ASTVผู้จัดการรายวัน - ไม่มีพลิกโผ กนง..คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% หวังเศรษฐกิจโลกฟื้นดึงเศรษฐกิจฟื้นตาม วันที่ 24 ก.ค.เล็งปรับจีดีพีเพิ่ม หลังเห็นสัญญาณเศรษฐกิจไทยหลายตัวดีขึ้น แต่อนาคตอาจใช้แนวทางดอกเบี้ยขาลง หากนโยบายการคลังไม่อาจกระตุ้นเศรษฐกิจและปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 บานปลาย ยอมรับการใช้ดอกเบี้ยนโยบายต่ำติดดิน มีประสิทธิภาพน้อยในการส่งผ่านให้แบงก์ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (15ก.ค.) ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ไว้ที่ระดับ 1.25%ต่อปี โดยมองว่าวิกฤตการณ์การเงินโลกยังคงส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจของประเทศหลักและประเทศในภูมิภาคเอเชียอ่อนตัว แต่เศรษฐกิจโลกและสถานการณ์การเงินระหว่างประเทศค่อยๆ ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับการประชุมในครั้งก่อน คือ วันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจไทยหดตัวน้อยลง และเริ่มเห็นสัญญาณที่ส่อเค้ามากขึ้น แม้ความเปาะบางยังมีอยู่บ้าง แต่นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและนโยบายการคลังที่เป็นแรงกระตุ้นในหลายประเทศจะช่วยเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป และจะดึงให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดีขึ้น ประกอบกับการใช้นโยบายการเงินและการคลังในประเทศเป็นตัวช่วยสนับสนุนอีกทาง
"นโยบายการเงินด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะนี้ยังไม่มีการส่งสัญญาณให้ระบบเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดแล้วหรือขาขึ้นในระยะข้างหน้า แต่หากจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เมื่อเกิดความเสี่ยงต่างๆ ที่กระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยตัวสะดุดลง เราก็พร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ส่วนการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์เป็นไปตามกลไกตลาดและการแข่งขัน ซึ่งหากมีพันธบัตรรัฐบาลออกมาระดมเงินจากประชาชน จึงเป็นเรื่องที่แบงก์ต้องการแข่งขันให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและระยะเวลาที่ยาวขึ้นเป็นเรื่องปกติ "ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงินธปท.กล่าว
สำหรับน้ำหนักความที่มากสุดในขณะนี้ต่อภาวะเศรษฐกิจไทย คือ การขยายตัวเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า ซึ่งไทยมีการพึ่งพาการส่งออกจำนวนมาก และอันดับสอง คือ การใช้นโยบายการคลังที่กระตุ้นเศรษฐกิจ หากเกิดปัญหาการเมืองหรือเสถียรภาพการเมืองอาจจะส่งผลให้เบิกจ่ายในโครงการต่างๆ สะดุดได้ และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ และอันดับ 3 คือ ปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่จะส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยในแง่ของนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายและการบริโภคในประเทศหดตัวลงตาม ซึ่งยังไม่แน่นอนด้วยว่าจะเกิดปัญหาต่อเนื่องเป็นรอบ 2 และรอบ 3 หรือไม่ และส่วนคนในประเทศอาจลดค่าใช้จ่ายเช่นกันจากการที่ห่วงที่ต้องเข้าไปอยู่ในแหล่งชุมชน จึงต้องติดตามดูต่อไปว่าขอบเขต ความรุนแรง และระยะเวลาต่อเนื่องแค่ไหนต่อไป รวมถึงขนาดปัญหาและความกลัวของประชาชนด้วย
เล็งปรับจีดีพีไทยเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 ก.ค. นี้ กนง.จะมีการประกาศเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงการขยายตัวเศรษฐกิจไทยตัวเลขเศรษฐกิจไทยใหม่ ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือนก.ค.นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะปรับอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยดีขึ้น หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ดีกว่าไตรมาสแรก
ยอมรับ ดบ.นโยบายไร้ประสิทธิภาพ
สำหรับกรณีที่มีการมองว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ไม่มีประสิทธิภาพเห็นได้จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในระบบนั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายใกล้ศูนย์แล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่ประสิทธิภาพลดลง แต่ที่ผ่านมาการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ธนาคารจะปรับตัวลดลงช้าในส่วนการอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม เพราะมีภาระต้นทุนสูงเงินฝากระยะยาว อย่างไรก็ตามเริ่มมีการปรับตัวอัตราดอกเบี้ยในระบบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีก 0.25% ขณะที่ธปท.มีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ จึงค่อยๆ ส่งผ่านนโยบายการเงินไป
นายไพบูลย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลออกพันธบัตร 8 หมื่นล้านบาทจะไม่น่าจะมีปัญหาสภาพคล่องในระบบ เนื่องจากเงินที่ระดมทุนมาได้จะนำมาใช้จ่ายในระบบ และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายช่วยไม่ให้เกิดการตึงตัวของสภาพคล่องในระบบ แต่หากสุดท้ายเกิดปัญหาสภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้นจนส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงขึ้น ธปท.จะมีหน้าที่อัดฉีดสภาพคล่องสู่ระบบอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าว
ราคาน้ำมันไม่เป็นแรงกดดันเงินเฟ้อ
ขณะเดียวกัน กนง.ยังไม่ได้ตกใจอัตราเงินเฟ้อทั่่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในระดับปัจจุบัน ซึ่งเงินเฟ้อระดับนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการภาครัฐในการลดค่าครองชีพและล่าสุดได้ต่อมาตรการนี้ไปจนถึงสิ้นปี ดังนั้น มองว่าอัตราดอกเงินเฟ้อยังไม่เป็นแรงกดดันให้เกิดเงินเฟ้อหรือเงินฝืดในระบบ จึงเป็นเหตุผลที่กนง.มองว่าไม่จำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ ซึ่งมุมมองจากภายนอกก็มองว่าราคาน้ำมันตลาดโลกยังไม่สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในขณะนี้
"หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศต่างๆ ที่ผ่านมาทั้งการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพิ่มปริมาณเงินสู่ระบบ ธนาคารกลางในต่างประเทศไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือเอกชน ทำให้งบการเงินของธนาคารกลางสูงขึ้นมาก ซึ่งในที่สุดต้องมีการถอนแรงกระตุ้นเหล่านี้จากระบบหรือถ้าไม่ถอนอยู่ในระบบจะมีผลต่อเงินเฟ้อในระบบในระยะกลางและยาวเป็นเช่นไร และหากเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้เงินเฟ้อไม่ต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมาก็เป็นไปได้ จึงต้องติดตามดูต่อไป"
คาดเศรษฐกิจโลกฟื้นปีหน้า
ทั้งนี้ จากการประเมินขององค์กรระหว่างประเทศครั้งล่าสุด พบว่า ปีหน้าเศรษฐกิจโลกน่าจะปรับตัวเป็นบวกได้ ซึ่งกนง.เห็นพ้องเช่นกัน โดยความเสี่ยงการบริโภค การผลิต และตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งการหดตัวชะลอลงหรือทรงตัวทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหรือเดือนก่อนหน้า แม้การเทียบระยะเดียวกันปีก่อนจะติดลบอยู่ ขณะเดียวกันครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐทั้งความตึงตัวด้านเครดิตและภาวะการเงินผ่อนคลายขึ้น ดังนั้น สัญญาณด้านเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น ส่วนจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนหรือไม่ต้องจับตาดูต่อไป
"เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ต้องถึงจุดต่ำสุดก่อนหรือตกลงมาอย่างรุนแรงก่อน จึงจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ส่วนเศรษฐกิจไทยจะมีแรงผลักดันให้ฟื้นตัวต่อเนื่องก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งมาตรการการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหากลุ่มสถาบันการเงินของประเทศที่เป็นศูนย์กลางวิกฤติที่ต้องใช้เวลาและให้ครบวงจร จึงต้องติดตามดูต่อไป".
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (15ก.ค.) ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ไว้ที่ระดับ 1.25%ต่อปี โดยมองว่าวิกฤตการณ์การเงินโลกยังคงส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจของประเทศหลักและประเทศในภูมิภาคเอเชียอ่อนตัว แต่เศรษฐกิจโลกและสถานการณ์การเงินระหว่างประเทศค่อยๆ ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับการประชุมในครั้งก่อน คือ วันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจไทยหดตัวน้อยลง และเริ่มเห็นสัญญาณที่ส่อเค้ามากขึ้น แม้ความเปาะบางยังมีอยู่บ้าง แต่นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและนโยบายการคลังที่เป็นแรงกระตุ้นในหลายประเทศจะช่วยเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป และจะดึงให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดีขึ้น ประกอบกับการใช้นโยบายการเงินและการคลังในประเทศเป็นตัวช่วยสนับสนุนอีกทาง
"นโยบายการเงินด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะนี้ยังไม่มีการส่งสัญญาณให้ระบบเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดแล้วหรือขาขึ้นในระยะข้างหน้า แต่หากจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เมื่อเกิดความเสี่ยงต่างๆ ที่กระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยตัวสะดุดลง เราก็พร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ส่วนการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์เป็นไปตามกลไกตลาดและการแข่งขัน ซึ่งหากมีพันธบัตรรัฐบาลออกมาระดมเงินจากประชาชน จึงเป็นเรื่องที่แบงก์ต้องการแข่งขันให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและระยะเวลาที่ยาวขึ้นเป็นเรื่องปกติ "ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงินธปท.กล่าว
สำหรับน้ำหนักความที่มากสุดในขณะนี้ต่อภาวะเศรษฐกิจไทย คือ การขยายตัวเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า ซึ่งไทยมีการพึ่งพาการส่งออกจำนวนมาก และอันดับสอง คือ การใช้นโยบายการคลังที่กระตุ้นเศรษฐกิจ หากเกิดปัญหาการเมืองหรือเสถียรภาพการเมืองอาจจะส่งผลให้เบิกจ่ายในโครงการต่างๆ สะดุดได้ และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ และอันดับ 3 คือ ปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่จะส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยในแง่ของนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายและการบริโภคในประเทศหดตัวลงตาม ซึ่งยังไม่แน่นอนด้วยว่าจะเกิดปัญหาต่อเนื่องเป็นรอบ 2 และรอบ 3 หรือไม่ และส่วนคนในประเทศอาจลดค่าใช้จ่ายเช่นกันจากการที่ห่วงที่ต้องเข้าไปอยู่ในแหล่งชุมชน จึงต้องติดตามดูต่อไปว่าขอบเขต ความรุนแรง และระยะเวลาต่อเนื่องแค่ไหนต่อไป รวมถึงขนาดปัญหาและความกลัวของประชาชนด้วย
เล็งปรับจีดีพีไทยเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 ก.ค. นี้ กนง.จะมีการประกาศเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงการขยายตัวเศรษฐกิจไทยตัวเลขเศรษฐกิจไทยใหม่ ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือนก.ค.นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะปรับอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยดีขึ้น หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ดีกว่าไตรมาสแรก
ยอมรับ ดบ.นโยบายไร้ประสิทธิภาพ
สำหรับกรณีที่มีการมองว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ไม่มีประสิทธิภาพเห็นได้จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในระบบนั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายใกล้ศูนย์แล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่ประสิทธิภาพลดลง แต่ที่ผ่านมาการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ธนาคารจะปรับตัวลดลงช้าในส่วนการอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม เพราะมีภาระต้นทุนสูงเงินฝากระยะยาว อย่างไรก็ตามเริ่มมีการปรับตัวอัตราดอกเบี้ยในระบบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีก 0.25% ขณะที่ธปท.มีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ จึงค่อยๆ ส่งผ่านนโยบายการเงินไป
นายไพบูลย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลออกพันธบัตร 8 หมื่นล้านบาทจะไม่น่าจะมีปัญหาสภาพคล่องในระบบ เนื่องจากเงินที่ระดมทุนมาได้จะนำมาใช้จ่ายในระบบ และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายช่วยไม่ให้เกิดการตึงตัวของสภาพคล่องในระบบ แต่หากสุดท้ายเกิดปัญหาสภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้นจนส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงขึ้น ธปท.จะมีหน้าที่อัดฉีดสภาพคล่องสู่ระบบอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าว
ราคาน้ำมันไม่เป็นแรงกดดันเงินเฟ้อ
ขณะเดียวกัน กนง.ยังไม่ได้ตกใจอัตราเงินเฟ้อทั่่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในระดับปัจจุบัน ซึ่งเงินเฟ้อระดับนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการภาครัฐในการลดค่าครองชีพและล่าสุดได้ต่อมาตรการนี้ไปจนถึงสิ้นปี ดังนั้น มองว่าอัตราดอกเงินเฟ้อยังไม่เป็นแรงกดดันให้เกิดเงินเฟ้อหรือเงินฝืดในระบบ จึงเป็นเหตุผลที่กนง.มองว่าไม่จำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ ซึ่งมุมมองจากภายนอกก็มองว่าราคาน้ำมันตลาดโลกยังไม่สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในขณะนี้
"หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศต่างๆ ที่ผ่านมาทั้งการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพิ่มปริมาณเงินสู่ระบบ ธนาคารกลางในต่างประเทศไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือเอกชน ทำให้งบการเงินของธนาคารกลางสูงขึ้นมาก ซึ่งในที่สุดต้องมีการถอนแรงกระตุ้นเหล่านี้จากระบบหรือถ้าไม่ถอนอยู่ในระบบจะมีผลต่อเงินเฟ้อในระบบในระยะกลางและยาวเป็นเช่นไร และหากเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้เงินเฟ้อไม่ต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมาก็เป็นไปได้ จึงต้องติดตามดูต่อไป"
คาดเศรษฐกิจโลกฟื้นปีหน้า
ทั้งนี้ จากการประเมินขององค์กรระหว่างประเทศครั้งล่าสุด พบว่า ปีหน้าเศรษฐกิจโลกน่าจะปรับตัวเป็นบวกได้ ซึ่งกนง.เห็นพ้องเช่นกัน โดยความเสี่ยงการบริโภค การผลิต และตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งการหดตัวชะลอลงหรือทรงตัวทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหรือเดือนก่อนหน้า แม้การเทียบระยะเดียวกันปีก่อนจะติดลบอยู่ ขณะเดียวกันครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐทั้งความตึงตัวด้านเครดิตและภาวะการเงินผ่อนคลายขึ้น ดังนั้น สัญญาณด้านเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น ส่วนจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนหรือไม่ต้องจับตาดูต่อไป
"เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ต้องถึงจุดต่ำสุดก่อนหรือตกลงมาอย่างรุนแรงก่อน จึงจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ส่วนเศรษฐกิจไทยจะมีแรงผลักดันให้ฟื้นตัวต่อเนื่องก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งมาตรการการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหากลุ่มสถาบันการเงินของประเทศที่เป็นศูนย์กลางวิกฤติที่ต้องใช้เวลาและให้ครบวงจร จึงต้องติดตามดูต่อไป".