รอยเตอร์ – อังกฤษซึ่งก็เหมือนประเทศจำนวนมากในโลก ที่กำลังเผชิญปัญหาค่าใช้จ่ายด้านดูแลรักษาคนแก่พุ่งสูงลิ่ว อาจจะใช้มาตรการบังคับเรียกเก็บเงินซึ่งอาจสูงถึง 20,000 ปอนด์ต่อคน เพื่อเอาไว้เป็นค่าสวัสดิการยามชรา ทั้งนี้จากการเปิดเผยของรัฐมนตรีสาธารณสุข แอนดี เบอร์แนห์ม เมื่อวันอังคาร(14)
มาตรการนี้กำหนดให้ใครก็ตามที่มีเงินพอ ต้องจ่ายเงินราว17,000 ถึง 20,000 ปอนด์เพื่อให้ได้รับสวัสดิการดังกล่าว ทั้งนี้ถือเป็นทางเลือก 1 ใน 3 ทางที่กระทรวงกำลังพิจารณาอยู่ โดยอีก 2 ทางเลือกก็คือ ระบบหุ้นส่วนภาครัฐ-ผู้ประกันตน ซึ่งรัฐจะจ่ายสมทบเป็นจำนวนตั้งแต่ 1 ใน 4 จนถึง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายจริง, และระบบประกันภัยโดยสมัครใจ ที่ผู้ประกันตนจะซื้อกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัยต่างๆ โดยแต่ละคนจะเสียค่าใช้จ่ายระหว่าง 20,000 – 25,000 ปอนด์
“เรากำลังนำเสนอการปฎิรูประบบสวัสดิการ ... เราต้องการระบบที่ยุติธรรม ง่ายและทุกคนสามารถจ่ายได้” เบอร์แนห์มกล่าว
ภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประชาชนบางคนต้องจ่ายเงินหลายหมื่นปอนด์หรือบางทีต้องขายบ้านของตนเพื่อมาใช้จ่ายสำหรับการดูแลเมื่อยามชรา เนื่องจากกฎหมายระบุไว้ว่าผู้ที่มีบ้านหรือเงินเก็บที่เกินกว่า 23,500 ปอนด์จะต้องจ่ายเงินสวัสดิการยามชราเอง
โดยเฉลี่ยแล้ว ชาวอังกฤษแต่ละคนใช้เงินราว 30,000 ปอนด์ในเรื่องสวัสดิการยามชรา แต่คนอีก 20% ต้องจ่ายเงินมากกว่า 50,000 ปอนด์ ยิ่งคนที่กำลังมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงอย่างเช่น อัลไซเมอร์ อาจจะต้องจ่ายมากกว่า 200,000 ปอนด์
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าระบบปัจจุบันนั้นเหมือนกับการเล่นล็อตเตอรี่และไม่มีความยั่งยืนในระยะยาว
“ด้วยจำนวนคนชราที่เพิ่มขึ้น และคนวัยทำงานที่ลดลงมาก ทำให้เม็ดเงินสำหรับสวัสดิการคนชราขาดแคลนอย่างมาก” กริส กลาสเปอรนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมนี้ของบริษัทเบรวิน ดอลฟิน กล่าว
“หากว่าราคาของสวัสดิการดูแล ไม่ลดลงมาอย่างมาก หรือว่าไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางอื่น ก็จะทำให้คนวัยทำงานแบกรับภาระหนักขึ้น” กริสกล่าว
อะแมนดา เคลลี่ จากไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์สกล่าวว่าข้อเสนอของรัฐบาลที่จะใช้รูปแบบของการประกันภัยน่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อประชากรส่วนใหญ๋ของประเทศเข้าแผนการนี้
อย่างไรก็ตาม พรรคคอนเซอร์เวทีฟที่เป็นฝ่ายค้านวิจารณ์ว่า ข้อเสนอของเบอร์แนห์ม ที่เรียกกัน “กรีน เปเปอร์”นั้น เพียงแค่กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันขึ้นมาอีกเท่านั้น แทนที่จะตัดสินใจกันให้ได้ในตอนนี้
มาตรการนี้กำหนดให้ใครก็ตามที่มีเงินพอ ต้องจ่ายเงินราว17,000 ถึง 20,000 ปอนด์เพื่อให้ได้รับสวัสดิการดังกล่าว ทั้งนี้ถือเป็นทางเลือก 1 ใน 3 ทางที่กระทรวงกำลังพิจารณาอยู่ โดยอีก 2 ทางเลือกก็คือ ระบบหุ้นส่วนภาครัฐ-ผู้ประกันตน ซึ่งรัฐจะจ่ายสมทบเป็นจำนวนตั้งแต่ 1 ใน 4 จนถึง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายจริง, และระบบประกันภัยโดยสมัครใจ ที่ผู้ประกันตนจะซื้อกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัยต่างๆ โดยแต่ละคนจะเสียค่าใช้จ่ายระหว่าง 20,000 – 25,000 ปอนด์
“เรากำลังนำเสนอการปฎิรูประบบสวัสดิการ ... เราต้องการระบบที่ยุติธรรม ง่ายและทุกคนสามารถจ่ายได้” เบอร์แนห์มกล่าว
ภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประชาชนบางคนต้องจ่ายเงินหลายหมื่นปอนด์หรือบางทีต้องขายบ้านของตนเพื่อมาใช้จ่ายสำหรับการดูแลเมื่อยามชรา เนื่องจากกฎหมายระบุไว้ว่าผู้ที่มีบ้านหรือเงินเก็บที่เกินกว่า 23,500 ปอนด์จะต้องจ่ายเงินสวัสดิการยามชราเอง
โดยเฉลี่ยแล้ว ชาวอังกฤษแต่ละคนใช้เงินราว 30,000 ปอนด์ในเรื่องสวัสดิการยามชรา แต่คนอีก 20% ต้องจ่ายเงินมากกว่า 50,000 ปอนด์ ยิ่งคนที่กำลังมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงอย่างเช่น อัลไซเมอร์ อาจจะต้องจ่ายมากกว่า 200,000 ปอนด์
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าระบบปัจจุบันนั้นเหมือนกับการเล่นล็อตเตอรี่และไม่มีความยั่งยืนในระยะยาว
“ด้วยจำนวนคนชราที่เพิ่มขึ้น และคนวัยทำงานที่ลดลงมาก ทำให้เม็ดเงินสำหรับสวัสดิการคนชราขาดแคลนอย่างมาก” กริส กลาสเปอรนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมนี้ของบริษัทเบรวิน ดอลฟิน กล่าว
“หากว่าราคาของสวัสดิการดูแล ไม่ลดลงมาอย่างมาก หรือว่าไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางอื่น ก็จะทำให้คนวัยทำงานแบกรับภาระหนักขึ้น” กริสกล่าว
อะแมนดา เคลลี่ จากไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์สกล่าวว่าข้อเสนอของรัฐบาลที่จะใช้รูปแบบของการประกันภัยน่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อประชากรส่วนใหญ๋ของประเทศเข้าแผนการนี้
อย่างไรก็ตาม พรรคคอนเซอร์เวทีฟที่เป็นฝ่ายค้านวิจารณ์ว่า ข้อเสนอของเบอร์แนห์ม ที่เรียกกัน “กรีน เปเปอร์”นั้น เพียงแค่กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันขึ้นมาอีกเท่านั้น แทนที่จะตัดสินใจกันให้ได้ในตอนนี้