป็นต้นไป รวมทั้งไตรมาสแรกปี 51 บริษัท ฯ ได้ขายเรือเดินทะเล 2 ลำ ซึ่งมีผลกำไรจากการขาย 146.9 ล้านบาท ขณะที่ปี
ก่อนบริษัท ไม่มีธุรกรรมดังกล่าว และยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 164.7 ล้านบาทจากผลการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกา ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ192 ล้านบาท
ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 (1 มกราคม - 31 มีนาคม 52) ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 99.16 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,101.83 ล้านบาท หรือกำไรลดลง 2,002.67 ล้านบาท โดยบริษัทมีรายได้จากการขาย 4,304.90 ล้านบาท แต่มีรายได้อื่นที่สำคัญ ในไตรมาสที่ 2 นี้ คือกำไรที่ได้จากการซื้อคืนและยกเลิกหุ้นกู้แปลงสภาพของบริษัทฯ 131.02 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรกปี 51 มีรายได้รวม 8,126.53 ล้านบาท หรือลดลง 3,821.63 ล้านบาท
" กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือของธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกองลดลงมาก ดัชนีค่าระวางเรือบอลติคลดต่ำลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 25.41 % " ม.ล.จันทรจุฑากล่าว
แม้ว่าบริษัทฯได้มีความกังวลเกี่ยวกับตลาดการขนส่งสินค้าทางทะเลในปี 52 เนื่องจากการที่มีปริมาณเรือมากเกินความต้องการของตลาด กอปรกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่บริษัทฯ สังเกตเห็นว่าดัชนีค่าระวางเรือบอลติคได้ฟื้นตัวขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงสามเดือนแรกปี52 บริษัทฯ คาดว่าดัชนีค่าระวางเรือบอลติคจะทรงตัวอยู่ที่อัตราปัจจุบันในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ โดยมีองค์ประกอบสนับสนุนจากปัจจัยกระตุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน อันเกิดจากการที่รัฐบาลจีนได้สนับสนุนโครงการสาธารณูปโภค ทำให้เกิดการกระตุ้นการนำเข้าเหล็ก ปัจจัยเชิงบวกอื่นๆ ที่ช่วยพยุงอัตราดัชนีค่าระวางเรือบอลติคคือ การยกเลิกเรือสั่งต่อใหม่และการขายเรือเป็นเศษเหล็กมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณเรือล้นตลาดได้
นอกจากนี้ การจองเรือล่วงหน้าบ่งชี้ให้เห็นว่าอุปสงค์ที่ลดลงนั้นกำลังจะอยู่ในภาวะทรงตัว แม้กระนั้นก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่าแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวยังอยู่ในขอบเขตจำกัด บริษัทฯ จึงได้ลดกองเรือลง เพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่ลดลงโดยการขายเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง 4 ลำ ให้กับบริษัทอื่นในรอบปีบัญชีปัจจุบัน และลดจำนวนวันเดินเรือที่เช่ามาเสริมกองเรือลงเหลือ 1,132 วัน หรือลดลง 32.26 %จากไตรมาสที่ 1 รอบปีบัญชี 52 ทั้งนี้บริษัทฯ คาดว่าจะมีการขายเรือเป็นเศษซากอีกหลายลำในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
"ในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 52 เมอร์เมดมีกำไรจากการบริการ เท่ากับ 940.96 ล้านบาท ลดลง 40.23 % จากไตรมาสที่ 1 ของปีบัญชี 52 และได้มีส่วนแบ่งผลขาดทุนสุทธิให้กับบริษัทฯ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 52 เป็น 42.26 ล้านบาท โดยไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือลดลง 123.48 % จากไตรมาสที่แรกของปี 52" ม.ล. จันทรจุฑา กล่าวเพิ่ม
**RCLขาดทุนกว่า 700 ล.**
นายสุเมธ ตันธุวนิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) ( RCL ) แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ว่าบริษัทขาดทุนสุทธิ 711.32 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 524.61 ล้านบาท หรือขาดทุน 235.59% อันเป็นผลจากวิกฤติการณ์การเงินโลกรวมทั้งการเพิ่มขึ้นของเรือเดินทะเลที่ขนส่งตู้สินค้าได้ส่งผลให้สภาพการดำเนินธุรกิจขนส่งตู้สินค้าทางทะเลวิกฤติสุดไตรมาสแรกปีนี้ รวมทั้งปัญหาการชะลอสินเชื่อยังส่งผลต่อธุรกิจในช่วง 2 เดือนแรก และนำไปสู่การลดลงของปริมาณขนส่งตู้สินค้า เกิดผลลบต่ออัตราค่าระวาง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในเส้นทางเอเซียไปยุโรป ขณะที่เดือนมีนาคมท่าเรือส่วนใหญ่ในเอเซียมียอดการขนส่งตู้สินค้าดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปี
ทั้งนี้ การลดลงของปริมาณขนส่งตู้สินค้าในเส้นทางตะวันออก ตะวันตกได้ส่งผลเสียต่อการขนส่งตู้สินค้าของบริษัทฯในประเภทคู่ค้ากับสายเรือใหญ่ปริมาณการขนส่งตู้สินค้าประเภทคู่ค้ากับสายเรือใหญ่ไตรมาส1 ได้ลดลง 28 % เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปีก่อนไปที่ 262,631 ตู้ แม้เศรษฐกิจของเอเซียจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์การเงิน แต่น้อยกว่ายุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ปริมาณการขนส่งตู้สินค้าของบริษัท ฯ ในประเภทที่บริษัท ดำเนินการเองจึงลดลงเพียง 8 % ที่ 298,381 ตู้ ยอดรวมการขนส่งตู้สินค้าของบริษัทลดลง 19 % เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปีก่อน 561,012 ตู้
จากการลดลงของการขนส่งตู้สินค้าดังกล่าว ทำให้รายได้รวมก่อนผลต่างอัตราแลกเปลี่ยนกำไรจากการขายสินทรัพย์ และผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของตราสารอนุพันธ์ลดลง 22% ที่ 3,699 ล้านบาท โดยการลดลงของปริมาณขนส่งตู้สินค้าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้รายได้ลดลง และอัตราค่าระวางไตรมาสแรกปีนี้ลดต่ำ แต่ถูกแบ่งเบาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ดี บริษัท ฯ ได้ลดต้นทุนด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของปีเป็นต้นไป รวมทั้งไตรมาสแรกปี 51 บริษัท ฯ ได้ขายเรือเดินทะเล 2 ลำ ซึ่งมีผลกำไรจากการขาย 146.9 ล้านบาท ขณะที่ปี
ก่อนบริษัท ไม่มีธุรกรรมดังกล่าว และยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 164.7 ล้านบาทจากผลการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกา ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ192 ล้านบาท